ประเทศเติร์กเมนิสถาน

ประเทศในเอเชียกลาง
(เปลี่ยนทางจาก เติร์กเมนิสถาน)

40°N 60°E / 40°N 60°E / 40; 60

เติร์กเมนิสถาน

Türkmenistan (เติร์กเมน)
คำขวัญ"เติร์กเมนิสถานเป็นมาตุภูมิ
ของความเป็นกลาง"[1][2]
(เติร์กเมน: Türkmenistan Bitaraplygyň watanydyr)
ที่ตั้งของ ประเทศเติร์กเมนิสถาน  (แดง)
ที่ตั้งของ ประเทศเติร์กเมนิสถาน  (แดง)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อาชกาบัต
37°58′N 58°20′E / 37.967°N 58.333°E / 37.967; 58.333
ภาษาราชการเติร์กเมน[3]
ภาษาสำหรับการสื่อสารระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์รัสเซีย
ภาษาอื่น ๆ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2020)
ศาสนา
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดีที่มีพรรคการเมืองเดียว ภายใต้ระบอบเผด็จการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ
เซร์ดาร์ เบร์ดือมูฮาเมดอว์
ราชิต เมเรดอว์
• ประธานสภาประชาชน
กูร์บันกูลือ เบร์ดือมูฮาเมดอว์
สภานิติบัญญัติสภาแห่งชาติ[4]
สภาประชาชน
สมัชชา
เอกราชจากรัสเซียและสหภาพโซเวียต
ค.ศ. 1879
13 พฤษภาคม ค.ศ. 1925
• ประกาศเป็นรัฐเอกราช
22 สิงหาคม ค.ศ. 1990
27 ตุลาคม ค.ศ. 1991
• ได้รับการยอมรับ
26 ธันวาคม ค.ศ. 1991
18 พฤษภาคม ค.ศ. 1992
พื้นที่
• รวม
491,210 ตารางกิโลเมตร (189,660 ตารางไมล์)[5] (อันดับที่ 52)
4.9
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
6,031,187[6] (อันดับที่ 113)
10.5 ต่อตารางกิโลเมตร (27.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 221)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
112,659 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7]
19,526 ดอลลาร์สหรัฐ[7]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
42,764 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7]
7,411 ดอลลาร์สหรัฐ[7]
จีนี (ค.ศ. 1998)40.8
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.715[8]
สูง · อันดับที่ 111
สกุลเงินมานัตเติร์กเมนิสถาน (TMT)
เขตเวลาUTC+05 (TMT)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+993
โดเมนบนสุด.tm

เติร์กเมนิสถาน (อังกฤษ: Turkmenistan; เติร์กเมน: Türkmenistan, ออกเสียง [tʏɾkmønʏˈθːɑːn])[9] เป็นประเทศในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับคาซัคสถาน อุซเบกิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน อิหร่าน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน โดยมีอาชกาบัตเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีประชากรในประเทศประมาณ 6 ล้านคน ซึ่งถือว่าน้อยที่สุดในเอเชียกลาง และมีประชากรเบาบางมากที่สุดในเอเชีย

เติร์กเมนิสถานเป็นทางแยกของอารยธรรมมานานนับศตวรรษ โดยเมิร์ฟเป็นหนึ่งในเมืองโอเอซิสที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียกลาง[10] และเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก[11] ในยุคกลาง เมิร์ฟถือเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ของโลกอิสลามและเป็นจุดหยุดสำคัญบนเส้นทางสายไหม ต่อมาถูกผนวกโดยจักรวรรดิรัสเซียใน ค.ศ. 1881 ซึ่งมีขบวนการต่อต้านบอลเชวิคในเอเชียกลาง ใน ค.ศ. 1925 เติร์กเมนิสถานกลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต แล้วเป็นเอกราชหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991[12]

เติร์เมนิสถานมีก๊าซธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก[13] โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ทะเลทรายการากุมหรือทะเลทรายดำ จาก ค.ศ. 1993 ถึง 2017 พลเมืองในประเทศได้รับไฟฟ้า น้ำ และก๊าซธรรมชาติจากรัฐบาลโดยไม่คิดเงิน[14]

ประเทศนี้ได้รับเสียงวิจารณ์อย่างมากจากสิทธิมนุษยชนที่ย่ำแย่[15][16] โดยปัญหาส่วนใหญ่คือการดูแลชนกลุ่มน้อย, เสรีภาพสื่อ และเสรีภาพทางศาสนา หลังเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 รัฐเอกราชเติร์กเมนิสถานถูกปกครองโดยผู้ปกคอรงเผด็จการสองคน ได้แก่ประธานาธิบดีตลอดชีพซาปาร์มือรัต นือยาซอว์ (มีอีกชื่อว่า ทืร์กเมนบาชือ หรือ "หัวหน้าของชาวเติร์กเมนทั้งปวง") จนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 2006 กูร์บันกูลือ เบร์ดือมูฮาเมดอว์กลายเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2007 หลังชนะการเลือกตั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตย (เขาเคยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีและรักษาการประธานาธิบดี) การใช้บทลงโทษด้วยการประหารชีวิตถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2008[17][18]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

ดูเพิ่มที่อำเภอของประเทศเติร์กเมนิสถานและ OpenStreetMap Wiki: Turkmenistan Geoname Changes[19]  

