ภาษาเบรอตาญ
ภาษาเบรอตาญ (ฝรั่งเศส: Breton, ออกเสียง: [bʁətɔ̃]; เบรอตาญ: brezhoneg, ออกเสียง [bʁeˈzɔ̃ːnɛk] ( ฟังเสียง))[5] เป็นภาษาบริตันตะวันตกเฉียงใต้ภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาเคลต์ที่มีผู้พูดในแคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นภาษาเคลต์เพียงภาษาเดียวที่มีผู้ใช้งานอย่างแพร่หลายในยุโรปภาคพื้นทวีป แม้ว่าภาษานี้จะเป็นส่วนหนึ่งของสาขาเคลต์หมู่เกาะแทนที่จะเป็นสาขาเคลต์ภาคพื้นทวีปก็ตาม[6]
ภาษาเบรอตาญ | |
---|---|
brezhoneg | |
ป้ายสองภาษาในเมืองอุแอลกวต แคว้นเบรอตาญ | |
ออกเสียง | [bʁeˈzɔ̃ːnɛk], [brəhɔ̃ˈnek] |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศฝรั่งเศส |
ภูมิภาค | เบรอตาญตอนล่าง |
ชาติพันธุ์ | ชาวเบรอตาญ |
จำนวนผู้พูด | 210,000 คนในแคว้นเบรอตาญ (2018)[1] 16,000 คนในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์[2] (รวมนักเรียนในการศึกษาสองภาษา)[3] |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า | เบรอตาญเก่า
|
ภาษาถิ่น | วาน กอร์นวย เลอง เทรกอร์ |
ระบบการเขียน | อักษรละติน (ชุดตัวอักษรเบรอตาญ) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ประเทศฝรั่งเศส |
ผู้วางระเบียบ | สำนักงานภาษาเบรอตาญของรัฐ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | br |
ISO 639-2 | bre |
ISO 639-3 | มีหลากหลาย:bre – เบรอตาญสมัยใหม่xbm – เบรอตาญกลางobt – เบรอตาญเก่า |
นักภาษาศาสตร์ | xbm เบรอตาญกลาง |
obt เบรอตาญเก่า | |
Linguasphere | 50-ABB-b (วิธภาษา: 50-ABB-ba ถึง -be) |
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาเบรอตาญ (ค.ศ. 2004) | |
ภาษาเบรอตาญนำเข้าจากบริเตนใหญ่มายังอาร์โมริกา (ชื่อโบราณของแคว้นชายฝั่งที่รวมคาบสมุทรเบรอตาญ) พร้อมกับการย้ายถิ่นเข้ามาของชาวบริตันในสมัยกลางตอนต้น ทำให้ภาษานี้จัดอยู่ในสาขาเคลต์หมู่เกาะ ภาษาเบรอตาญมีความใกล้ชิดกับภาษาคอร์นวอลล์ (ซึ่งเป็นภาษาบริตันตะวันตกเฉียงใต้อีกภาษา) มากที่สุด[7]
ในแผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษาเบรอตาญอยู่ในกลุ่ม "ใกล้สูญขั้นรุนแรง" เนื่องจากมีผู้พูดลดลงจากจำนวนมากกว่า 1 ล้านคนเมื่อประมาณ ค.ศ. 1950 เหลือประมาณ 200,000 คนในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21[4] อย่างไรก็ตาม จำนวนเด็กที่เข้าเรียนชั้นเรียนสองภาษาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33 ระหว่าง ค.ศ. 2006 ถึง 2012 โดยเพิ่มขึ้น 14,709 คน[3][1]
ตัวอย่าง
แก้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1
เบรอตาญ: Dieub ha par en o dellezegezh hag o gwirioù eo ganet an holl dud. Poell ha skiant zo dezho ha dleout a reont bevañ an eil gant egile en ur spered a genvreudeuriezh.[8] |
ไทย: มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ[9] |
คำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้า
แก้- Hon Tad,
- cʼhwi hag a zo en Neñv,
- ra vo santelaet hocʼh anv.
- Ra zeuio ho Rouantelezh.
- Ra vo graet ho youl war an douar evel en neñv.
- Roit dimp hiziv bara hor bevañs.
- Distaolit dimp hon dleoù
- evel m'hor bo ivez distaolet d'hon dleourion.
- Ha n'hon lezit ket da vont gant an temptadur,
- met hon dieubit eus an Droug.
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Enquête socio-linguistique : qui parle les langues de bretagne aujourd'hui ?". Région Bretagne. 8 October 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-06. สืบค้นเมื่อ 9 October 2018.
- ↑ Diagnostic de la langue bretonne en Île-de-France. Ofis Publik ar Brezhoneg.
- ↑ 3.0 3.1 Broudic, Fañch (2009). Parler breton au XXIe siècle : Le nouveau sondage de TMO Régions (ภาษาฝรั่งเศส). Emgleo Breiz.
- ↑ 4.0 4.1 Moseley, Christopher; Nicolas, Alexander, บ.ก. (2010). Atlas of the World's Languages in Danger (PDF) (3rd ed.). Paris: UNESCO. ISBN 978-92-3-104096-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2022.
- ↑ Bauer, Laurie (2007). The Linguistic Student's Handbook. Edinburgh University Press.
- ↑ Diamond, Jared (2012) The World Until Yesterday New York: Viking. p.399. ISBN 978-0-670-02481-0
- ↑ "Breton language". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2017-09-18.
- ↑ "Universal Declaration of Human Rights". Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights.
- ↑ "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน". แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล.