เบลเกรด
เบลเกรด (/bɛlˈɡreɪd/ bel-GRAYD, /ˈbɛlɡreɪd/ bel-grayd;[หมายเหตุ 1] เซอร์เบีย: Београд / Beograd, แปลตรงตัว 'เมืองสีขาว', ออกเสียง: [beǒɡrad] ( ฟังเสียง);) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเซอร์เบีย ตั้งอยู่ที่จุดบรรจบของแม่น้ำซาวาและแม่น้ำดานูบ และทางแยกของที่ราบพันโนเนียและคาบสมุทรบอลข่าน[6] ประชากรในเขตมหานครเบลเกรดคือ 1,681,405 คนตามการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2022[3] และเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญของยุโรปตะวันออกเฉียงใต้และเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามริมแม่น้ำดานูบ
เบลเกรด Град Београд Grad Beograd | |
---|---|
City of Belgrade | |
สมญา: เมืองแห่งตึกระฟ้า | |
พิกัด: 44°49′14″N 20°27′44″E / 44.82056°N 20.46222°E | |
ประเทศ | เซอร์เบีย |
ก่อตั้ง: | พ.ศ. 629 (Roman Legion) |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ว่าง |
• รองนายกเทศมนตรี | ว่าง |
พื้นที่[1] | |
• เขตเมือง | 359.96 ตร.กม. (138.98 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 3,222.68 ตร.กม. (1,244.28 ตร.ไมล์) |
ความสูง[2] | 117 เมตร (384 ฟุต) |
ประชากร (2007)[3] | |
• ตัวเมือง | 1,670,000 (Table 3.2 p. 64) คน |
• ความหนาแน่น | 506 คน/ตร.กม. (1,310 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 1,281,801 คน |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 3,283 คน/ตร.กม. (8,500 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) |
Postal code | 11000 |
รหัสพื้นที่ | (+381) 11 |
ป้ายทะเบียนรถยนต์ | BG |
เว็บไซต์ | Beograd.rs |
เบลเกรดเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องในยุโรปและทั่วโลก หนึ่งในวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของยุโรป คือวัฒนธรรมวินชา พัฒนาขึ้นภายในพื้นที่เบลเกรดในช่วงสหัสวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยโบราณ ชาวธราโก-ดาเซียนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ และหลังจาก 279 ปีก่อนคริสตกาล ชาวเคลต์ได้ตั้งถิ่นฐานในเมืองนี้โดยตั้งชื่อเมืองนี้ว่า Singidūn.[7] และได้ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิโรมันในรัชสมัยของจักรพรรดิเอากุสตุส[8]ต่อมาเมืองนี้ได้ถูกตั้งถิ่นฐานโดยชาวสลาฟ และถูกยึดครองหลายครั้งระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์ ราชอาณาจักรแฟรงก์ จักรวรรดิบัลแกเรีย และราชอาณาจักรฮังการี ผ่านไปถึงปี ค.ศ. 1521 เบลเกรดถูกยึดครองโดยจักรวรรดิออตโตมัน และกลายเป็นเมืองหลวงของซันจักแห่งสเมเดเรโว[9] และต่อมาได้ถูกยึดครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์คและได้กลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมันอีกครั้งหนึ่ง
หลังการปฏิวัติเซอร์เบีย เบลเกรดได้เป็นเมืองหลวงของเซอร์เบียอีกครั้งในปี ค.ศ. 1841 จนถึงปี ค.ศ. 1918 เมื่ออดีตดินแดนของออสเตรีย-ฮังการีกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเบลเกรดเป็นเมืองหลวงของยูโกสลาเวียตั้งแต่การสถาปนาในปี ค.ศ. 1918 จนกระทั่งการล่มสลายของเซอร์เบียและมอนเตเนโกรในปี ค.ศ. 2006[หมายเหตุ 2] ในตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ เมืองนี้เป็นเมืองสู้รบในสงคราม 115 ครั้งและถูกทำลาย 44 ครั้ง ถูกระเบิด 5 ครั้งและถูกปิดล้อมหลายครั้ง[10]
