ภาษามลายูมาเลเซีย

ภาษาย่อยของภาษามลายู
(เปลี่ยนทางจาก ภาษามาเลเซีย)

ภาษามลายูมาเลเซีย (มลายู: Bahasa Melayu Malaysia), ภาษามลายูมาตรฐาน (มลายู: Bahasa Melayu Standard), ภาษามาเลเซีย (มลายู: Bahasa Malaysia) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ภาษามลายู เป็นรูปแบบมาตรฐานของภาษามลายูที่ใช้ในประเทศมาเลเซียรวมทั้งในประเทศสิงคโปร์และประเทศบรูไน (ตรงข้ามกับวิธภาษามลายูมาตรฐานที่ใช้ในประเทศอินโดนีเซียซึ่งเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย) ภาษามลายูมาเลเซียเป็นรูปแบบมาตรฐานของภาษามลายูถิ่นยะโฮร์-รีเยา ประชากรมาเลเซียจำนวนมากพูดภาษานี้ได้ แต่ส่วนใหญ่จะเรียนรู้ภาษามลายูถิ่นหรือภาษาพื้นเมืองอื่นก่อน[1] ภาษามลายูเป็นวิชาบังคับวิชาหนึ่งในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของมาเลเซีย[7]

ภาษามลายูมาเลเซีย
Bahasa Melayu Malaysia
بهاس ملايو مليسيا
ภาษามลายูมาตรฐาน
Bahasa Melayu Standard
بهاس ملايو ستندرد
ออกเสียง[baˈhasə məlaju məˈlejsiə]
ประเทศที่มีการพูดมาเลเซีย, สิงคโปร์
จำนวนผู้พูดพูดโดยประชากรส่วนใหญ่ในมาเลเซีย แต่ส่วนใหญ่จะเรียนรู้ภาษามลายูถิ่นหรือภาษาพื้นเมืองอื่นก่อน[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
มลายูเก่า
ระบบการเขียนอักษรละติน (รูมี)
อักษรอาหรับ (ยาวี)[4]
อักษรเบรลล์มาเลเซีย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ มาเลเซีย
 บรูไน
 สิงคโปร์
ผู้วางระเบียบเดวันบาฮาซาดันปุซตากา (สถาบันภาษาและวรรณคดี)
เดวันบาฮาซาดันปุซตากาบรูไน (สถาบันภาษาและวรรณคดีบรูไน)[5]
มัจลิซบาฮาซาเมอลายูซีงาปูรา (สถาบันภาษามลายูสิงคโปร์)[6]
รหัสภาษา
ISO 639-3zsm
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ระบบการเขียน

แก้
 
การเปรียบเทียบภาษามลายูในอักษรรูมีและยาวีกับภาษาอื่น ๆ
 
ป้ายจราจรในภาษามลายูมาเลเซีย: ป้ายเตือน "ทางผ่านเสมอระดับ" และป้ายบังคับ "หยุด"

กฎหมายกำหนดให้อักษรของภาษามลายูมาเลเซียเป็นอักษรละติน หรือรู้จักกันในภาษามลายูว่า รูมี (อักษรโรมัน) โดยจะต้องไม่กำหนดให้ใช้อักษรอาหรับที่มีชื่อว่า ยาวี (หรืออักษรมลายู) เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว อักษรรูมีมีสถานะใช้งานอย่างเป็นทางการ ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามรักษาและฟื้นฟูการใช้งานอักษรยาวีในประเทศมาเลเซียอักษรยาวี[8][9][10] อย่างไรก็ตาม อักษรละตินเป็นอักษรที่ใช้งานกันมากที่สุด ทั้งในเชิงทางการและไม่ทางการ

คำยืม

แก้

ภาษามลายูมาเลเซียมีคำยืมส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต, ทมิฬ, ฮินดูสตานี, เปอร์เซีย, โปรตุเกส, ดัตช์, กลุ่มภาษาจีน, อาหรับ และอังกฤษ ภาษามลายูมาเลเซียสมัยใหม่ยังได้รับอิทธิพลทางคำศัพท์จากภาษาอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่มาจากละคร ละครโทรทัศน์ และดนตรีอินโดนีเซีย[11]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ภาษามลายูมาเลเซีย ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Adelaar, K. Alexander (2000). "Malay: A Short History". Oriente Moderno. 19 (2): 234. JSTOR 25817713.
  3. Mukhlis Abu Bakar (2019). "Sebutan Johor-Riau dan Sebutan Baku dalam Konteks Identiti Masyarakat Melayu Singapura" [Sebutan Johor-Riau and Sebutan Baku in the Context of the Singapore Malay Identity]. Issues in Language Studies (ภาษามาเลย์). 8 (2): 61–78. doi:10.33736/ils.1521.2019.
  4. "Kedah MB Defends Use of Jawi on Signboards". The Star Online (ภาษาอังกฤษ). 26 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2012.
  5. Clynes, Adrian; Deterding, David (2011). "Standard Malay (Brunei)". Journal of the International Phonetic Association. 41 (2): 259–268. doi:10.1017/S002510031100017X. S2CID 146544336.
  6. "Standard Malay made simple / Liaw Yock Fang - BookSG - National Library Board, Singapore".
  7. "Soalan Lazim Berkaitan Dasar Memartabatkan Bahasa Malaysia Memperkukuh Bahasa Inggeris (MBMMBI)" [Frequently Asked Questions Related to the Policy to Uphold Bahasa Malaysia and to Strengthen the English Language (MBMMBI)]. Portal Rasmi Kementerian Pendidikan Malaysia (ภาษามาเลย์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-11. สืบค้นเมื่อ 3 November 2013.
  8. "Malay". Baystate Interpreters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-06-26.
  9. "Use of Jawi Should Be Encouraged, Not Condemned — Faidhur Rahman Abdul Hadi and Fatihah Jamhari". Malay Mail (ภาษาอังกฤษ). 18 December 2014. สืบค้นเมื่อ 2019-06-26.
  10. "Khat to Be Included in School Curriculum". The Star (ภาษาอังกฤษ). 30 July 2019. สืบค้นเมื่อ 13 August 2019.
  11. Sneddon, James N. (2003). The Indonesian Language: Its History and Role in Modern Society (ภาษาอังกฤษ). Sydney: UNSW Press. ISBN 0-86840-598-1.

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้