ภาษาเติร์กเมน (türkmençe, түркменче, تۆرکمنچه, [tʏɾkmøntʃø][5] หรือ türkmen dili, түркмен дили, تۆرکمن ديلی, [tʏɾkmøn dɪlɪ])[6] บางครั้งเรียกเป็น "ภาษาเติร์กแบบเติร์กเมน" (Turkmen Turkic) หรือ "ภาษาตุรกีแบบเติร์กเมน" (Turkmen Turkish)[7][8][9][10] เป็นภาษาเตอร์กิกที่พูดโดยชาวเติร์กเมนในเอเชียกลาง ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเติร์กเมนิสถาน, อิหร่าน และอัฟกานิสถาน โดยมีผู้พูดเป็นภาษาแม่ในประเทศเติร์กเมนิสถานประมาณ 5 ล้านคน และอีก 719,000 คนในอิหร่านตะวันออกเฉียงเหนือ[11] 1.5 ล้านคนในอัฟกานิสถานตะวันตกเฉียงเหนือ และ 155,000 คนในปากีสถาน[12][13] ภาษาเติร์กเมนมีสถานะเป็นภาษาทางการในประเทศเติร์กเมนิสถาน แต่ไม่มีสถานะทงการในบริเวณที่มีชุมชนเชื้อชาติเติร์กเมนขนาดใหญ่ในอิหร่าน, อัฟกานิสถาน หรือปากีสถาน ภาษาเติร์กเมนมีผู้พูดจำนวนน้อยในชุมชนเติร์กเมนในอุซเบกิสถานและทาจิกิสถาน และในชุมชนเติร์กเมนพลัดถิ่น โดยเฉพาะในตุรกีและรัสเซีย[14][15][16]

ภาษาเติร์กเมน
türkmençe, türkmen dili,
түркменче, түркмен дили,
تۆرکمن ديلی ,تۆرکمنچه
ประเทศที่มีการพูดเติร์กเมนิสถาน, รัสเซีย, อิหร่าน, อุซเบกิสถาน, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, ทาจิกิสถาน[1][2]
ชาติพันธุ์ชาวเติร์กเมน
จำนวนผู้พูด11 million[3]  (2009–2015)[4]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรเติร์กเมน), อักษรซีริลลิก, อักษรอาหรับ
อักษรเบรลล์เติร์กเมน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน
รหัสภาษา
ISO 639-1tk
ISO 639-2tuk
ISO 639-3tuk
Linguasphereส่วนหนึ่งของ 44-AAB-a
ผู้พูดภาษาเติร์กเมนในเอเชียกลาง
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาเติร์กเมนเป็นสมาชิกของสาขาโอคุซของกลุ่มภาษาเตอร์กิก รูปแบบมาตรฐานของภาษาเติร์กเมน (ที่ใช้ในเติร์กเมนิสถาน) มีพื้นฐานจากสำเนียงเตเก ในขณะที่ชาวเติร์กเมนในอิหร่านส่วนใหญ่ใช้สำเนียงโยมุด และชาวเติร์กเมนในอัฟกานิสถานใช้สำเนียงเอร์ซารี[17] ภาษาเติร์กเมนมีความใกล้ชิดกับภาษาอาเซอร์ไบจาน, ตาตาร์ไครเมีย, กากาอุซ, ควาซไคว และตุรกี โดยมีความเข้าใจภาษาของกันและกันในระดับแตกต่างกันไป[18]

ภาษาเติร์กเมนเขียนโดยใช้อักษรซีริลลิกหรืออักษรอาหรับด้วย อย่างไรก็ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประธานาธิบดีซาปาร์มือรัต นือยาซอว์ ได้ประกาศให้เขียนภาษาเติร์กเมนโดยใช้อักษรโรมันที่ได้รับการดัดแปลง

การจำแนก ภาษาที่เกี่ยวข้อง และสำเนียง

แก้

ภาษาเติร์กเมนเป็นภาษาในกลุ่มภาษาเตอร์กิก อยู่ในกลุ่มย่อยเตอร์กิกตะวันออก กลุ่มโอคุซตะวันออก ซึ่งกลุ่มนี้ได้รวมภาษาเติร์กโคซารานีด้วย ภาษาเติร์กเมนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาตาตาร์ไครเมียและภาษาซาลาร์และใกล้เคียงกับภาษาตุรกีและภาษาอาเซอร์ไบจาน

ภาษาเติร์กเมนเป็นภาษาที่มีการเปลี่ยนเสียงสระ เป็นภาษารูปคำติดต่อและไม่มีการแบ่งเพศทางไวยากรณ์และไม่มีกริยาอปกติ การเรียงลำดับคำในประโยคเป็นประธาน-กรรม-กริยา การเขียนของภาษาเติร์กเมนใช้ตามสำเนียงโยมุด และยังมีสำเนียงอื่น ๆ อีกมาก สำเนียงเตเกมักจะถูกอ้างว่าเป็นภาษาชะกะไตโดยเฉพาะในอัฟกานิสถาน แต่ภาษาเติร์กเมนทุกสำเนียงได้รับอิทธิพลจากภาษาชะกะไตไม่มากนัก

วรรณคดี

แก้

กวีที่มีชื่อเสียงของภาษาเติร์กเมนคือ Magtymguly Pyragy ซึ่งมีชีวิตในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 ภาษาของเขาเป็นการแสดงช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างภาษาชะกะไตและภาษาเติร์กเมนที่เป็นภาษาพูด

ระบบการเขียน

แก้

อย่างเป็นทางการ ภาษาเติร์กเมนในปัจจุบันเขียนด้วยอักษรใหม่หรืออักษรละติน อย่างไรก็ตาม อักษรยุคเก่าหรืออักษรซีริลลิกยังคงใช้อยู่ พรรคการเมืองหลายพรรคที่ต่อต้านนโยบายของประธานาธิบดีนิกาเยฟยังคงใช้อักษรซีริลลิกในเว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์

ก่อน พ.ศ. 2472 ภาษาเติร์กเมนเคยเขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ใน พ.ศ. 2472 - 2481 เปลี่ยนมาใช้อักษรละติน แล้วจึงเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกในช่วง พ.ศ. 2481 - 2534 แล้วจึงเปลี่ยนมาใช้อักษรละตินที่ใช้ในปัจจุบัน แต่การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้าๆ

ไวยากรณ์

แก้

การเปลี่ยนเสียงสระ

แก้

เช่นเดียวกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆ ภาษาเติร์กเมนมีการเปลี่ยนเสียงสระ โดยทั่วไป ถ้าเป็นคำดั้งเดิมในภาษาจะประกอบด้วยสระหน้าหรือสระหลังเท่านั้น คำอุปสรรคและปัจจัยจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนเสียงสระนี้ โดยจะเปลี่ยนรูปไปตามคำที่เข้าประกอบ รูปกริยาแท้ของคำจะถูกจำแนกตามสระหย้าและสระหลัง คำที่มีที่มาจากภาษาอื่น ส่วนใหญ่เป็นภาษารัสเซีย ภาษาเปอร์เซียหรือภาษาอาหรับจะไม่มีการเปลี่ยนเสียงสระ

คำกริยา

แก้

คำกริยาแบ่งเป็นรูปเอกพจน์และพหูพจน์ แบ่งตามบุรุษเป็นบุรุษที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีการกของคำกริยา 11 การก มีคำกริยาสองชนิดในภาษาเติร์กเมนซึ่งแบ่งตามรูปของกริยาแท้ที่ลงท้ายด้วย -mak และ -mek โดย -mak จะตามรูปสระหลังส่วน -mek จะตามรูปสระหน้า

ปัจจัย

แก้

ปัจจัยเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของภาษาเติร์กเมน

อ้างอิง

แก้
  1. Ethnic composition, language and citizenship of the population of the Republic of Tajikistan, Volume III (in Russian)
  2. Ethnic Turkmen of Tajikistan Preserve Traditions of Their Ancestors
  3. Ahmet Cuneyd Tantug. A MT System from Turkmen to Turkish Employing Finite State and Statistical Methods. Istanbul Technical University. 2008. p.2
  4. ภาษาเติร์กเมน ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)  
  5. Clark, Larry (1998). Turkmen Reference Grammar (ภาษาอังกฤษ). Wiesbaden: Harrassowitz Verlag. p. 527.
  6. Clark, Larry (1998). Turkmen Reference Grammar (ภาษาอังกฤษ). Wiesbaden: Harrassowitz Verlag. p. 521.
  7. Gökçür, Engin (2015). "Upon Common Word แม่แบบ:As written of Turkmen Turkish and Turkey's Turkish Dialects". The Journal of International Social Research. 8 (36): 135. doi:10.17719/jisr.2015369495.
  8. Kara, Mehmet. Türkmen Türkleri Edebiyatı (The Literature of the Turkmen Turks), Türk Dünyası El Kitabı, Türk Kültürünü Araştırma Enstitüsü Yayınları, Ankara 1998, pp. 5–17
  9. Gökçür, Engin (2015). "Phonetic Events in Turkmen Turkish's Consonants of Words taken from Arabic and Persian". Turkish Studies. 10 (12): 429–448. doi:10.7827/TurkishStudies.8602.
  10. Kara, Mehmet. Türkmen Türkçesi Grameri (The Grammar of the Turkmen Turkish Language, Istanbul, 2012. Etkileşim Yayınları, pp. 1–10
  11. "Iran". Ethnologue.
  12. Project, Joshua. "Turkmen in Pakistan". joshuaproject.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  13. ภาษาเติร์กเมน ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  14. "Where and how do the Turkmens abroad live? (in Russian)". Information Portal of Turkmenistan.
  15. Project, Joshua. "Turkmen in Pakistan". joshuaproject.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-16.
  16. "Turkmen". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-16.
  17. "Who are the Turkmen and where do they live?". Center for Languages of the Central Asian Region. Bloomington, Indiana: Indiana University Bloomington. 2021 [2020]. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2020. สืบค้นเมื่อ 24 August 2021.
  18. Sinor, Denis (1969). Inner Asia. History-Civilization-Languages. A syllabus. Bloomington. pp. 71–96. ISBN 0-87750-081-9.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้