เนื่องจากเป็นเอกนครของเซอร์เบีย เบลเกรดจึงมีสถานะพิเศษภายในเซอร์เบีย[11] เป็นที่ตั้งของหน่วยงานของรัฐบาล หน่วยงานบริหาร และกระทรวงต่างๆ รวมถึงเป็นที่ตั้งของบริษัท สื่อ และสถาบันวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในเซอร์เบียเกือบทั้งหมด เบลเกรดจัดอยู่ในประเภท Beta-Global City[12] เมืองนี้เป็นที่ตั้งของศูนย์คลินิกมหาวิทยาลัยเซอร์เบีย ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีสมรรถภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โบสถ์นักบุญซาวา ซึ่งเป็นโบสถ์ออร์mvดอกซ์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง และ สตาร์ก อารีนา หนึ่งในสนามกีฬาในร่มที่มีความจุมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป
เบลเกรดเป็นเมืองเจ้าภาพจัดงานสำคัญระดับนานาชาติหลายงาน เช่น การประชุมแม่น้ำดานูบในปี ค.ศ. 1948 การประชุมสุดยอดขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดครั้งแรก (ค.ศ. 1961) การประชุมใหญ่ครั้งแรกของ OSCE (ค.ศ. 1977–1978) การประกวดเพลงยูโรวิชัน (ค.ศ. 2008) ตลอดจนกีฬา เช่น กีฬาทางน้ำชิงแชมป์โลกครั้งแรก (ค.ศ. 1973), ยูฟ่ายูโรปาลีก (ค.ศ. 1976), กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน (ค.ศ. 2009) และ ยูโรบาสเกตสามครั้ง (ค.ศ.1971, 1975, 2005)[13]
สภาพทางภูมิศาสตร์
แก้เบลเกรดตั้งอยู่ในตอนกลางของประเทศเซอร์เบีย ระหว่างรอยของภูมิภาคสองแห่งคือ ชูมาดียา (เซอร์เบีย: Шумадија) กับภูมิภาค วอยโวดีนา (เซอร์เบีย: Војводина) พื้นที่โดยทั่วไปของเมืองเบลเกรดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีเนินต่ำ ๆ สลับ โดยถือเป็นริมขอบทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเขตที่ราบแพนโนเนียน มีแม่น้ำสำคัญตัดผ่านเมืองสองสายคือ แม่น้ำซาวาไหลมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้และมาบรรจบกับแม่น้ำดานูบซึ่งไหลมาจากทางตะวันตกเฉียงเหนือผ่านเขตวอยโวดีน่า โดยจุดที่แม่น้ำทั้งสองมาไหลรวมกันนั้น ถือว่าเป็นสมรภูมิที่ดีมาแต่ยุคโบราณจึงเป็นที่ตั้งของป้อมปราการโบราณของเบลเกรด (อังกฤษ: Belgrade Fortress) หรือที่เรียกกันในอีกนามว่า คาเลเมกดัน (เซอร์เบีย: Калемегдан) ซึ่งตั้งอยู่มากว่าสองพันปี
ทั้งนี้แม่น้ำสายหลักทั้งสองสาย นอกจากเป็นเส้นทางคมนาคมแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตภูมิภาคที่มาบรรจบกันในเขตของเมืองเบลเกรดด้วย โดยฝั่งซ้ายของแม่น้ำซาวาที่แขวงเซมุน, นอวี เบลเกรด และ ซูร์ชินตั้งอยู่นั้น ถือว่าอยู่ในเขตเซเรมซึ่งเป็นภูมิภาคย่อยของวอยโวดีนา ขณะเดียวกันฝั่งซ้ายของแม่น้ำดานูบอันเป็นที่ตั้งของแขวงปาลิลูลาอยู่ในเขตแดนเรียกกันว่าบานัทซึ่งเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคย่อยของวอยโวดีนาเช่นกัน
ในเขตเมืองเบลกราดมีเกาะซึ่งเกิดจากการไหลเซาะของแม่น้ำ โดยในจำนวนนี้สองเกาะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดคือ อาดา ซิกันลิยา (เซอร์เบีย: Ада Циганлија) อยู่ห่างจากใจกลางเมืองไปทางต้นแม่น้ำซาว่า อีกเกาะนึงนั้นอยู่ในจุดที่แม่น้ำดานูบไหลมาบรรจบกับแม่น้ำซาวาตรงข้ามป้อมปราการโบราณคือ เวลิโก รัทโน โอสเตอร์โว (เซอร์เบีย: Велико Ратно Острво) โดยเกาะทั้งสองนี้ถูกจัดให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางธรรมชาติและเป็นสถานที่พักผ่อนในยามหน้าร้อนของประชากรในเบลเกรด
