ภาษาอาเซอร์ไบจาน

ภาษาอาเซอรี หรือ ภาษาอาเซอร์ไบจาน เป็นภาษาราชการของประเทศอาเซอร์ไบจาน มีชื่อเรียกในภาษาของตนว่า Azərbaycan dili บางสำเนียงของภาษานี้ใช้พูดในอิหร่าน ซึ่งใช้เป็นภาษากลางระหว่างภาษาส่วนน้อยอื่น ๆ คือ ภาษาเคิร์ด ภาษาอาร์มีเนียและภาษาตาเลชิ มีผู้พูดภาษานี้ในสาธารณรัฐดาเกสถานในรัสเซีย จอร์เจียตะวันตกเฉียงใต้ อิหร่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกของตุรกี

ภาษาอาเซอร์ไบจาน
ภาษาอาเซอรี
Azərbaycan dili, آذربایجان دیلی, Азәрбајҹан дили[note 1]
ออกเสียง[ɑːzæɾbɑjˈdʒɑn diˈli]
ประเทศที่มีการพูด
ภูมิภาคอาเซอร์ไบจานอิหร่าน, ทรานส์คอเคเซีย
ชาติพันธุ์ชาวอาเซอร์ไบจาน
จำนวนผู้พูด30 ล้าน  (2018)[1]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
รูปแบบมาตรฐาน
Shirvani (ในอาเซอร์ไบจาน)
Tabrizi (ในอาเซอร์ไบจานอิหร่าน)
ภาษาถิ่น
อัฟซาร์
Salchuq (สูญหาย)
Sonqori
อื่น ๆ
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการอาเซอร์ไบจาน
ดาเกสถาน (รัสเซีย)
Organization of Turkic States
ผู้วางระเบียบ
รหัสภาษา
ISO 639-1az
ISO 639-2aze
ISO 639-3azeรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
azj – อาเซอร์ไบจานเหนือ
azb – อาเซอร์ไบจานใต้
slq – Salchuq
qxq – แกชฆอยี
Linguasphereส่วนหนึ่งของ 44-AAB-a
ผู้พูดภาษาอาเซอร์ไบจานในทรานส์คอเคเซียและอิหร่านตอนเหนือ
  บริเวณที่ภาษาอาเซอร์ไบจานเป็นภาษาชนส่วนมาก
  บริเวณที่ภาษาอาเซอร์ไบจานเป็นภาษาชนกลุ่มน้อย
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

เป็นภาษาในภาษากลุ่มอัลไต มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 23 – 30 ล้านคน โดยมีราว 16- 23 ล้านคนในอิหร่านและ 7 ล้านคนในอาเซอร์ไบจาน และ 800,000 คน ในที่อื่น ๆ เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใกล้เคียงกับภาษาตุรกี ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ผู้พูดภาษานี้พอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิก สาขาโอคุซอื่น ๆ เช่น ภาษาตุรกี ที่ใช้พูดในตุรกี ไซปรัสและแหลมบอลข่าน รวมทั้งภาษาเติร์กเมนด้วย

ระบบเสียง

แก้

เสียงพยัญชนะ

แก้
เสียงพยัญชนะในภาษาอาเซอร์ไบจานมาตรฐาน
ริมฝีปาก ฟัน (หลัง-)
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก m n (ŋ)
หยุด/
กักเสียดแทรก
ไม่ก้อง p t t͡ʃ c (k)
ก้อง b d d͡ʒ (ɟ) ɡ
เสียดแทรก ไม่ก้อง f s ʃ x h
ก้อง v z ʒ ɣ
เปิด l j
สะบัดลิ้น ɾ

เสียงสระ

แก้

เสียงสระในภาษาอาเซฮร์ไบจาน เรียงลำดับตามอักษรดังนี้:[4][5] a /ɑ/, e /e/, ə /æ/, ı /ɯ/, i /i/, o /o/, ö /ø/, u /u/, ü /y/

 
ตารางเสียงสระภาษาอาเซอร์ไบจานใต้ จาก Mokari & Werner (2016:509)
เสียงสระในภาษาอาเซอร์ไบจานมาตรฐาน
หน้า หลัง
ไม่ห่อ ห่อ ไม่ห่อ ห่อ
ปิด i y ɯ u
กลาง e ø o
เปิด æ ɑ

ตัวอักษร

แก้

ภาษาอาเซอร์ไบจานเหนือในอาเซอร์ไบจานจะใช้อักษรละตินเป็นอักษรทางการ และยังคงใช้อักษรซีริลลิกในการเขียนอยู่บ้าง ส่วนภาษาอาเซอร์ไบจานใต้ในอิหร่านจะใช้อักษรอาหรับเหมือนภาษาเปอร์เซีย

อักษรละตินเก่า
(ฉบับ ค.ศ. 1929–1938;
ไม่ใช่งานแล้ว;
แทนที่ด้วยฉบับ ค.ศ. 1991)
อักษรละตินทางการ
(อาเซอร์ไบจาน
ตั้งแต่ ค.ศ. 1991)
อักษรซีริลลิก
(ฉบับ ค.ศ. 1958,
เป็นทางการในดาเกสถาน)
อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ
(อิหร่าน;
อาเซอร์ไบจานจนถึง ค.ศ. 1929)
สัทอักษรสากล
A a А а آ / ـا /ɑ/
B в B b Б б ب /b/
Ç ç C c Ҹ ҹ ج /dʒ/
C c Ç ç Ч ч چ /tʃ/
D d Д д د /d/
E e Е е ئ /e/
Ə ə Ә ә ا / َ / ە /æ/
F f Ф ф ف /f/
G g Ҝ ҝ گ /ɟ/
Ƣ ƣ Ğ ğ Ғ ғ غ /ɣ/
H h Һ һ ح / ه /h/
X x Х х خ /x/
Ь ь I ı Ы ы ؽ /ɯ/
I i İ i И и ی /i/
Ƶ ƶ J j Ж ж ژ /ʒ/
K k К к ک /k/, /c/
Q q Г г ق /ɡ/
L l Л л ل /l/
M m М м م /m/
N n Н н ن /n/
Ꞑ ꞑ[6] - - ݣ / نگ /ŋ/
O o О о وْ /o/
Ө ө Ö ö Ө ө ؤ /ø/
P p П п پ /p/
R r Р р ر /r/
S s С с ث / س / ص /s/
Ş ş Ш ш ش /ʃ/
T t Т т ت / ط /t/
U u У у ۇ /u/
Y y Ü ü Ү ү ۆ /y/
V v В в و /v/
J j Y y Ј ј ی /j/
Z z З з ذ / ز / ض / ظ /z/
- ʼ ع /ʔ/

ในอดีตภาษาอาเซอร์ไบจานจะใช้อักษรอาหรับเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จนเมื่อปี ค.ศ. 1929 จึงได้เริ่มใช้อักษรละตินในการบันทึกภาษาอาเซอร์ไบจานเหนือ(ซึ่งแตกต่างกับรูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน) และเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกระหว่างปี ค.ศ. 1938 - 1991 และได้กลับมาใช้อักษรละตินอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน ส่วนภาษาอาเซอร์ไบจานใต้นั้นยังคงใช้อักษรอาหรับในการบันทึกมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ภาษาอาเซอร์ไบจาน ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)  
    อาเซอร์ไบจานเหนือ ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)  
    อาเซอร์ไบจานใต้ ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)  
    Salchuq ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)  
    แกชฆอยี ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)  
  2. 2.0 2.1 "Azerbaijani, North". Ethnologue. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
  3. "Azerbaijani, South". Ethnologue. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
  4. Householder and Lotfi. Basic Course in Azerbaijani. 1965.
  5. Shiralyeva (1971)
  6. ถอนออกจากชุดตัวอักษรใน ค.ศ. 1938

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้