ชุดตัวอักษรอาหรับ
ชุดตัวอักษรอาหรับ (อาหรับ: الْأَبْجَدِيَّة الْعَرَبِيَّة หรือ الْحُرُوف الْعَرَبِيَّة, สัทอักษรสากล: [ʔalʔabd͡ʒadijja lʕarabijja]) เป็นตัวอักษรที่ใช้เขียนภาษาอาหรับ เขียนจากขวาไปซ้ายในรูปตัวเขียน และมี 28 ตัวอักษร ตัวอักษรส่วนใหญ่มีรูปเชื่อม
ชุดตัวอักษรอาหรับ | |
---|---|
![]() | |
ชนิด | |
ช่วงยุค | คริสต์ศตวรรษที่ 3 หรือ 4 ถึงปัจจุบัน |
ทิศทาง | ขวาไปซ้าย ![]() |
ภาษาพูด | อาหรับ |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Arab (160), Arabic |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Arabic |
ช่วงยูนิโคด |
|
อักษรอาหรับ | ||||||
ﺍ | ﺏ | ﺕ | ﺙ | ﺝ | ﺡ | ﺥ |
ﺩ | ﺫ | ﺭ | ﺯ | ﺱ | ﺵ | ﺹ |
ﺽ | ﻁ | ﻅ | ﻉ | ﻍ | ﻑ | ﻕ |
ﻙ | ﻝ | ﻡ | ﻥ | ه | ﻭ | ﻱ |
ประวัติอักษรอาหรับ เครื่องหมายการออกเสียง ฟัตฮะฮ์ · กัสเราะฮ์ · ء ·ฎ็อมมะฮ์ เลขอาหรับ |
อักษรอาหรับเคยพิจารณาเป็นอักษรไร้สระ (ใช้แค่พยัญชนะ) แต่ปัจจุบันถือเป็น "อักษรไร้สระไม่บริสุทธิ์"[1] ซึ่งมีการระบุเสียงสระด้วยเครื่องหมายเสริมสัทอักษร เช่นอักษรฮีบรู
อักษรอาหรับเป็นระบบอักษรที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองแค่อักษรละตินและอักษรจีน[2] โดยเป็นชุดของอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน
โครงสร้างของอักษรอาหรับ
แก้เขียนจากขวาไปซ้าย มีอักษรพื้นฐาน 28 ตัว การปรับไปเขียนภาษาอื่น เช่น ภาษาเปอร์เซียและภาษาอูรดูจะเพิ่มอักษรอื่นเข้ามา ไม่มีความแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์กับตัวเขียนและตัวเล็กกับตัวใหญ่ อักษรแต่ละตัวจะเขียนติดกับอักษรตัวอื่นแม้ในการพิมพ์และรูปอักษรเปลี่ยนไปขึ้นกับตำแหน่งในคำ ไม่มีการเขียนสระเสียงสั้น ผู้อ่านต้องจดจำเอาเองว่าคำคำนั้นมีเสียงสระเป็นอย่างไร จะเขียนเฉพาะสระเสียงยาวเท่านั้น ในคัมภีร์อัลกุรอานหรือในการสอนจะใช้เครื่องหมายแสดงการออกเสียง ในหนังสือรุ่นใหม่จะแสดงเครื่องหมายการยกเว้นเสียงสระ (ซุกูน) และเครื่องหมายเพิ่มความยาวเสียงพยัญชนะ (ชัดดะฮ์) ชื่อของอักษรอาหรับมาจากคำที่มีความหมายในภาษาเซมิติกแรกเริ่ม การจัดเรียงอักษรอาหรับมี 2 แบบ
- รูปแบบเดิมคือ แบบอับญะดี (Abjadī أبجدي) เป็นการจัดเรียงตามชุดตัวอักษรฟินิเชีย คล้ายกับการเรียงแบบ ABC ในภาษาอังกฤษ
- รูปแบบที่ใช้ในปัจจุบันคือ แบบฮิญาอี (Hejā’i هجائي) ซึ่งเรียงตามรูปร่างของอักษร
