พรรคสังคมนิยม (ฝรั่งเศส)

พรรคการเมืองฝรั่งเศส

พรรคสังคมนิยม (ฝรั่งเศส: Parti socialiste, PS) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในฝรั่งเศส ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ปีค.ศ. 1969 ซึ่งมีฟร็องซัว มีแตร็อง เป็นเลขาธิการเอก (ฝรั่งเศส: Premier secrétaire) คนแรกของพรรค ตำแหน่งนี้เทียบได้กับหัวหน้าพรรคในการเมือง

พรรคสังคมนิยม
Parti socialiste
ชื่อย่อPS
ผู้ก่อตั้งฟร็องซัว มีแตร็อง
อะแล็ง ซาวารี
เลขาธิการเอกโอลิเวียร์ ฟอร์
รองเลขาธิการเอกโจฮันนา โรล็องด์
นีกอลา เมเยอร์-โรซินญอลล์
ก่อตั้ง4 พฤษภาคม ค.ศ. 1969 (1969-05-04)
รวมตัวกับ
ดูรายชื่อ
    • แผนกฝรั่งเศสของแรงงานระหว่างประเทศ (SFIO)
    • สหพันธ์สโมสรเพื่อการต่ออายุด้านซ้าย (UCRG)
    • สหพันธ์กลุ่มสังคมนิยมและสโมสร (UGCS)
    • อนุสัญญาของสถาบันสาธารณรัฐ (CIR, ค.ศ. 1971)
    เป้าหมายสังคมนิยม (ค.ศ. 1975)
ที่ทำการ99, rue Molière
94200 Ivry-sur-Seine
ฝ่ายเยาวชนเยาว์สังคมนิยม
สมาชิกภาพ  (ปี ค.ศ. 2023)45,000
อุดมการณ์เสรีนิยมทางสังคม
ประชาธิปไตยสังคมนิยม
สังคมนิเวศวิทยา
ลัทธนิยมยุโรป
สังคมนิยม
จุดยืนฝ่ายซ้ายกลางถึงฝ่ายซ้าย
กลุ่มระดับชาติ
กลุ่มระดับสากลพันธมิตรก้าวหน้า
สังคมนิยมนานาชาติ
กลุ่มในรัฐสภายุโรปพันธมิตรก้าวหน้าของสังคมนิยมและเดโมแครตในรัฐสภายุโรป (S&D)
สี    สีชมพู, สีเขียว
สมัชชาแห่งชาติ
65 / 577
วุฒิสภา
64 / 348
รัฐสภายุโรป
10 / 81
สภาแผนก (ประธาน)
23 / 98
สภาภูมิภาค (ประธาน)
4 / 18
นายกเทศมนตรี[a]
45 / 279
เว็บไซต์
www.parti-socialiste.fr

เลขาธิการเอกของพรรคในปัจจุบันเป็น โอลิเวียร์ ฟอร์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อจากฌ็อง-กริสตอฟ กัมบาเดลิส

ประวัติการเลือกตั้งประธานาธิบดี

แก้

ฟร็องซัว มีแตร็อง ซึ่งเป็นเลขาธิการเอกหรือหัวหน้าพรรคในขณะนั้น ได้ลงเป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1974 และได้ผ่านรอบที่ 2 ชิงตำแหน่งกับวาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง ผู้สมัครพรรคสหพันธ์สาธารณรัฐอิสระแห่งชาติ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวา แต่ในที่สุดก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมา มีแตร็องก็เป็นผู้สมัครของพรรคอีกครั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของปีค.ศ. 1981 และหลังผ่านรอบที่ 2 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ทำให้มีแตร็องเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากพรรคสังคมนิยมและฝ่ายซ้าย

มีแตร็อง ขณะที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ 7 ปีแล้ว ลงเป็นผู้สมัครของพรรคอีกครั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของปีค.ศ. 1988 ซึ่งได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง

