ภาษาคอร์นวอลล์ (คอร์นวอลล์: Kernewek หรือ Kernowek;[6] แม่แบบ:IPA-kw; อังกฤษ: Cornish) เป็นภาษากลุ่มบริตันตะวันตกเฉียงใต้ในกลุ่มภาษาเคลต์ ถือเป็นภาษาฟื้นฟูหลังสูญเสียสถานะภาษาชุมชนที่ดำรงอยู่ในคอร์นวอลล์เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อย่างไรก็ตาม ความรู้ของภาษาคอร์นวอลล์ ซึ่งรวมถึงความสามารถในการพูดในระดับหนึ่ง ยังคงสืบทอดกันในครอบครัวและตัวบุคคล[7] และเริ่มต้นการฟื้นฟูในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีผุ้พูดภาษานี้เป็นภาษาที่สองเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง[8] และมีครอบครัวจำนวนน้อยมากที่เลี้ยงลูกให้พูดภาษาคอร์นวอลล์ฟื้นฟูเป็นภาษาแม่[9][10] ภาษาคอร์นวอลล์ได้รับการรับรองภายใต้กฎบัตรยุโรปของภาษาชนกลุ่มน้อยหรือภาษาท้องถิ่น (European Charter for Regional or Minority Languages)[11] และภาษานี้มักได้รับการระบุเป็นส่วนสำคัญของอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และมรดกคอร์นวอลล์[12][13]

ภาษาคอร์นวอลล์
Kernewek, Kernowek
ออกเสียงแม่แบบ:IPA-kw
ประเทศที่มีการพูดสหราชอาณาจักร
ภูมิภาคคอร์นวอลล์
ชาติพันธุ์ชาวคอร์นวอลล์
สูญแล้วปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18[1][2][3][4]
ตระกูลภาษา
รูปแบบมาตรฐานรูปแบบการเขียนมาตรฐาน
ระบบการเขียนชุดตัวอักษรละติน
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในประเทศอังกฤษ
ผู้วางระเบียบกลุ่มความร่วมมือภาษาคอร์นวอลล์
รหัสภาษา
ISO 639-1kw
ISO 639-2cor
ISO 639-3มีหลากหลาย:
cor – คอร์นวอลล์สมัยใหม่
cnx – คอร์นวอลล์สมัยกลาง
oco – คอร์นวอลล์เก่า
นักภาษาศาสตร์cnx คอร์นวอลล์สมัยกลาง
 oco คอร์นวอลล์เก่า
Linguasphere50-ABB-a
ณ ค.ศ. 2010 แผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษาคอร์นวอลล์เป็นภาษาใกล้สูญขั้นวิกฤต[5]
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้พูดภาษาคอร์นวอลล์

ภาษาคอร์นวอลล์ ภาษาเวลส์ และภาษาเบรอตาญ มีต้นตอจากภาษาบริตันทั่วไปที่เคยมีผุ้พูดทั่วบริเตนใหญ่ก่อนที่ภาษาอังกฤษจะเข้ามาแทนที่ ภาษานี้เคยเป็นภาษาหลักของคอร์นวอลล์ก่อนที่ภาษาอังกฤษดันภาษานี้ไปทางตะวันตก โดยมีความใกล้ชิดกับภาษาเบรอตาญ ซึ่งเป็นภาษาที่เข้าใจร่วมกัน หรือบางทีก็ตราบเท่าที่ภาษาคอร์นวอลล์ยังคงมีผุ้พูดเป็นภาษาถิ่นต่อไป[14][15] ภาษาคอร์นวอลล์ยังคงเป็นภาษาชุมชนทั่วไปในคอร์นวอลล์บางส่วนจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีหลักฐานความรู้ด้านภาษาบางส่วนที่ยังคงมีอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งอาจเกือบซ้อนทับกับจุดเริ่มต้นการพยายามฟื้นฟูภาษานี้[16]