การจัดเรียงแบบอับญะดี เป็นการจับคู่อักษรอาหรับ 28 ตัวกับอักษรฟินิเชีย 22 ตัว ที่เหลืออีก 6 ตัว เรียงไว้ข้างท้าย ٲ ب ج د ه و ذ ح ط ي ك ل م ن س ع ف ص ق ر ش ت ث خ ز ض ظ غ
ตัวอักษรพื้นฐาน
แก้ชื่อ | ถอดอักษร | เสียง (IPA) | รูปร่าง | อักษรเดี่ยว | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ท้ายคำ | กลางคำ | ต้นคำ | ||||
’alif อลิฟ | ’ / ā | หลายแบบ, รวมทั้ง /aː/ [a] |
ـا | ـا | ا | ا |
bā’ บาอ์ | b | b (บางครั้ง p ในคำยืม)[b] |
ـب | ـبـ | بـ | ب |
tā’ ตาอ์ | t | t | ـت | ـتـ | تـ | ت |
thā’ ษาอ์ | th (หรือ ṯ ) | θ | ـث | ـثـ | ثـ | ث |
jīm ญีม | j (หรือ ǧ, g ) | d͡ʒ ~ ʒ ~ ɡ [c] | ـج | ـجـ | جـ | ج |
ḥā’ หาอ์ | ḥ | ħ | ـح | ـحـ | حـ | ح |
khā’ คออ์ | kh (also ḫ, ḵ ) | x | ـخ | ـخـ | خـ | خ |
dāl ดาล | d | d | ـد | ـد | د | د |
dhāl ษาล (ซาล) | dh (หรือ ḏ ) | ð | ـذ | ـذ | ذ | ذ |
rā’ รออ์ | r | r | ـر | ـر | ر | ر |
zayn / zāy ซัย/ซาย | z | z | ـز | ـز | ز | ز |
sīn ซีน | s | s | ـس | ـسـ | سـ | س |
shīn ชีน | sh (also š ) | ʃ | ـش | ـشـ | شـ | ش |
ṣād ศอด/ซ้อด | ṣ | sˤ | ـص | ـصـ | صـ | ص |
ḍād ฎ๊อด/ด๊อด | ḍ | dˤ | ـض | ـضـ | ضـ | ض |
ṭā’ ฏออ์ | ṭ | tˤ | ـط | ـطـ | طـ | ط |
ẓā’ ษออ์~ซออ์ | ẓ | ðˤ ~ zˤ | ـظ | ـظـ | ظـ | ظ |
‘ayn อัยน์ | ʿ | ʕ | ـع | ـعـ | عـ | ع |
ghayn ฆอยน์ | gh (also ġ, ḡ ) | ɣ (บางครั้ง ɡ ในคำยืม)[c] |
ـغ | ـغـ | غـ | غ |
fā’ ฟาอ์ | f | f (บางครั้ง v ในคำยืม)[b] |
ـف | ـفـ | فـ | ف [d] |
qāf ก๊อฟ | q | q (บางครั้ง ɡ ในคำยืม)[c] |
ـق | ـقـ | قـ | ق [d] |
kāf ก๊าฟ | k | k (บางครั้ง ɡ ในคำยืม)[c] |
ـك | ـكـ | كـ | ك |
lām ลาม | l | l | ـل | ـلـ | لـ | ل |
mīm มีม | m | m | ـم | ـمـ | مـ | م |
nūn นูน | n | n | ـن | ـنـ | نـ | ن |
hā’ ฮาอ์ | h | h | ـه | ـهـ | هـ | ه |
wāw เวา | w / ū / aw | w, /uː/, /aw/, บางครั้ง u, o, และ oː ในคำยืม |
ـو | ـو | و | و |
yā’ ยาอ์ | y / ī / ay | j, /iː/, /aj/, บางครั้ง i, e, และ eː ในคำยืม |
ـي | ـيـ | يـ | ي [e] |
- ^a อลิฟแสดงได้หลายหน่วยเสียงในภาษาอาหรับ:
- ไม่มี เครื่องหมายแสดงเสียงสระ: ا
- ต้นคำ: a, i /a, i/ หรือเป็นรูปย่อของคำนำหน้านาม ال (a)l-
- กลางหรือท้ายคำ: ā /aː/.
