เอดินบะระ

เมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร

เอดินบะระ[6] (อังกฤษ: Edinburgh; แกลิกสกอต: Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของสก็อตแลนด์รองจากเมืองกลาสโกว์ และเป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ และเป็นหนึ่งใน 32 เขตการปกครองของสกอตแลนด์

เอดินบะระ

Edinburgh • Dùn Èideann
เมืองหลวง
ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: ทิวทัศน์จากคาลตันฮิล, มหาวิทยาลัยเอดินบะระ, โอลด์ทาว์น จากปรินส์เซสสตรีท, ปราสาทเอดินบะระ, วิวถนนปริสเซสสตรีทจากคาลตันฮิล
ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: ทิวทัศน์จากคาลตันฮิล, มหาวิทยาลัยเอดินบะระ, โอลด์ทาว์น จากปรินส์เซสสตรีท, ปราสาทเอดินบะระ, วิวถนนปริสเซสสตรีทจากคาลตันฮิล
ธงของเอดินบะระ
ธง
ตราราชการของเอดินบะระ
ตราอาร์ม
สมญา: 
"โอลด์ รีคกี" (Auld Reekie), "เอดินา", "เอเธนส์แห่งดินแดนทางเหนือ"
ที่ตั้งในประเทศสกอตแลนด์
เอดินบะระตั้งอยู่ในสกอตแลนด์
เอดินบะระ
เอดินบะระ
ที่ตั้งภายในประเทศสกอตแลนด์
เอดินบะระตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร
เอดินบะระ
เอดินบะระ
ที่ตั้งภายในสหราชอาณาจักร
เอดินบะระตั้งอยู่ในยุโรป
เอดินบะระ
เอดินบะระ
ที่ตั้งภายในทวีปยุโรป
พิกัด: 55°57′12″N 03°11′21″W / 55.95333°N 3.18917°W / 55.95333; -3.18917พิกัดภูมิศาสตร์: 55°57′12″N 03°11′21″W / 55.95333°N 3.18917°W / 55.95333; -3.18917
รัฐเอกราช สหราชอาณาจักร
ประเทศ สกอตแลนด์
พื้นที่สภานครเอดินบะระ
พื้นที่ผู้แทนพระองค์เอดินบะระ
ก่อตั้งก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 7
สารจัดตั้งเมืองค.ศ. 1125
ได้รับสถานะนครค.ศ. 1889
การปกครอง
 • องค์กรการปกครองสภานครเอดินบะระ
 • ผู้ว่าราชการดอนัล วิลสัน
 • MSPs
 • MPs
พื้นที่
 • เมืองหลวง264 ตร.กม. (102 ตร.ไมล์)
ความสูง[4]47 เมตร (154 ฟุต)
ประชากร
 (2012 and 2016)
 • เมืองหลวง464,990 – Locality [1] 507,170 – Local Authority Area[2] คน
 • ความหนาแน่น1,828 คน/ตร.กม. (4,730 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,339,380 – Edinburgh & South East Scotland City Region:[2][3] คน
 • ภาษาอังกฤษ, สก็อต
เขตเวลาUTC±0 (GMT)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+1 (BST)
พื้นที่ไปรษณีย์EH1-17, EH28-30
รหัสพื้นที่0131
GDPUS$ 32.5 billion[5]
GDP per capitaUS$ 58,437[5]
เว็บไซต์www.edinburgh.gov.uk

เอดินบะระได้รับการยอมรับเป็นเมืองหลวงของสกอตแลนด์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นที่ทำการของรัฐบาลสกอตแลนด์, รัฐสภาสกอตแลนด์ และศาลสูงสุดสกอตแลนด์ ภายในเมืองเป็นที่ตั้งของพระราชวังฮอลีรูด ซึ่งเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของกษัตริย์อังกฤษในดินแดนสกอตแลนด์ นครเอดินบะระเป็นศูนย์กลางของการศึกษา โดยเฉพาะด้านแพทยศาสตร์และวรรณกรรม ถือเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินอันดับสามในสหราชอาณาจักร (รองจากกรุงลอนดอนและเมืองกลาสโกว์)[7] ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองดึงดูดผู้คนมากมายมาเยี่ยมชมแห่งนี้ และเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนเป็นอันดับของในสหราชอาณาจักร ใน ค.ศ. 2016 มีชาวต่างชาติมาเยือนกว่า 1.75 ล้านคน[8]

เอดินบะระเป็นเมืองมากประชากรเป็นอันดับสองของสกอตแลนด์ (รองจากกลาสโกว์) และเป็นเมืองมากประชากรเป็นอันดับแปดในสหราชอาณาจักร มีประชากรตามทะเบียนราษฎร 488,050 คน (ค.ศ. 2016) เฉพาะท้องที่เอดินบะระ[1] และมีประชากร 518,500 คน (ค.ศ. 2018) สำหรับทั้งเมือง เขตเมืองเก่าและใหม่ของเอดินบะระได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก[9]

เอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองเป็นมิตรกับเด็ก" เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น