ประวัติศาสตร์
แก้ยุคก่อนประวัติศาสตร์
แก้เมื่อราว ๆ 5700 − 4800 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีอารยธรรมที่เรียกกันว่า อารยธรรมวินชา (อังกฤษ: Vinča) ซึ่งเป็นอารยธรรมในยุคหินใหม่แพร่หลายในอาณาเขตประเทศเซอร์เบียในปัจจุบันรวมถึงบางส่วนของประเทศข้างเคียงเช่น บอสเนีย, บัลแกเรีย, โรมาเนีย โดยในส่วนของเมืองเบลเกรดนั้น ได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุของอารยธรรมวินชาที่แหล่งขุดค้น Vinča-Belo Brdo ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองไปทางปลายแม่น้ำดานูบประมาณ 14 กิโลเมตรในแขวงกรอทซกาทางทิศตะวันออก กลุ่มชนของอารยธรรมวินชานั้นได้รับการเชื่อถือกันว่าเป็นกลุ่มอารยธรรมแรกสุดของโลกที่รู้การหลอมแร่ทองแดงเพื่อประดิษฐ์เป็นสิ่งต่าง ๆ[14]
ยุคก่อนการเข้ามาของโรมัน
แก้หลังการสิ้นสูญไปของอารยธรรมวินชา บันทึกทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มชนรุ่นต่อมาที่เข้ามาสร้างอารยธรรมที่เด่นชัดในเขตแดนเมืองเบลเกรดในปัจจุบันนี้ก็คือชาวเคลต์กลุ่มสครอดีซี พวกเขาได้เข้ามาชิงดินแดนจากชาวเทรซเซียนแล้วตั้งรัฐของตนเองขึ้นมาครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศเซอร์เบียในช่วง 279 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งนอกจากเบลเกรดแล้วเมืองอื่น ๆ ในเซอร์เบียเช่น คุซุม (อังกฤษ: Cusum) (เมืองเปโตรวาราดินซึ่งทุกวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของปริมณฑลเมืองนอวี ซาด) เทารุนุม (อังกฤษ: Taurunum) (ชื่อเรียกปัจจุบันคือเซมุน เป็นหนึ่งในแขวงย่อยที่อยู่การปกครองของเบลเกรดแต่เคยเป็นเมืองที่แยกออกจากกันต่างหากจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1934) และ ไนซุส (อังกฤษ: Naissus) (เมืองนีชทางตะวันออกเฉียงใต้ของเซอร์เบีย) ก็เชื่อกันว่าถูกก่อตั้งโดยชาวสครอดีซี หรือถูกรวมอยู่ในรัฐของชนเผ่านี้เช่นกัน
ชาว Scordisci เป็นชนกลุ่มแรกที่เลือกสร้างชุมชนบนเนินต่ำ ณ จุดบรรจบกันของแม่น้ำซาวาและดานูบ โดยสร้างเป็นป้อมปราการมีลักษณะรูปร่างเป็นวง จึงเป็นที่มาของชื่อแรกสุดของเบลเกรดที่ได้รับการบันทึกไว้คือ ซินกิดูน (อังกฤษ: Singidun) ตั้งตามลักษณะแผนผังการก่อสร้างซึ่งเป็นรูปร่างกลม[15] เมื่ออาณาจักรโรมันเริ่มเข้ามาทำสงครามขยายดินแดนในแถบนี้ ชาวสครอดีซีซึ่งพ่ายแพ้ในสงครามก็ค่อยถูกรวมเข้าไปอยู่ในอาณาจักรโรมันและถูกกลืนหายไปกับชาวโรมันในช่วงร้อยปีแรกหลังจากเริ่มมีคริสต์ศักราช
การปกครอง
แก้สภาเมืองเบลเกรดมีสมาชิกสภาทั้งหมด 110 คนโดยมีการเลือกตั้งทุกสี่ปี มีการเลือกคณะมนตรีซึ่งมีอำนาจในการดูแลการบริหารปกครองจากสมาชิกสภาทั้ง 110 คน อีก 13 คน โดยอยู่ภายใต้การนำของนายกเทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรีซึ่งจะถูกเลือกโดยนายกเทศมนตรีเพื่อทำหน้าที่ในกรณีที่นายกเทศมนตรีไม่อยู่ในฐานะที่สามารถปฏิบัติงานได้
ส่วนปกครองภายในกรุงเบลเกรด
แก้เบลเกรดนั้นนอกจากเป็นเมืองหลวงของเซอร์เบียแล้ว ยังมีฐานะเป็นเขตปกครองพิเศษมีอำนาจในการดูแลแขวงย่อยอีกจำนวนมากที่อยู่รอบ ๆ โดยเป็นการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างสภาท้องถิ่นของแต่ละแขวงกับสภาเมืองเบลเกรด หลายแขวงเคยมีฐานะเป็นเมืองเอกเทศที่ไม่เกี่ยวข้องกับเมืองเบลเกรดมาก่อนเช่น เซมุน โอเบรโนวัทส์ แต่ถูกรวบเข้ามาอยู่ในความปกครองดูแลร่วมกับเมืองเบลเกรดในระยะเวลาหลายสิบปีก่อน