- อลิฟ กับ ฮัมซะฮ์ ด้านบน: أ
- ต้นคำ: ’a, ’u /ʔa, ʔu/
- กลางหรือท้ายคำ: ’a /ʔa/.
- อลิฟ กับ ฮัมซะฮ์ ข้างล่าง: إ
- ต้นคำ: ’i /ʔi/; ไม่มีรูปกลางหรือท้ายคำ
- อลิฟ กับ มัดดะหฺ:آ
- ต้น กลางหรือท้ายคำ: ’ā /ʔaː/.
- ไม่มี เครื่องหมายแสดงเสียงสระ: ا
- ^c สำหรับผู้พูดภาษาอาหรับ หน่วยเสียงɡ แสดงด้วยอักษรต่างกัน ขึ้นกับสำเนียง ج ใช้ทั่วไปในอียิปต์ และบางครั้งในเยเมนและโอมาน ق ใช้แทนเสียง ɡ ในสำเนียงท้องถิ่น ك หรือ غ ใช้ในที่ที่ ɡ ไม่มีในสำเนียงท้องถิ่น อักษรอื่น ๆ เช่น گ, ݣ หรือ ڨ ใช้ได้เช่นกัน แต่ไม่ถือเป็นอักษรอาหรับมาตรฐาน ในที่ที่ ج แสดง ɡ สามารถใช้ สำหรับ ʒ~d͡ʒ, หรืออักษร چ ที่ใช้ได้ในอียิปต์
- ^d Fā’ และ qāf ในมักเรบ เขียนเป็น ڢ และ ڧـ ـڧـ ـٯ ตามลำดับ โดยเขียนจุดที่ต้นคำหรือกลางคำ
อักษรดัดแปลง
แก้รูป | ชื่อ | ถอดอักษร | หน่วยเสียง (IPA) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
เดี่ยว | ท้ายคำ | กลางคำ | ต้นคำ | |||
آ | ـآ | آ | ’alif maddah | ’ā | /ʔaː/ | |
ة | ـة | tā’ marbūṭah | h or t / h / ẗ |
/a/, /at/ | ||
ى | ـى | ’alif maqṣūrah[3] | ā / ỳ | /aː/ |
การใช้อักษรอาหรับเขียนภาษาต่าง ๆ
แก้มีการใช้อักษรอาหรับเขียนภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอาหรับอย่างกว้างขวาง โดยมีการปรับแต่งหรือเพิ่มลักษณะเพื่อแทนเสียงที่ต่างไปจากอักษรอาหรับตัวอย่างเช่น ภาษาอาหรับไม่มีเสียง /ป/ ฉะนั้น ภาษาอื่น ๆ ที่มีเสียง /ป/ จึงต้องสร้างอักษรของตัวเองขึ้นมา การเพิ่มเติมนี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
- กลุ่มอักษรดัดแปลงของเปอร์เซียใช้กับภาษาในอินเดียทั้งหมดรวมทั้งภาษาตุรกี
- กลุ่มอักษรอยามีใช้ในแอฟริกาตะวันตก
- อักษรยาวีใช้ในภาษามลายู
ภาษาปัจจุบันที่เขียนด้วยอักษรอาหรับได้แก่
- ภาษาเคิร์ดและภาษาเติร์กเมนในอิรัก
- ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาเซอรี ภาษาโวรานี-เคิร์ด ภาษาบาโลชิ ในอิหร่าน
- ภาษาดารี ภาษาปาทานและภาษาอุซเบกในอัฟกานิสถาน
- ภาษาอูรดู ภาษาปัญจาบ (ชาห์มูคี) ภาษาสินธี ภาษาแคชเมียร์ และภาษาบาโลชิในปากีสถาน
- ภาษาอูรดูและภาษาแคชเมียร์ในอินเดีย
- ภาษาอุยกูร์ ภาษาคาซัคและภาษาคีร์กีซในจีน
- ภาษามลายูในบรูไน และใช้เป็นภาษาตำราศาสนาอิสลามในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
