นิวแคลิโดเนีย[1] (อังกฤษ: New Caledonia) หรือ นูแวล-กาเลโดนี[1] (ฝรั่งเศส: Nouvelle-Calédonie) ชื่ออื่น ๆ ที่นิยมเรียกได้แก่ "คานากี" (Kanaky) และ "เลอกายู" (Le Caillou) เคยเป็น "อาณานิคมพิเศษ (sui generis collectivity)" (ในทางปฏิบัติ ดินแดนโพ้นทะเล) ของประเทศฝรั่งเศส ประกอบด้วยเกาะหลัก (เกาะกร็องด์แตร์, Grande Terre) และเกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเมลานีเซียในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกเฉียงใต้

นิวแคลิโดเนีย

Nouvelle Calédonie (ฝรั่งเศส)
Flags of New Caledonia
Flag of France
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของนิวแคลิโดเนีย
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของนิวแคลิโดเนีย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
นูเมอา
ภาษาราชการภาษาฝรั่งเศส
การปกครองดินแดนโพ้นทะเล
แอมานุแอล มาครง
• ข้าหลวงใหญ่
ฌอง-ฌัก บร็อต
• หัวหน้ารัฐบาล
ฮาโรลด์ มาร์ติน
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
ดินแดนโพ้นทะเล
• ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2396
พื้นที่
• รวม
19,058 ตารางกิโลเมตร (7,358 ตารางไมล์) (~151)
พื้นดิน: 18,575.5 กม.²
ประชากร
• ม.ค. 2548 ประมาณ
232,258 (181)
• สำมะโนประชากร ก.ย. 2547
230,789
12.5 ต่อตารางกิโลเมตร (32.4 ต่อตารางไมล์) (~172)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2546 (ประมาณ)
• รวม
3.158 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (170)
15,000 ดอลลาร์สหรัฐ (65)
สกุลเงินฟรังก์ซีเอฟพี (XPF (CFP franc))
เขตเวลาUTC+11
รหัสโทรศัพท์687
โดเมนบนสุด.nc

นิวแคลิโดเนียมีเนื้อที่ 18,575.5 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของเกาะไต้หวัน ประชากรที่สำรวจได้เมื่อพ.ศ. 2547 มีอยู่ 230,789 คน มีรหัสประเทศโดเมนระดับบนสุดในอินเทอร์เน็ต ว่า .nc เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของนิวแคลิโดเนียคือ นูเมอา (Nouméa) หน่วยเงินคือ ฟรังก์ซีเอฟพี

ตั้งแต่พ.ศ. 2529 คณะกรรมการของสหประชาชาติว่าด้วยการยกเลิกอาณานิคม (UN Committee on Decolonization) ได้รวมนิวแคลิโดเนียไว้ในรายชื่อดินแดนที่ไม่ปกครองตนเองของสหประชาชาติ (United Nations list of Non-Self-Governing Territories) ซึ่งนิวแคลิโดเนียจะตัดสินว่าจะยังคงอยู่กับสาธารณรัฐฝรั่งเศสหรือแยกเป็นเอกราชด้วยประชามติ หลังจากปี พ.ศ. 2557 โดยได้มีการจัดการลงประชามติเอกราชนิวแคลิโดเนียครั้งแรกขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และผลของการลงประชามติในครั้งนี้ออกมาว่าเสียงส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 56.4 ของผู้มาใช้สิทธิ์ ไม่เห็นชอบต่อการประกาศเอกราช ซึ่งหมายความว่าต้องการให้นิวแคลิโดเนียยังคงอยู่กับฝรั่งเศสต่อไป

เมืองหลวงนูเมอา เป็นที่ตั้งของสำนักงานเลขาธิการประชาคมแปซิฟิก (Secretariat of the Pacific Community) เดิมคือคณะกรรมาธิการแปซิฟิกใต้ (South Pacific Commission) ซึ่งเป็นองค์กรภูมิภาคนี้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.