ศัพท์มูลวิทยา แก้

คำว่า เอดิน มีรากศัพท์มาจากชื่อ ไอดิน (Eidyn) ซึ่งเป็นชื่อบริเวณที่ตั้งของเมืองในปัจจุบัน คำดังกล่าวเป็นคำในกลุ่มภาษาเคลต์บริติชซึ่งเป็นภาษาที่เคยพูดกันพื้นที่แถบนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อมูลว่าคำดังกล่าวมีความหมายอะไร[10] พื้นที่ไอดินถูกพิชิตโดยชาวแองเกิลในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และต่อมาถูกพิชิตโดยชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 10[11] ต่อมาเมื่อภาษาได้พัฒนาการเป็นภาษาสมัยใหม่ ได้มีการเติมคำว่า บระ (burh) และต่อมาจึงเพี้ยนเป็น เอดินบะระ (Edinburgh)[12]

ภูมิอากาศ แก้

เอดินบะระมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของสกอตแลนด์

ข้อมูลภูมิอากาศของเอดินบะระ (สถานีอากาศสวนพฤษศาสตร์หลวง)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 15.0
(59)
15.2
(59.4)
20.0
(68)
22.8
(73)
29.0
(84.2)
27.8
(82)
31.6
(88.9)
31.4
(88.5)
26.7
(80.1)
24.4
(75.9)
20.6
(69.1)
15.4
(59.7)
31.6
(88.9)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 7.0
(44.6)
7.5
(45.5)
9.5
(49.1)
11.8
(53.2)
14.7
(58.5)
17.2
(63)
19.1
(66.4)
18.9
(66)
16.5
(61.7)
13.1
(55.6)
9.6
(49.3)
7.0
(44.6)
12.7
(54.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 4.2
(39.6)
4.5
(40.1)
6.2
(43.2)
8.1
(46.6)
10.8
(51.4)
13.5
(56.3)
15.3
(59.5)
15.2
(59.4)
13.0
(55.4)
9.8
(49.6)
6.7
(44.1)
4.2
(39.6)
9.3
(48.7)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.4
(34.5)
1.5
(34.7)
2.8
(37)
4.3
(39.7)
6.8
(44.2)
9.7
(49.5)
11.5
(52.7)
11.4
(52.5)
9.4
(48.9)
6.5
(43.7)
3.7
(38.7)
1.3
(34.3)
5.9
(42.6)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -15.5
(4.1)
-11.7
(10.9)
-11.1
(12)
-6.1
(21)
-2.4
(27.7)
1.1
(34)
4.4
(39.9)
2.2
(36)
-1.1
(30)
-3.7
(25.3)
-8.3
(17.1)
-11.5
(11.3)
−15.5
(4.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 67.5
(2.657)
47.0
(1.85)
51.7
(2.035)
40.5
(1.594)
48.9
(1.925)
61.3
(2.413)
65.0
(2.559)
60.2
(2.37)
63.7
(2.508)
75.6
(2.976)
62.1
(2.445)
60.8
(2.394)
704.3
(27.728)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 12.5 9.4 9.9 8.8 9.6 9.6 9.5 9.7 10.2 12.4 11.2 11.4 124.2
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 53.5 78.5 114.8 144.6 188.4 165.9 172.2 161.5 128.8 101.2 71.0 46.2 1,426.6
แหล่งที่มา: Met Office[13], KNMI[14] and and Weather Atlas[15]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Mid-2012 Population Estimates for Settlements and Localities in Scotland". nationalrecordsofscotland.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ 25 November 2015.
  2. 2.0 2.1 (PDF) https://www.nrscotland.gov.uk/files//statistics/population-estimates/mid-year-2016/16mype-cahb.pdf. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. "Edinburgh and South East Scotland City Region". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ 25 November 2015.
  4. "Edinburgh, United Kingdom Forecast : Weather Underground (weather and elevation at Queensferry Road, Edinburgh)". The Weather Underground, Inc. สืบค้นเมื่อ 29 September 2013. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. 5.0 5.1 "Global city GDP 2014". Brookings Institution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2013. สืบค้นเมื่อ 18 November 2014.
  6. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  7. Invest in Edinburgh. "Financial Services". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2017. สืบค้นเมื่อ 3 October 2017.
  8. "Edinburgh by Numbers 2018" (PDF). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2019. สืบค้นเมื่อ 20 April 2019.
  9. "Edinburgh-World Heritage Site". VisitScotland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2013. สืบค้นเมื่อ 10 February 2013.
  10. Gelling, Margaret; Nicolaisen, W. F. H.; Richards, Melville (1970). The Names of Towns and Cities in Britain. Batsford. pp. 88–89. ISBN 978-0-7134-5235-8.
  11. Driscoll, Stephen; Yeoman, Peter A. (1997). Excavations within Edinburgh Castle in 1988–91. Society of Antiquaries of Scotland monograph series. Vol. 12. Society of Antiquaries of Scotland. p. 229. ISBN 978-0-903-903127.
  12. Room, Adrian (2006). Placenames of the World. McFarland. pp. 118–119. ISBN 978-0-7864-2248-7. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
  13. "Edinburgh 1981–2010 averages". Met Office. สืบค้นเมื่อ 4 November 2012.
  14. "Indices Data". KNMI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-09. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
  15. d.o.o, Yu Media Group. "Edinburgh, United Kingdom - Detailed climate information and monthly weather forecast". Weather Atlas (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-07-03.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้