- ภาษาโคโมรอส (ใช้ร่วมกับอักษรละติน) ภาษาโวลอฟในซาอีร์-คองโก
- ภาษาฮัวซาใช้ในทางศาสนา
- ภาษามันดินกา
- ภาษาทามาไซต์และภาษากลุ่มเบอร์เบอร์อื่น ๆ
ภาษาที่เคยเขียนด้วยอักษรอาหรับมาก่อนแต่เลิกใช้แล้วในปัจจุบัน ได้แก่
- ภาษาแอลเบเนีย
- ภาษาอาเซอร์ไบจาน
- ภาษาเบลารุส
- ภาษาเบอร์เบอร์
- ภาษาบอสเนีย
- ภาษาคาซัค ในคาซัคสถาน
- ภาษาคีร์กีซ ในคีร์กีซสถาน
- ภาษามลายู (ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย)
- ภาษามัวร์
- ภาษาสันสกฤต
- ภาษาโซมาลี
- ภาษาตุรกี (ออตโตมัน)
- ภาษาเติร์กเมน ในเติร์กเมนิสถาน
- ภาษาอุซเบก ในอุซเบกิสถาน
- ภาษาของชาวมุสลิมในอดีตโซเวียตรัสเซีย
การเขียนอักษรอาหรับ
แก้การเขียนอักษรอาหรับเป็นการเขียนแบบต่อเนื่องกันไป อักษรแต่ละตัวมีรูปร่างต่างไปขึ้นกับตำแหน่งในคำว่าอยู่ต้น กลางหรือท้ายคำ มีอักษร 6 ตัวที่มีเพียงแบบเดี่ยวกับท้ายคำ ดังนั้นเมื่อตามหลังอักษรตัวอื่นจะไม่มีการเชื่อมต่อและอักษรตัวต่อไปจะใช้แบบต้นคำหรือแบบเดี่ยวถ้าไม่มีแบบต้นคำ อักษรที่ไม่มีแบบต้นคำหรือกลางคำจะไม่ใช้เป็นตัวตามอักษรอื่นแม้ภายในคำ ฮัมซะฮ์ ไม่ใช้นำหน้าหรือตามหลังอักษรอื่นบางครั้งใช้เขียนบนวาว ยาอุ หรือ อลิฟเพื่อแสดงเสียง/อ/ อลิฟ มักศูเราะฮ์ (alif maqsurah) ในภาษาอาหรับ รูปร่างเหมือนตัวยาอุที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) ใช้เฉพาะตำแหน่งท้ายคำเท่านั้น ใช้แทนเสียงสระอา เช่นเดียวกับ อลิฟในภาษาเปอร์เซียและภาษาอูรดูเรียก ฟาร์ซี เยห์ (Farsi yeh) ซึ่งมีรูปต้นคำกับกลางคำด้วย ส่วนอลิฟ มักศูเราะฮ์ ไม่มีรูปดังกล่าว
การเชื่อมต่อ
แก้1. อลิฟ
2. ฮัมซะฮ์ (همزة وصل)
3. ลาม
4. ลาม
5. ชัดดะฮ์ (شدة)
6. อลิฟบน (ألف خنجرية)
7. เฮ
การเขียนอักษรอาหรับแบบเชื่อมต่อเป็นสิ่งที่เห็นได้โดยทั่วไป บางตัวมีรูปแบบเฉพาะ เช่น lām + ’alif
รูป | ชื่อ | |||
---|---|---|---|---|
ท้ายคำ | กลางคำ | ต้นคำ | เดี่ยว | |
ﻼ | ﻻ | lām + ’alif |
การเชื่อมต่อที่เป็นรูปแบบเฉพาะคือ ลาม + อลิฟ ( لا) ตัวอย่างเช่นคำว่า อัลลอฮ์ เขียนได้เป็น اﷲ
ฮัมซะฮ์
แก้ในระยะแรก อลิฟใช้แทนเสียง /อ/ ซึ่งเป็นลักษณะที่มาจากอักษรฟินิเชีย ปัจจุบันนำมาใช้แทนสระเสียงยาวเช่นเดียงกับวาวและยาอุ ทำให้เกิดความคลุมเครือว่าอลิฟตัวนั้นแทนเสียง /อ/ หรือสระอา อักษรอาหรับปัจจุบันจึงเพิ่มฮัมซะฮ์ใช้แทนเสียง /อ/ ซึ่งปรากฏได้ทุกที่ภายในคำ เขียนทั้งโดยลำพังและเกาะกับอักษรอื่น
