การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2007

การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2550 (ฝรั่งเศส: Élection présidentielle française de 2007) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2122 เมษายน และ 56 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยมีจุดประสงค์ในการหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสสืบต่อจากฌัก ชีรัก

การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2007

← 2002 2122 เมษายน และ 56 พฤษภาคม 2007 2012 →
 
ผู้ได้รับเสนอชื่อ นีกอลา ซาร์กอซี เซกอแลน รัวยาล
พรรค UMP พรรคสังคมนิยม (ฝรั่งเศส)
คะแนนเสียง 18,983,138 16,790,440
% 53.06% 46.94%

ผลการเลือกตั้งในรอบสอง: ผู้สมัครที่มีเสียงข้างมากในแต่ละเทศบาล 36,784 แห่ง
โดยนีกอลา ซาร์กอซี: ฟ้า; เซกอแลน รัวยาล: ชมพู

ประธานาธิบดีก่อนการเลือกตั้ง

ฌัก ชีรัก
UMP

ว่าที่ประธานาธิบดี

นีกอลา ซาร์กอซี
UMP

ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีจำนวนประชาชนฝรั่งเศสมาขึ้นทะเบียนเลือกตั้งมากกว่าครั้งก่อน ๆ โดยมีจำนวนกว่า 50,000,000 คนในดินแดนประเทศฝรั่งเศสและอีก 535,000 คนจากต่างประเทศตามสถานกงสุล[1] เป็นการแสดงว่ามีคนมาขึ้นทะเบียนกว่า 1.8 ล้านคนต่อปี [2] และ 3.3 ล้านคนมากกว่าปี พ.ศ. 2545[3] โดยมีสาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่สูงขึ้น [4] · [5] และความสนใจทางด้านการเมืองภาคประชาชน[3] การเลือกตั้งครั้งนี้ยังแสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของฝรั่งเศสอีกด้วย เนื่องจากประชาชนกว่า 1.5 ล้านคนลงคะแนนเสียงผ่านทางคอมพิวเตอร์[6]

การเลือกตั้งรอบแรกจัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 ตั้งแต่ 08.00 น. – 18.00 น.[7] และเนื่องจากความแตกต่างในเวลา การเลือกตั้งก็ยังจัดเมื่อวันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2550 สำหรับดินแดนภายนอกแผ่นดินใหญ่: กัวเดอลุป เฟรนช์เกียนา มาร์ตีนิก เฟรนช์โปลินีเซีย แซงปีแยร์และมีเกอลง และคูหาเลือกตั้งที่จัดโดยสถานทูตและสถานกงสุลบนทวีปอเมริกา[8]

และเนื่องจากไม่มีผู้สมัครคนใดชนะด้วยเสียงข้างมากเด็ดขาด จึงมีการจัดการเลือกตั้งรอบสองขึ้นเมื่อวันที่ 56 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ระหว่างผู้สมัครที่มีเสียงมากที่สุดสองคนคือนีกอลา ซาร์กอซี และเซกอแลน รัวยาล[9]

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ โดยนีกอลา ซาร์กอซี เป็นผู้ชนะด้วยคะแนนเสียง 18,983,138 หรือคิดเป็น 53.06% และวาระการดำรงตำแหน่งของฌัก ชีรัก ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เวลา 00.00 น. โดยนีกอลา ซาร์กอซี ได้ดำรงตำแหน่งสืบต่อมา

ประวัติ

แก้

วันเวลาจัดการเลือกตั้ง

แก้

วันเวลาจัดการเลือกตั้งนั้นได้ถูกกำหนดผ่านรัฐบัญญัติ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ทำการประชาสัมพันธ์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2549[10]

  • วันอาทิตย์ 22 เมษายน : รอบแรก
  • วันอาทิตย์ 6 พฤษภาคม : รอบสอง

การเลือกตั้งรอบแรก

แก้

การเลือกตั้งรอบสอง

แก้

ผลการเลือกตั้งโดยรวม

แก้

ในการเลือกตั้งรอบแรกนั้นปรากฏผลว่า กว่า 85% หรือ 37.6 ล้านคนจาก 44 ล้านผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้ออกสิทธิเลือกตั้งจากประชากรทั้งหมด 62 ล้านคน ผลที่ออกมาคือการที่ซาร์กอซีและรัวยาลก้าวไปสู้การเลือกตั้งรอบที่ 2 ด้วยคะแนน 31% และ 26% ตามลำดับ ส่วนฟร็องซัว ไบรูได้คะแนนมาเป็นอันดับสาม (19%) และฌ็อง-มารี เลอ แปน เป็นที่สี่ (10%) ซึ่งต่างกับในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเลอ แปนได้คะแนน 16.9% และยังได้ก้าวไปสู้การเลือกตั้งรอบสอง

ในทันทีหลังจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรกออกมาอย่างเป็นทางการ ผู้สมัครปีกซ้ายทั้งสี่คนที่ได้พ่ายแพ้ ซึ่งก็คือ โฌเซ โบเว่, มารี-จอร์จ บุฟเฟต์, อาร์แลตต์ ลากิเยร์และโดมินิก วัวเนต์ได้ออกมาสนับสนุนให้ลงคะแนนแก่รัวยาล

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ที่อาร์แลตต์ ลากิเยร์ได้ให้การสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส โอลิวีเยร์ เบอซองเซอโนต์ได้บอกให้ผู้สนับสนุนของเขาออกเสียงต่อต้านซาร์กอซี เฟรเดอริค นีอูส์และเชราร์ด ชิวาร์ดีไม่ได้ออกมาประกาศว่าจะสนับสนุนฝ่ายใด ส่วนฟิลิป เดอ วิลลีเยร์ได้ประกาศสนับสนุนซาร์กอซี ทางด้านฌอง-มารี เลอ เปนได้ออกประกาศให้งดออกเสียงในรอบสอง

ในวันที่ 25 เมษายน ฟรองซัวส์ ไบรูได้ออกมาประกาศไม่สนับสนุนผู้แข่งขันในรอบชิงทั้งสอง และยังได้ประกาศว่าเขาจะตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาใหม่ชื่อว่า Mouvement démocrate (MoDem) ทั้งนี้เขาได้วิพากย์วิจารณ์ผู้แข่งขันทั้งสอง พร้อมทั้งเสนอให้มีการโต้วาที ซึ่งรัวยาลตกลงในการโต้วาทีออกทางโทรทัศน์ ขณะที่ซาร์กอซีเสนอให้มีการคุยกันแบบส่วนตัว ไม่ใช่โต้วาทีทางโทรทัศน์

ในวันที่ 6 พฤษภาคม เวลาประมาณ 18.15 น. แหล่งข่าวจากสำนักข่าวของเบลเยี่ยมและสวิตเซอร์แลนด์ เช่น Le Soir, RTBF, La Libre Belgique] และ La Tribune de Genève ได้ประกาศว่า นีกอลา ซาร์กอซี เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งในรอบสอง โดยอ้างอิงจากผลสำรวจเบื้องต้น และภายหลังการคาดคะเนผลการเลือกตั้งของ CSA นั้นปรากฏชัดว่า ซาร์กอซีด้วยคะแนน 53% ซึ่งรัวยาลก็ได้ยอมรับกับการพ่ายแพ้ของตนเองในเย็นวันนั้นเอง

ผลการเลือกตั้ง

แก้
· ·
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 22 เมษายน และ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
อันดับที่ ผู้สมัครเลือกตั้ง พรรค รอบแรก รอบสอง
คะแนนเสียง เปอร์เซ็นต์ คะแนนเสียง เปอร์เซ็นต์
1 นีกอลา ซาร์กอซี อูว์นียงปูร์เอิงมูฟว์ม็องปอปูแลร์ (UMP) 11,448,663 31.18% 18,983,138 53.06%
2 เซกอแลน รัวยาล พรรคสังคมนิยม (PS) 9,500,112 25.87% 16,790,440 46.94%
3 ฟร็องซัว บายรู อูว์นียงปูร์ลาเดมอคราซีฟร็องแซซ (UDF) 6,820,119 18.57%
4 ฌอง-มารี เลอ เป็ง ฟรงนาซียอนาล (FN) 3,834,530 10.44%
5 โอลีวีเย เบอซ็องเซอโน ลีกกอมูว์นิสต์เรวอลูว์ซียอแนร์ (LCR) 1,498,581 4.08%
6 ฟีลิป เดอ วีลีเย มูฟว์ม็องปูร์ลาฟร็องส์ (MPF) 818,407 2.23%
7 มารี-ฌอร์ฌ บูว์แฟ ปาร์ตีกอมูว์นิสต์ฟร็องแซ (PCF) 707,268 1.93%
8 ดอมีนิก วัวแน เลแวร์ (Les Verts) 576,666 1.57%
9 อาร์แล็ต ลากีเย ลุตอูวรีแยร์ (LO) 487,857 1.33%
10 โฌเซ บอเว ผู้สมัครอิสระ 483,008 1.32%
11 เฟรเดริก นีอู ชัส แป็ช นาตูร์ ทราดีซียง (CPNT) 420,645 1.15%
12 เฌราร์ ชีวาร์ดี ปาร์ตีเดทราวาเยอร์ (PT) 123,540 0.34%
ผลรวม 36,719,396 35,773,578
เสียงข้างมากเด็ดขาด (18,359,698)  
บัตรดี 36,719,396 98.56% 35,773,578 95.80%
บัตรเสีย 534,846 1.44% 1,568,426 4.20%
จำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง 37,254,242 83.77% 37,342,004 83.97%
จำนวนผู้งดออกเสียงเลือกตั้ง 7,218,592 16.23% 7,130,729 16.03%
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44,472,834 100% 44,472,733 100%