หลังจากนั้น ในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 1995 ลียอแนล ฌ็อสแป็ง ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการเอกของพรรคตั้งแต่มีแตร็องดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้ลงเป็นผู้สมัครของพรรค แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง เนื่องจากฌัก ชีรัก อดีตนายกรัฐมนตรีในการนำของฌิสการ์ แด็สแต็ง (ค.ศ. 1974 - 1976) และมีแตร็อง (ค.ศ. 1986 - 1988) ได้รับการเลือกตั้งแทน ต่อมา ฌ็อสแป็งก็ลงเป็นผู้สมัครอีกครั้งในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 2002 แต่ไม่ได้ผ่านรอบที่ 2 เนื่องจากมีฌ็อง-มารี เลอ แปน ผู้สมัครพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวาจัด ได้ผ่านรอบที่ 2 ชิงตำแหน่งกับฌัก ชีรัก ประธานาธิบดีในขณะนั้น ที่ได้รับการเลือกตั้งในรอบที่ 2

ในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 2007 เซกอแลน รัวยาลเป็นผู้สมัครของพรรค ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกของพรรคสังคมนิยมที่ลงเป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดี เธอได้ผ่านรอบที่ 2 และชิงตำแหน่งกับนีกอลา ซาร์กอซี ผู้สมัครพรรคสหภาพเพื่อขบวนการประชาชน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งในรอบที่ 2

ในปีค.ศ. 2011 พรรคสังคมนิยมได้จัดการเลือกตั้งผู้สมัครรอบแรกเพื่อเสนอชื่อผู้สมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในปีถัดไป (ค.ศ. 2012) ซึ่งมีฟร็องซัว ออล็องด์ เลขาธิการเอกของพรรคตั้งแต่ลียอแนล ฌ็อสแป็ง ไปดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในปีค.ศ. 1997 และ มาร์ทีน โอบรี นายกเทศมนตรีเมืองลีล เป็นผู้สมัครที่ได้ผ่านรอบที่ 2 และในที่สุดก็เป็นออล็องด์ที่ได้รับการเลือกตั้งและแต่งตั้งเป็นผู้สมัครของพรรคสังคมนิยม ต่อมา ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีค.ศ. 2012 ออล็องด์ก็ผ่านรอบที่ 2 และชิงตำแหน่งกับนีกอลา ซาร์กอซี ซึ่งเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น จากนั้นในรอบที่ 2 ออล็องด์ได้รับการเลือกตั้ง ทำให้เขาเป็นประธานาธิบดีแรกที่มาจากพรรคสังคมนิยมในระหว่าง 24 ปี (ปีค.ศ. 1988)

ต่อมา ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2016 ฟร็องซัว ออล็องด์ ประธานาธิบดีในขณะนั้น ได้ประกาศระหว่างการแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ ว่าจะไม่ลงเป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งของปีถัดไป[1] ซี่งเป็นคนแรกในประวัติศาสัตร์ของสาธารณรัฐที่ 5 ของฝรั่งเศส ที่ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ จากนั้น ในเดือนถัดไป (มกราคม ค.ศ. 2017) พรรคก็ได้จัดการเลือกตั้งผู้สมัครรอบแรกอีกครั้งเพื่อเสนอชื่อผู้สมัครของพรรคในการเลือกตั้งของปีเดียวกัน (เมษายน ค.ศ. 2017) ซึ่งมีเบอนัว อามง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ การอดุมศึกษาและการวิจัยภายใต้รัฐบาลชุดแรกของมานุเอล วาลส์ และมานุเอล วาลส์ อดีตนายกรัฐมนตรีภายใต้การนำของฟร็องซัว ออล็องด์ ซึ่งลาออกในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 สองบุคคลนี้เป็นผู้สมัครที่ผ่านรอบที่ 2 ของการเลือกตั้งผู้สมัครรอบแรก และในที่สุดก็เป็นเบอนัว อามง ที่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งในเดือนเมษายน อามงไม่ได้รับการเลือกตั้งด้วยไม่ได้ผ่านรอบที่ 2 และเป็นครั้งแรกที่สุดที่ผู้สมัครของพรรคสังคมนิยมได้รับสัดส่วนคะแนนต่ำที่สุด (6.3%) ตั้งแต่กาสตง เดิฟแฟร์ ในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 1969 (ซึ่งได้รับ 5.01%)[2]

