ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

ประเทศในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้

บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (อังกฤษ: Bosnia and Herzegovina; บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Bosna i Hercegovina / Босна и Херцеговина, ออกเสียง: [bôsna i xěrtseɡoʋina]), ย่อว่า BiH (BiH / БиХ) หรือ B&H,[a] บางครั้งเรียกว่า บอสเนีย–เฮอร์เซโกวีนา และมักจะรู้จักในนามอย่างไม่เป็นทางการว่า บอสเนีย เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนทางแยกระหว่างยุโรปใต้ และยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนติดกับประเทศเซอร์เบียทางตะวันออก มอนเตเนโกรทางตะวันออกเฉียงใต้ และโครเอเชียทางเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือ ทางทิศใต้ของประเทศยังมีพื้นที่ติดชายฝั่งแคบทางทะเลเอเดรียติก ภายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) ในพื้นที่ตอนกลางและตะวันออกของประเทศมีภูเขามาก และมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป โดยมีอากาศร้อนในฤดูร้อน แต่หนาวเย็นพร้อมกับมีหิมะในฤดูหนาว ในตะวันตกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่เนินปานกลาง และในตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ราบเรียบเป็นส่วนใหญ่ ภูมิภาคเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศเป็นภูมิภาคที่มีขนาดเล็กที่สุด มีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน และมีภูเขามากที่สุด ซาราเยโว เป็นเมืองหลวง และเมืองใหญ่ที่สุดของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ต่อจากบันยาลูกา ทุซลา และเซนิกา

บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

Bosna i Hercegovina (บอสเนีย)
Bosne i Hercegovina (โครเอเชีย)
Bosna i Hercegovina /
Босна и Херцеговина
(เซอร์เบีย)
คำขวัญไม่มี
ที่ตั้งของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ซาราเยโว
43°52′N 18°25′E / 43.867°N 18.417°E / 43.867; 18.417
ภาษาราชการภาษาบอสเนีย ภาษาเซอร์เบีย และภาษาโครเอเชีย
การปกครองสหพันธ์ ระบบรัฐสภา
สาธารณรัฐคณะผู้อำนวยการ
• ผู้แทนระดับสูง
คริสทีอัน ชมิท
• ประธานคณะประธานาธิบดี
เดนิส เบชิรอวิช
• สมาชิกคณะประธานาธิบดี
เฌลย์กอ ก็อมชิช
เดนิส เบชิรอวิช
เฌลย์กา สวิยานอวิช
• ประธานสภารัฐมนตรี
บอร์ยานา กริชตอ
ประวัติศาสตร์บอสเนีย 
ก่อตั้งในปี 753
753
• สมัย ออตโตมันยึดครอง
1463
1878
1918
1943
1992
1995
พื้นที่
• รวม
51,129 ตารางกิโลเมตร (19,741 ตารางไมล์) (125)
1.4%
ประชากร
• 2019 ประมาณ
3,332,593[1] (135)
• สำมะโนประชากร 2013
3,531,159[2]
69 ต่อตารางกิโลเมตร (178.7 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น $51.996 พันล้าน[3] (114)
เพิ่มขึ้น $15,935[3] (77)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น $21.953 พันล้าน[3] (115)
เพิ่มขึ้น $6,727[3] (89)
จีนี (2015)positive decrease 32.7[4]
ปานกลาง · 47
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.780[5]
สูง · 73
สกุลเงินคอนเวร์ทีบิลนามาร์คา (BAM)
เขตเวลาUTC+1 (CEST)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+1 (CEST)
รหัสโทรศัพท์387
โดเมนบนสุด.ba

การเมือง

แก้

ตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาประธานาธิบดีประกอบด้วยสมาชิกสามกลุ่มซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้แก่ ชาวบอสเนีย ชาวเซิร์บและชาวโครแอตหมุนเวียนครั้งละรอบๆ รอบละ 8 เดือนในวาระ 4 ปี การดำรงตำแหน่งประธานธิบดีมีวาระได้ไม่เกิน 2 วาระ ถึงแม้จะไม่จำกัดวาระก็ตาม ประธานาธิบดีจะขึ้นดำรงตำแหน่งคนแรกจะต้องมีคะแนนเสียงมากที่สุดใน 3 กลุ่ม

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

ตามข้อตกลงเดย์ตัน ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาแบ่งเขตการบริหารหลักออกเป็น