ตราแขวง | ชื่อ (ไทย) | ชื่อ (อังกฤษและเซอร์เบีย) | ขนาดพื้นที่ (ตร.กม) | จำนวนประชากร (ค.ศ. 2011) | ภูมิภาคย่อย |
---|---|---|---|---|---|
กรอทซกา | Grocka / Гроцка | 289 | 83,907 | ชูมาดียา | |
ชูการิทซา | Čukarica / Чукарица | 156 | 181,231 | ชูมาดียา | |
ซเวซดารา | Zvezdara / Звездара | 32 | 151,808 | ชูมาดียา | |
เซมุน | Zemun / Земун | 154 | 168,170 | เซเรม | |
ซูร์ชิน | Surčin / Сурчин | 28.5 | 43,819 | เซเรม | |
ซาฟสกี เวนัทส์ | Savski venac / Савски венац | 14 | 39,122 | ชูมาดียา | |
โซปอท | Sopot / Сопот | 271 | 20,367 | ชูมาดียา | |
นอวี เบลเกรด | Novi Beograd / Нови Београд | 41 | 214,506 | เซเรม | |
บาราเยโว | Barajevo / Барајево | 213 | 27,110 | ชูมาดียา | |
ปาลิลูลา | Palilula / Палилула | 451 | 173,521 | บานัท (ส่วนใหญ่) | |
มลาเดโนวัทส์ | Mladenovac / Младеновац | 339 | 53,096 | ชูมาดียา | |
ราโกวิทซา | Rakovica / Раковица | 31 | 108,641 | ชูมาดียา | |
ลาซาเรวัทส์ | Lazarevac / Лазаревац | 384 | 58,622 | ชูมาดียา | |
วราชาร์ | Vračar / Врачар | 3 | 56,333 | ชูมาดียา | |
วอซโดวัทส์ | Voždovac / Вождовац | 148 | 158,213 | ชูมาดียา | |
สตารี กราด | Stari grad / Стари град | 5 | 48,450 | ชูมาดียา | |
โอเบรโนวัทส์ | Obrenovac / Обреновац | 411 | 72,524 | ชูมาดียา |
การคมนาคม
แก้ทางถนน
แก้มอเตอร์เวย์สายหลักที่เป็นหัวใจใหญ่ในการเดินทางผ่านกรุงเบลเกรดไปยังเมืองสำคัญต่าง ๆ ในคาบสมุทรบัลข่านประกอบไปด้วย มอเตอร์เวย์สาย E-75 / A1 ซึ่งตัดผ่านประเทศเซอร์เบียตลอดแนวเหนือจรดใต้ตั้งแต่ชายแดนที่ติดต่อกับประเทศฮังการีจนถึงมาเซโดเนีย และ สาย A3 ระหว่างกรุงซาเกร็บและกรุงเบลเกรดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมอเตอร์เวย์สาย E-70
นอกจากนั้นกรุงเบลเกรดยังเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายรองอีกจำนวนมากซึ่งใช้เดินทางไปยังเมืองขนาดใหญ่และขนาดกลางอื่น ๆ ของประเทศเซอร์เบีย อาทิ ซเรนยานิน ครากูเยวัทส์ วัลเยโว ฯลฯ
สะพานข้ามแม่น้ำ
แก้ปัจจุบันนี้ในเบลเกรดมีสะพานข้ามแม่น้ำทั้งหมด 10 แห่ง และกำลังก่อสร้างเพิ่มเติมยังไม่แล้วเสร็จอีก 1 แห่ง โดยแบ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำซาวาจำนวน 9 แห่ง (ในจำนวนนี้ 3 แห่งเป็นสะพานรถไฟ) และสะพานข้ามแม่น้ำดานูบอีก 1 แห่ง
- สะพานบรานคอฟ (อังกฤษ: Branko's Bridge; เซอร์เบีย: Бранков мост) (ข้ามแม่น้ำซาวา) - อยู่บริเวณปลายแม่น้ำซาวาใกล้กับปากแม่น้ำที่ไหลลงแม่น้ำดานูบที่สุด เป็นสะพานคอนกรีตไร้ตอม่อรองรับน้ำนักส่วนของสะพานช่วงที่ตัดข้ามแม่น้ำ สร้างในปี ค.ศ. 1957 แทนที่สะพานคิงอเล็กซานดาร์ซึ่งเคยอยู่บริเวณเดียวกันมาก่อนแต่ถูกทำลายไปในสงครามโลกครั้งที่2
- สะพานสตารี ซาฟสกี้ (อังกฤษ: Old Sava Bridge; เซอร์เบีย: Стари Савски Мост) (ข้ามแม่น้ำซาวา) - อยู่ถัดเข้ามาจากสะพานบรานคอฟไม่ห่างกันมากนัก เป็นสะพานที่ใช้สัญจรทั้งรถยนต์และรถราง ก่อสร้างครั้งแรกในช่วงที่เบลเกรดถูกฝ่ายนาซียึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ก่อนตัวสะพานดั้งเดิมที่สร้างด้วยไม้จะถูกสร้างใหม่แทนที่ด้วยตัวสะพานในปัจจุบันในปี ค.ศ. 1964