เพื่อการเลือกตั้งประธาธิบดีของปีค.ศ. 2022 พรรคสังคมนิยมได้จัดการเลือกตั้งผู้สมัครรอบแรกภายในพรรคในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2021 ซึ่งมีอาน อีดาลโก นายกเทศมนตรีปารีส ได้รับการเลือกตั้งและเป็นผู้สมัครของพรรคในการเลือกตั้ง[3] แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง อีดาลโกได้รับ 1.74% ซึ่งเป็นสัดส่วนคะแนนต่ำกว่าเบอนัว อามง ในปีค.ศ. 2017 และสัดส่วนคะแนนต่ำที่สุดที่พรรคเคยได้รับ

ประวัติการเลือกตั้งสมัชชาแห่งชาติ

แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของปีค.ศ. 1973 ซึ่งเป็นฟร็องซัว มีแตร็อง เป็นผู้นำพันธมิตรสหภาพฝ่ายซ้าย (ฝรั่งเศส: Union de la gauche) ซึ่งพันธมิตรสหภาพฝ่ายซ้ายได้รับคะแนนเสียงสูงที่สุดในรอบที่ 1 (10,593,306 คน) แต่ในรอบที่ 2 พันธมิตรกลับมาเป็นอันดับที่ 2 ซึ่งได้ชนะ 177 ที่นั่ง ภายใต้พันธมิตรพรรคสังคมนิยมได้ชนะ 89 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่นั่งมากกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสที่ได้ชนะ 73 ที่นั่ง แล้วในรอบที่ 2 พรรคสังคมนิยมก็กลายเป็นพรรคอันดับ 1 ภายใต้พันธมิตร ด้วยได้รับ 4,734,889 คนเป็นคะแนนเสียง ซึ่งเป็นจำนวนคะแนนเสียงมากกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสที่ได้รับ 4,402,025 คนเป็นคะแนนเสียง

พรรคสังคมนิยมได้ชนะ 113 ที่นั่งในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 1978 ซึ่งนำโดยฟร็องซัว มีแตร็องอีกครั้ง แล้วเป็นพรรคเดียวในการเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนเสียงมากกว่าพรรคการชุมนุมเพื่อสาธารณรัฐ (ฝรั่งเศส: Rassemblement pour la République) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายข้างมากของรัฐบาลและประธานาธิบดีในขณะนั้น

หลังจากฟร็องซัว มีแตร็อง ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปีค.ศ. 1981 แล้ว พรรคสังคมนิยมก็ได้กลายเป็นพรรคฝ่ายข้างมากของสมัชชาแห่งชาติ หลังการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติในปีเดียวกัน ซึ่งได้ชนะ 266 ที่นั่ง

การเลือกตั้งของปีค.ศ. 1988 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในประวัติศาสัตร์ของสาธารณรัฐที่ 5 ของฝรั่งเศส ที่ใช้ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่เข้าข้างพรรคสังคมนิยม เพราะพรรคได้ชนะแค่ 206 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่นั่งมากที่สุดถ้าเป็นพรรคเดียว แต่เป็นเสียงข้างน้อยถ้าร่วมพรรคฝ่ายขวา เช่น พรรคการชุมนุมเพื่อสาธารณรัฐ และ พรรคสหภาพเพื่อประชาธิปไตยฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Union pour la démocratie française) ที่ได้ชนะ 290 ที่นั่ง ทำให้ฌัก ชีรัก ผู้นำพรรคการชุมนุมเพื่อสาธารณรัฐ ถูกแต่งตั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สุดในประวัติศาสัตร์ของฝรั่งเศสที่มีนายกรัฐมนตรีที่มีแนวโน้มทางการเมืองที่แตกต่างกับประธานาธิบดี จากนั้นพรรคสังคมนิยมก็กลายเป็นพรรคฝ่ายค้าน

พรรคสังคมนิยมกลับมาเป็นฝ่ายรัฐบาลอีกครั้งในสมัชชาแห่งชาติในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 1988 แต่เป็นเสียงข้างน้อย โดยพรรคได้ชนะ 260 ที่นั่ง

ต่อมา ในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 1993 พรรคสังคมนิยมกลับมาเป็นพรรคฝ่ายค้าน โดยมีพรรคการชุมนุมเพื่อสาธารณรัฐ และ พรรคสหภาพเพื่อประชาธิปไตยฝรั่งเศส มาเป็นเสียงข้างมากในสมัชชาแห่งชาติ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคสังคมนิยมได้ชนะ 57 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่นั่งที่ต่ำที่สุดของพรรคตั้งแต่ลงการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ทำให้เอดัวร์ บาลาดูร์ ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีแนวโน้มทางการเมืองที่แตกต่างกับประธานาธิบดีคนที่ 2 หลังจากฌัก ชีรัก ที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใต้การนำของฟร็องซัว มีแตร็อง ปฎิเสธดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของปีค.ศ. 1997 เกิดขึ้นหลังฌัก ชีรัก ประธานาธิบดีในขณะนั้น ได้ประกาศยุบสมัชชาแห่งชาติในแถลงการณ์ทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1997 อย่างไรก็ตาม พรรคสังคมนิยมได้เข้าร่วมกับพรรคฝ่ายซ้ายอื่นเพื่อร่วมในพันธมิตรพหูพจน์ซ้าย (ฝรั่งเศส: Gauche plurielle) แล้วหลังรอบที่ 2 ของการเลือกตั้งครั้งนี้ พันธมิตรได้ชนะ 312 ที่นั่ง แล้วภายใต้พันธมิตรนี้ พรรคสังคมนิยมได้ชนะ 255 ที่นั่ง ทำให้พรรคสังคมนิยมกลายเป็นเสียงข้างน้อย แต่เป็นเสียงข้างมากถ้าร่วมกับพรรคฝ่ายซ้ายอื่น ๆ เพื่อเป็นรัฐบาลผสม จากนั้น ลียอแนล ฌ็อสแป็ง ผู้นำพันธมิตรในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากฌัก ชีรัก ทำให้เป็นครั้งที่ 3 ที่มีนายกรัฐมนตรีที่มีโน้มทางการเมืองที่แตกต่างกับประธานาธิบดี

ในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 2002 พรรคสังคมนิยมได้ชนะแค่ 140 ที่นั่ง ทำให้เป็นฝ่ายค้านในสมัชชาแห่งชาติ ต่อมา ในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 2007 พรรคได้ชนะ 186 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าเลือกตั้งครั้งก่อน แต่ก็ยังเป็นฝ่ายค้านอีกเหมือนเดิมด้วยพรรคฝ่ายซ้ายอื่น ๆ ที่มีที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติ

หลังจากมีฟร็องซัว ออล็องด์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของปีค.ศ. 2012 พรรคสังคมนิยม ด้วยพรรคฝ่ายซ้ายอื่น เช่น พรรคเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งยุโรป พรรคฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง และพรรคขบวนการสาธารณรัฐและพลเมือง ได้ชนะทั้งหมด 331 ที่นั่ง ภายใต้พันธมิตรกับพรรคอื่น พรรคสังคมนิยมได้ชนะ 280 ที่นั่ง ทำให้พรรคเป็นฝ่ายข้างมากแต่มีเสียงข้างน้อย แต่เป็นเสียงข้างมากถ้าร่วมกับพรรคอื่นเพื่อเป็นรัฐบาลผสม

การเลือกตั้งของปีค.ศ. 2017 ทำให้พรรคสังคมนิยมมีจำนวนที่นั่งน้อยลง ซึ่งได้ชนะแค่ 30 ที่นั่ง แล้วกลายเป็นฝ่ายค้านกับพรรคฝ่ายซ้ายอื่น ๆ ที่ได้ชนะที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติ เช่น ลาฟร็องแซ็งซูมีซ หรือพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส ต่อมาในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 2022 พรรคสังคมนิยมได้เข้าร่วมภายใต้พันธมิตร สหภาพทางนิเวศวิทยาและสังคมใหม่ (ฝรั่งเศส: Nouvelle Union populaire écologique et sociale) ที่นำโดยพรรคลาฟร็องแซ็งซูมีซ ของฌอง-ลุค เมลองชง ทำให้พรรคสังคมนิยมได้ชนะ 28 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าที่ได้ชนะในการเลือกตั้งครั้งก่อน

