ชุดตัวอักษรยาวี

(เปลี่ยนทางจาก อักษรยาวี)

ชุดตัวอักษรยาวี (อักษรยาวี: جاوي; มลายูปัตตานี: ยาวี; อาเจะฮ์: Jawoë; เสียงอ่านภาษามลายู: [d͡ʒä.wi]) เป็นชุดของอักษรอาหรับดัดแปลงสำหรับเขียนภาษามลายู ภาษาอาเจะฮ์ ภาษาบันจาร์ ภาษามีนังกาเบา ภาษาเตาซูก และภาษาอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นักปราชญ์คนหนึ่งของปัตตานี ชื่อ ชัยค์ อะห์มัด อัลฟะฏอนี (Syeikh Ahmad al-Fathani) ได้วางกฎเกณฑ์การใช้อักษรยาวีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนภาษามลายูในท้องถิ่นนี้ อักษรยาวีมีฐานจากอักษรอาหรับ โดยแบ่งเป็นอักษรอาหรับดั้งเดิม 31 ตัว และอักษรเพิ่มเติมที่ปรับให้ตรงกับหน่วยเสียงภาษามลายู แต่ไม่พบในภาษาอาหรับคลาสสิก ได้แก่ (چ /t͡ʃ/, ڠ /ŋ/, ڤ /p/, ݢ /g/, ۏ /v/ และ ڽ /ɲ/)

อักษรยาวี
ชนิด
ช่วงยุค
ประมาณ ค.ศ. 1300 จนถึงปัจจุบัน
ทิศทางขวาไปซ้าย
ภาษาพูด
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบพี่น้อง
อักษรเปโกน
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ
ตัวอย่างอักษรยาวี

อักษรยาวีถูกพัฒนาตอนที่อิสลามเริ่มเข้ามาในโลกมลายู โดยแทนที่ตระกูลอักษรพราหมีที่ใช้ในสมัยฮินดู-พุทธ หลักฐานอักษรยาวีที่เก่าแก่ที่สุดพบในศิลาจารึกตรังกานูในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งบันทึกในภาษามลายูคลาสสิกที่มีการผสมระหว่างภาษามลายู, สันสกฤต และอาหรับ มีทฤษฎีต้นกำเนดอักษรยาวีสองแบบ โดยทฤษฎียอดนิยมกล่าวแนะว่าระบบนี้ถูกพัฒนาและสืบทอดโดยตรงจากอักษรอาหรับ ในขณะที่นักวิชาการอย่าง R.O Windstedt กล่าวแนะว่ามันพัฒนาผ่านอิทธิพลของอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ[1]

ปัจจุบันชาวมุสลิมในประเทศไทยที่พูดภาษามลายู นิยมใช้อักษรยาวีบันทึกเรื่องราวในศาสนา และการสื่อสารต่าง ๆ ส่วนนักเรียนในโรงเรียนปอเนาะ หรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะเริ่มเรียนอักษรยาวีสำหรับอ่านเขียนภาษาอาหรับ (ภาษาในคัมภีร์อัลกุรอาน) ตั้งแต่ยังเยาว์ อักษรยาวียังคงใช้กันในสังคมมลายูในอินโดนีเซียและไทย[2]

คำว่า ยาวี นั้นมาจากคำว่า jawa หมายถึง ชวา นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะชาวชวาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในมะละกาและปัตตานี ได้นำอักษรอาหรับดัดแปลงมาเผยแพร่ และในที่สุดได้รับมาใช้ในชุมชนที่พูดภาษามลายูปัตตานีมาช้านาน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังมีความสับสนในการเรียกชื่ออักษรยาวี และภาษามลายูว่า "ภาษายาวี" แม้กระทั่งในหมู่ผู้พูดภาษามลายู ทว่าความจริงแล้วไม่มีภาษายาวี มีแต่อักษรยาวีกับภาษามลายู

