การประกวดเพลงยูโรวิชัน
การประกวดเพลงชิงชนะเลิศแห่งยุโรป หรือเรียกโดยทั่วไปว่า การประกวดเพลงยูโรวิชัน (อังกฤษ: Eurovision Song Contest; ฝรั่งเศส: Concours Eurovision de la chanson) คือการประกวดเพลงประจำปี ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิก สหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป (European Broadcasting Union: EBU)
การประกวดเพลงยูโรวิชัน | |
---|---|
ประเภท | ประกวดเพลง |
สร้างโดย | Marcel Bezençon |
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่อง | มาร์ก-อ็องตวน ชาร์ป็องตีเย |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | เต เดอุม: Prelude (Marche en rondeau) |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | เต เดอุม: Prelude (Marche en rondeau) |
ภาษาต้นฉบับ | อังกฤษและฝรั่งเศส |
จำนวนตอน | การประกวด 65 ครั้ง การถ่ายทอดสด 94 ครั้ง |
การผลิต | |
ความยาวตอน | ~2 ชั่วโมง (รอบคัดเลือก) ~4 ชั่วโมง (รอบชิงชนะเลิศ) |
บริษัทผู้ผลิต | สหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป |
ออกอากาศ | |
ออกอากาศ | 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1956 – ปัจจุบัน |
รูปแบบการประกวด
แก้ประเทศที่ร่วมเข้าแข่งขันจะเลือกเพลงและนักร้อง ประเทศละหนึ่งชุดโดยใช้ผู้แสดงไม่เกินหกคน ที่จะแสดงสดทางโทรทัศน์ เพลงที่เข้าประกวดต้องเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่ทั้งเนื้อร้องและทำนอง โดยประเภทของเพลงในการแข่งขันมีความหลากหลาย
ในการตัดสินผู้ชนะ ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา คะแนนจะถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของแต่ละประเทศ และจากผู้ชมซึ่งเป็นประชากรในประเทศสมาชิก EBU รวมถึงผู้ชมใน "ส่วนอื่นของโลก" (เริ่มตั้งแต่ปี 2023) โดยแต่ละประเทศจะใช้คะแนนจากคณะกรรมการ (Jury Vote) และจากการโหวตของผู้ชมทางโทรศัพท์/การส่งเอสเอ็มเอส/การโหวตผ่านแอพ/การโหวตผ่านเว็บไซต์ (Televote) อย่างละครึ่งหนึ่ง ซึ่งแต่ละประเทศไม่มีสิทธิตัดสินหรือโหวตให้กับประเทศของตัวเอง ทุกประเทศมีโอกาสได้คะแนนเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเหตุนั้นประเทศรัสเซียจึงมีโอกาสได้คะแนนเท่ากับโมนาโก
ประเทศที่ได้คะแนนมากที่สุดสองอันดับแรกจะได้ 12 และ 10 คะแนน ส่วนอันดับสามถึงสิบจะได้คะแนนตั้งแต่ 8 จนถึง 1 คะแนน โดยในการประกาศผลช่วงท้ายของการถ่ายทอดสดรอบชิงชนะเลิศ จะแบ่งเป็นสองช่วง ได้แก่
- คะแนนจากคณะกรรมการ โดยประเทศที่ได้ 1-8 และ 10 คะแนน ตัวเลขจะปรากฏบนกระดานคะแนนดิจิทัล ส่วนประเทศที่ได้ 12 คะแนน (อังกฤษ: Twelve Points, ฝรั่งเศส: Douze Points) ตัวแทนของแต่ละประเทศจะเป็นผู้ประกาศ
- คะแนนจากการโหวตของผู้ชม ทางโทรศัพท์ ข้อความสั้น และ แอพ พิธีกรจะเป็นผู้ประกาศเอง โดยในปี 2016-2018 จะประกาศเลขคะแนน ตามด้วยชื่อประเทศที่ได้คะแนนจากการโหวต เรียงจากต่ำสุดไปสูงสุด และตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นไป จะประกาศคะแนนจากผู้ชมของแต่ละประเทศ เรียงตามลำดับประเทศที่ได้คะแนนคณะกรรมการ จากต่ำสุดไปหาสูงสุด
ประเทศที่ได้คะแนนจากทั้งสองส่วนข้างต้นรวมกันมากที่สุด จะเป็นผู้ชนะของการประกวดปีนั้น ๆ หากเกิดกรณีที่มีประเทศที่มีคะแนนเท่ากัน จะตัดสินที่คะแนนรวมจากการโหวตของผู้ชม หากยังเท่ากันจะนับจำนวนคะแนนจากการโหวตของผู้ชมที่ได้รับ เรียงจากคะแนนสูงสุดที่ได้รับไปยังคะแนนต่ำสุด หากคะแนนเท่ากันอีก ประเทศที่มีลำดับการแสดงก่อนจะเป็นผู้ชนะ