การเข้าร่วมการเมืองอื่น ๆ

แก้

พรรคสังคมนิยมเคยเป็นเสียงข้างมากในวุฒิสภาฝรั่งเศส หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาของปีค.ศ. 2011

ในรัฐสภายุโรป พรรคสังคมนิยมเป็นหนึ่งของกลุ่ม พันธมิตรก้าวหน้าของสังคมนิยมและเดโมแครตในรัฐสภายุโรป (อังกฤษ: Progressive Alliance of Socialists and Democrats) และเป็นหนึ่งของพรรคสังคมนิยมยุโรป (อังกฤษ: Party of European Socialists) อีกด้วย

ผลการเลือกตั้ง

แก้
การเลือกตั้ง ผู้สมัครเลือกตั้ง คะแนนรอบที่ 1 คะแนนรอบที่ 2
คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
1974 ฟร็องซัว มีแตร็อง 11,044,373 43.25% 12,971,604 49.19%   พ่ายแพ้
1981 7,505,960 25.85% 15,708,262 51.76%   สำเร็จ ชนะ
1988 10,367,220 34.10% 16,704,279 54.02%   สำเร็จ ชนะ
1995 ลียอแนล ฌ็อสแป็ง 7,097,786 23.30% 14,180,644 47.36%   พ่ายแพ้
2002 4,610,113 16.18% ไม่ผ่านรอบที่ 2
2007 เซกอแลน รัวยาล 9,500,112 25.87% 16,790,440 46.94%   พ่ายแพ้
2012 ฟร็องซัว ออล็องด์ 10,272,705 28.63 18,000,668 51.64%   สำเร็จ ชนะ
2017 เบอนัว อามง 2,291,288 6.36% ไม่ผ่านรอบที่ 2
2022 อาน อีดาลโก 616,478 1.75% ไม่ผ่านรอบที่ 2

การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ

แก้
การเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง คะแนนรอบที่ 1 คะแนนรอบที่ 2 จำนวนที่นั่ง ผลการเลือกตั้ง
คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง
1973 ฟร็องซัว มีแตร็อง 4,537,348 19.10% 4,734,889 22.17%
89 / 490
ฝ่ายค้าน
1978 7,040,561 22.60% 7,788,076 30.73%
113 / 491
ฝ่ายค้าน
1981 ลียอแนล ฌ็อสแป็ง 9,432,362 37.52% 9,198,332 49.25%
266 / 491
เสียงข้างมาก
1986 โลร็อง ฟาบียุส 8,693,939 31.02% ไม่มีรอบที่ 2 เพราะเป็นการเลือกตั้งแบบระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ
206 / 577
ฝ่ายค้าน
1988 ลียอแนล ฌ็อสแป็ง 8,493,702 34.77% 9,198,778 45.31%
260 / 577
เสียงข้างน้อย
1993 โลร็อง ฟาบียุส 4,429,237 17.50% 5,697,795 28.00%
57 / 577
ฝ่ายค้าน
1997 ลียอแนล ฌ็อสแป็ง 5,961,612 23.53% 9,751,423 38.05%
255 / 577
แกนนำจัดตั้งรัฐบาล[b]
2002 ฟร็องซัว ออล็องด์ 6,086,599 24.11% 7,482,169 35.26%
140 / 577
ฝ่ายค้าน
2007 6,436,136 24.73% 8,622,529 42.25%
186 / 577
ฝ่ายค้าน
2012 ฌ็อง-มาร์ก เอโร 7,618,326 29.35% 9,420,889 40.91%
280 / 577
แกนนำจัดตั้งรัฐบาล[c]
2017 แบร์นาร์ กาซเนิฟว์ 1,685,677 7.44% 1,032,842 5.68%
30 / 577
ฝ่ายค้าน
2022 ร่วมในพันธมิตร NUPES ที่นำโดย ฌอง-ลุก เมลองชง 860,201 3.78% 1,084,909 5.23%
28 / 577
ฝ่ายค้าน
2024 ไม่มีเนื่องจากเข้าร่วมในพันธมิตรแนวร่วมประชาชนใหม่ รอผลการเลือกตั้ง
59 / 577
รอผลการเลือกตั้ง

