ภาษาเช็ก

ภาษาสลาวิกตะวันตกในสาธารณรัฐเช็ก

ภาษาเช็ก (อังกฤษ: Czech; เช็ก: čeština, ออกเสียง: [ˈt͡ʃɛʃcɪna]) ซึ่งในอดีตยังมีชื่อเรียกว่า ภาษาโบฮีเมีย[4] (อังกฤษ: Bohemian, ออกเสียง: /boʊˈhiːmiən, bə-/;[5] ละติน: lingua Bohemica) เป็นภาษาสลาฟตะวันตกภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาเช็ก–สโลวัก[4]ที่มีผู้พูดมากกว่า 13 ล้านคน ถือเป็นภาษาทางการในประเทศเช็กเกีย ภาษาเช็กมีความใกล้ชิดกับภาษาสโลวักมากจนสามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้[6] (เช่นเดียวกันกับภาษาโปแลนด์ในระดับที่น้อยกว่า)[7] ภาษาเช็กเป็นภาษาหลอมรวมหน่วยคำ (fusional language) ซึ่งเต็มไปด้วยระบบหน่วยคำที่รุ่มรวยและการเรียงลำดับคำที่ค่อนข้างยืดหยุ่น วงศัพท์ในภาษานี้ได้รับอิทธิพลอย่างกว้างขวางจากภาษาละติน[8] และภาษาเยอรมัน[9]

ภาษาเช็ก
čeština, český jazyk
ประเทศที่มีการพูดเช็กเกีย
ชาติพันธุ์ชาวเช็ก
จำนวนผู้พูด14.0 ล้านคน  (2558)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
ผู้วางระเบียบสถาบันภาษาเช็ก
(ประจำบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์เช็ก
รหัสภาษา
ISO 639-1cs
ISO 639-2cze (B)
ces (T)
ISO 639-3ces
Linguasphere53-AAA-da < 53-AAA-b...-d
(วิธภาษา: 53-AAA-daa ถึง 53-AAA-dam)
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาเช็กมีระบบสัทวิทยาขนาดกลาง โดยแบ่งออกเป็นหน่วยเสียงสระเดี่ยว 10 หน่วยเสียง, หน่วยเสียงสระประสมสองเสียง 3 หน่วยเสียง และหน่วยเสียงพยัญชนะ 25 หน่วยเสียง (แบ่งออกเป็น "แข็ง", "กลาง" และ "อ่อน") คำต่าง ๆ อาจมีพยัญชนะควบกล้ำซับซ้อนหรือไม่มีสระเลย ภาษาเช็กยังมีเสียงรัว ปุ่มเหงือก ลิ้นยก ซึ่งเป็นหน่วยเสียงที่พบในไม่กี่ภาษา และแสดงด้วยหน่วยอักขระ ř

การจำแนก

แก้
 
การจำแนกภาษาเช็กภายในสาขาบอลต์-สลาฟในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ภาษาเช็กและภาษาสโลวักประกอบเป็นกลุ่มย่อย "เช็ก–สโลวัก"

ภาษาเช็กเป็นสมาชิกหนึ่งในสาขาย่อยสลาฟตะวันตกของสาขาสลาฟจากตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ภาษาที่อยู่ในสาขานี้ ได้แก่ ภาษาโปแลนด์, ภาษาคาชูเบีย, ภาษาซอร์เบียตอนบนและตอนล่าง และภาษาสโลวัก ภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาเช็กมากที่สุดคือภาษาสโลวัก รองลงมาคือภาษาโปแลนด์และภาษาไซลีเชีย[10]

พยัญชนะ

แก้
A a Á á B b C c Č č D d Ď ď E e É é Ě ě F f
á dlouhé á čé ďé é dlouhé é ije,
é s háčkem
ef
/a/ // /b/ /ʦ/ /ʧ/ /d/ /ɟ/ /ɛ/ /ɛː/ /ɛ, / /f/
G g H h Ch ch I i Í í J j K k L l M m N n Ň ň
chá í,
měkké í
dlouhé í el em en
/g/ /ɦ/ /x/ /ɪ/ /i:/ /j/ /k/ /l/ /m/ /n/ /ɲ/
O o Ó ó P p Q q R r Ř ř S s Š š T t Ť ť  
ó dlouhé ó kvé er es ťé  
/o/ // /p/ /kv/ /r/ /ɼ, / /s/ /ʃ/ /t/ /c/  
U u Ú ú Ů ů V v W w X x Y y Ý ý Z z Ž ž  
ú dlouhé ú ů s kroužkem dvojité vé iks ypsilon,
tvrdé ý
dlouhé ypsilon zet žet  
/u/ // // /v/ /v/ /ks, gz/ /ɪ/ // /z/ /ʒ/  

ตัวอย่างข้อความ

แก้
 
ตัวอย่างข้อความภาษาเช็กใน ค.ศ. 1846

นี่คือตัวอย่างจากข้อที่ 1 จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ :

เช็ก: Všichni lidé se rodí svobodní a sobě rovní co do důstojnosti a práv. Jsou nadáni rozumem a svědomím a mají spolu jednat v duchu bratrství.[11]

ไทย: "มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ"[12]

อ้างอิง

แก้
  1. ภาษาเช็ก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Full list". Council of Europe.
  3. Ministry of Interior of Poland: Act of 6 January 2005 on national and ethnic minorities and on the regional languages
  4. 4.0 4.1 "Czech language". www.britannica.com. Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 6 January 2015.
  5. Jones, Daniel (2003) [1917], Peter Roach; James Hartmann; Jane Setter (บ.ก.), English Pronouncing Dictionary, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-3-12-539683-8
  6. Golubović, Jelena; Gooskens, Charlotte (2015). "Mutual intelligibility between West and South Slavic languages". Russian Linguistics. 39 (3): 351–373. doi:10.1007/s11185-015-9150-9.
  7. Swan, Oscar E. (2002). A grammar of contemporary Polish (ภาษาอังกฤษ). Bloomington, Ind.: Slavica. p. 5. ISBN 0893572969. OCLC 50064627.
  8. http://babel.mml.ox.ac.uk/naughton/lit_to_1918.html. University of Oxford
  9. http://slavic.ucla.edu/czech/czech-republic/ เก็บถาวร 2017-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. University of California, Los Angeles
  10. Sussex & Cubberley 2011, pp. 54–56
  11. "Všeobecná deklarace lidských prav" (PDF). United Nations Information Centre Prague. United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-31. สืบค้นเมื่อ July 30, 2014.
  12. "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน". แอมเนสตี.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้