ภาษาเวลส์[9] (Cymraeg หรือ y Gymraeg, ออกเสียง kəmˈrɑːɨɡ, ə ɡəmˈrɑːɨɡ, อังกฤษ: Welsh) เป็นสมาชิกของกลุ่มภาษาบริตตัน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษาเคลต์ เป็นภาษาที่มีการพูดในเวลส์แห่งสหราชอาณาจักร และในเมือง Y Wladfa (อาณานิคมเวลส์ในชูบุตของอาร์เจนตินา)[10] ในอดีตมีหลายชื่อในภาษาอังกฤษ ได้แก่ "ภาษาบริเตน" ("the British tongue")[11] "Cambrian"[12] "Cambric"[13] และ "Cymric"[14]

ภาษาเวลส์
Cymraeg, y Gymraeg
ออกเสียงkəmˈrɑːɨɡ
ประเทศที่มีการพูดเวลส์ และ อาร์เจนตินา
ภูมิภาคพูดทั่วไปในเวลส์และชูบุตของอาร์เจนตินา
จำนวนผู้พูดผู้พูดทั้งหมด: 721,700 คน (ค.ศ. 2004–2011)
เวลส์: 562,000 คน 19.0% ของประชากรของเวลส์[1] และ 12% ของประชากร (317,000) ถือว่าตนเองพูดได้คล่อง  (2004–2006)[2]
อังกฤษ: 150,000 คน[3]
ชูบุตของอาร์เจนตินา: 5,000 คน[4]
สหรัฐอเมริกา: 2,500 คน[5]
แคนาดา: 2,200 คน[6]
นิวซีแลนด์: 1,077 คน[7]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
Common Brittonic
ระบบการเขียนอักษรละติน (อักษรเวลส์)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ เวลส์
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน สหราชอาณาจักร
ผู้วางระเบียบMeri Huws, the Welsh Language Commissioner (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2012)[8] และ รัฐบาลเวลส์ (Llywodraeth Cymru)
รหัสภาษา
ISO 639-1cy
ISO 639-2wel (B)
cym (T)
ISO 639-3cym
Linguasphere50-ABA

ปัจจุบันภาษาเวลส์เป็นภาษาที่อยู่ระหว่างการถูกฟื้นฟู หลังจากที่เสื่อมโทรมมาหลายศตวรรษเพราะการปกครองของอังกฤษ โดยเฉพาะหลังจากการผ่าน พรบ. Laws in Wales Act ในปี ค.ศ. 1535 เพื่อผนวกเวลส์เข้ามาเป็นแผ่นดินเดียวและอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกันกับอังกฤษ การฟื้นฟูความคิดชาตินิยมในเวลส์ระหว่างศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการจัดตั้งพรรคชาตินิยมเวลส์ หรือ ไพลด์คัมรี (Plaid Cymru) ในปี ค.ศ. 1925 และสมาคมภาษาเวลส์ในปี 1962 ได้กระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูภาษาเวลส์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี ค.ศ. 1993 รัฐสภาของสหราชอาณาจักรผ่าน Welsh Language Act 1993 เพื่อรับรองว่าภาษาเวลส์จะได้รับการปฏิบัติเทียบเท่ากับภาษาอังกฤษในภาครัฐอย่างพอสมควรแก่เหตุ และเท่าที่จะเป็นไปได้

แม้ตามสถิติอย่างเป็นทางการจะมีผู้ที่รู้ภาษาเวลส์ราว 7 แสนคนทั่วสหราชอาณาจักร หรือประมาณร้อยละ 19 ของของประชากรเวลส์ แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาภาษาเวลส์จากหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับในโรงเรียน แต่ไม่ใช่ประชากรที่พูดเวลส์เป็นภาษาแม่ หรือสามารถใช้ภาษาเวลส์ในชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว ทำให้แม้ว่าภาษาเวลส์จะมีสถานะเป็นภาษาทางการ (de jure) แต่ภาษาอังกฤษก็ยังคงถูกพูดและใช้อย่างแพร่หลายทั้งในทางการศึกษา ทางเศรษฐกิจ กฎหมาย ทางสังคมและวัฒนธรรม[15]

เชิงอรรถ แก้

  1. Office for National Statistics 2011 http://ons.gov.uk/ons/rel/census/2011-census/key-statistics-for-unitary-authorities-in-wales/stb-2011-census-key-statistics-for-wales.html#tab---Proficiency-in-Welsh
  2. The Welsh Language Use Surveys of 2004-06 https://www.webarchive.org.uk/wayback/archive/20120330054648/http://www.byig-wlb.org.uk/English/publications/Publications/Welsh%20Language%20Use%20Surveys%202004-06.pdf
  3. United Nations High Commissioner for Refugees. "Refworld | World Directory of Minorities and Indigenous Peoples - United Kingdom : Welsh". UNHCR. สืบค้นเมื่อ 2010-05-23.
  4. "Wales and Argentina". Wales.com website. Welsh Assembly Government. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-16. สืบค้นเมื่อ 23 January 2012. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "Table 1. Detailed Languages Spoken at Home and Ability to Speak English for the Population 5 Years and Over for the United States: 2006-2008 Release Date: April, 2010" (xls). United States Census Bureau. 27 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 January 2011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "2006 Census of Canada: Topic based tabulations: Various Languages Spoken (147), Age Groups (17A) and Sex (3) for the Population of Canada, Provinces, Territories, Census Metropolitan Areas and Census Agglomerations, 2006 Census - 20% Sample Data". Statistics Canada. 7 December 2010. สืบค้นเมื่อ 3 January 2011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. Statistics New Zealand (2006). 2006 Census Data. QuickStats about Culture and Identity. Table 16
  8. "Welsh Language Commissioner". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2013-08-19.
  9. จากภาษาอังกฤษ Wales
  10. "Taking Tea and Tortes With the Welsh In Distant Argentina". The New York Times. 3 April 2005. สืบค้นเมื่อ 6 April 2010.
  11. Roberts, Peter (1998), "Wales and the British Inheritance", ใน Bradshaw, Brendan; Roberts, Peter (บ.ก.), British Consciousness and Identity: The Making of Britain, 1533-1707, Cambridge: Cambridge University Press, p. 24
  12. Nolan, Edward Henry. Great Britain As It Is (1859). p.47
  13. Jackson, John. Chronological Antiquities (1752). p.143
  14. D. Walter Thomas, Edward Hughes. The Cymric language (1879)
  15. "National Assembly for Wales (Official Languages) Act 2012". www.legislation.gov.uk. The National Archives. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2018. The official languages of the Assembly are English and Welsh.

อ้างอิง แก้

  • J.W. Aitchison and H. Carter. Language, Economy and Society. The changing fortunes of the Welsh Language in the Twentieth Century. Cardiff. University of Wales Press. 2000.
  • J.W. Aitchison and H. Carter. Spreading the Word. The Welsh Language 2001. Y Lolfa. 2004


แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ภาษาเวลส์ (ประเทศเวลส์) Measure 2011
ข้อมูลสถิติ
พจนานุกรม
กลุ่มสนทนา
บทเรียน