- สะพานกาเซลา (อังกฤษ: Gazela Bridge; เซอร์เบีย: Мост Газела) (ข้ามแม่น้ำซาวา) - สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1970 เคยเป็นสะพานที่มีอัตราการจำนวนรถสัญจรมากที่สุดเนื่องจากอยู่บนเส้นทางทางหลวงหลักสาย E-75 ที่เป็นทางหลวงสายหลักที่เชื่อมเมืองใหญ่ที่สุด 4 ใน 5 เมืองของเซอร์เบีย (ซูบอติทซา-นอวี ซาด-เบลเกรด-นีช) ทุกวันนี้ก็ยังเป็นสะพานหลักที่รองรับการสัญจรของกรุงเบลเกรดแม้ว่าจะมีสะพานอาดาเพิ่มขึ้นช่วยแบ่งเบาความหนาแน่นของการจราจรแล้วก็ตาม
- สะพานสตารี เซเลซนิชกี้ (อังกฤษ: Stari železnički most / Old Railroad Bridge; เซอร์เบีย: Стари железнички мост) (ข้ามแม่น้ำซาวา) - สะพานรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดในเขตเมืองของกรุงเบลเกรด ก่อสร้างครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1884 ก่อนจะถูกทำลายในสงครามโลกทั้งสองครั้ง สะพานเหล็กที่เห็นในปัจจุบันนี้สร้างเมื่อครั้นจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ค.ศ. 1945
- สะพานนอวี เซเลซนิชกี้ (อังกฤษ: Novi železnički most / New Railroad Bridge; เซอร์เบีย: Нови железнички мост) (ข้ามแม่น้ำซาวา) - สะพานรถไฟแบบสะพานแขวนเคเบิล เปิดใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979
- สะพานอาดา (อังกฤษ: Ada Bridge; เซอร์เบีย: Мост преко Аде) (ข้ามแม่น้ำซาวา) - สะพานข้ามแม่น้ำซาวาแห่งใหม่ล่าสุดซึ่งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำซาวาไกลที่สุด (นับเฉพาะกลุ่มสะพานที่อยู่ในขอบเขตตัวเมืองของกรุงเบลเกรด) เปิดใช้งานอย่างเปิดทางการในวันขึ้นปีใหม่ปี ค.ศ. 2012 สร้างเป็นสะพานแขวนเคเบิลที่มีเสารับน้ำหนักเพียงเสาเดียวซึ่งมีความยาวมากที่สุดในโลก โดยมีตอม่อของเสารับน้ำหนักสะพานตั้งอยู่บนส่วนปลายของเกาะอาดา ซิกันลียา จึงเป็นที่มาของชื่อสะพาน โดยความสูงของเสาคอนกรีตรับน้ำหนักสะพานถึง 200 เมตร นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสูงมากที่สุดในกรุงเบลเกรดจนถึงทุกวันนี้และสร้างความสะดุดตายามที่มองขอบฟ้า ด้วยเหตุนั้นสะพานนี้ก็ได้กลายเป็นแลนด์มาร์กของเมืองหลวงเซอร์เบียอีกแห่งนึง
- สะพานมอเตอร์เวย์เส้นเลี่ยงตัวเมือง (ข้ามแม่น้ำซาวา) - อยู่ในเขตชุมชนออสทรุซนิทซา (อังกฤษ: Ostružnica; เซอร์เบีย: Остружница) ห่างจากใจกลางเมืองของกรุงเบลเกรดทางตะวันตกเฉียงใต้ราว ๆ 14 กิโลเมตรบนทางหลวงสายเลี่ยงตัวเมือง ก่อสร้างแล้วเสร็จในปีค.ศ. 1998 ทว่าปีต่อมาในช่วงที่นาโต้ทิ้งระเบิดใส่ยูโกสลาเวียในสงครามคอซอวอก็ได้รับความเสียหายจนต้องดำเนินการซ่อมแซมจนกลับมาเปิดใช้งานได้ในปี ค.ศ. 2004
- สะพานรถไฟออสทรุซนิทซา (ข้ามแม่น้ำซาวา) - ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับสะพานมอเตอร์เวย์ที่ตัดผ่านชุมชนออสทรุซนิทซา
- สะพานข้ามแม่น้ำที่โอเบรโนวัทส์ (ข้ามแม่น้ำซาวา) - อยู่ในอาณาเขตของแขวงโอเบรโนวัทส์ทางทิศตะวันตกสุดของเขตปกครองพิเศษเบลเกรด ห่างจากใจกลางของกรุงเบลเกรดประมาณ 30 กิโลเมตร
