เวียนนา[a] เป็นเมืองหลวง เมืองใหญ่สุด และเป็นหนึ่งในเก้ารัฐของประเทศออสเตรีย เวียนนาเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ โดยมีผู้อาศัยทั้งสิ้น 1.9 ล้านคน[3] (2.6 ล้านคนถ้านับรวมปริมณฑล[2] คิดเป็นหนึ่งในสามของประชากรทั้งประเทศ) และยังเป็นศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง เวียนนาเป็นนครที่มีประชากรในเขตเมืองมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของสหภาพยุโรป

เวียนนา

จากบนสุด ซ้ายไปขวา: พิพิธภัณฑ์กุนทิสทอริเชส, ศาลาว่าการเวียนนา, อาสนวิหารนักบุญสตีเฟน, โอเปราแห่งรัฐเวียนนา และอาคารรัฐสภาออสเตรีย
จากบนสุด ซ้ายไปขวา: พิพิธภัณฑ์กุนทิสทอริเชส, ศาลาว่าการเวียนนา, อาสนวิหารนักบุญสตีเฟน, โอเปราแห่งรัฐเวียนนา และอาคารรัฐสภาออสเตรีย
ธงของเวียนนา
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของเวียนนา
ตรา
ตราราชการของเวียนนา
ตราอาร์ม
เวียนนาตั้งอยู่ในออสเตรีย
เวียนนา
เวียนนา
ที่ตั้งในประเทศออสเตรีย
เวียนนาตั้งอยู่ในยุโรป
เวียนนา
เวียนนา
ที่ตั้งในทวีปยุโรป
พิกัด: 48°12′N 16°22′E / 48.200°N 16.367°E / 48.200; 16.367
ประเทศธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย
การปกครอง
 • องค์กรรัฐสภาของรัฐและเทศบาล
 • นายกเทศมนตรีและผู้ว่าการมิชาเอล ลุดวิก (SPÖ)
 • รองนายกเทศมนตรี
พื้นที่
 • เมืองหลวง, รัฐ และเทศบาล414.78 ตร.กม. (160.15 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน395.25 ตร.กม. (152.61 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ19.39 ตร.กม. (7.49 ตร.ไมล์)
ความสูง151 (Lobau) – 542 (Hermannskogel) เมตร (495–1,778 ฟุต)
ประชากร
 (1 มกราคม 2018)[1][2]
 • เมืองหลวง, รัฐ และเทศบาล1,888,776 คน
 • อันดับอันดับที่ 1 ในออสเตรีย (อันดับที่ 6 ในสหภาพยุโรป)
 • ความหนาแน่น4,326.1 คน/ตร.กม. (11,205 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2,600,000 คน
 • ชาติพันธุ์[3][4]
เดมะนิมเยอรมัน: Wiener (ชาย), Wienerin (หญิง)
อังกฤษ: Viennese
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์
รหัส ISO 3166AT-9
ทะเบียนพาหนะW
HDI (2018)0.940[6]
สูงมาก · อันดับที่ 1
จีดีพี94 พันล้านยูโร (2017)[7]
จีดีพีต่อหัว50,000 ยูโร (2017)[7]
ที่นั่งในสภาสหพันธ์
11 / 61
GeoTLD.wien
เว็บไซต์www.wien.gv.at

ในช่วงก่อนเริ่มคริสต์ศตวรรษที่ 20 เวียนนาเป็นเมืองที่มีประชากรพูดภาษาเยอรมันมากที่สุดในโลก และในช่วงก่อนการแบ่งแยกของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี นครมีประชากรมากถึง 2 ล้านคน[10] ในปัจจุบัน เวียนนาเป็นเมืองที่มีประชากรพูดภาษาเยอรมันมากเป็นอันดับที่สองรองจากเบอร์ลิน[11][12] เวียนนาเป็นที่ตั้งขององค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง อาทิ สหประชาชาติ โอเปก และโอเอสซีอี ตัวนครตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของออสเตรีย และอยู่ใกล้กับพรมแดนเช็กเกีย สโลวาเกีย และฮังการี โดยกลุ่มประเทศนี้ดำเนินงานร่วมกันในภูมิภาคยุโรปกลาง เวียนนามีประชากรในเขตปริมณฑลทั้งสิ้น 3 ล้านคน ซึ่งใกล้เคียงกับบราติสลาวา ใน ค.ศ. 2001 ย่านใจกลางเมืองได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลก แต่ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 ย่านใจกลางเมืองถูกนำใส่รายชื่อแหล่งมรดกโลกที่อยู่ในอันตราย[13] นอกจากนี้ เวียนนายังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "นครแห่งดนตรี"[14] อันเนื่องจากมรดกทางดนตรีที่สำคัญ เวียนนายังถูกกล่าวขานว่าเป็น "นครแห่งความฝัน" เพราะเป็นบ้านเกิดของนักจิตวิเคราะห์คนแรกของโลกอย่างซีคมุนท์ ฟร็อยท์[15] บรรพบุรุษของชาวเวียนนาเป็นชาวเคลต์และชาวโรมัน ซึ่งได้อพยพมาในช่วงสมัยกลางและสมัยบารอก เวียนนาเป็นที่รู้จักในด้านแหล่งดนตรีแนวหน้าของยุโรป โดยมีดนตรีคลาสสิกแบบเวียนนามาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 พื้นที่ใจกลางทางประวัติศาสตร์ของเวียนนาเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงาม ซึ่งรวมไปถึงพระราชวังและสวนแบบบารอก และถนนวงแหวนเวียนนา ซึ่งสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 รายล้อมไปด้วยอาคารใหญ่ อนุสรณ์ และสวนสาธารณะ[16]