ชัดดะฮ์
แก้ชัดดะฮ์ (◌ّ) บ่งถึงการซ้ำพยัญชนะ โดยเขียนบนพยัญชนะตัวที่ 2 เมื่อมีการซ้ำ
ซุกูน
แก้พยางค์ในภาษาอาหรับมีทั้งพยางค์เปิด และพยางค์ปิดซึ่งใช้กับสระเสียงสั้นเท่านั้น เมื่อเป็นพยางค์ปิดพยัญชนะตัวที่เป็นตัวสะกดจะไม่มีเสียงสระ และใช้เครื่องหมายซุกูน (◌ْ) เพื่อลดความคลุมเครือ โดยเฉพาะเมื่อตัวหนังสือนั้นไม่ได้แสดงเครื่องหมายการออกเสียง ตัวหนังสือมาตรฐานนั้นจะมีแต่พยัญชนะเท่านั้น เช่น qalb “หัวใจ” เขียนเป็น qlb
ซุกูนเป็นตัวบ่งชี้ให้รู้ว่าตรงไหนไม่ต้องใส่เสียงสระ คำ qlb อาจหมายความว่าจะใส่เสียงสระเข้าที่ q l หรือ b ก็ได้ แต่เมื่อเติมซุกุนเหนือตัว l และ b ทำให้รู้ว่าต้องใส่สระที่ตัว q เท่านั้น เขียนได้ว่า قلْبْ เมื่อกำหนดการออกเสียงโดยสมบูรณ์จะเพิ่มเครื่องหมายฟัตฮะฮ์ เป็น قَلْبْ คัมภีร์อัลกุรอานเป็นหนังสือที่แสดงการออกเสียงโดยสมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้ว การใส่ซุกูนเหนือตัวยาอุเพื่อกำหนด /อี/ และ วาว เพื่อกำหนด /อู/ พบน้อยมาก เพราะยาอุ + ซุกุน อาจอ่านเป็น /ไอ/ และวาว + ซุกุนอาจอ่านเป็น /เอา/
ตัวอักษร m-w-s-y-q-ā (موسيقى มีอลิฟ มักศูเราะฮ์ที่ท้ายคำ) ปกติอ่านเป็น mūsīqā (ดนตรี) ถ้าเขียนซุกุนบนตัววาว ยาอุ และอลิฟ เป็น موْسيْقىْ จะอ่านเป็น mawsaykāy (ควรจำไว้ว่า อลิฟ มักศูเราะฮ์แม้จะอยู่ท้ายคำแต่ไม่ต้องใส่ซุกุน คำนี้จะถูกเขียนเป็น مُوْسِيْقَى ในคัมภีร์อัลกุรอาน (ถ้ามีคำนี้อยู่) หรือ مُوسِيقَى โดยทั่วไป ซุกุนจะไม่วางที่ตำแหน่งท้ายคำแม้ว่าพยัญชนะนั้นจะไม่มีเสียงสระ
สระ
แก้ในภาษาอาหรับไม่เขียนสระเสียงสั้นยกเว้นในหนังสือศักดิ์สิทธิ์ เช่น อัลกุรอาน จะใช้เฉพาะเมื่อกิดความคลุมเครือขึ้น โดยเครื่องหมายสระเสียงสั้นจะเป็นเครื่องหมายอยู่บนหรือล่างพยัญชนะ ในกรณีสระเสียงยาว เช่น /อา/ จะแสดงโดยใช้เครื่องหมายสระเสียงสั้นคู่กับอลิฟ (/อา/) ยาอุ (/อี/) หรือ วาว (/อู/) เสียงสระอาตามด้วยฮัมซะฮ์จะแทนด้วยอลิฟ มัดดะหรือเขียนฮัมซะฮ์ แล้วตามด้วยอลิฟ อักษรยาอุที่แทนสระอาจเชื่อมต่อกับพยัญชนะตัวต่อไปได้
สระเสียงสั้น
แก้สระเสียงสั้น (แสดงเสียงอ่าน) |
ชื่อ | ถอดอักษร | ค่า |
---|---|---|---|
