กลุ่มภาษาเคลต์ เป็นกลุ่มภาษาที่เป็นสาขาของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ในปัจจุบันมีภาษาในกลุ่มภาษาเคลต์ที่ยังมีใช้อยู่สี่ภาษา ได้แก่ ภาษาเวลส์ ภาษาเบรอตาญ ภาษาไอริช และภาษาแกลิกสกอต นอกจากนี้ ยังมีภาษาที่สูญไปในยุคสมัยใหม่ คือ ภาษาคอร์นวอลล์และภาษาแมน

คำว่าเคลต์เป็นคำที่ประดิษฐ์โดย Edward Lhuyd เมื่อ พ.ศ. 2250 ซึ่งเป็นคำที่เคยใช้โดยนักเขียนชาววกรีกและโรมันใช้เรียกเผ่าในดินแดนกอลตอนกลางประมาณ 457 ปีก่อนพุทธศักราช ในยุคโบราณ ภาษากลุ่มนี้มีใช้พูดในภาคพื้นทวีปยุโรปจากอ่าวบิสภายในบริเวณทะเลเหนือไปจนถึงแม่น้ำไรน์ แม่น้ำดานูบในบริเวณทะเลดำ และคาบสมุทรบอลข่านตอนบน และเอเชียไมเนอร์ (กาลาเทีย) ปัจจุบัน กลุ่มภาษาเคลต์จำกัดอยู่ในบริเวณเฉพาะสหราชอาณาจักร เกาะแมน ไอร์แลนด์ เกาะเคปเบรตัน ปาตาโกเนีย และคาบสมุทรเบรอตาญในฝรั่งเศส การแพร่กระจายไปสู่เบรอตาญและปาตาโกเนียเกิดขึ้นในสมัยปัจจุบันส่วนในบริเวณอื่น ๆ ภาษากลุ่มนี้เหลือผู้พูดเพียงเล็กน้อย

การจัดจำแนก แก้ไข

ภาษาเคลต์ดั้งเดิม แบ่งย่อยเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มภาษากอลและกลุ่มที่ใกล้เคียงคือ เลปอนติก นอริก และกาลาเทีย ภาษาเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยใช้พูดกระจายเป็นบริเวณกว้างจากฝรั่งเศสถึงตุรกีและจากเบลเยียมถึงอิตาลีภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นภาษาตาย
  • กลุ่มภาษาเคลติเบเรียน เคยใช้พูดในคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งปัจจุบันได้แก่ โปรตุเกสเหนือ กาลิเซีย อัสตูเรียส กันตาเบรีย อารากอน และเลออนในสเปน ภาษาลูซิตาเนียอาจจะเคยเป็นภาษาในกลุ่มเคลต์นี้ ส่วนใหญ่เป็นภาษาตาย
  • กลุ่มภาษากอยเดิล รวมทั้งภาษาไอริช ภาษาสกอต แกลิก และภาษาแมน
  • กลุ่มภาษาบริตันหรือบริติช ได้แก่ ภาษาเวลส์ ภาษาเบรอตาญ ภาษาคอร์นวอลล์ ภาษาคัมบริด และอาจจะรวมภาษาปิกติช ซึ่งคาดว่าจะเป็นภาษาพี่น้องมากกว่าภาษาลูกหลาน

นักวิชาการบางคนจำแนกภาษากลุ่มเคลต์บนแผ่นดินและภาษาเคลต์ในหมู่เกาะโดยดูที่ความแตกต่างระหว่างกลุ่มภาษากอยเดิลกับกลุ่มภาษาบริตัน ซึ่งแสดงถึงการแยกตัวออกของภาษากลุ่มเคลต์บนแผ่นดินใหญ่

ภาษาเบรอตาญจัดเป็นภาษาในกลุ่มบริตันไม่ใช่ภาษากลุ่มกอลแม้ว่าอาจจะเพิ่มเข้ามาภายหลัง เมื่อชาวแองโกล-แซกซันเคลื่อนย้ายเข้าสู่เกาะอังกฤษ มีชาวบริตันหรือเวลส์ที่อาจจะมาจากภาษากลุ่มเจอร์แมนิกที่แปลว่าคนต่างชาติได้ข้ามช่องแคบอังกฤษเข้ามาอยู่ในเบรอตาญและได้นำภาษากลุ่มบริตันมาด้วย ภาษานี้ได้พัฒนามาเป็นภาษาเบรอตาญ ซึ่งยังเข้าใจกันกับภาษาเวลส์สมัยใหม่และภาษาคอร์นวอลล์