ประเทศเติร์กเมนิสถานแบ่งออกเป็น 5 จังหวัด (เติร์กเมน: welaýat) และ 1 เมืองหลวง (şäher) แต่ละจังหวัดแบ่งออกเป็นอำเภอ (etrap) ซึ่งอาจเป็นทั้งเทศมณฑลหรือเมือง ตามรายงานจากรัฐธรรมนูญเติร์กเมนิสถาน (มาตราที่ 16 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2008; มาตราที่ 47 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 1992) บางเมืองมีสถานะ จังหวัด หรือ อำเภอ

เขตการปกครอง ISO 3166-2 เมืองหลัก พื้นที่[20] ประชากร (ค.ศ. 2005)[20] หมายเลข
เมืองอาชกาบัต TM-S อาชกาบัต 470 ตารางกิโลเมตร (180 ตารางไมล์) 871,500
จังหวัดอาฮัล TM-A แอเน็ว 97,160 ตารางกิโลเมตร (37,510 ตารางไมล์) 939,700 1
จังหวัดบัลกัน TM-B บัลกานาบัต 139,270 ตารางกิโลเมตร (53,770 ตารางไมล์) 553,500 2
จังหวัดดาโชกุซ TM-D ดาโชกุซ 73,430 ตารางกิโลเมตร (28,350 ตารางไมล์) 1,370,400 3
จังหวัดเลบัป TM-L ทืร์กเมนาบัต 93,730 ตารางกิโลเมตร (36,190 ตารางไมล์) 1,334,500 4
จังหวัดมารือ TM-M มารือ 87,150 ตารางกิโลเมตร (33,650 ตารางไมล์) 1,480,400 5

เศรษฐกิจ แก้

เศรษฐกิจหลักของเติร์กเมนิสถานอยู่บนพื้นฐานอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ขณะที่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ สิ่งทอและอาหาร พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ฝ้ายและธัญพืช สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นปศุสัตว์ ได้แก่ แพะ โค และสัตว์ปีก

ประชากร แก้

ศาสนา แก้

ชาวเติร์กเมนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 85% ศาสนาคริสต์ 10% ศาสนาบาไฮ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ และไสยศาสตร์ 5%

ภาษา แก้

เติร์กเมนิสถานเป็นภาษาราชการและมีการใช้ภาษารัสเซียอย่างกว้างขวาง

อ้างอิง แก้

  1. ""Turkmenistan is the motherland of Neutrality" is the motto of 2020 | Chronicles of Turkmenistan". En.hronikatm.com. 28 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-08. สืบค้นเมื่อ 26 May 2020.
  2. "Turkmen parliament places Year 2020 under national motto "Turkmenistan – Homeland of Neutrality" – tpetroleum". Turkmenpetroleum.com. 29 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-08. สืบค้นเมื่อ 26 May 2020.
  3. "Turkmenistan's Constitution of 2008" (PDF).
  4. "Turkmenistan approves new constitution to increase president's powers". PravdaReport. 26 September 2008.
  5. Государственный комитет Туркменистана по статистике : Информация о Туркменистане: О Туркменистане เก็บถาวร 7 มกราคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน : Туркменистан — одна из пяти стран Центральной Азии, вторая среди них по площади (491,21 тысяч км2), расположен в юго-западной части региона в зоне пустынь, севернее хребта Копетдаг Туркмено-Хорасанской горной системы, между Каспийским морем на западе и рекой Амударья на востоке.
  6. "World Population Prospects – Population Division – United Nations". population.un.org.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Turkmenistan". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 2 June 2016.
  8. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  9. Clark, Larry (1998). Turkmen Reference Grammar (ภาษาอังกฤษ). Wiesbaden: Harrassowitz Verlag. p. 50.
  10. "State Historical and Cultural Park "Ancient Merv"". UNESCO-WHC.
  11. Tharoor, Kanishk (2016). "LOST CITIES #5: HOW THE MAGNIFICENT CITY OF MERV WAS RAZED – AND NEVER RECOVERED". The Guardian. Once the world’s biggest city, the Silk Road metropolis of Merv in modern Turkmenistan destroyed by Genghis Khan’s son and the Mongols in AD1221 with an estimated 700,000 deaths.
  12. "Turkmenistan". The World Factbook. United States Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 25 November 2013.
  13. "BP Statistical Review of World Energy 2019" (PDF). p. 30.
  14. "Turkmen ruler ends free power, gas, water – World News". Hürriyet Daily News.
  15. "Russians 'flee' Turkmenistan". BBC News. 20 June 2003. สืบค้นเมื่อ 25 November 2013.
  16. Spetalnick, Matt (November 3, 2015). "Kerry reassures Afghanistan's neighbors over U.S. troop drawdown". Reuters. สืบค้นเมื่อ August 23, 2020.
  17. Turkmenistan's Constitution of 2008. constituteproject.org
  18. "Asia-Pacific – Turkmenistan suspends death penalty". BBC News.
  19. "Turkmenistan Geoname Changes - OpenStreetMap Wiki". wiki.openstreetmap.org.
  20. 20.0 20.1 Statistical Yearbook of Turkmenistan 2000–2004, National Institute of State Statistics and Information of Turkmenistan, Ashgabat, 2005.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

รัฐบาล
อื่น ๆ