064E َ |
fatḥah | a | /a/ |
064F ُ |
ḍammah | u | /u/ |
0650 ِ |
kasrah | i | /i/ |
สระเสียงยาว
แก้สระเสียงยาว (แสดงเสียงอ่าน) |
ชื่อ | ถอดอักษร | ค่า |
---|---|---|---|
064E 0627 َا |
fatḥah ’alif | ā | /aː/ |
064E 0649 َى |
fatḥah ’alif maqṣūrah | ā / á | /aː/ |
064F 0648 ُو |
ḍammah wāw | ū | /uː/ |
0650 064A ِي |
kasrah yā’ | ī | /iː/ |
สระเสียงยาว (ไม่แสดงเสียงอ่าน) |
ชื่อ | ถอดอักษร | ค่า |
---|---|---|---|
0627 ا |
(implied fatḥah) ’alif | ā | /aː/ |
0649 ى |
(implied fatḥah) ’alif maqṣūrah | ā / aỳ | /aː/ |
0648 و |
(implied ḍammah) wāw | ū / uw | /uː/ |
064A ي |
(implied kasrah) yā’ | ī / iy | /iː/ |
สระประสม
แก้สระประสม (แสดงเสียงอ่าน) |
ชื่อ | ถอดอักษร | ค่า |
---|---|---|---|
064E 064A َي |
fatḥah yā’ | ay | /aj/ |
064E 0648 َو |
fatḥah wāw | aw | /aw/ |
ตันวีน (◌ً ◌ٍ ◌ٌ)
แก้ใช้กำหนดการลงท้ายทางไวยากรณ์ด้วย /อัน/ /อิน/ และ /อุน/ ในภาษาอาหรับโบราณมักใช้เชื่อมกับอลิฟ แต่ไม่ค่อยใช้ในภาษาสมัยใหม่
ตัวเลข
แก้ตัวเลขที่ใช้มี 2 แบบ คือแบบมาตรฐานกับแบบอาหรับตะวันออก ที่ใช้ในอิหร่าน ปากีสถาน และอินเดีย ในภาษาอาหรับเรียกเลขนี้ว่า ตัวเลขอินเดีย (هنديه أرقام arqām hindiyyah) ในแอฟริกาเหนือปัจจุบันใช้ตัวเลขแบบตะวันตก ในยุคกลางมีการใช้ตัวเลขแบบตะวันตกที่ต่างไปเล็กน้อย (เช่นจากอิตาลี) การเขียนตัวเลขต่างจากตัวอักษรคือเขียนจากซ้ายไปขวา
นอกจากนี้อักษรอาหรับใช้แทนเลขได้ด้วยแต่ใช้น้อยในปัจจุบัน การใช้ขึ้นกับอันดับอับญะดีย์ เช่น ا= 1 ب = 2 ج= 3 จนกระทั่ง 1000 = غ
อักษรอาหรับและการทับศัพท์
แก้ข้อ | อักษร | ชื่ออักษร | ภาษาไทย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | ﺀ/ ا | ฮัมซะฮ์/อลิฟ | อ, สระ อา | |
2 | ﺏ | บาอ์ | บ | |
3 | ﺕ | ตาอ์ | ต | |
4 | ﺙ | ษาอ์ | ษ | |
5 | ﺝ | ญีม | ญ, จญ์ | ญะวาด, ฮัจญ์, ฮิจญ์เราะฮ์, ฮิญิร |
6 | ﺡ | หาอ์ | ฮ | |
7 | ﺥ | คออ์ | ค | |
8 | ﺩ | ดาล | ด | |
9 | ﺫ | ษาล | ษ | |
10 | ﺭ | รออ์ | ร |
|
11 | ﺯ | ซัย | ซ |
|
12 | ﺱ | ซีน | ซ, ส |
|
13 | ﺵ | ชีน | ช | |
14 | ﺹ | ศ้อด | ศ |
|
15 | ﺽ | ฎ๊อด | ฎ |
|
16 | ﻁ | ฏออ์ | ฏ |
|
17 | ﻅ | ซออ์ | ซ |
|
18 | ﻉ | อัยน์ | อ |
|
19 | ﻍ | ฆอยน์ | ฆ |