  1. รัฐอูนา-ซานา
  2. รัฐพอซาวีนา
  3. รัฐตุซลา
  4. รัฐเซนีตซา-ดอบอย
  5. รัฐบอสเนียนพอดรินเย
  6. รัฐเซนทรัลบอสเนีย
  7. รัฐเฮอร์เซโกวีนา-เนเรตวา
  8. รัฐเวสต์เฮอร์เซโกวีนา
  9. รัฐซาราเยโว
  10. รัฐเวสต์บอสเนีย
  1. เขตบาญาลูกา
  2. เขตดอบอย
  3. เขตบีเยลยีนา
  4. เขตวลาเซนีตซา
  5. เขตซาราเยโว-รอมานียา
  6. เขตฟอตชา
  7. เขตเทรบินเย
  • เขตเบิร์ชกอ เป็นหน่วยบริหารที่ปกครองตนเองภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นส่วนหนึ่งของทั้งสหพันธรัฐบอสเนียฯ และสาธารณรัฐเซิร์ปสกา

กองทัพ

แก้

บอสเนียมีทหารกองประจำการประมาณ 14,000 นาย โดยบอสเนียวางกำลังทหารอยู่ตามแนวป่าและชายแดนประเทศ เพื่อป้องกันประเทศของตน บอสเนียจัดกลุ่มทหารตามป่าอยู่ประมาณ 3.000-4.000 คน ส่วนชายแดนมีประมาณ 5.000-10.000 คน รถถังส่วนใหญ่ใช้รุ่น T-55 จำนวน 155 คัน และ M-60A3 จำนวน 45 รวมถึงยานเกราะลำเลียงพล M-113 ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ รถเกราะติดปืนกล55.ม.ม. ถึงบอสเนียจะมีกำลังทหารน้อย แต่ก็แข็งแกร่งมาก

ประวัติศาสตร์

แก้

ยูโกสลาเวียเดิมประกอบด้วย 6 สาธารณรัฐ กล่าวคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย โครเอเชีย เซอร์เบีย บอสเนีย - เฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร และมาซิโดเนีย รวมทั้งคอซอวอและวอยวอดีนา ซึ่งเป็นจังหวัดปกครองตนเอง

ราชอาณาจักรบอสเนีย

แก้

ราชอาณาจักรบอสเนีย ก่อตั้งราวปี 753 โดยชาวบอสเนีย ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายบอสเนียนออร์ทอดอกซ์ และเข้าเป็นสมาชิกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จนถึงปี 1463 ชาวบอสเนียเริ่มหันเข้ารับอิสลาม และรวมชาติเข้ากับ จักรวรรดิออตโตมัน ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์หมดสิทธิปกครองบอสเนียต่อไป

 
ราชอาณาจักรบอสเนีย

สมัยออตโตมัน

แก้

จักรวรรดิออตโตมันได้รวมบอสเนียเป็นแคว้นของจักรวรรดิบอสเนีย คล้ายกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์หรือจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เช่นเดียวกับเซอร์เบีย และดินแดนอื่นๆใกล้เคียง

ปฏิวัติบอสเนียใหญ่และความพยายามประกาศเอกราชจากออตโตมัน

แก้

ในปี 1831 ดินแดนเอยาเลต์แห่งบอสเนียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองของออตโตมันได้ก่อการกำเริบที่เรียกว่าGreat Bosnian Uprising ภายใต้การนำของ Husein Gradaščević หรือฉายานาม มังกรแห่งบอสเนีย (Zmaj od Bosne) การต่อสู้ดุเดือดในปี 1833 ออตโตมันก็สามารถยึดซาราเยโวกลับมาได้แต่ก็ต้องเสียการควบคุมประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาที่มีการก่อจลาจลและการปฏิวัติเพื่อเอกราชมากมายตามเมือง ตามป่าตามเขา ในหลายจุดทั่วดินแดนกระตุ้นชาตินิยมที่ไม่เฉพาะบอสเนียแต่รวม เซอร์เบีย บัลแกเรีย มอนเตเนโกร และ โรมาเนีย การต่อสู้ทำให้เกิดเหตุที่เรียกว่า การกำเริบในเฮอร์เซโกวีนา(Herzegovina uprising) ในปี 1852-1862 และ ในปี 1875-1877 และกลายมาเป็น ส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่เรียกว่า Great Eastern Crisis หรือวิกฤตตะวันออกครั้งใหญ่ ที่ออตโตมันยอมถอยออกจากบอสเนีย