เวียนนามีคุณภาพชีวิตที่ดีมาก จากการสำรวจนครของโลก 127 แห่งใน ค.ศ. 2005 หน่วยอินเทลลิเจนซ์ของนักเศรษฐศาสตร์จัดอันดับให้เวียนนาเป็นนครที่น่าอยู่ที่สุดในโลก (ร่วมกับแวนคูเวอร์และซานฟรานซิสโก) ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 2011–2015 เวียนนาตกไปอยู่อันดับที่สอง โดยเป็นรองเพียงเมลเบิร์น[17][18][19][20][21] และใน ค.ศ. 2018 เวียนนากลับไปอยู่อันดับที่หนึ่งอีกครั้ง[22] ซึ่งต่อเนื่องมาจนถึง ค.ศ. 2019[23] ในช่วงเวลาสิบปี (2009–2019) บริษัทคุณภาพชีวิตอย่างเมอร์เซอร์จัดอันดับให้เวียนนาได้อันดับหนึ่งในด้าน "คุณภาพความเป็นอยู่" จากการสำรวจนครรอบโลกกว่า 100 แห่ง[24][25][26][27][28][29][30][31] โมโนเซิลจัดอันดับให้เวียนนาอยู่อันดับที่สองในด้านคุณภาพชีวิตประจำปี 2015 จากรายชื่อนครทั้ง 25 แห่งของโลก[32][33][34][35][36] ยูเอ็น-ฮาบิแท็ต ประกาศให้เวียนนาเป็นนครที่รุ่งเรืองที่สุดในโลกประจำปี 2012–2013[37] ตัวนครเป็นอันดับที่หนึ่งของโลกในด้านวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมประจำปี 2007 และ 2008 และอยู่อันดับที่ 6 (จากนคร 256 แห่ง) จากดัชนีนครนวัตกรรมประจำปี 2014 ที่ใช้เกณฑ์ 162 ข้อจากสามประเด็น ได้แก่ วัฒนธรรม โครงสร้างพื้นฐาน และการค้า[38][39][40] เวียนนาเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมผังเมืองอยู่บ่อยครั้ง และผังเมืองเวียนนาก็ถูกใช้เป็นตัวอย่างของนักผังเมืองด้วยเช่นกัน[41] ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 2005–2010 เวียนนาเป็นจุดหมายปลายทางอันดับหนึ่งในด้านการประชุมระดับโลก[42] และมีนักท่องเที่ยว 6.8 ล้านต่อปี[43]