ในด้านสะพานข้ามแม่น้ำดานูบนั้น ปัจจุบันมีใช้งานเพียงสะพานเดียวคือสะพานปันเชโว (อังกฤษ: Pančevo Bridge; เซอร์เบีย: Панчевачки мост / Pančevački most) ซึ่งเชื่อมการจราจรจากกรุงเบลเกรดไปยังเมืองปันเชโว เมืองหลักของเขตบานัทใต้ (อังกฤษ: South Banat District; เซอร์เบีย: Јужнобанатски округ / Južnobanatski okrug) ที่อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำดานูบเยื้องไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของแขวงปาลิลูลา ทว่าก็กำลังมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำดานูบแห่งที่สองอยู่ในแขวงเซมุนคือสะพานปูปิน ซึ่งตั้งชื่อมาจากนักฟิสิกส์ชาวเซอร์เบียในสมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 Mihajlo Idvorski Pupin ผู้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตบานัทที่เป็นปลายด้านตะวันออกของสะพานใหม่แห่งนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014
อ้างอิง
แก้- ↑ "Territory". Official website of City of Belgrade. สืบค้นเมื่อ 2009-05-06.
- ↑ "Geographical Position". Official website of City of Belgrade. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.
- ↑ 3.0 3.1 "Statistical yearbook of Belgrade" (pdf, link IE only). Zavod za informatiku i statistiku Grada Beograda. 2007. p. 64.
{{cite web}}
:|chapter=
ถูกละเว้น (help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "Belgrade". Collins English Dictionary (13th ed.). HarperCollins. 2018. ISBN 978-0-008-28437-4.
- ↑ "Definition of Belgrade | Dictionary.com". www.dictionary.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2022. สืบค้นเมื่อ 14 February 2022.
- ↑ "Why invest in Belgrade?". City of Belgrade. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2014. สืบค้นเมื่อ 11 October 2010.
- ↑ "Discover Belgrade". City of Belgrade. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2009. สืบค้นเมื่อ 5 May 2009.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbooks.google.com
- ↑ "The History of Belgrade". BelgradeNet Travel Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2008. สืบค้นเมื่อ 5 May 2009.
- ↑ Nurden, Robert (22 March 2009). "Belgrade has risen from the ashes to become the Balkans' party city". Independent. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2009. สืบค้นเมื่อ 5 May 2009.
- ↑ "Assembly of the City of Belgrade". City of Belgrade. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2015. สืบค้นเมื่อ 10 July 2007.
- ↑ "The World According to GAWC 2012". GAWC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2014. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.
- ↑ "About". สืบค้นเมื่อ 28 July 2021.
- ↑ "The Vinča Culture: ('Old Europe')". ancient-wisdom.co.uk.
- ↑ "Ancient Period". City of Belgrade official website.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกรุงเบลเกรด เก็บถาวร 2010-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- การท่องเที่ยวเบลเกรด
- สถาปัตยกรรมของเบลเกรด เก็บถาวร 2005-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "หมายเหตุ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="หมายเหตุ"/>
ที่สอดคล้องกัน