อาเรบีตซา
อาเรบีตซา (บอสเนีย: arebica) หรือ อาราบีตซา (arabica) เป็นอักษรอาหรับรูปแบบหนึ่งที่ใช้เขียนภาษาบอสเนีย เคยใช้เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 15-19 (พุทธศตวรรษที่ 20-24) เป็นความพยายามของมุสลิมที่จะพัฒนาอักษรอาหรับมาใช้เขียนภาษาบอสเนียนอกเหนือจากอักษรละตินและอักษรซีริลลิกสำหรับภาษาเซอร์เบีย หนังสือที่พิมพ์ด้วยอักษรนี้ตีพิมพ์ครั้งสุดท้ายเมื่อ ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) อักษรนี้ใช้ในทางศาสนาและการบริหาร แต่ใช้น้อยกว่าอักษรอื่น ๆ
อักษรอาเรบีตซามีพื้นฐานมาจากตัวเขียนเปอร์เซีย-อาหรับที่เคยใช้ในจักรวรรดิออตโตมัน โดยเพิ่มอักษรสำหรับเสียง t͡s, ʎ และ ɲ ซึ่งไม่มีในภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย หรือภาษาตุรกีออตโตมัน ในที่สุดก็มีการประดิษฐ์ตัวอักษรแทนเสียงสระได้ทุกเสียง อาเรบีตซาจึงจัดเป็นระบบสระ-พยัญชนะโดยแท้จริง ไม่ใช่อักษรไร้สระ
รูปแบบล่าสุดของอักษรอาเรบีตซาออกแบบโดย Mehmed Džemaludin Čaušević เมื่อราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ต้นพุทธศตวรรษที่ 25) เรียกว่าแบบมาทูฟอวีตซา ([Matufovica] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)), มาทูฟอวาตชา ([Matufovača] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) หรือเมกเทบีตซา ([Mektebica] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ))
อาเรบีตซา | ละติน | อาเรบีตซา | ละติน | อาเรบีตซา | ละติน |
---|---|---|---|---|---|
آ | a | غ | g | ۉ | o |
ب | b | ح | h | پ | p |
ڄ | c | اٖى | i | ر | r |
چ | č | ي | j | س | s |
ݘ | ć | ق | k | ش | š |
د | d | ل | l | ت | t |
ج | dž | ڵ | lj | ۆ | u |
ڠ | đ | م | m | و | v |
ئه | e | ن | n | ز | z |
ف | f | ںٛ | nj | ژ | ž |
ตัวอย่าง:
- مۉلٖىمۉ سه تهبٖى بۉژه = Molimo se tebi, Bože (เราสวดมนต์ให้คุณ โอ้ พระเจ้า)
อ้างอิงแก้ไข
- Enciklopedija leksikografskog zavoda, entry: Arabica. Jugoslavenski leksikografski zavod, Zagreb, 1966
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- Hevaji Text examples: Hevaji, Kaimija, etc.