ศัพทมูลวิทยา

แก้

รายงานจากกามุซเดวัน "ยาวี" (Jawi, جاوي) เป็นคำพ้องกันกับคำว่า 'มลายู'[3] ทำให้คำนี้ใช้แทน 'มลายู' ได้ในบางคำ เช่น บาฮาซาจาวี (Bahasa Jawi) หรือ บาฮาซายาวี (Bahasa Yawi; ภาษามลายูปัตตานี สำเนียงมลายูในภาคใต้ของประเทศไทย), มาซุกยาวี (Masuk Jawi[4]; แปลว่า "เพื่อกลายเป็นมลายู" สื่อถึงการขริบหนังหุ้มปลายช่วงการก้าวผ่านวัย) และ ยาวีเปอกัน (Jawi pekan) หรือ ยาวีเปอรานากัน (Jawi Peranakan; แปลว่า 'เมืองมลายู' หรือ 'เกิดเป็นมลายู' สื่อถึงมุสลิมที่พูดภาษามลายู มีต้นกำเนิดผสมระหว่างมลายูกับอินเดีย)[5] คำว่า ตูลีซันยาวี (Tulisan Jawi) มีความหมายว่า "อักษรยาวี" เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความหมาย 'อักษรมลายู'[3]

ตัวอักษร

แก้
อักษรยาวี[6]
ตัวอักษร ชื่อ ท้าย กลาง ต้น เดี่ยว เสียง เทียบอักษรรูมี ยูนิโคด
ا alif ـا ا /a/ หรือ /ə/ a, e- (ĕ) U+0627
ب ba ـب ـبـ بـ ب /b/ b U+0628
ت ta ـت ـتـ تـ ت /t/ t U+062A
ة ta marbutah ـة ة /t/ หรือ /h/ -t, -h U+0629
ث sa (tha) ـث ـثـ ثـ ث /s/ หรือ /θ/ s U+062B
ج jim ـج ـجـ جـ ج /d͡ʒ/ j U+062C
چ ca ـچ ـچـ چـ چ /t͡ʃ/ c U+0686
ح ha ـح ـحـ حـ ح /h/ หรือ /ħ/ h U+062D
خ kha (khO) ـخ ـخـ خـ خ /x/ kh U+062E
د dal ـد د /d/ d U+062F
ذ zal ـذ ذ /z/ หรือ /ð/ z U+0630
ر ra (rO) ـر ر /r/ r U+0631
ز zai ـز ز /z/ z U+0632
س sin ـس ـسـ سـ س /s/ s U+0633
ش syin ـش ـشـ شـ ش /ʃ/ sy, sh U+0634
ص sad (sOd) ـص ـصـ صـ ص /s/ s U+0635
ض dad (dOd) ـض ـضـ ضـ ض /d/ d U+0636
ط ta (tO) ـط ـطـ طـ ط /t/ t U+0637
ظ za (zO) ـظ ـظـ ظـ ظ /z/ z U+0638
ع ain ـع ـعـ عـ ع /ʔ/ a, i, u, -k U+0639
غ ghain ـغ ـغـ غـ غ /ɣ/ gh U+063A
ڠ nga ـڠ ـڠـ ڠـ ڠ /ŋ/ ng U+06A0
ف fa ـف ـفـ فـ ف /f/ f U+0641
ڤ pa ـڤ ـڤـ ڤـ ڤ /p/ p U+06A4
ق qaf ـق ـقـ قـ ق /q/ หรือ /k/ q, k U+0642
ک kaf ـک ـکـ کـ ک /k/ k U+06A9
ݢ ga ـݢ ـݢـ ݢـ ݢ /ɡ/ g U+0762
ل lam ـل ـلـ لـ ل /l/ l U+0644
م mim ـم ـمـ مـ م /m/ m U+0645
ن nun ـن ـنـ نـ ن /n/ n U+0646
و wau ـو و /w/ และ /u, o, ɔ/ w, u, o U+0648
ۏ va ـۏ ۏ /v/ v U+06CF
ه ha ـه ـهـ هـ ه /h/ h U+0647
ء hamzah ء ء /ʔ/ ไม่มี U+0621
ي ya ـي ـيـ يـ ي /j/ และ /i, e, ɛ/ y, i, e (é) U+064A
ى ye ـى ى /ə, a/ -e (ĕ), a U+0649
ڽ nya ـڽ ـڽـ ڽـ ڽ /ɲ/ ny U+06BD
  • อักษรที่ไม่มีรูปต้นและรูปกลางจะใช้รูปเดี่ยว เพราะเชื่อมกับอักษรอื่นไม่ได้ (ا‎, د‎, ذ‎, ر‎, ز‎, و‎, ۏ‎)
  • อักษร hamzah แสดงเฉพาะรูปเดี่ยวในภาษามลายู
  • "nya"เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทยภาคกลางและภาคใต้ พบเฉพาะในภาษาไทยสำเนียงภาคเหนือกับภาคอีสานเท่านั้น