 
วิกฤตตะวันออกครั้งใหญ่ระหว่างฝ่ายสันนิบาตบอลข่านกับออตโตมัน

ดินแดนปกครองร่วมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

แก้

ราชวงศ์ฮับสบูร์ก ได้ประชุมร่วมกับ กลุ่มมุขมนตรีบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา หลังในปี 1878 ออสเตรียมีบทบาทมากในการช่วยบอสเนียต่อสู้กับออตโตมัน คณะรัฐบาลจึงเชิญ จักรพรรดิแแห่งออสเตรียขึ้นเป็นประมุขของประเทศและได้ผนวกดินแดนรวมกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เป็นประเทศองค์ประกอบ เหมือนกับ ราชอาณาจักรโบฮีเมียหรือราชอาณาจักรโมราเวีย. ราชอาณาจักรบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาของราชวงศ์ฮับสบูร์กสิ้นสุดลงหลังการพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่1

 
ตึกแถวในซาราเยโว ในยุคที่ราชวงศ์ฮับสบูร์กปกครอง

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย

แก้

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียก่อตั้งขึ้นโดยการรวมตัวของรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นและราชอาณาจักรเซอร์เบียที่เป็นราชอาณาจักรอิสระ ราชอาณาจักรมอนเตเนโกรตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของเซอร์เบียก่อนหน้านั้นแล้ว ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียล้มสลายเมื่อ กองทัพนาซีเยอรมันบุกยูโกสลาเวีย

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย

แก้

ในปี 1943 พรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวียก็สามารถปลดปล่อยยูโกสลาเวียได้ ภายใต้การนำของ ยอซีป บรอซ ตีโต ในปี 1991 มาซิโดเนีย โครเอเชียและสโลวีเนีย แยกประเทศ และในปี 1992 เมื่อบอสเนียและเซอร์เบียแตกคอและทำสงครามกัน เนื่องจากบอสเนียไม่พอใจที่เซอร์เบียรุกรานโครเอเชีย ทำให้ยูโกสลาเวียล่มสลาย และเกิดสงครามยูโกสลาเวีย

สงครามบอสเนีย

แก้

สงครามบอสเนีย หรือ สงครามกลางเมืองบอสเนีย เป็นสงครามความขัดแย้งชาติพันธุ์ระหว่างชาวโครแอต ชาวเซิร์บ และชาวบอสเนียซึ่งเป็นชาวมุสลิม สงครามปะทุในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1992 เมื่อชาวเซิร์บได้ก่อจลาจลเพื่อแยกตัวเป็นอิสระ ในขณะเดียวกันชาวโครแอตก็แยกดินแดนเป็นอิสระเช่นเดียวกัน ในช่วงสัปดาห์เดียวบอสเนียเกือบทั้งประเทศกลายเป็นทะเลเพลิง สงครามขยายวงกว้างไม่เว้นแต่กรุงซาราเยโว เมืองหลวงของบอสเนีย

เศรษฐกิจ

แก้
 
BBI Center ห้างสรรพสินค้าและศูนย์กลางของธนาคารBBI

เศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ฟื้นตัวจากสงครามต้นศตวรรษที่21 ช่วงราวปี 2000-2005 มีการประกาศสกุลเงิน คอนเวร์ทีบิลนามาร์คา แทน เงินดีนาร์ โดยสกุลเงินแปลงค่ามาจากเงินมาร์คเยอรมัน ภายหลังเยอรมันประกาศใช้เงินยูโร ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นแหล่งอุตสหกรรรมเดิมของอดีตยูโกสลาเวีย มีโรงงานเหล็กกล้า เขือน โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงงานผลิตเครื่องบิน ยานเกราะ อาวุธยุทโธปกรณ์ โรงงานผลิตรถยนต์ อลูมีเนียม เฟอร์นิเจอร์ และแหล่งน้ำมันดิบ

ในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การพานิชย์ และ การลงทุนด้านโทรคมนาคมบอสเนียก็เติบโตเร็ว บริษัทBH Telecom กลายเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดในประเทศ และ มีรัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการ โดยส่วนใหญ่ กิจการของบริษัทในภาคอุตสาหกรรม มักจะมีรัฐบาลถือหุ้น หรือ ถือครองในตัวเลขที่สูงกว่า 50 - 60% หรือ อาจจะเป็นเจ้าของ เช่น บริษัทน้ำมันบอสเนีย Energopetrol, สายการบิน B&H Airlines เป็นต้น สัดส่วนที่รัฐบาลถือครองกำไรของบริษัทเหล่านั้น ทำให้รัฐบาลบอสเนียมีงบประมาณมากพอที่จะฟื้นฟูและบริหารดูแลประเทศ จนทำให้เศรษฐกิจบอสเนียเติบโต อัตราว่างงานลดลงในช่วงทศวรรษที่ 2010 และ สหภาพยุโรปประกาศให้ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นผู้สมัครสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีศักยภาพ แค่เฉพาะบริษัทเหล็กกล้า Aluminij Mostar ก็สร้างกำไรให้รัฐบาลกลางบอสเนียไปแล้ว 40 ล้านยูโรต่อปี กรุงซาราเยโวเมืองหลวงของประเทศ ยังเป็นที่ตั้งของบริษัทพานิชย์ อย่าง BBI Centar ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางของคาบสมุทรบอลข่าน โดย BBI Centar เป็นห้างสรรพสินค้าชั้นนำของคาบสมุทรบอลข่านซึ่งมีเจ้าของคือธนาคาร BBI : Bosna Bank International ธนาคารฮาลาลแห่งแรกของทวีปยุโรป นอกจากนี้ยังมีบริษัทข่าวสารชั้นนำอย่าง al-jazeera Balkans, Federalna และ Oslobođenje ตั้งสำนักงานใหญ่ในซาราเยโว

ในด้านเกษตรกรรม ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนามีการผลิต ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารมากมายตั้งแต่ ข้าวสาลี ผลไม้ นมวัว เนื้อวัว ปลา อาหารทะเล และอื่น ๆ บอสเนียเป็นแหล่งแปรรูปอาหารชั้นดีในบอลข่านตะวันตก ที่ซึ่งแม้แต่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอย่าง โครเอเชียยังต้องใช้บริการ

ในด้านแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ บอสเนียเป็นแหล่งน้ำมันดิบบนดินที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป บนทุ่งน้ำมันที่เรียกว่า ทุ่งน้ำมันซามัช (Šamac oil field) ซึ่งค้นพบในปี 2004 โดยบริษัทน้ำมันรัฐบาล Energopetrol นอกจากนี้ยังเปิดให้บริษัทร่วมรัฐบาลเอกชน Nestro Petrol เข้ามาขุดเจาะน้ำมันในเขตดังกล่าว ประมาณการณ์ว่า แหล่งน้ำมันซามัช มีน้ำมันอยู่ราว 3.6 พันล้านบาร์เรล นอกจากนี้บอสเนียยังมีทุ่งน้ำมันอีกแห่งคือทุ่งน้ำมันตุชล่า (Tuzla oil field) ประมาณการณ์ว่ามีน้ำมันดิบราว 300 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามทุ่งน้ำมันดังกล่าวถูกผูกขาดโดย Energopetrol อย่างเดียว และยังไม่ได้มีการขุดเจาะแต่อย่างใด รัฐบาลบอสเนียมีแผนให้แหล่งน้ำมันตุชล่า อยู่ในการศึกษาต่อไป เนื่องจากเป็นแหล่งที่ค้นพบใหม่

ในด้านการผลิตทางทหาร บอสเนีย มีบริษัทรัฐและเอกชนผลิตอาวุธ ตั้งแต่กระสุนปืน ยานเกราะ รถถัง M-84 และปืนใหญ่ รวมถึงอาวุธและนวัตกรรมอื่น ๆ โดยมีบริษัททั้งหมดดังนี้คือ "Zrak" d. d. Sarajevo PD "Igman" Konjic, Ginex d.d. Goražde, "Orao" AD Bijeljina, UNIS Promex Sarajevo, BNT Travnik, "Binas" d. d. Bugojno, Fabrika specijalnih vozila, TRZ Hadžići และ Vitezit

สำหรับการพลังงานไฟฟ้าของบอสเนีย ทั้งหมดของประเทศ พึ่งพาไฟฟ้าของตนเองได้ และมีการขายพลังงานไฟฟ้าให้เพื่อนบ้านอย่าง มอนเตเนโกร โครเอเชีย เป็นต้น บริษัทไฟฟ้าชั้นนำของบอสเนียคือ Elektroprivreda BiH โดยการถือครองของรัฐบาล 100% และ Energoinvest บริษัทร่วมเอกชน - รัฐของบอสเนีย ผลิตและแจกจ่ายกระแส่ไฟฟ้าให้ประชาชนบอสเนีย โดยแหล่งผลิตไฟฟ้าของบอสเนียส่วนใหญ่เดิมมาจากเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าในแม่น้ำเนเรตวาทางตอนกลางของเฮอร์เซโกวีนา แต่ภายหลังมีแผนการพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองตุชล่า ทางตอนเหนือของประเทศ โดย NEK เป็นผู้บริหารดูแลจัดการในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งในประเทศบอสเนียมีการค้นพบยูเรเนียมที่มีสมรรถนะต่ำสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์พลังงานแบบฟิชชั่น แม้จะมีการคัดค้าน

นอกจากนี้บอสเนียยังเป็นแหล่งที่ตั้งของธนาคารและสินเชื่อมากมาย เช่น Addiko Bank, Bosna Bank International(BBI), Nova banka, Union Banka, MF banka เป็นต้น และรัฐบาลบอสเนียวางแผนจะสร้างประเทศตนเองให้เป็นประเทศที่มีความสำคัญด้านโลจิสติกส์ของอนุภูมิภาคยุโรปกลาง ผ่านโครงการ Corridor Vc ซึ่งกำลังดำเนินการณ์อยู่ ในการสร้างถนนทางหลวง ทางรถไฟ และ ท่าเรือ เพื่อเป็นสถานทีรองรับการนำเข้าและส่งออกให้แก่ยุโรปกลางและบอลข่าน แทนการพึ่งพาเยอรมัน หรือ ตุรกี โดยโครงการได้รับการสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นโปแลนด์ เช็ก สโลวาเกีย สโลวีเนีย โครเอเชีย ฮังการี โรมาเนีย บัลแกเรีย เป็นต้น ซึ่งทำให้บอสเนียกลายเป็นประเทศที่ดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ แม้ว่าภายในประเทศยังค่อนข้างที่จะมีการผูกขาดเศรษฐกิจโดยภาครัฐมากกว่าเอกชนก็ตาม

แหล่งส่งออกบอสเนีย ; เยอรมัน 14.7%, โครเอเชีย 11.8%, อิตาลี 11.1%, เซอร์เบีย 10%, สโลเวเนีย 9%, ออสเตรีย 8.3% ขณะที่การนำเข้าของบอสเนีย; เยอรมัน 11.6%, อิตาลี 11.3 %,จีน 6.5%, รัสเซีย 4.7%, ตุรกี 4.2%

อัตราเงินเฟ้อบอสเนียอยู่ที่ 1.369% ประชากรที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนมีต่ำกว่า 15% ของประชากรทั้งหมด GDP ต่อหัวอยู่ที่ 5,754 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 175,000 บาท) ซึ่งถือเป็นมูลค่าที่สูง และเศรษฐกิจบอสเนียก็ถูกจัดอันดับให้ประเทศกำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจค่อนบน ที่สามารถเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้ในอนาคต นอกจากนี้ในทศวรรษที่ 2020 บอสเนียมีแผนที่จะเข้าร่วม สหภาพยุโรป หรือ สมาคมการค้าเสรียุโรป ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล

ประชากร

แก้

ประเทศบอสเนียมีประชากรประมาณ 3,790,000 คน โดยแบ่งเป็น ชาวบอสเนีย 50.11% ชาวเซิร์บ 30.78% ชาวโครแอต 15.43%[ต้องการอ้างอิง]

ศาสนา

แก้

ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนานอกจากมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ แล้ว ยังมีความหลากหลายทางศาสนา โดยเมืองหลวงของประเทศ ซาราเยโว ถูกตั้งฉายาว่า เยรูซาเลมแห่งยุโรป หรือ เยรูซาเลมแห่งโลกตะวันตก

ศาสนาในประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (2013)
ศาสนา เปอร์เซ็น
อิสลาม
  
51%
ออร์ทอดอกซ์
  
31%
โรมันคาทอลิก
  
15%
อื่นๆ
  
3%

หมายเหตุ

แก้
  1. BiH / БиХ

อ้างอิง

แก้
  1. United Nations. "World Population Prospects 2019".
  2. Agencija za statistiku Bosne i Hercegovine / Agency for Statistics of Bosnia and Herzegovina (2016). "Popis stanovništva, domaćinstava i stanova u Bosni i Hercegovini, 2013: Rezultati Popisa / Census of Population, Households and Dwellings in Bosnia and Herzegovina, 2013: Final Results" (PDF) (ภาษาบอสเนีย และ อังกฤษ). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2021. สืบค้นเมื่อ 21 June 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Report for Selected Countries and Subjects". IMF. 28 December 2019.
  4. "Distribution of family income – Gini index". The World Factbook. TWB. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2017. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  5. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  6. "Bosnia and Herzegovina: largest cities and towns and statistics of their population". World Gazetteer.