ภาษาสโลวัก
ภาษาสโลวัก (สโลวัก: slovenčina, slovenský jazyk) เป็นภาษากลุ่มภาษาสลาฟตะวันตก (กลุ่มเดียวกับภาษาเช็ก ภาษาโปแลนด์ และภาษาซอร์เบีย) ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาสโลวักมีความใกล้ชิดกับภาษาเช็กเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ภาษาสโลวักและภาษาสโลวีเนียเป็นภาษาสลาฟสมัยใหม่สองภาษาเท่านั้นที่ชื่อท้องถิ่นของตนเองมีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า "สลาฟ" (Slavic) (ชาวสโลวัก: slovenčina และชาวสโลวีเนีย: slovenščina) (ส่วน slověnskii เป็นภาษาสลาวอนิกเก่า)
ภาษาสโลวัก | |
---|---|
slovenčina; slovenský jazyk | |
ออกเสียง | ˈ[slɔʋentʂina]; ˈˈ[slɔʋenski ˈjazik] |
ประเทศที่มีการพูด | สโลวาเกีย, ฮังการี, คาร์เพเทียนรูทีเนีย |
ภูมิภาค | ยุโรปกลาง |
ชาติพันธุ์ | ชาวสโลวัก |
จำนวนผู้พูด | 5.2 ล้านคน (2011–2012)[1] |
ตระกูลภาษา | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ![]() ![]() ![]() |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
ผู้วางระเบียบ | บัณฑิตยสถานสโลวัก (สถาบันภาษาศาสตร์ลยูดอวีต ชตูร์) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | sk |
ISO 639-2 | slo (B) slk (T) |
ISO 639-3 | slk |
Linguasphere | 53-AAA-db < 53-AAA-b...–d (วิธภาษา: 53-AAA-dba ถึง 53-AAA-dbs) |
![]() ภูมิภาคที่มีผู้พูดเป็นหมู่มาก ภูมิภาคที่มีผู้พูดเป็นชุมชนย่อย | |
ภาษาสโลวักพูดในประเทศสโลวาเกีย (ประมาณ 5 ล้านคน) สหรัฐอเมริกา (500,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศเช็กเกีย (320,000 คน เนื่องมาจากอดีตเชโกสโลวาเกีย) ประเทศฮังการี (20,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์โบราณ) ประเทศเซอร์เบีย-วอยวอดีนาภาคเหนือ (60,000 คน ผู้สืบเชื้อสายจากผู้ตั้งถิ่นฐานรุ่นแรก ๆ ในช่วงที่อยู่ภานใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก) ประเทศโรมาเนีย (22,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์เก่าแก่) ประเทศโปแลนด์ (20,000 คน) ประเทศแคนาดา (20,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรเลีย (เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรีย ประเทศยูเครน ประเทศบัลแกเรีย ประเทศโครเอเชีย (5,000 คน) และประเทศอื่น ๆ บางประเทศ
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ภาษาสโลวัก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ "Autonomous Province of Vojvodina". Government of the Autonomous Province of Vojvodina. 2013. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2017-12-20. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ Pisarek, Walery (2009). The relationship between official and minority languages in Poland (PDF). 7th Annual Conference: The Relationship between Official Languages and Regional and Minority Languages in Europe. Dublin, Ireland: European Federation of National Institutions for Language. p. 18.
- ↑ "Hungary needs to strengthen use of and access to minority languages". Strasbourg, France: Council of Europe. 14 December 2016. สืบค้นเมื่อ 29 June 2020.
The following languages have been given special protection under the European Charter [in Hungary]: Armenian, Beas, Bulgarian, Croatian, German, Greek, Polish, Romani, Romanian, Ruthenian, Serbian, Slovak, Slovenian and Ukrainian.
บทความเกี่ยวกับภาษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา |