ภาษาดารี
ภาษาดารี (Dari; ภาษาเปอร์เซีย: دری Darī, ออกเสียง [dæˈɾi]) หรือ ภาษาเปอร์เซียดารี (Dari Persian; ภาษาเปอร์เซีย: فارسی دری - Fārsīy e Darī, [fɒːɾsije dæˈɾi]) หรือ ภาษาเปอร์เซียตะวันออก เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเปอร์เซียสำเนียงหนึ่งที่ใช้พูดในอัฟกานิสถาน และเป็นชื่อทางการที่รัฐบาลอัฟกานิสถานใช้ในรัฐธรรมนูญ ภาษาดารีเป็นภาษาราชการในอัฟกานิสถานรองจากภาษาปาทาน และใช้เป็นภาษากลางในอัฟกานิสถาน
ภาษาดารี | |
---|---|
ภาษาเปอร์เซียอัฟกานิสถาน | |
دری | |
![]() | |
ออกเสียง | dæˈɾi |
ประเทศที่มีการพูด | ![]() |
ภูมิภาค | ประเทศอัฟกานิสถาน |
จำนวนผู้พูด | unknown (12.5 ล้านคน cited 1992–2000)[1] จากทางการ ประชากรอัฟกานิสถานเข้าใจภาษานี้ร้อยละ 50[2][3][4] |
ตระกูลภาษา | |
ภาษาถิ่น | จังหวัดคาบูล, จังหวัดแบลค์, จังหวัดเฮรัต, จังหวัดบาดัคชาน, หุบเขาปันจชีร์, จังหวัดแลคห์แมน, ซิสตานี, อายมัก,[5] |
ระบบการเขียน | อักษรเปอร์เซีย |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ![]() |
ผู้วางระเบียบ | สถาบันวิชาการทางวิทยาศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | มีหลากหลาย: prs — ภาษาดารี aiq — ภาษาอายมัก haz — ภาษาฮาซารากี |
Linguasphere | 58-AAC-ce (Dari) + 58-AAC-cdo & cdp (Hazaragi) + 58-AAC-ck (Aimaq) |
จุดกำเนิดของคำว่า “ดารี”แก้ไข
มีความเห็นที่ต่างกันเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของคำว่าดารี นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ดารี มาจากคำภาษาเปอร์เซีย darbār (دربار) หมายถึง ศาล ความเห็นนี้ได้รับการสนับสนุนจากเอกสารในยุคกลางและประวัติศาสตร์อิสลามยุคต้น
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์แก้ไข
ในอัฟกานิสถาน ภาษาดารีเปอร์เซียจะถูกเรียกอย่างง่ายๆว่าภาษาเปอร์เซีย ภาษานี้เป็นคนละภาษากับภาษาดารีหรือภาษากาบรีในอิหร่าน ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาโซโรแอสเตอร์.[6][7]
ภาษากลุ่มอิหร่านยังคงใช้อย่างแพร่หลายในเอเชียกลางทั้งโดยผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม่และผู้ที่ใช้เป็นภาษาทางการค้า ในอดีต กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันออกเช่น ภาษาแบกเทรีย ภาษาซอกเดีย ภาษาโขตาน และกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตก โดยเฉพาะภาษาพาเทียร์และภาษาเปอร์เซียยุคกลาง เป็นภาษาที่ใช้กันมาก ในปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่เฉพาะในเขตเทือกเขาปาร์มีที่ยังมีผู้พูดภาษาในกลุ่มอิหร่านตะวันออกเหลืออยู่ เช่น ภาษาซุกนี ภาษาซาริโกลี ภาษายัซกูลามี และภาษาสังเกลชิ-อิซกัศมีร์
ภาษาดารีเปอร์เซียจัดเป็นรูปแบบของภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ ภาษานี้เป็นภาษาหลักในอัฟกานิสถาน โดยเป็นหนึ่งในสองภาษาราชการหลักรองจากภาษาปาทาน ในทางปฏิบัติ ภาษานี้เป็นภาษากลางของชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม ใช้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันตกรวมทั้งในเมืองหลวงคือกรุงคาบูล
ภาษาดารีเปอร์เซียเป็นแหล่งของคำยืมจากภาษาเปอร์เซียสำหรับภาษาในเอเชียใต้ เช่น ภาษาฮินดี ภาษาอูรดู ภาษาปัญจาบ ภาษาเบงกอล และยังเคยเป็นภาษาร าชการทางการปกครองและวัฒนธรรมของจักรวรรดิโมกุล และเป็นภาษากลางตลอดทั้งอินเดียเป็นเวลา 100 ปี คำยืมจากภาษาเปอร์เซียในภาษาอังกฤษ แสดงการออกเสียงอย่างภาษาดารี เช่นdopiaza (= ออกเสียงอย่างอิหร่าน do-piyāzeh "มีหัวหอม 2 หัว"), gymkhana (-khana = ออกเสียงอย่างอิหร่าน khāneh "บ้าน"), pyjama (= ออกเสียงอย่างอิหร่าน pey-jāmeh )ไก่ติกกา (tikka = ออกเสียงอย่างอิหร่าน tekkeh "ชิ้น")
ความแตกต่างระหว่างภาษาเปอร์เซียในอิหร่านและอัฟกานิสถานแก้ไข
สัทวิทยาแก้ไข
ความแตกต่างของการออกเสียงในอิหร่านและอัฟกานิสถานสามารถพบเห็นได้ ผู้พูดที่มีการศึกษามักจะเข้าใจอีกภาษาหนึ่งได้ (ยกเว้นการใช้รากศัพท์และสำนวน) ความแตกต่างระหว่างภาษาเปอร์เซียมาตรฐานในอิหร่านซึ่งใช้สำเนียงเตหะรานและภาษาดารีในอัฟกานิสถานซึ่งใช้สำเนียงคาบูลเป็นสำเนียงมาตรฐานได้แก่
- การหายไปของสระมัชฮุลในสำเนียงของอิหร่าน สระเสียงยาว "ē" / "ī" และ "ō" / "ū" ยังคงแยกจากกันในสำเนียงอัฟกานิสถาน แต่รวมกันเป็น "ī" และ "ū" ในอิหร่าน เช่นคำว่า شیر 'สิงโต' และ 'นม' are pronounceออกเสียงเหมือนกันในสำเนียงอิหร่านว่า [šīr] ในสำเนียงของอิหร่าน แต่เป็น [šēr] 'สิงโต' และ [šīr] 'นม' ในสำเนียงของอัฟกานิสถาน
- เสียงสระประสม "aw" (/เอา/) และ "ay" (/ไอ/) ในภาษาเปอร์เซียคลาสสิก ออกเสียงเป็น [ow] (/โอว/) และ[ey] (/เอ/) ในสำเนียงอิหร่าน ส่วนในสำเนียงอัฟกานิสถานยังรักษาเสียงเดิมไว้ได้ เช่น نوروز ‘ปีใหม่เปอร์เซีย’ ออกเสียงเป็น [nowrūz] ในอิหร่านและ [nawrōz] ในอัฟกานิสถาน.
- สระเสียงสั้น "i" และ "u" มีแนวโน้มของเสียงในสำเนียงอิหร่านเป็น "e" (/อิ/), และ "o" (/ออ/),
- การออกเสียง و, อออกเป็นเสียงก้องคล้าย "v" ในภาษาอังกฤษ ส่วนสำเนียงในอัฟกานิสถานออกเสียงคล้าย "w" ในภาษาอังกฤษ.
- เสียง "q" (ق) และ "γ" (غ) ในสำเนียงอิหร่านออกเสียงไม่ต่างกันแต่เป็นคนละเสียงในสำเนียงอัฟกานิสถาน
- เสียง "a" สั้น(-ه) เมื่อลงท้ายคำเป็น "e" ในสำเนียงอิหร่าน,
- เสียง "a"สั้นเมื่อไม่ลงท้ายคำเป็น [æ] ในสำเนียงอิหร่าน
การเรียงประโยคแก้ไข
รูปประโยคของภาษาดารีไม่ได้ต่างไปจากภาษาเปอร์เซียในอิหร่านมากนัก ความแตกต่างทางไวยากรณ์ที่สำคัญคือการแสดงการกระทำต่อเนื่อง ในอิหร่านใช้กริยาช่วย (داشتن [dāštan]) วางไว้หน้ากริยาแท้ (มีอุปสรรค "mī-") ในภาษาดารีใช้รูปประโยค "dar hāl-i" (ในขณะที่) และใช้กริยาแท้ คำว่าฉันกำลังไป ในอิหร่าน ใช้ว่า "man dāram mīr(av)am" ส่วนในอัฟกานิสถานใช้ว่า "man dar hāl-i raftan hastam"
คำศัพท์แก้ไข
มีบางคำที่แตกต่างกันระหว่างภาษาเปอร์เซียในอิหร่านและในอัฟกานิสถาน เช่น
ภาษาไทย | เปอร์เซียในอิหร่าน | ดารีเปอร์เซีย |
---|---|---|
พยายาม | سعی کردن | سعی کردن/کوشش کردن |
พูด | حرف زدن | حرف زدن/گپ زدن |
ดู | دیدن | سعی کردن/دیدن |
อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอิหร่านต่อภาษาดารีแก้ไข
ความโดดเด่นทางวัฒนธรรมของอิหร่าน (โดยเฉพาะสื่อและการศึกษา) ทำให้ภาษาเปอร์เซียในอิหร่านสามารถเข้าใจได้โดยผู้พูดภาษาดารีในอัฟกานิสถาน และส่งผลต่อภาษาปาทานด้วย
ประวัติศาสตร์แก้ไข
ประวัติศาสตร์ของภาษาดารีมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกับการเกิดขึ้นของภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ ที่กลายเป็นภาษาทางวรรณคดีหลังการเข้ามาของศาสนาอิสลาม ดูที่ ภาษาเปอร์เซีย
มุมมองทางการเมืองของภาษาแก้ไข
บางคนไม่ถือว่าผู้พูดภาษาเปอร์เซียในอิหร่านเป็นอีกสำเนียงหนึ่ง คำว่าดารีใช้โดยนักวิชาการในทาจิกิสถานและอิหร่านและไม่เรียกภาษานี้ว่าภาษาเปอร์เซียอัฟกานิสถาน นักภาษาศาสตร์บางคนใช้คำว่าภาษาเปอร์เซียตะวันตกในอิหร่าน และภาษาเปอร์เซียตะวันออกสำหรับภาษาในอัฟกานิสถาน ชื่อของภาษานี้ในอัฟกานิสถานเปลี่นจากฟาร์ซีเป็นดารีด้วยเหตุผลทางการเมืองใน พ.ศ. 2507.[8][9]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ภาษาดารี at Ethnologue (18th ed., 2015)
ภาษาอายมัก at Ethnologue (18th ed., 2015)
ภาษาฮาซารากี at Ethnologue (18th ed., 2015) - ↑ "CIA – The World Factbook, "Afghanistan", Updated on 8 July 2010". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 15 October 2013. สืบค้นเมื่อ 19 August 2013.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อAFGHANISTAN v. Languages
- ↑ "Dari". UCLA International Institute: Center for World Languages. University of California, Los Angeles. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 5 June 2011. สืบค้นเมื่อ 10 December 2010.
- ↑ "Iranica, "Afghanistan: v.Languages", Table 11". สืบค้นเมื่อ 19 August 2013.
- ↑ "Parsi-Dari" Ethnologue
- ↑ "Dari, Zoroastrian" Ethnologue
- ↑ Willem Vogelsang, "The Afghans", Blackwell Publishing, 2002
- ↑ Declassified, Dr. Zaher said there would be, as there are now, two official languages, Pashto and Farsi, though the latter would henceforth be named Dari.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- Dari alphabet from Afghanistan Online
- Dari Grammar