โกลเดนฮอร์ด
โกลเดนฮอร์ด (มองโกเลีย: Алтан Орд, Altan Ord; ตาตาร์: Алтын Урда, Altın Urda; รัสเซีย: Золотая Орда, Zolotaya Orda, อังกฤษ: Golden Horde หรือ Ulus of Jochi) เป็นคำที่สลาฟตะวันออกใช้เรียกมองโกล[1][2][3]—ที่ต่อมากลายเป็นกลุ่มชนเติร์ก[4]—มุสลิม[5] อาณาจักรข่านก่อตั้งขึ้นทางตะวันตกของจักรวรรดิมองโกลหลังจากการรุกรานของมองโกลในรุสในคริสต์ศตวรรษ 1240: ปัจจุบันคือบริเวณรัสเซีย, ยูเครน, มอลโดวา, คาซัคสถาน, และ คอเคซัส โกลเดนฮอร์ดบางครั้งก็เรียกว่า Jochi Ulus[4] หรือ อาณาจักรข่านคิพชัค (Kipchak Khanate) (คนละอาณาจักรข่านคิพชัคก่อนหน้านั้นที่ถูกพิชิตโดยมองโกล) อาณาบริเวณของโกลเดนฮอร์ดในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดครอบคลุมดินแดนเกือบทั้งหมดของยุโรปตะวันออกตั้งแต่เทือกเขายูรัลไปจนถึงแม่น้ำดานูบ ทางตะวันออกลึกเข้าไปในไซบีเรีย ทางตอนใต้จรดทะเลดำ, เทือกเขาคอเคซัส และดินแดนของราชวงศ์มองโกลที่เรียกว่าจักรวรรดิข่านอิล (Ilkhanate)[4]
The Ulus of Jochi Зүчийн улс Алтан Орд Altan Ord Altın Urda Golden Horde | |||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1242–ค.ศ. 1502 | |||||||||||||||||||||||
ธง (ค.ศ. 1339-1502) | |||||||||||||||||||||||
อาณาเขตโกลเดนฮอร์ด (สีเขียว), ราวๆ ปี ค.ศ. 1300 | |||||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | ซาไรบาตู | ||||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | มองโกล และ เตอร์กิก | ||||||||||||||||||||||
ศาสนา | ชามัน ต่อมาอิสลาม | ||||||||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยกึ่งโดยเลือกตั้ง, ต่อมาเป็นราชาธิปไตยโดยสืบราชสันตติวงศ์ | ||||||||||||||||||||||
ข่าน | |||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1226-1280 | ข่านออร์ดา (ไวท์ฮอร์ด) | ||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1242-1255 | ข่านบาตู (บลูฮอร์ด) | ||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1379-1395 | Tokhtamysh | ||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1435-1459 | คือชึค มูฮัมมัด (เกรตฮอร์ด) | ||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1481-1499 | เมอร์ทาดา | ||||||||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | Kurultai | ||||||||||||||||||||||
• สภาสูง | - | ||||||||||||||||||||||
• สภาล่าง | - | ||||||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ปลายยุคกลาง | ||||||||||||||||||||||
• ก่อตั้งหลังจากการรุกรานของมองโกลในรุส | ค.ศ. 1242 | ||||||||||||||||||||||
ค.ศ. 1379 | |||||||||||||||||||||||
• สลายตัวลงเป็นเกรตฮอร์ด | ค.ศ. 1466 | ||||||||||||||||||||||
• กลุ่มสุดท้ายขึ้นกับอาณาจักรข่านไครเมีย | ค.ศ. 1502 | ||||||||||||||||||||||
|
ที่มาของคำว่า “โกลเดนฮอร์ด” ไม่เป็นที่ทราบแน่นอน นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นชื่อที่หมายถึงแค้มพ์บาตูและต่อมาประมุขของกลุ่มฮอร์ด ในมองโกเลีย “Altan Orda” หมายถึงแค้มพ์ทอง หรือ วัง (มองโกเลีย: Алтан Ордон, Altan Ordon = สุวรรณปราสาท) นอกจากนั้นคำว่า “Altan” ที่แปลว่าทองก็ยังเป็นสีที่สงวนสำหรับพระมหากษัตริย์ แหล่งข้อมูลอื่นกล่าวถึงบาตูว่ามีเต้นท์สีทอง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “โกลเดนฮอร์ด” ในข้อมูลร่วมสมัย “โกลเดนฮอร์ด” หมายถึง “อาณาจักรข่านแห่งคิพชัค” (Khanate of the Qipchaq) เช่นคิพชัคเติร์กที่ส่วนใหญ่เป็นชนเร่ร่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น (Ulus Jochid)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ George Vernadsky, M. Karpovich: The Mongols and Russia, Yale University Press, 1953
- ↑ "Empire of the Golden Horde เก็บถาวร 2009-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition, 2001-05.
- ↑ 3.0 3.1 T. May, "Khanate of the Golden Horde", North Georgia College and State University.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Golden Horde", in Encyclopaedia Britannica, 2007. Quotation: "also called Kipchak Khanate Russian designation for the Ulus Juchi, the western part of the Mongol Empire, which flourished from the mid-13th century to the end of the 14th century. The people of the Golden Horde were a mixture of Turks and Mongols, with the latter generally constituting the aristocracy." อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Britannica1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Russia and the Golden Horde: The Mongol Impact on Medieval Russian History By Charles J. Halperin, pg. 111