รัฐสภายุโรป
รัฐสภายุโรป (อังกฤษ: European Parliament, ย่อ: EP) เป็นสถาบันรัฐสภาแห่งเดียวของสหภาพยุโรปซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองอียูอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป รัฐสภาฯ ร่วมกับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติของอียู รัฐสภาประกอบด้วยสมาชิก 705 คน รัฐสภายุโรปเป็นผู้แทนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยกลุ่มใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลก (รองจากรัฐสภาอินเดีย) และกลุ่มผู้มีสิทธฺเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยข้ามชาติใหญ่สุดในโลก (ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 375 ล้านคนในปี 2552)[4][5][6]
รัฐสภายุโรป
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รัฐสภายุโรป ชุดที่ 9 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภท | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภท | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้บริหาร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หัวหน้ากลุ่มการเมือง ใหญ่สุด | มันเฟรด เวเบอร์, กลุ่มพรรคเพื่อประชาชนยุโรป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หัวหน้ากลุ่มการเมือง ใหญ่สุดอันดับสอง | อิราตเซ การ์ซิอา, พันธมิตรก้าวหน้าแห่งสังคมนิยมและประชาธิปไตย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สมาชิก | 705 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่มการเมือง | ฝ่ายข้างมาก (422) EPP (176) S&D (144) Renew (102) ฝ่ายข้างน้อย (236) Greens/EFA (71) ID (64) ECR (63) The Left (38) ไม่ฝักฝ่ายใด (47) NI (47)[2] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะกรรมาธิการ |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะวาระ | 5 ปี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเลือกตั้ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บัญชีรายชื่อ, ถ่ายโอนคะแนนเสียงและระบบเสียงส่วนใหญ่[3] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 23 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ประชุม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ 1: อาคารหลุยส์ไวส์: สทราซบูร์, ประเทศฝรั่งเศส (ในรูป) ที่ 2: เอสปาซลีโอโพลด์: บรัสเซลส์, ประเทศเบลเยียม สำนักเลขาธิการ: ลักเซมเบิร์ก และบรัสเซลส์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เว็บไซต์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
europarl.europa.eu |
สมาชิกรัฐสภายุโรปมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองยุโรป (ผู้ถือสัญชาติของรัฐสมาชิกอียูมีสัญชาติของรัฐตน ผลทำให้มีสัญชาติอียูด้วย) ทุก 5 ปี และทุกคนมีสิทธิออกเสียงโดยดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2522 อย่างไรก็ตาม อัตราผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งน้อยลงเรื่อย ๆ ทุกปีนับแต่นั้น จนเหลือน้อยกว่าร้อยละ 50 ตั้งแต่ปี 2542 โดยในปี 2557 มีผู้ออกเสียงเลือกตั้งยุโรปใช้สิทธิเลือกตั้ง 42.54%[7]
แม้รัฐสภายุโรปและคณะมนตรีมีอำนาจนิติบัญญัติ แต่รัฐสภายุโรปไม่มีอำนาจริเริ่มออกกฎหมายอย่างเป็นทางการ (ซึ่งเป็นอำนาจพิเศษของคณะกรรมาธิการยุโรป) อย่างรัฐสภาแห่งชาติของรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปส่วนมาก รัฐสภาเป็น "สถาบันแรก" ของอียู (มีการกล่าวถึงเป็นลำดับแรกในสนธิสัญญา มีลำดับก่อนในทางพิธีการเหนืออำนาจทั้งปวงในระดับทวีปยุโรป) และมีอำนาจนิติบัญญัติและผ่านงบประมาณเท่ากับคณะมนตรี (ยกเว้นบางหมวดที่ใช้วิธีดำเนินการพิเศษทางนิติบัญญัติ) และมีการควบคุมงบประมาณอียูเท่ากัน สุดท้ายคณะกรรมาธิการ ฝ่ายบริหารของอียู (เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร แต่มีอำนาจริเริ่มออกกฎหมาย) ขึ้นตรงต่อรัฐสภา โดยเฉพาะคือ รัฐสภาเลือกตั้งประธานคณะกรรมาธิการ และให้การรับรองหรือปฏิเสธการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการทั้งคณะ ทั้งยังสามารถบังคับให้คณะกรรมธิการทั้งคณะออกจากตำแหน่งได้ด้วยการมีมติเห็นชอบญัตติไม่ไว้วางใจ
ประธานรัฐสภายุโรปล่าสุดคือ เดวิด ซัลโลลี (เสียชีวิต ม.ค. 2565) (พรรคสังคมประชาธิปไตย) ได้รับการเลือกตั้งขึ้นมาในเดือนกรกฎาคม 2562 ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมหลายพรรค โดยมีกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดสองกลุ่มคือกลุ่มพรรคเพื่อประชาชนยุโรป (EPP) และพันธมิตรก้าวหน้าแห่งนักสังคมนิยมและนักประชาธิปไตย (S&D) การเลือกตั้งครั้งล่าสุดคือการเลือกตั้งรัฐสภายุโรป พ.ศ. 2562
รัฐสภายุโรปมีที่ทำการสามแห่งคือที่ประชุมใหญ่แห่งสภาในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม และสทราซบูร์ ประเทศฝรั่งเศส นครลักเซมเบิร์กเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริหาร ("สำนักเลขาธิการ") การประชุมเต็มสภามีขึ้นในสทราซบูร์และบรัสเซลส์ การประชุมคณะกรรมการจัดในบรัสเซลส์[8][9]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Roberta Metsola elected new President of the European Parliament". สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2023.
- ↑ "MEPs European Parliament, Full list". สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2022.
- ↑ มีเขตเลือกตั้งหนึ่งในเบลเยียมที่ใช้ระบบเสียงส่วนใหญ่เพื่อเลือกสมาชิกสภายุโรป 1 คน
- ↑ Brand, Constant; Wielaard, Robert (8 มิถุนายน 2009). "Conservatives Post Gains In European Elections". The Washington Post. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2010.
- ↑ Ian Traynor (7 มิถุนายน 2009). "Misery for social democrats as voters take a turn to the right". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2010.
- ↑ "18 new MEPs take their seats". European Parliament. 10 มกราคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2012.
- ↑ "Turnout at the European elections (1979-2009)". European Parliament. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012.
- ↑ "European Parliament". Europa. 19 เมษายน 2010. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2012.
- ↑ "Consolidated versions of the treaty on European Union and of the treaty establishing the European Community" (PDF). Eur-lex. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 ธันวาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2007.