การเลือกตั้งรอบแรก (22 เมษายน พ.ศ. 2550)

แก้
 
ผลการเลือกตั้งในรอบแรก
 
ผลการเลือกตั้งในรอบแรก:
ผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งโดยมีเสียงข้างมากในเขตการปกครอง:
นีกอลา ซาร์กอซี
เซกอแลน รัวยาล
ฟรองซัวส์ ไบรู

ทั่วทั้งประเทศ นีกอลา ซาร์กอซี ได้รับคะแนนเสียง 31% เซกอแลน รัวยาลได้รับคะแนนเสียง 26% ขณะที่เทียบกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2545 นั้น ฌัก ชีรักได้คะแนนเสียง 20% ส่วนลียอแนล ฌ็อสแป็ง ได้ 16.18% เท่านั้นเอง ฟรองซัวส์ ไบรู ได้คะแนนเสียง 18.6% ในครั้งนี้ ซึ่งได้คะแนนเสียงมากกว่าในปี พ.ศ. 2545 เกือบ 3 เท่า (6.8%) ส่วนผู้สมัครจากพรรคพรรคแนวหน้าแห่งชาติ (FN) ฌ็อง-มารี เลอ แปน ได้คะแนนเพียงแค่ 10.4% เมื่อเทียบกับความประสบความสำเร็จของเขาในปี พ.ศ. 2545 เมื่อเขาได้ 16.9% ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งซาร์กอซีได้ย้ายตนไปยังพรรคขวาจัด ทำให้มีผู้ออกมาวิจารณ์และแถลงว่าผู้ที่สนับสนุนพรรคแนวหน้าแห่งชาติ (FN) มาแต่เดิมนั้น โดนซาร์กอซีหลอกล่อให้ไปสังกัดปีกขวาจัดด้วย ถ้าดูผลโดยรวมนั้น ฝ่ายซ้ายได้รับคะแนน 36% ฝ่ายกลางได้รับคะแนน 19% ฝ่ายขวาได้รับคะแนน 33% ส่วนขวาจัดนั้นได้ 11%

ส่วนผู้สมัครอื่นๆ นั้นได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่าที่เคยได้รับมาในปี พ.ศ. 2545 โดยมีโอลิวีเยร์ เบอซองเซอโนต์ จากพรรคสันนิบาตคอมมิวนิสต์ปฏิวัติ (LCR) ล้มเหลวในการบรรลุ 5% ซึ่งจะทำให้เขาสามารถเบิกเงินจากรัฐบาลในการรณรงค์หาเสียงได้ แต่ทว่าเขาได้รับเสียงสนับสนุนเพียงแค่ 4.1% เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2545 ที่เขาได้ 4.3% ส่วนผู้สมัครที่ตามหลังเขามาคือผู้สมัครขวาจัดอีกคนหนึ่ง ฟิลิป เดอ วิลลีเยร์ (2.2%), ผู้สมัครจากพรรคคอมมิวนิสต์ มารี-จอร์จ บุฟเฟต์ (ได้ 1.9% เมื่อเทียบกับโรแบร์ต อู ที่ได้ 3.4% ในปี พ.ศ. 2545), ผู้สมัครพรรคเขียว โดมินิก วัวเนต์ (ได้ 1.6% เมื่อเทียบกับ โนเอ็ล มาแมร์ ที่ได้ 5.7% ในปี พ.ศ. 2545), ผู้สมัครจากพรรคพลังแรงงาน (LO) อาร์แลตต์ ลากิเยร์ (ได้ 1.3% เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2545 ที่ได้ 5.7%), ผู้สมัครอิสระ นักต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ โฌเซ โบเว่ (1.3%), เฟรเดอริค นีอูส์ (ได้ 1.2% เมื่อเทียบกับ ฌอง แซงต์-ฌอสส์ที่ได้ 4.2% ในปี พ.ศ. 2545) และสุดท้าย เชราร์ด ชิวาร์ดี (ได้ 0.3% เมื่อเทียบกับ ดานีแยล กลัคสไตน์ที่ได้ 0.5% ในปี พ.ศ. 2545) การงดออกเสียงนั้นอยู่ในระดับ 15.4%