การออกเสียง แก้ไข

คำว่า Celtic ออกเสียงว่าเซลติกหรือเคลติกแต่นิยมใช้เคลติกมากกว่า ในเอกสารเก่าบางชิ้นสะกดว่า Keltic หรือ Celtic

อ้างอิง แก้ไข

  • Ball, Martin J. & James Fife (ed.) (1993). The Celtic Languages. London: Routledge. ISBN 0-415-01035-7.
  • Borsley, Robert D. & Ian Roberts (ed.) (1996). The Syntax of the Celtic Languages: A Comparative Perspective. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0521481600.
  • Cowgill, Warren (1975). "The origins of the Insular Celtic conjunct and absolute verbal endings". ใน H. Rix (บ.ก.). Flexion und Wortbildung: Akten der V. Fachtagung der Indogermanischen Gesellschaft, Regensburg, 9.–14. September 1973. Wiesbaden: Reichert. pp. 40–70. ISBN 3-920153-40-5.
  • Celtic Linguistics, 1700–1850 (2000). London; New York: Routledge. 8 vols comprising 15 texts originally published between 1706 and 1844.
  • Forster, Peter; Toth, Alfred (2003). "Toward a phylogenetic chronology of ancient Gaulish, Celtic, and Indo-European". Proc. Natl. Acad. Sci. U.S.A. 100 (15): 9079–84. Bibcode:2003PNAS..100.9079F. doi:10.1073/pnas.1331158100. PMC 166441. PMID 12837934.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Gray, Russell D.; Atkinson, Quintin D. (2003). "Language-tree divergence times support the Anatolian theory of Indo-European origin". Nature. 426 (6965): 435–9. Bibcode:2003Natur.426..435G. doi:10.1038/nature02029. PMID 14647380.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Hindley, Reg (1990). The Death of the Irish Language: A Qualified Obituary. Routledge. ISBN 0-415-04339-5.
  • Lewis, Henry & Holger Pedersen (1989). A Concise Comparative Celtic Grammar. Göttingen: Vandenhoeck & Ruprecht. ISBN 3-525-26102-0.
  • McCone, Kim (1991). "The PIE stops and syllabic nasals in Celtic". Studia Celtica Japonica. 4: 37–69.
  • McCone, Kim (1992). "Relative Chronologie: Keltisch". ใน R. Beekes, A. Lubotsky, and J. Weitenberg (eds.) (บ.ก.). Rekonstruktion und relative Chronologie: Akten Der VIII. Fachtagung Der Indogermanischen Gesellschaft, Leiden, 31. August–4. September 1987. Institut für Sprachwissenschaft der Universität Innsbruck. pp. 12–39. ISBN 3-85124-613-6. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  • McCone, K. (1996). Towards a Relative Chronology of Ancient and Medieval Celtic Sound Change. Maynooth: Department of Old and Middle Irish, St. Patrick's College. ISBN 0-901519-40-5.
  • Russell, Paul (1995). An Introduction to the Celtic Languages. Longman. ISBN 0-582-10082-8.
  • Schmidt, K. H. (1988). "On the reconstruction of Proto-Celtic". ใน G. W. MacLennan (บ.ก.). Proceedings of the First North American Congress of Celtic Studies, Ottawa 1986. Ottawa: Chair of Celtic Studies. pp. 231–48. ISBN 0-09-693260-0.
  • Schrijver, Peter (1995). Studies in British Celtic historical phonology. Amsterdam: Rodopi. ISBN 90-5183-820-4.
  • Schumacher, Stefan; Schulze-Thulin, Britta; aan de Wiel, Caroline (2004). Die keltischen Primärverben. Ein vergleichendes, etymologisches und morphologisches Lexikon (ภาษาเยอรมัน). Innsbruck: Institut für Sprachen und Kulturen der Universität Innsbruck. ISBN 3-85124-692-6.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข