ชาวคาซัค
ชาวคาซัค หรือ ชาวคาซัก (คาซัค: қазақтар, qazaqtar) เป็นชนกลุ่มย่อยหนึ่งในกลุ่มชนเติร์ก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเทือกเขายูรัลและเอเชียกลางตอนเหนือ โดยมากอยู่ในคาซัคสถาน บางส่วนอยู่ในรัสเซีย อุซเบกิสถาน มองโกเลีย และจีน ซึ่งบริเวณเหล่านี้เรียกว่าอนุทวีปยูเรเชีย ความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์คาซัคกำเนิดขึ้นในยุคกลาง โดยอัตลักษณ์นี้ชัดเจนมากขึ้นในสมัยจักรวรรดิข่านคาซัคระหว่างปี ค.ศ. 1456-1465 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บางเผ่าชนที่อยู่ใต้การปกครองของสุลต่านซานิเบกและเกเรย์ แยกตัวออกจากจักรวรรดิข่านแห่งอบูล-ไคร์คาน
қазақтар qazaqtar قازاقتار | |
---|---|
![]() | |
ประชากรทั้งหมด | |
ป. 18,690,200 คน[1] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
![]() | |
ชาวคาซัคพลัดถิ่น | |
![]() | 1,800,000[3] |
![]() | 800,000[4] |
![]() | 647,732[5] |
![]() | 102,526 |
![]() | 33,200[6] |
![]() | 24,636[7] |
![]() | 10,000[8] |
![]() | 9,600[9] |
![]() | 3,000–15,000[10][11] |
![]() | 5,639[12] |
![]() | 5,526[13] |
![]() | 5,000[14] |
![]() | 2,310 |
![]() | 1,685[15] |
![]() | 1,355[16] |
![]() | 1,000[17] |
ภาษา | |
[18][19] | |
ศาสนา | |
อิสลามนิกายซุนนี[20] |
ชาวคาซัคสืบเชื้อสายมาจากเผ่าชนเติร์กและมองโกลในยุคกลาง เช่น อาร์กิน ดูกลัต ไนมัน จาไลร์ เกไรต์ การ์ลุก และกิปชัก[21]
นิรุกติศาสตร์ของคำว่า คาซัคแก้ไข
ชาวคาซัคอาจเริ่มใช้ชื่อชาติพันธุ์ตนเองตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 หรือ 16[22] หลายทฤษฎีได้อธิบายที่มาของคำว่า "คาซัค" บางทฤษฎีมีสมมุติฐานว่าคำนี้มาจากคำว่า qaz (ก. "ร่อนเร่") ในภาษาตุรกี เพราะชาวคาซัคเป็นคนสเต็ปป์ (ทุ่งหญ้ากว้างใหญ่) ที่เร่ร่อนไปมา บางทฤษฎีว่า "คาซัค" มาจากคำว่า khasaq (น. เกวียนใช้โดยชาวคาซัคเพื่อขนย้ายเยิร์ตและข้าวของของตน) ซึ่งเป็นคำในภาษาเติร์กดั้งเดิม[23] อีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่าชื่อของกลุ่มชนนี้มาจากคำว่า qazğaq ในภาษาเติร์กโบราณ ซึ่งมีการใช้เป็นครั้งแรกบนอนุสาวรีย์ของชาวเติร์กในศตวรรษที่ 8 ของอูยุก-ทูรัน[24] ส่วนทฤษฎีโดยนักภาษาศาสตร์ด้านกลุ่มชนเติร์ก วาสิลี รัดโลฟ และนักบูรพาวิทยา เวเนียมิน ยูดิน เสนอว่า คำว่า qazğaq ซึ่งเป็นคำนาม มีรากเดียวกับคำว่า qazğan (ก. "รับ", "ได้") ดังนั้น คำว่า qazğaq มีนิยามว่า บุคคลแบบหนึ่งที่หาผลประโยชน์และกำไร[25]
คาซัคแก้ไข
คำว่า "คาซัค" มีการใช้แบบทั่วไปในเอเชียกลางสมัยยุคกลาง โดยทั่วไปใช้เพื่อกล่าวถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับอิสรภาพจากผู้มีอำนาจหรือผู้ปกครอง ตีมูร์ ผู้พิชิตชาวเติร์ก-มองโกล ก็เคยกล่าวว่า การที่เขาตอนยังเป็นหนุ่มไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจโดยตรงของใคร คือ Qazaqliq ("ความเป็นกาซักหรือคาซัค")[26] ในช่วงการพิชิตดินแดนเอเชียกลางโดยชนร่อนเร่ชาวอุซเบก จักรพรรดิอบูล-ไคร์คาน ผู้ครองจักรวรรดิข่านอุซเบก ได้มีความขัดแย้งกับ กิเรย์และจานิเบก ข่าน ผู้เป็นเสนาของจักรพรรดิเจงกีส ข่านและผู้สืบเชื้อสายของอุรุส ข่าน
ความขัดแย้งนี้อาจเกิดขึ้นจากความพ่ายแพ้แบบย่อยยับของจักรพรรดิอบูล-ไคร์คานโดยพวกกัลมัก[27] ทำให้กิเรย์ จานิเบกและชนเร่รอนกลุ่มใหญ่อพยพไปบริเวณเจติซู/เซมิเรชเย ซึ่งติดกับชายแดนโมกูลิสถาน และไปสร้างทุ่งหญ้าเป็นที่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ โดยอาศัยบารมีของจักรพรรดิเอเซน บูกา ผู้เป็นจักรพรรดิที่นั่นและผู้สืบเชื้อสายของเจงกีส ข่าน โดยพระองค์มีความประสงค์ให้ทุ่งหญ้าของผู้ย้ายถิ่นมาใหม่นี้ เป็นพื้นที่กันชนเพื่อป้องกันการขยายตัวของชาวโอยรัต[28] ไม่มีคำอธิบายอย่างชัดเจนว่าเหตุใดชาวคาซัครุ่นหลังจึงใช้คำว่า "คาซัค" เป็นชื่อชาติพันธุ์ตนเองอย่างถาวร แต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นแหล่งอ้างอิงเดียวที่ตรวจสอบได้ในประวัติศาสตร์ ในเอกสารต่าง ๆ กลุ่มชนที่ปกครองโดยกิเรย์และจานิเบก มักถูกเรียกว่า กาซัก (Qazak) และกาซัก-อุซเบก (Uzbek-Qazak) (หมายถึงชาวอุซเบกที่ไม่ได้ปกครองโดยจักรพรรดิข่านอุซเบก) เดิมทีชาวรัสเซียเรียกชาวคาซัคว่า "กีร์กีซ" (Kirgiz) และภายหลังเรียกว่า "กีร์กีซ-ไกซัก" (Kirghiz-Kaisak) เพื่อไม่ให้สับสนกับชาวคีร์กีซ
สัญนิยมของรัสเซียในศตวรรษที่ 17 แนะนำว่า เพื่อไม่ให้สับสนระหว่างชาวกาซักแห่งทุ่งหญ้ากว้างใหญ่กับคอสแซคของกองทัพจักรวรรดิรัสเซีย พยัญชนะท้ายคำของคำว่า Qazak ควรใช้เป็น "kh" แทน "q" หรือ "k" การสะกดแบบนี้ได้เป็นการสะกดอย่างทางการในสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1936[29]
- Kazakh (คาซัค / กาซัก) – Казах
- Cossack (คอสแซค) – Казак
คำว่า "คอสแซค" ในภาษายูเครนอาจมีจากรากศัพท์เดียวกับคำว่า "กิปชัก" (Kypchak) ซึ่งแปลว่า "ผู้ร่อนเร่" หรือ "ผู้ปล้นคนเดินทาง"[30][31]
ประวัติศาสตร์มุขปาฐะแก้ไข
วีถีชีวิตแบบชนร่อนเร่บนท้องทุ่ง ช่วยให้ชาวคาซัคคงไว้ซึ่งประเพณีการเล่าประวัติศาสตร์มุขปาฐะแบบมหากาพย์ ชาติพันธุ์คาซัค ซึ่งเกิดขึ้นจากการผสมผสานของหลากหลายเผ่าชนร่อนเร่คาซัค ได้รักษาความทรงจำร่วมอันยาวนานเกี่ยวกับผู้เป็นต้นกำเนิดของชาติพันธุ์ ในอดีตชาวคาซัคมักรู้ว่าใครอยู่ในพงศาวลีตนเอง โดยนับหลังได้ไม่ต่ำกว่า 7 รุ่น (ในภาษาคาซัคเรียกว่า şejire, เฌจีเร, จากภาษาอาหรับ shajara, ฌาจารา – แปลว่า "ต้นไม้")
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ March 2018, Staff Report in Nation on 31 (31 March 2018). "Kazakhstan's population tops 18 million". The Astana Times. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
- ↑ "Агентство Республики Казахстан по статистике. Этнодемографический сборник Республики Казахстан 2014". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-01-03.
- ↑ Census 2000 counts 1.25 trillion Kazakhs The Kazak Ethnic Group, later the Kazakh population had higher birth rate, but some assimilation processes were present too. Estimates made after the 2000 Census claim Kazakh population share growth (was 0.104% in 2000), but even if that value were preserved at 0.104%, it would be no less than 1.4 million in 2008.
- ↑ Kazakh population share was constant at 4.1% in 1959–1989, CIA estimates that declined to 3% in 1996. Official Uzbekistan estimation (E. Yu. Sadovskaya "Migration in Kazakhstan in the beginning of the 21st century: main tendentions and perspectives" ISBN 978-9965-593-01-7) in 1999 was 940,600 Kazakhs or 3.8% of total population. If Kazakh population share was stable at about 4.1% (not taking into account the massive repatriation of ethnic Kazakhs (Oralman) to Kazakhstan estimated over 0.6 million) and the Uzbekistan population in the middle of 2008 was 27.3 million, the Kazakh population would be 1.1 million. Using the CIA estimate of the share of Kazakhs (3%), the total Kazakh population in Uzbekistan would be 0.8 million
- ↑ "Russia National Census 2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-23. สืบค้นเมื่อ 2020-01-03.
- ↑ In 2009 National Statistical Committee of Kyrgyzstan. National Census 2009 เก็บถาวร 8 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Place of birth for the foreign-born population in the United States, Universe: Foreign-born population excluding population born at sea, 2014 American Community Survey 5-Year Estimates". United States Census Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2020. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ "Казахское общество Турции готово стать объединительным мостом в крепнущей дружбе двух братских народов – лидер общины Камиль Джезер". สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
- ↑ "2011 National Household Survey: Data tables". สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ "Казахи "ядерного" Ирана". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
- ↑ ""Казахи доказали, что являются неотъемлемой частью иранского общества и могут служить одним из мостов, связующих две страны" – представитель диаспоры Тойжан Бабык". สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
- ↑ "Population data". czso.cz.
- ↑ Ukrainian population census 2001[ลิงก์เสีย]: Distribution of population by nationality. Retrieved 23 April 2009
- ↑ "UAE´s population – by nationality". BQ Magazine. 12 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2015. สืบค้นเมื่อ 12 July 2015.
- ↑ "Bevölkerung nach Staatsangehörigkeit und Geburtsland". Statistik Austria. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
- ↑ population census 2009 เก็บถาวร 2010-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: National composition of the population.
- ↑ "Kasachische Diaspora in Deutschland. Botschaft der Republik Kasachstan in der Bundesrepublik Deutschland" (ภาษาเยอรมัน). botschaft-kaz.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2021-08-14.
- ↑ Farchy, Jack (9 May 2016). "Kazakh language schools shift from English to Chinese". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
- ↑ "Students learn Chinese to hone their job prospects – World – Chinadaily.com.cn". China Daily. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
- ↑ "Chapter 1: Religious Affiliation". The World’s Muslims: Unity and Diversity. Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 9 August 2012. Retrieved 4 September 2013
- ↑ Togan, Z. V. (1992). "The Origins of the Kazaks and the Uzbeks". Central Asian Survey. 11 (3). doi:10.1080/02634939208400781.
- ↑ Barthold, V. V. (1962). Four Studies on the History of Central Asia. Vol. 3. แปลโดย V. & T. Minorsky. Leiden: Brill Publishers. p. 129.
- ↑ Olcott, Martha Brill (1995). The Kazakhs. Hoover Press. p. 4. ISBN 978-0-8179-9351-1. สืบค้นเมื่อ 7 April 2009.
- ↑ "Уюк-Туран" [Uyuk-Turan] (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-05.
- ↑ Yudin, Veniamin P. (2001). Центральная Азия в 14–18 веках глазами востоковеда [Central Asia in the eyes of 14th–18th century Orientalists]. Almaty: Dajk-Press. ISBN 978-9965-441-39-4.
- ↑ Subtelny, Maria Eva (1988). "Centralizing Reform and Its Opponents in the Late Timurid Period". Iranian Studies. Taylor & Francis, on behalf of the International Society of Iranian Studies. 21 (1/2: Soviet and North American Studies on Central Asia): 123–151. doi:10.1080/00210868808701712. JSTOR 4310597.
- ↑ Bregel, Yuri (1982). "Abu'l-Kayr Khan". Encyclopædia Iranica. Vol. 1. Routledge & Kegan Paul. pp. 331–332.
- ↑ Barthold, V. V. (1962). "History of the Semirechyé". Four Studies on the History of Central Asia. Vol. 1. แปลโดย V. & T. Minorsky. Leiden: Brill Publishers. pp. 137–65.
- ↑ Постановление ЦИК и СНК КазАССР № 133 от 5 February 1936 о русском произношении и письменном обозначении слова «казак»
- ↑ "Cossack". Online Etymology Dictionary. Etymonline.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ "Cossack | Russian and Ukrainian people". Encyclopædia Britannica. 28 May 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.