ตัวอย่าง

แก้

อักษรยาวีเขียนจากทางขวาไปซ้ายเหมือนอักษรอาหรับ ข้างล่างนี้คือตัวอย่างอักษรยาวีจากบทแรกและบทที่สองของ ฆอซัลอุนตุกราบีอะฮ์ (Ghazal untuk Rabiah, غزال اونتوق ربيعة; แปลว่าเฆาะซัลแก่เราะบีอะฮ์)[7]

อักษรยาวี อักษรูมี แปลไทย

کيلاون اينتن برکليڤ-کليڤ دلاڠيت تيڠݢي⹁
دان چهاي مناري-ناري دلاڠيت بيرو⹁
تيدقله داڤت مننڠکن ڤراساءنکو⹁
يڠ ريندوکن کحاضيرن کاسيه.

ݢمرسيق ايراما مردو بولوه ڤريندو⹁
دان ڽاڽين ڤاري٢ دري کايڠن⹁
تيدقله داڤت تنترمکن سانوباري⹁
يڠ مندمباکن کڤستين کاسيهمو.

Kilauan intan berkelip-kelip di langit tinggi,
Dan cahaya menari-nari di langit biru,
Tidaklah dapat menenangkan perasaanku,
Yang rindukan kehadiran kasih.

Gemersik irama merdu buluh perindu,
Dan nyanyian pari-pari dari kayangan,
Tidaklah dapat tenteramkan sanubari,
Yang mendambakan kepastian kasihmu.

เพชรพลอยระยิบระยับบนท้องฟ้าอันสูงส่ง,
และแสงระยิบระยับบนท้องฟ้าสีคราม,
นั่นไม่สามารถปลอบประโลมใจข้า,
ที่สนใจเพื่ออยู่กับผู้เป็นที่รัก.

ท่วงทำนองอันไพเราะของขลุ่ยกก,
และเสียงร้องของนางไม้จากสวรรค์,
ไม่สามารถทำให้จิตใจสงบ,
ซึ่งโหยหาความแน่นอนในความรักของเจ้า.

อ้างอิง

แก้
  1. Winstedt, Richard Olaf (1961), "Malay Chronicles from Sumatra and Malaya", Historians of South-East Asia of Historical Writing on the Peoples of Asia, 2: 24
  2. Andrew Alexander Simpson (2007). Language and National Identity in Asia. Oxford University Press. pp. 356–60. ISBN 978-0-19-926748-4.
  3. 3.0 3.1 "Jawi II". Pusat Rujukan Persuratan Melayu. 2017. สืบค้นเมื่อ 3 March 2019.
  4. "Masuk Jawi". Pusat Rujukan Persuratan Melayu. 2017. สืบค้นเมื่อ 3 March 2019.
  5. "Jawi Pekan". Pusat Rujukan Persuratan Melayu. 2017. สืบค้นเมื่อ 3 March 2019.
  6. Daftar Kata Bahasa Melayu Rumi-Sebutan-Jawi, Dewan Bahasa Pustaka, 5th printing, 2006.
  7. Lirik – Ghazal untuk rabiah เก็บถาวร 2021-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Hudson, Herbert Henry The Malay orthography (1892) Singapore, Kelly & Walsh.
  • H.S. Paterson (& C.O. Blagden), 'An early Malay Inscription from 14th-century Terengganu', Journ. Mal. Br.R.A.S., II, 1924, pp. 258–263.
  • R.O. Winstedt, A History of Malaya, revised ed. 1962, p. 40.
  • J.G. de Casparis, Indonesian Paleography, 1975, p. 70–71.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้