แม่น้ำดานูบ

แม่น้ำในทวีปยุโรป

แม่น้ำดานูบ (อังกฤษ: Danube River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในสหภาพยุโรป และยาวเป็นอันดับสองของทวีปยุโรป (รองจากแม่น้ำวอลกา) มีต้นกำเนิดที่แถบป่าดำ (อังกฤษ: Black Forest; เยอรมัน: Schwarzwald) ในประเทศเยอรมนี เกิดจากแม่น้ำเล็ก ๆ สองสาย คือ Brigach และ Breg ซึ่งไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำดานูบที่เมือง Donaueschingen

ดานูบ
แม่น้ำดานูบในบูดาเปสต์
เส้นทางแม่น้ำดานูบในสีแดง
ชื่อท้องถิ่น
ที่ตั้ง
ประเทศ
เมือง
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำBreg
 • ตำแหน่งFurtwangen im Schwarzwald รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี
 • พิกัดภูมิศาสตร์48°05′44″N 08°09′18″E / 48.09556°N 8.15500°E / 48.09556; 8.15500
 • ระดับความสูง1,078 เมตร (3,537 ฟุต)
แหล่งที่ 2Brigach
 • ตำแหน่งSt. Georgen im Schwarzwald รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี
 • พิกัดภูมิศาสตร์48°06′24″N 08°16′51″E / 48.10667°N 8.28083°E / 48.10667; 8.28083
 • ระดับความสูง940 เมตร (3,080 ฟุต)
จุดบรรจบ 
 • ตำแหน่งDonaueschingen รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี
 • พิกัดภูมิศาสตร์47°57′03″N 08°31′13″E / 47.95083°N 8.52028°E / 47.95083; 8.52028
ปากน้ำดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบ
 • ตำแหน่ง
ประเทศยูเครน
 • พิกัด
45°13′3″N 29°45′41″E / 45.21750°N 29.76139°E / 45.21750; 29.76139พิกัดภูมิศาสตร์: 45°13′3″N 29°45′41″E / 45.21750°N 29.76139°E / 45.21750; 29.76139
ความยาว2,850 กิโลเมตร (1,770 ไมล์)[1]
พื้นที่ลุ่มน้ำ801,463 ตารางกิโลเมตร (309,447 ตารางไมล์)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งก่อนถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบ
 • เฉลี่ย(ช่วง: 1931–2010) 6,510 cubic metre per second (230,000 cubic foot per second)[2]

(ช่วง: 1970–2015) 6,546 cubic metre per second (231,200 cubic foot per second)[3]

(ช่วง: 1840–2006) 6,471 cubic metre per second (228,500 cubic foot per second)[4]
 • ต่ำสุด1,790 cubic metre per second (63,000 cubic foot per second)[2]
 • สูงสุด15,900 m3/s (560,000 cu ft/s)[2]
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งก่อนถึงพัสเซา รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี 30 km (19 mi)
 • เฉลี่ย580 cubic metre per second (20,000 cubic foot per second)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งเวียนนา ประเทศออสเตรีย
 • เฉลี่ย1,900 cubic metre per second (67,000 cubic foot per second)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี
 • เฉลี่ย2,350 cubic metre per second (83,000 cubic foot per second)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งเบลเกรด ประเทศเซอร์เบีย
 • เฉลี่ย5,600 cubic metre per second (200,000 cubic foot per second)

แม่น้ำดานูบไหลจากป่าดำไปทางทิศตะวันออกผ่านเมืองหลวงและเมืองสำคัญ ๆ ของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก ก่อนที่จะไหลผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบ (Danube Delta) และแยกลงสู่ทะเลดำที่ประเทศโรมาเนียและยูเครน มีความยาวประมาณ 2,845 กม. (ความยาวจากแหล่งต้นน้ำ คือ แม่น้ำ Berg ถึงทะเลดำ 2,888 กม.) ความยาวที่เรือสามารถเดินได้ 2,415 กม.

แม่น้ำดานูบเป็นทางน้ำที่สำคัญต่อนานาประเทศมายาวนานหลายศตวรรษจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ในประวัติศาสตร์เคยเป็นปราการที่สำคัญของอาณาจักรโรมัน แม่น้ำดานูบไหลผ่านและเป็นเส้นแบ่งอาณาเขตของ 10 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย สโลวาเกีย ฮังการี โครเอเชีย เซอร์เบีย บัลแกเรีย โรมาเนีย มอลโดวา ยูเครน และยังเป็นที่ลุ่มที่รองรับน้ำจากหลาย ๆ ประเทศ ได้แก่ อิตาลี โปแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สโลวีเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร สาธารณรัฐมาซิโดเนีย มอลโดวา และแอลเบเนีย

ภาพวาด Donaulandschaft bei Wien (ภาพทิวทัศน์แม่น้ำดานูบ ใกล้เวียนนา) โดย Johann Christian Brand ราว ค.ศ. 1760
สะพาน Nový Most ข้ามแม่น้ำดานูบในบราติสลาวา (สโลวาเกีย)
สะพาน Mária Valéria เชื่อมระหว่าง เอสเตอร์กอม (ฮังการี) กับ Štúrovo (สโลวาเกีย)
Danube Bend ใน Visegrád (ฮังการี)
แนวถุงทรายสำหรับป้องกันน้ำท่วมเมื่อวันที่ 8 เม.ย. พ.ศ. 2549 ที่ โนวี ซาด (เซอร์เบีย)

ชื่อเรียกของแม่น้ำดานูบในภาษาต่าง ๆ แก้

ทั้งหมดล้วนแล้วแต่มีรากศัพท์มาจากคำว่า *dānu ในภาษาเซลติก (Celtic) ซึ่งมีความหมายว่า การไหล และคำที่เทียบเท่ากันก็ใช้เป็นชื่อเรียกแม่น้ำ Donwy ในแคว้นเวลส์อีกด้วย

ภูมิศาสตร์ แก้

เส้นทาง แก้

แม่น้ำดานูบไหลผ่านประเทศต่าง ๆ 10 ประเทศดังนี้[5]

เรียงลำดับจากต้นน้ำไปปลายน้ำ (กม.) เรียงลำดับตามความยาว (กม.)
เยอรมนี 577 โรมาเนีย 1,075
ออสเตรีย 350 เซอร์เบีย 588
สโลวาเกีย 172 เยอรมนี 577
ฮังการี 416 บัลแกเรีย 471.5
โครเอเชีย 137.5 ฮังการี 416
เซอร์เบีย 588 ออสเตรีย 350
โรมาเนีย 1,075 โครเอเชีย 137.5
บัลแกเรีย 471.5 ยูเครน 180
ยูเครน 180 สโลวาเกีย 172
มอลโดวา 0.57 มอลโดวา 0.57

ลำน้ำสาขา แก้

ลำน้ำสาขาของแม่น้ำดานูบบางสายก็เป็นแม่น้ำที่สำคัญ และเป็นทางเดินสำหรับเรือลำเลียงสินค้าและเรือโดยสาร ลำน้ำสาขาที่ไหลมารวมกับแม่น้ำดานูบ (เรียงลำดับจากต้นน้ำไปท้ายน้ำ) มีดังนี้

  • Iller - Lech - Regen (ไหลเข้าสู่แม่น้ำดานูบที่เมือง Regensburg) - Isar (ไหลมารวมกับแม่น้ำดานูบหลังจากไหลผ่านเมือง Deggendorf) - Inn (ไหลเข้าสู่แม่น้ำดานูบที่เมือง Passau) - Enns - Morava - Leitha - Váh (ไหลเข้าสู่แม่น้ำดานูบที่เมือง Komárno) - Hron - Ipel - Sió - Dráva - Vuka - Tisza - Sava (ไหลเข้าสู่แม่น้ำดานูบที่เมืองเบลเกรด) - Timiş - Velika Morava - Caraş - Jiu - Iskar - Olt - Vedea - Argeş - Ialomiţa - Siret - Prut