ประเทศของผู้ชนะจะได้รับถ้วยหรือเหรียญรางวัล และเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดปีต่อไป โดยประเทศเจ้าภาพกับประเทศที่ออกค่าใช้จ่ายให้กับทาง EBU มากที่สุด ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน และ อิตาลี (ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า กลุ่มประเทศ "บิ๊กไฟว์") จะสามารถส่งทีมเข้าประกวดในรอบชิงชนะเลิศได้โดยอัตโนมัติ (ในปี 2015 ออสเตรเลียได้รับสิทธิ์เข้ารอบชิงชนะเลิศโดยอัตโนมัติเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติมอีกหนึ่งประเทศ ในโอกาสครบรอบ 60 ปีการประกวด) ส่วนประเทศที่เหลือทั้งหมดต้องเข้าประกวดรอบคัดเลือก ซึ่งมีสองวันและคัดประเทศเข้ารอบชิงชนะเลิศวันละสิบประเทศ ทำให้รอบชิงชนะเลิศมีประเทศเข้าประกวดทั้งหมด 26 ประเทศ ส่วนในปีที่ประเทศในกลุ่มบิ๊กไฟว์เป็นเจ้าภาพ จะมีชาติที่เข้าร่วมประกวดรอบชิงชนะเลิศรวม 25 ประเทศ
สำหรับในการประกวดปี 2023 ยูเครน ประเทศผู้ชนะการประกวดปีก่อนหน้า ไม่สามารถจัดงานได้เนื่องจากยังอยู่ในภาวะสงคราม สหราชอาณาจักรที่ได้ลำดับที่สองในการประกวดคราวเดียวกันนั้น จึงรับหน้าที่จัดประกวดแทน แต่ยูเครนก็ยังได้รับสิทธิ์เข้ารอบชิงชนะเลิศโดยอัตโนมัติตามธรรมเนียมเช่นเดิม ดังนั้นจึงมีชาติที่เข้าร่วมการประกวดในรอบชิงชนะเลิศปีดังกล่าวรวม 26 ประเทศ แม้จะมีหนึ่งในกลุ่มประเทศบิ๊กไฟว์เป็นเจ้าภาพก็ตาม
การออกอากาศ
แก้การประกวดเริ่มมีการออกอากาศทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 ถือเป็นรายการโทรทัศน์ที่มีต่อเนื่องยาวที่สุดในโลก และมีผู้ชมที่ไม่ใช่การแข่งขันกีฬามากที่สุด[1] โดยมีผู้ชมระหว่าง 100 ล้าน - 600 ล้านคน[2][3] ออกอากาศทั่วทั้งยุโรป และยังแพร่ภาพใน ออสเตรเลีย แคนาดา อียิปต์ ฮ่องกง อินเดีย จอร์แดน เกาหลี นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ และ สหรัฐอเมริกา ถึงแม้ประเทศเหล่านี้จะไม่ได้ร่วมแข่งขันก็ตาม
ตั้งแต่ปี 2000 การแข่งขันได้มีการแพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต[4] และในปี 2015 สหภาพฯ ได้เปิดช่องทางการถ่ายทอดสดผ่านยูทูบ[5]
ผู้มีชื่อเสียงจากการประกวด
แก้ศิลปินดังที่ชนะเลิศจากรายการนี้ เช่น เซลีน ดิออน (สวิสเซอร์แลนด์) ปี 1988, แอ็บบ้า (สวีเดน) ปี 1974, ดานา อินเตอร์เนชันแนล (อิสราเอล) ปี 1998, ลอร์ดิ (ฟินแลนด์) ปี 2006, มาริยา เชริโฟวิช (Marija Šerifović) จากประเทศเซอร์เบีย ปี 2007, ดิมา บิลาน (Dima Bilan) จากรัสเซีย ปี 2008 และ อเล็กซานเดอร์ รืยบัค (Alexander Rybak) จากนอร์เวย์ ปี 2009 และเลนา เมเยอร์-ลันดรุท (Lena Meyer-Landrut) จากเยอรมนี ปี 2010
เจ้าภาพและผู้ชนะในแต่ละปี
แก้คำขวัญ
แก้ปี | ประเทศ | เมือง | คำขวัญ/ธีม | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|---|---|
2002 | เอสโตเนีย | ทาลลินน์ | A Modern Fairytale | เทพนิยายสมัยใหม่ |
2003 | ลัตเวีย | รีกา | Magical Rendezvous | จุดนับพบต้องมนต์ขลัง |
2004 | ตุรกี | อิสตันบูล | Under The Same Sky | ใต้ฟ้าเดียวกัน |
2005 | ยูเครน | เคียฟ | Awakening | ปลุกให้ตื่น |
2006 | กรีซ | เอเธนส์ | Feel The Rhythm! | สัมผัสถึงจังหวะดนตรี! |
2007 | ฟินแลนด์ | เฮลซิงกิ | True Fantasy | จินตนาการที่เป็นจริง |
2008 | เซอร์เบีย | เบลเกรด | Confluence of Sound | การชุมนุมของเสียงเพลง |
2009 | รัสเซีย | มอสโก | ไม่มี | - |
2010 | นอร์เวย์ | ออสโล | Share The Moment! | ร่วมแบ่งปันเรื่องราว |
2011 | เยอรมนี | ดึสเซิลดอร์ฟ | Feel Your Heart Beat! | สัมผัสจังหวะหัวใจคุณ! |
2012 | อาเซอร์ไบจาน | บากู | Light Your Fire! | เติมไฟในตัวคุณ! |
2013 | สวีเดน | มัลเมอ | We Are One | เราเป็นหนึ่ง |
2014 | เดนมาร์ก | โคเปนเฮเกน | #JoinUs | #มาร่วมกับเรา |
2015 | ออสเตรีย | เวียนนา | Building Bridges | ก่อร่างสร้างสะพาน |
2016 | สวีเดน | สต็อกโฮล์ม | Come Together | มาสนุกร่วมกัน |
2017 | ยูเครน | เคียฟ | Celebrate Diversity | เฉลิมฉลองความหลากหลาย |
2018 | โปรตุเกส | ลิสบอน | All Aboard! | มารวมตัวกัน! |
2019 | อิสราเอล | เทลอาวีฟ | Dare To Dream | กล้าที่จะฝัน |
2020 | เนเธอร์แลนด์ | รอตเทอร์ดาม | ยกเลิก | - |
2021 | เนเธอร์แลนด์ | รอตเทอร์ดาม | Open Up | เปิดใจ |
2022 | อิตาลี | ตูริน | The Sound of Beauty | มนต์เสน่ห์แห่งเสียงเพลง |
2023 | สหราชอาณาจักร | ลิเวอร์พูล | United by Music1 | รวมใจกันด้วยเสียงดนตรี |
2024 | สวีเดน | มัลเมอ | ||
2025 | สวิตเซอร์แลนด์ | บาเซิล |
- 1.^ นับแต่การแข่งขันในปี 2024 เป็นต้นมา รายการจะใช้คำขวัญนี้เป็นคำขวัญประจำรายการ
จำนวนครั้งที่แต่ละประเทศชนะการประกวด
แก้ตารางด้านล่างแสดงจำนวนครั้งที่แต่ละประเทศชนะการประกวด เรียงตามจำนวนครั้งและปีที่ชนะล่าสุด ตามลำดับ โดยในการประกวดแต่ละปีจะมีผู้ชนะเพียงประเทศเดียว ยกเว้นปี 1969 ซึ่งแสดงเป็น ตัวเอียง ในตาราง ที่มีผู้ชนะ 4 ประเทศ
จำนวนครั้งที่ชนะ | ประเทศ | ปีที่ชนะ |
---|---|---|
7 | ไอร์แลนด์ | 1970, 1980, 1987, 1992, 1993, 1994, 1996 |
สวีเดน | 1974, 1984, 1991, 1999, 2012, 2015, 2023 | |
5 | เนเธอร์แลนด์ | 1957, 1959, 1969, 1975, 2019 |
ฝรั่งเศส | 1958, 1960, 1962, 1969, 1977 | |
ลักเซมเบิร์ก | 1961, 1965, 1972, 1973, 1983 | |
สหราชอาณาจักร | 1967, 1969, 1976, 1981, 1997 | |
4 | อิสราเอล | 1978, 1979, 1998, 2018 |
3 | สวิตเซอร์แลนด์ | 1956, 1988, 2024 |
เดนมาร์ก | 1963, 2000, 2013 | |
อิตาลี | 1964, 1990, 2021 | |
นอร์เวย์ | 1985, 1995, 2009 | |
ยูเครน | 2004, 2016, 2022 | |
2 | ออสเตรีย | 1966, 2014 |
สเปน | 1968, 1969 | |
เยอรมนี | 1982, 2010 | |
1 | โมนาโก | 1971 |
เบลเยียม | 1986 | |
ยูโกสลาเวีย | 1989 | |
เอสโตเนีย | 2001 | |
ลัตเวีย | 2002 | |
ตุรกี | 2003 | |
กรีซ | 2005 | |
ฟินแลนด์ | 2006 | |
เซอร์เบีย | 2007 | |
รัสเซีย | 2008 | |
อาเซอร์ไบจาน | 2011 | |
โปรตุเกส | 2017 |
รายชื่อผู้ชนะ
แก้- 1.^ ยกเลิกการจัดการแข่งขันเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19
อ้างอิง
แก้- ↑ "Live Webcast". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-25. สืบค้นเมื่อ 2006-05-25.
- ↑ Finland wins Eurovision contestAljazeera.net (21 May 2006). เรียกดูเมื่อ 2007-05-08.
- ↑ Matthew Murray.Eurovision Song Contest - International Music Program. เก็บถาวร 2005-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน museum.tv. เรียกดูเมื่อ 2006-07-15.
- ↑ Philip Laven (July 2002).Webcasting and the Eurovision Song Contest. เก็บถาวร 2008-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนEuropean Broadcasting Union. เรียกดูเมื่อ 2006-08-21.
- ↑ Eurovision song contest 2006 - live streaming เก็บถาวร 2007-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนOctoshape (8 June 2006). เรียกดูเมื่อ 2006-08-21.