สถิติการเลือกตั้งทั่วไปนั้นอยู่ที่ 84.6% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2508 ที่ได้ 84.8% เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมากตัดสินใจที่จะไม่นิ่งเฉยอยู่บ้าน ซึ่งส่วนมากนั้นตัดสินใจที่จะต้านการออกเสียงลงคะแนนคัดค้าน และเลือกที่จะลงคะแนนเสียงอย่างเป็นประโยชน์ นั่นก็คือการที่ลงคะแนนเสียงให้กับผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งอ้างว่าเป็นแกนนำในแต่ละขั้วการเมือง (นีกอลา ซาร์กอซี, เซกอแลน รัวยาล และ/หรือฟร็องซัว ไบรู)

สโลแกน "ใครก็ได้ยกเว้นซาร์กอซี" ได้ถูกผลักดันและเป็นผลประโยชน์แก่ทั้งรัวยาลและไบรู ขณะที่กลยุทธ์ในการลงคะแนนเสียง ซ้ายหรือขวา คือสาเหตุทำไมผู้สมัครอื่น ๆ ถึงได้คะแนนน้อยลงกว่าการเลือกตั้งรอบแรกในครั้งก่อนหน้านี้

การรณรงค์หาเสียงนั้นเห็นได้ชัดว่ามีการแบ่งแยกกันอย่างสุดขั้วและเห็นได้ชัด โดยเฉพาะสโลแกนของฝ่ายซ้ายที่ว่า "ใครก็ได้ยกเว้นซาร์กอซี"

อ้างอิง

แก้
  1. "Inscriptions sur les listes électorales" (ภาษาฝรั่งเศส). Ministère de l'intérieur, Communiqué. 27 มีนาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ตุลาคม 2007.
  2. Jean-Dominique Merchet (28 มีนาคม 2007). "44 508 024 voix prêtes à se faire entendre". Libération. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 สิงหาคม 2012.
  3. 3.0 3.1 Luc Bronner (21 เมษายน 2007). "3,3 millions d'électeurs inscrits en plus par rapport à 2002". Le Monde.
  4. ข้อสังเกต การมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นสูงสุดพบในแคว้นปารีส (ลงทะเบียน +9.6%)
  5. "Tableau d'évolution du nombre d'inscrits par département 2006/2007" (PDF). Ministère de l’intérieur. 27 มีนาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 กันยายน 2007.
  6. Christophe Guillemin (10 เมษายน 2007). "1,5 million d'électeurs français inaugureront le vote électronique le 22 avril". ZDNet France. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ธันวาคม 2008.
  7. ในเมืองใหญ่บางแห่ง มีการออกกฤษฎีกาจังหวัดเพื่อให้สามารถขยายเวลาการออกเสียงได้จนถึงเวลา 20.00 น. (ประมวลกฎหมายการเลือกตั้ง มาตรา R41)
  8. "Décret n° 2007-227 du 21 février 2007 portant convocation des électeurs pour l'élection du Président de la République". Légifrance. Article 1
  9. "Décret n° 2007-227 du 21 février 2007 portant convocation des électeurs pour l'élection du Président de la République". Légifrance. Conseil constitutionnel, Décision du 26 avril 2007 relative à la liste des candidats habilités à se présenter au second tour de l'élection du Président de la République.
  10. "Communication du ministre d'État, ministre de l'Intérieur et de l'Aménagement du territoire". Site officiel du Gouvernement. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มีนาคม 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้


ก่อนหน้า การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2007 ถัดไป
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส
ค.ศ. 2002
  การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส
ค.ศ. 2007

  การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส
ค.ศ. 2012