|
20 | ﻑ | ฟาอ์ | ฟ | |
21 | ﻕ | ก๊อฟ | ก |
|
22 | ﻙ | ก๊าฟ | ก | |
23 | ﻝ | ลาม | ล | |
24 | ﻡ | มีม | ม | |
25 | ﻥ | นูน | น | |
26 | ﻭ | วาว | ว | |
27 | ﻩ | ฮาอ์ | ฮ, ห |
|
28 | ﻱ | ยาอ์ | ย |
|
ข้อ | คำอ่าน | เสียงสระ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | ฟัตฮะฮ์ | สระอะ | ถ้าตัว خ, ر, ص, ض, ط, ظ ,غ, ق เจอกับฟัตฮะฮ์ จะเป็นสระเอาะ |
2 | กัสเราะฮ์ | สระอิ | |
3 | ฎ็อมมะฮ์ | สระอุ | |
4 | ฟัตฮะฮ์ + อลิฟ | สระอา | เสียงยาว ถ้าเป็น خ, ر, ص, ض, ط, ظ, غ, ق เจอกับฟัตฮะฮ์อลิฟ จะเป็นสระออ |
5 | กัสเราะฮ์ + ยาอ์ | สระอี | เสียงยาว |
6 | ฎ็อมมะฮ์ + วาว | สระอู | เสียงยาว |
7 | ฟัตฮะฮ์ + ยาอ์ | อัย, เอ | ถ้าพยางค์นั้นลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นซุกูน จะเป็น สระเอ เช่น <ฮุเซน>, ถ้าเป็น خ, ر ,ص ,ض, ط, ظ, غ, ق เจอกับฟัตฮะฮ์ + ยาอ์ จะเป็นสระอ็อย |
8 | ฟัตฮะฮ์ + วาว | เอา เช่น <เลา> | ถ้าเป็น خ, ر, ص, ض, ط, ظ, غ, ق จะเป็นสระอ็อว |
หมายเหตุ
แก้- ไม้ไต่คู้และสระออ <-็อ> ใช้กับ <ฎ>, <ฏ>, <ศ> เมื่อถอดรูปฟัตฮะฮ์ เช่น <ฎ็อ>, <ฏ็อ> <ศ็อ> และ <ก็อ>ถ้ามีตัวสะกด แต่อาจจะไม้ไต่คู้ละไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น <ฎอ>, <ฏอ> และ <ศอ>
- ไม้เอกและสระออ< -่อ> ใช้กับ <ร> เมื่อถอดรูปฟัตฮะฮ์ เช่น <ร่อซูล> แต่อาจจะละไว้ในฐานเข้าใจ เช่น <รอซูล>
- ไม่มีการตัดสระอะเมื่อถอดรูปฟัตฮะฮ์ นอกจากคำว่า นบี, อลิฟ เท่านั้น เช่น <อบูบักรฺ> จะต้องเป็น <อะบูบักรฺ>
ยูนิโคด
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Zitouni, Imed (2014). Natural Language Processing of Semitic Languages. Springer Science & Business. p. 15. ISBN 978-3642453588.
- ↑ "The World's 5 Most Commonly Used Writing Systems". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
- ↑ ดูที่ ʾalif maqṣūrah ที่ อลิฟ ในภาษาอาหรับ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Shaalan, Khaled; Raza, Hafsa (August 2009). "NERA: Named entity recognition for Arabic". Journal of the American Society for Information Science and Technology. 60 (8): 1652–1663. doi:10.1002/asi.21090.
- Arabic alphabet learning resources