กระบวนการฟื้นฟูภาษานี้เริ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และใน ค.ศ. 2010 ทางยูเนสโกประกาศว่า สถานะเก่าของภาษาในฐานะ "ภาษาสูญแล้ว" นั้น "ไม่ถูกต้องอีกต่อไป"[17] นับตั้งแต่การฟื้นฟูภาษา เริ่มมีการตีพิมพ์หนังสือเรียนและผลงานวรรณกรรมคอร์นวอลล์บางส่วน และมีผู้เรียนภาษานี้เพิ่มขึ้น[8] การพัฒนาในช่วงล่าสุด ได้แก่ ดนตรีคอร์นวอลล์[18] ภาพยนตร์อิสระ[19] และหนังสือสำหรับเด็ก ประชากรจำนวนน้อยในคอร์นวอลล์ได้รับการเลี้ยงดูให้พูดได้สองภาษา[20][21] มีการสอนภาษานี้ในโรงเรียน และปรากฏบนป้ายจราจร[22][23]

สถานะทางกฎหมายและการรับรอง

แก้

ใน ค.ศ. 2002 รัฐบาลสหราชอาณาจักรรับรองภาษาคอร์นวอลล์ภายใต้กฎบัตรยุโรปของภาษาชนกลุ่มน้อยหรือภาษาท้องถิ่นส่วนที่ 2[24] แผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษานี้อยู่ในหมวด "ใกล้สูญขั้นวิกฤต" โดยทางยูเนสโกระบุว่า การจัดสถานะ 'สูญแล้ว' ครั้งก่อน "ไม่สะท้อนถึงสถานะปัจจุบันของภาษาคอร์นวอลล์" และ "ไม่ถูกต้องอีกต่อไป"[17]

ในสหราชอาณาจักร

แก้

นโยบายของสภาคร์นวอลล์คือสนับสนุนภาษานี้ตามกฎบัตรยุโรป โดยสภาผ่านญัตติในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ที่ส่งเสริมให้รวมภาษาคอร์นวอลล์ไว้ในสิ่งพิมพ์ของสภาและบนป้าย ตามความเหมาะสมและเท่าที่เป็นไปได้[25] แผนนี้ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์บางส่วน[26] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 สภาคอร์นวอลล์ประกาศให้บุคลากรสนับสนุนให้ใช้ "คำและวลีพื้นฐาน" ในภาษาคอร์นวอลล์เมื่อต้องติดต่อกับสาธารณะ[27]

ใน ค.ศ. 2014 รัฐบาลสหราชอาณาจักรรรับรองชาวคอร์นวอลล์เป็นชนกลุ่มน้อยแห่งชาติตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองชนกลุ่มน้อยแห่งชาติ (Framework Convention for the Protection of National Minorities; FCNM)[28]

ใน ค.ศ. 2016 รัฐบาลบริติชยกเลิกการให้เงินทุนสำหรับภาษาคอร์นวอลล์ และถ่ายโอนความรับผิดชอบไปยังสภาคอร์นวอลล์[29]

ตัวอย่าง

แก้

จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน:

คอร์นวอลล์ แปลไทย
Genys frank ha par yw oll tus an bys มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและ
yn aga dynita hag yn aga gwiryow. เสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตน
Enduys yns gans reson ha kowses มีเหตุผลและมโนธรรม
hag y tal dhedha omdhon an eyl orth และควรปฏิบัติต่อกัน
y gila yn spyrys a vrederedh. ด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ

อ้างอิง

แก้
  1. Spriggs, Matthew. "Where Cornish was Spoken and When: A Provisional Synthesis" (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ Apr 26, 2023.
  2. Ó Riagáin, Dónall (13 January 2015). "Cracks in the foundation of a language empire – the resurgence of autochthonous lesser used languages in the United Kingdom and Northern Ireland". ใน Stolz, Christel (บ.ก.). Language Empires in Comparative Perspective (ภาษาอังกฤษ). Berlin, München, Boston: De Gruyter. pp. 77–88. doi:10.1515/9783110408362.77. ISBN 978-3-11-040836-2. สืบค้นเมื่อ 11 September 2021.
  3. MacAulay, Donald (1992). The Celtic languages. Cambridge, England: Cambridge University Press. p. 346. ISBN 0-521-23127-2. OCLC 24541026.
  4. Ball, Martin (2009). The Celtic Languages (ภาษาอังกฤษ). Nicole Muller (2nd ed.). Hoboken: Taylor & Francis. p. 491. ISBN 978-0-203-88248-1. OCLC 438705548.
  5. Moseley, Christopher; Nicolas, Alexander, บ.ก. (2010). Atlas of the World's Languages in Danger (PDF) (3rd ed.). Paris: UNESCO. ISBN 978-92-3-104096-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2022.
  6. "Gerlyver Kernewek" (ภาษาคอร์นิช). www.cornishdictionary.org.uk. สืบค้นเมื่อ 17 October 2019.
  7. Mackinnon, Ken. "Cornish at Its Millennium: An Independent Study of the Language". Cornish Studies (ภาษาอังกฤษ). 10.
  8. 8.0 8.1 O'Neill, Diarmuid (2005). Rebuilding the Celtic Languages: Reversing Language Shift in the Celtic Countries (ภาษาอังกฤษ). Y Lolfa. p. 240. ISBN 0-86243-723-7.
  9. Linguistic minorities in countries belonging to the European community: summary report (ภาษาอังกฤษ). Commission of the European Communities. 1986. p. 195.
  10. Deacon, Bernard; Tregidga, Garry; Cole, Richard (2003). Mebyon Kernow and Cornish Nationalism (ภาษาอังกฤษ). Welsh Academic Press. p. 132.
  11. "Cornish gains official recognition". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 6 November 2002. สืบค้นเมื่อ 11 November 2012.
  12. "Funding boost to safeguard Cornish language announced". gov.uk (ภาษาอังกฤษ). 13 March 2015.
  13. "Kowethas an Yeth Kernewek wins Heritage Lottery Fund support" (ภาษาอังกฤษ). 19 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2016.
  14. Jackson, Kenneth Hurlstone (1953). Language and history in early Britain: a chronological survey of the Brittonic languages, 1st to 12th c. A.D. (ภาษาอังกฤษ). Edinburgh: Edinburgh University Press. p. 12. ISBN 0-85224-116-X. OCLC 217631525.
  15. Pool, P. A. S. (1975). William Bodinar's letter, 1776 (ภาษาอังกฤษ). Journal of the. Royal Institution of Cornwall. OCLC 927038181. [In 1746] Captain Samuel Barrington, in the course of naval duties, took a sailor from Mount's Bay who spoke Cornish well enough to make himself understood to Bretons
  16. Beresford Ellis, Peter (1990). The Story of the Cornish Language (ภาษาอังกฤษ). Tor Mark Press. pp. 19–25. ISBN 0-85025-371-3. Of John Davey of Zenmor who died in 1891, it was claimed that he was the last surviving native speaker of the language. His stone memorial reads 'John Davey 1812-1891 of Boswednack in this parish ... who was the last to possess any traditional considerable knowledge of the Cornish Language.'
  17. 17.0 17.1 "Cornish language no longer extinct, says UN". BBC News Online (ภาษาอังกฤษ). 7 December 2010. สืบค้นเมื่อ 11 November 2012.
  18. "Music". Cornish Language Partnership. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2008.
  19. "Film clips: Here you can watch clips from films made in Cornish". Cornish Language Partnership. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2008.
  20. MacKinnon, Ken. "Cornish Language Study 2000". Cornish Language Partnership (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2013.
  21. Cornish ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  22. "Cornish language – is it dead?". This is The West Country (ภาษาอังกฤษ). 21 February 2009. สืบค้นเมื่อ 11 November 2012.
  23. Greenaway, Aaron (22 August 2020). "The Cornish road signs that still point to a past that no longer exists". CornwallLive.
  24. Ball 2009, p. 769.
  25. Birch, Sophie (March 2010). "Cornwall cultural strategy evidence report" (PDF). Cornwall Council. p. 24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-19. สืบค้นเมื่อ 19 April 2018.
  26. "Dyslexic councillor says Cornish language road signs could prove dangerous for drivers". Plymouth Herald. 21 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2014. สืบค้นเมื่อ 29 July 2014.
  27. Elgot, Jessica (7 October 2015). "Cornwall council plans to encourage staff to speak Cornish". The Guardian.
  28. Milmo, Cahal (23 April 2014). "Cornish to be recognised as a national minority along with Scots, Welsh and Irish". The Independent. สืบค้นเมื่อ 3 February 2019.
  29. "Cornish language funding stopped by government". BBC News. 21 April 2016.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

พจนานุกรม

แก้