ภาษาบอสเนีย (อังกฤษ: Bosnian; บอสเนีย: bosanski, босански) เป็นวิธภาษามาตรฐานของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย ใช้โดยชาวบอสนีแอกเป็นหลัก[3][4][5] ภาษาบอสเนียเป็นหนึ่งในสามวิธภาษาที่ถือว่าเป็นภาษาทางการของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[6] (ร่วมกับภาษาโครเอเชียและภาษาเซอร์เบีย) นอกจากนี้ยังเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยหรือภาษาประจำภูมิภาคที่ได้รับการรับรองในประเทศเซอร์เบีย[7] ประเทศมอนเตเนโกร[8] และประเทศคอซอวอ[9][b]

ภาษาบอสเนีย
bosanski / босански
ออกเสียง[bɔ̌sanskiː]
ประเทศที่มีการพูดบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ชาติพันธุ์บอสนีแอก
บอสเนีย[a]
จำนวนผู้พูด2.5–3 ล้านคน  (2008)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรละติน (กาย [Gaj])
อักษรซีริลลิก (วูก [Vuk])[Note 1]
อักษรยูโกสลาฟ
เดิม:
อักษรอาหรับ (อาเรบีตซา)
อักษรซีริลลิกบอสเนีย (บอซันชิตซา)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ธงของประเทศมอนเตเนโกร มอนเตเนโกร (ภาษาทางการร่วม)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในธงของประเทศเซอร์เบีย เซอร์เบีย
ธงของประเทศมาซิโดเนียเหนือ มาซิโดเนียเหนือ
ธงของประเทศโครเอเชีย โครเอเชีย
ธงของประเทศแอลเบเนีย แอลเบเนีย
ธงของคอซอวอ คอซอวอ[a]
รหัสภาษา
ISO 639-1bs
ISO 639-2bos
ISO 639-3bos
Linguasphereส่วนหนึ่งของ 53-AAA-g
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาบอสเนียใช้ทั้งอักษรละตินและอักษรซีริลลิก[Note 1] โดยอักษรละตินเป็นระบบที่ใช้ในชีวิตประจำวัน[10] ภาษานี้มีความโดดเด่นในบรรดาวิธภาษาต่าง ๆ ของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียเนื่องจากมีคำยืมจากภาษาอาหรับ ภาษาตุรกีออตโตมัน และภาษาเปอร์เซียจำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาษานี้กับวัฒนธรรมดังกล่าวผ่านศาสนาอิสลาม[11][12][13]

ภาษาบอสเนียมีพื้นฐานมาจากภาษาย่อยชทอคาเวียน (ซึ่งเป็นภาษาย่อยที่แพร่หลายมากที่สุดของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย) หรือหากเจาะจงลงอีกก็คือสำเนียงเฮอร์เซโกวีนาตะวันออกซึ่งยังเป็นพื้นฐานของวิธภาษาโครเอเชีย ภาษาเซอร์เบีย และภาษามอนเตเนโกรมาตรฐานอีกด้วย ดังนั้นจึงมีการออกคำประกาศว่าด้วยภาษาร่วมของชาวโครแอต ชาวเซิร์บ ชาวบอสนีแอก และชาวมอนเตเนโกร ณ กรุงซาราเยโวใน ค.ศ. 2017[14][15] จนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1990 ภาษาร่วมของชนชาติเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า "ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย"[16] ชื่อนี้ยังคงใช้ในภาษาอังกฤษร่วมกับชื่อ "ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย" ซึ่งใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการทูต

หมายเหตุ แก้

  1. หมายถึงสัญชาติมากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์
  2. คอซอวอเป็นดินแดนข้อพิพาทระหว่างสาธารณรัฐคอซอวอกับสาธารณรัฐเซอร์เบีย สาธารณรัฐคอซอวอประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แต่เซอร์เบียยังคงอ้างว่าคอซอวอเป็นดินแดนอธิปไตยของตน ใน พ.ศ. 2556 ทั้งสองรัฐบาลเริ่มกระชับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงบรัสเซลส์ ปัจจุบันคอซอวอได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐเอกราชจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 98 ชาติจาก 193 ชาติ
  1. 1.0 1.1 ซีริลลิกเป็นชุดตัวอักษรที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัตินิยมใช้เป็นหลักในเรปูบลิกาเซิร์ปสกา ส่วนในสหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนานิยมใช้อักษรละตินเป็นหลัก[2]

อ้างอิง แก้

  1. "Accredited Language Services: An Outline of Bosnian Language History". Accredited Language Services. Accredited Language Services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2012.
  2. Alexander 2006, pp. 1–2.
  3. David Dalby, Linguasphere (1999/2000, Linguasphere Observatory), p. 445, 53-AAA-g, "Srpski+Hrvatski, Serbo-Croatian".
  4. Benjamin V. Fortson, IV, Indo-European Language and Culture: An Introduction, 2nd ed. (2010, Blackwell), p. 431, "Because of their mutual intelligibility, Serbian, Croatian, and Bosnian are usually thought of as constituting one language called Bosnian-Croatian-Serbian."
  5. Václav Blažek, "On the Internal Classification of Indo-European Languages: Survey" retrieved 20 Oct 2010, pp. 15–16.
  6. See Art. 6 of the Constitution of the Federation of Bosnia and Herzegovina, available at the official website of Office of the High Representative in Bosnia and Herzegovina
  7. "European charter for regional or minority languages: Application of the charter in Serbia" (PDF). Council of Europe. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 มกราคม 2014.
  8. "Ustav Crne Gore" (ภาษาMontenegrin). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2009. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2009. See Art. 13 of the Constitution of the Republic of Montenegro, adopted on 19 October 2007, available at the website of the Ministry of Justice of the Republic of Montenegro
  9. Driton Muharremi and Samedin Mehmeti (2013). Handbook on Policing in Central and Eastern Europe. Springer. p. 129. ISBN 978-1-4614-6720-5.
  10. Tomasz Kamusella (15 January 2009). The Politics of Language and Nationalism in Modern Central Europe. Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-230-55070-4. In addition, today, neither Bosniaks nor Croats, but only Serbs use Cyrillic in Bosnia.
  11. Algar, Hamid (2 July 1994). Persian Literature in Bosnia-Herzegovina. Journal of Islamic Studies. Oxford. pp. 254–68.
  12. Balić, Smail (1978). Die Kultur der Bosniaken, Supplement I: Inventar des bosnischen literarischen Erbes in orientalischen Sprachen. Vienna: Adolf Holzhausens, Vienna. p. 111.
  13. Balić, Smail (1992). Das unbekannte Bosnien: Europas Brücke zur islamischen Welt. Cologne, Weimar and Vienna: Bohlau. p. 526.
  14. Nosovitz, Dan (11 February 2019). "What Language Do People Speak in the Balkans, Anyway?". Atlas Obscura. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2019. สืบค้นเมื่อ 6 May 2019.
  15. Zanelli, Aldo (2018). Eine Analyse der Metaphern in der kroatischen Linguistikfachzeitschrift Jezik von 1991 bis 1997 [Analysis of Metaphors in Croatian Linguistic Journal Language from 1991 to 1997]. Studien zur Slavistik ; 41 (ภาษาเยอรมัน). Hamburg: Kovač. pp. 21, 83. ISBN 978-3-8300-9773-0. OCLC 1023608613. (NSK). (FFZG)
  16. Radio Free Europe – Serbian, Croatian, Bosnian, Or Montenegrin? Or Just 'Our Language'? Živko Bjelanović: Similar, But Different, 21 กุมภาพันธ์ 2009, สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2010

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้