ผู้บริหาร

แก้

เลขาธิการเอก

แก้
ลำดับ รูป ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 อะแล็ง ซาวารี 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 16 มิถุนายน ค.ศ. 1971

(1 ปี 334 วัน)

2   ฟร็องซัว มีแตร็อง 16 มิถุนายน ค.ศ. 1971 24 มกราคม ค.ศ. 1981

(9 ปี 222 วัน)

3(1)   ลียอแนล ฌ็อสแป็ง 24 มกราคม ค.ศ. 1981 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1988

(7 ปี 111 วัน)

4   ปีแยร์ โมรัว 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 9 มกราคม ค.ศ. 1992

(3 ปี 240 วัน)

5   โลร็อง ฟาบียุส 9 มกราคม ค.ศ. 1992 3 เมษายน ค.ศ. 1993

(1 ปี 84 วัน)

6   มีแชล รอการ์ 3 เมษายน ค.ศ. 1993 19 มิถุนายน ค.ศ. 1994

(1 ปี 77 วัน)

7   อ็องรี แอมมานุเอลลี 19 มิถุนายน ค.ศ. 1994 14 ตุลาคม ค.ศ. 1995

(1 ปี 117 วัน)

8(2)   ลียอแนล ฌ็อสแป็ง 14 ตุลาคม ค.ศ. 1995 2 มิถุนายน ค.ศ. 1997

(1 ปี 231 วัน)

9   ฟร็องซัว ออล็องด์ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008

(10 ปี 365 วัน)

10   มาร์ทีน โอบรี 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 17 กันยายน ค.ศ. 2012

(3 ปี 296 วัน)

11   ฮาร์เล็ม เดซียร์ 17 กันยายน ค.ศ. 2012 15 เมษายน ค.ศ. 2014

(1 ปี 210 วัน)

12   ฌ็อง-กริสตอฟ กัมบาเดลิส 15 เมษายน ค.ศ. 2014 30 กันยายน ค.ศ. 2017

(3 ปี 168 วัน)

-   ราชิด เตมาล[d] 30 กันยายน ค.ศ. 2017 7 เมษายน ค.ศ. 2018

(0 ปี 189 วัน)

13   โอลิเวียร์ ฟอร์ 7 เมษายน ค.ศ. 2018 ปัจจุบัน

หมายเหตุ

แก้
  1. เมืองที่มีประชากรมากกว่า 30,000 คน
  2. ผลการเลือกตั้งเสนอว่าพรรคสังคมนิยมได้รับเสียงข้างน้อย แต่เป็นเสียงข้างมากถ้าเป็นรัฐบาลผสม
  3. ผลการเลือกตั้งเสนอว่าพรรคสังคมนิยมได้รับเสียงข้างน้อย แต่เป็นเสียงข้างมากถ้าเป็นรัฐบาลผสม
  4. รักษาการตำแหน่ง แต่ชื่อตำแหน่งอย่างเป็นทางการเป็น "เลขาธิการประสานงานแห่งชาติ" ของพรรค

อ้างอิง

แก้
  1. "François Hollande annonce qu'il ne se présente pas en 2017 pour un second mandat". Marianne (ภาษาฝรั่งเศส). 2016-12-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Présidentielle : Benoît Hamon décroche à la cinquième place". Le Monde.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2017-04-23. สืบค้นเมื่อ 2023-07-14.
  3. "Combien de personnes ont voté pour l'investiture d'Anne Hidalgo comme candidate du PS ?". Libération (ภาษาฝรั่งเศส).

ดูเพิ่ม

แก้