เมือง แก้

แม่น้ำดานูบไหลผ่านประเทศและเมืองต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. เยอรมนี
    • Tuttlingen, Sigmaringen, อูล์ม (Ulm), Ingolstadt, Regensburg, Passau
  2. ออสเตรีย
    • ลินซ์ (Linz) เมืองหลวงของออสเตรียตอนเหนือ, เวียนนา (Vienna) เมืองหลวงของประเทศออสตรีย ซึ่งบริเวณที่ลุ่มซึ่งแม่น้ำดานูบท่วมถึง มีชื่อว่า โลเบา (Lobau)
  3. สโลวาเกีย
  4. ฮังการี
    • Győr, Komárom, เอสเตอร์กอม (Esztergom), Visegrád, เซ็นเท็นเดร (Szentendre), Vác, บูดาเปสต์ (Budapest) เมืองหลวงของประเทศฮังการี, Ráckeve, Baja
  5. โครเอเชีย
    • Vukovar
  6. เซอร์เบีย
    • Apatin ในจังหวัด Vojvodina, Bačka Palanka ในจังหวัด Vojvodina, Novi Sad เมืองหลวงของจังหวัด Vojvodina, เบลเกรด (Belgrade) เมืองหลวงของประเทศเซอร์เบีย, Smederevo
  7. บัลแกเรีย
    • Vidin, Lom, Kozlodui, Nikopol, Belene, Svishtov, Rousse, Toutrakan, Silistra
  8. โรมาเนีย
    • Drobeta-Turnu Severin, Moldova Nouă, Orşova, Calafat, Corabia, Turnu Măgurele, Zimnicea, Giurgiu, Olteniţa, Călăraşi, Feteşti, Cernavodă, Hârşova, Brăila, Galaţi, Tulcea, Sulina
  9. ยูเครน
    • Izmail
  10. มอลโดวา
    • Djourdjoulechti (แม่น้ำดานูบเป็นพรมแดนระหว่างประเทศมอลโดวากับประเทศโรมาเนีย โดยแม่น้ำดานูบไหลผ่านทางตอนใต้ของมอลโดวาเป็นระยะทางสั้นที่สุด คือ แค่ประมาณ 900 เมตรเท่านั้น[6])

ช่วงแม่น้ำ แก้

  • ตอนบน (จากต้นน้ำถึง Devín Gate) - แม่น้ำดานูบช่วงนี้จัดเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านเทือกเขาจนกระทั่งถึงเมือง Passau มีความลาดชันของท้องน้ำ 0.0012% จากเมือง Passau จนถึง Devín Gate ความลาดชันของท้องน้ำลดลงเหลือ 0.0006%
  • ตอนกลาง (จาก Devín Gate ถึง Iron Gate) - ช่วงนี้ทางน้ำขยายขนาดกว้างมากขึ้น และความลาดชันของท้องน้ำลดลงเหลือแค่ 0.00006%
  • ตอนล่าง (จาก Iron Gate ถึง Sulina) - โดยเฉลี่ยความลาดชันของท้องน้ำน้อยมาก (ประมาณ 0.00003%)

อ้างอิง แก้

  1. "Danube River". Encyclopædia Britannica (Online ed.). สืบค้นเมื่อ 30 April 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 Gâştescu, Petre; Țuchiu, Elena (2012), Gâştescu, Petre; Lewis Jr., William; Breţcan, Petre (บ.ก.), "The Danube River in the Pontic Sector – Hidrologycal Regime" (PDF), Water resources and wetlands: Conference Proceedings, Tulcea, Romania, p. 18, ISBN 978-606-605-038-8
  3. "Points of view expressed by the Romanian authorities and scientific research on the Ukraine's document "Annotated Report on Scientific Research – Complex Environmental Monitoring for the Danube – Black Sea Deep Water Navigation Canal operation in 2017–2018. The Sea Approach Canal Zone"" (PDF). unece.org. สืบค้นเมื่อ 30 April 2022.
  4. Bondar, Constantin. "Hydromorphological balance of the Danube River Channel on the Sector between Bazias (km 1072.2) and Danube Delta Inlet (km 80.5)" (PDF). osce.org. สืบค้นเมื่อ 30 April 2022.
  5. เว็บไซต์ [https://web.archive.org/web/20220206024032/http://www.danube-river.org/ เก็บถาวร 2022-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Danube / Danube Tourist Commission | A River's lure | The River | Fact and Figures
  6. เว็บไซต์ [https://web.archive.org/web/20220206024032/http://www.danube-river.org/ เก็บถาวร 2022-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Danube / Danube Tourist Commission | A River's lure | Danube Lands | Moldova | Fact and Figures

แหล่งข้อมูลอื่น แก้