ประวัติศาสตร์ แก้

การปกครอง แก้

กรุงเวียนนาแบ่งการปกครองออกเป็น 23 เขต

ระเบียงภาพ แก้


หมายเหตุ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Statistik Austria – Bevölkerung zu Quartalsbeginn seit 2002 nach Bundesland". Statistik.at. 14 February 2013. สืบค้นเมื่อ 22 May 2013.
  2. 2.0 2.1 "VCÖ.at: VCÖ fordert Nahverkehrsoffensive gegen Verkehrskollaps in den Städten". vcoe.at. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 5 August 2009.
  3. 3.0 3.1 STATISTIK AUSTRIA. "Bevölkerung zu Jahres-/Quartalsanfang". statistik.at. สืบค้นเมื่อ 12 February 2016.
  4. "Vienna in figures 2012, Vienna City Administration Municipal Department 23 Economic history, Labour and Statistics Responsible for the contents: Gustav Lebhart, page 6" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 October 2012. สืบค้นเมื่อ 21 September 2012.
  5. "Postlexikon". Post AG. 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2 June 2018.
  6. "Sub-national HDI – Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
  7. 7.0 7.1 https://ec.europa.eu/eurostat/documents/2995521/9618249/1-26022019-AP-EN.pdf/f765d183-c3d2-4e2f-9256-cc6665909c80e[ลิงก์เสีย]
  8. Wells, John C. (2008), Longman Pronunciation Dictionary (3rd ed.), Longman, ISBN 978-1-4058-8118-0
  9. Roach, Peter (2011), Cambridge English Pronouncing Dictionary (18th ed.), Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-15253-2
  10. "Vienna after the war", The New York Times, 29 December 1918 (PDF)
  11. "Wien nun zweitgrößte deutschsprachige Stadt | touch.ots.at". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2013. สืบค้นเมื่อ 21 July 2013.
  12. "Ergebnisse Zensus 2011" (ภาษาเยอรมัน). Statistische Ämter des Bundes und der Länder. 31 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 31 May 2013.
  13. "Historic Centre of Vienna". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 12 July 2017.
  14. "Vienna – the City of Music – VIENNA – NOW OR NEVER". Wien.info. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
  15. BBC Documentary – Vienna – The City of Dreams
  16. "Historic Centre of Vienna". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
  17. "The world's most 'liveable' cities 2015". สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
  18. "The world's most 'liveable' cities 2014" (PDF). สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
  19. "The world's most liveable cities 2013". สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
  20. "The world's most 'liveable' cities 2012". สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
  21. "The world's most 'liveable' cities 2011". BBC News. 30 August 2011. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
  22. "The world's most liveable city named". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 14 August 2018. สืบค้นเมื่อ 14 August 2018.
  23. Locke, Taylor (2019-09-04). "These are the world's most liveable cities in 2019". CNBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-09-09.
  24. "Quality of Living City Ranking – Mercer". mobilityexchange.mercer.com. สืบค้นเมื่อ 20 May 2019.
  25. "Redirecting..." www.imercer.com. {{cite web}}: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help)
  26. "2014 Quality of Living survey". mercer.com.
  27. "Mercer press release: Quality of Living global city rankings—2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2011. สืบค้นเมื่อ 2 December 2011.
  28. "Mercer Quality of LIfe Worldwide City Rankings, 2010 from resourceshelf.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2011. สืบค้นเมื่อ 2 December 2011.
  29. "Mercer's Survey 2011". Mercer. 29 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2014.
  30. Inocencio, Ramy (4 December 2012). "What city has world's best quality of life?". CNN.
  31. "Mercer | Quality of Living Ranking 2016". www.mercer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2016. สืบค้นเมื่อ 22 November 2016.
  32. Monocle. "Quality of Live Survey 2015". Monocle. สืบค้นเมื่อ 24 June 2015.Monocle's 2012 "Quality of Life Survey" ranked Vienna fourth on a list of the top 25 cities in the world "to make a base within" (up from sixth in 2011 and eighth in 2010).
  33. "Quality of Life Survey 2012". Monocle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2012. สืบค้นเมื่อ 1 August 2012.
  34. "Monocle's top 25 cities for 2011, on businessinsider.com". สืบค้นเมื่อ 2 December 2011.
  35. "Monocle's 2011 "Quality of LIfe" summary". สืบค้นเมื่อ 3 December 2011.
  36. "08 Vienna". Monocle.com. 15 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2012. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
  37. "State of the World's Cities 2012/2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2015. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.
  38. "2thinknow Innovation Cities Global 256 Index – worldwide innovation city rankings: Innovation Cities Program". Innovation-cities.com. 2007. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
  39. "2thinknow Innovation Cities Global 256 Index – worldwide innovation city rankings: Innovation Cities Program". Innovation-cities.com. 2008. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
  40. "2thinknow Innovation Cities Global 256 Index – worldwide innovation city rankings: Innovation Cities Program". Innovation-cities.com. 2014. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
  41. "Vienna knows how". wieninternational.at. 15 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2010. สืบค้นเมื่อ 3 January 2011.
  42. "Vienna is the world's number one congress destination". wieninternational.at. 1 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2011. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  43. "Vienna Tourist Board: Arrivals & bednights 2016". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-10. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ แก้

ประวัติศาสตร์เวียนนา แก้

ข้อมูลเพิ่มเติม แก้