บราติสลาวา (สโลวัก: Bratislava, เยอรมัน: Pressburg) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศสโลวาเกีย มีประชากรประมาณ 430,000 คน[2] เป็นเมืองหลวงที่เล็กที่สุดแห่งหนึ่งของทวีปยุโรป บราติสลาวาอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสโลวาเกียครอบครองทั้งสองฝั่งของแม่น้ำดานูบและฝั่งซ้ายของแม่น้ำโมราวา มีพรมแดนติดกับออสเตรียและฮังการี โดยเป็นเมืองหลวงแห่งเดียวในโลกที่มีพรมแดนติดกับสองรัฐเอกราช[3]

บราติสลาวา
จากบนและจากซ้ายไปขวา: ทิวนคร, ทิวย่านเมืองเก่า, เชตการเงิน, ถนนในย่านเมืองเก่า, โบสถ์น้ำเงิน, วังกราสซัลคอวิช
ธงของบราติสลาวา
ธง
ตราราชการของบราติสลาวา
ตราอาร์ม
สมญา: 
ความงามบนแม่น้ำดานูบ
พิกัด: 48°08′38″N 17°06′35″E / 48.14389°N 17.10972°E / 48.14389; 17.10972พิกัดภูมิศาสตร์: 48°08′38″N 17°06′35″E / 48.14389°N 17.10972°E / 48.14389; 17.10972
ประเทศธงของประเทศสโลวาเกีย สโลวาเกีย
แคว้นบราติสลาวา
ถูกกล่าวถึงครั้งแรก907
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีMatúš Vallo
พื้นที่
 • เมืองหลวง367.584 ตร.กม. (141.925 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง853.15 ตร.กม. (329.40 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2,053 ตร.กม. (792.66 ตร.ไมล์)
ความสูง134 เมตร (440 ฟุต)
ประชากร
 (2018-12-31[1])
 • เมืองหลวง432,864 คน
 • ความหนาแน่น1,200 คน/ตร.กม. (3,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง563,682 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง661 คน/ตร.กม. (1,710 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล659,598 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล321 คน/ตร.กม. (830 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวบราติสลาวา
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์8XX XX
รหัสพื้นที่421 2
ป้ายทะเบียนรถBA, BL, BT
เว็บไซต์www.bratislava.sk/

ประวัติศาสตร์ของเมืองได้รับอิทธิพลจากผู้คนจากหลายชาติและศาสนา รวมถึงชาวออสเตรีย, ชาวบัลแกเรีย, ชาวโครแอต, ชาวเช็ก, ชาวเยอรมัน ชาวฮังการี, ชาวยิว, ชาวเซิร์บ[4] และชาวสโลวัก[5] เป็นสถานที่จัดพิธีราชาภิเษกและศูนย์นิติบัญญัติและเมืองหลวงของราชอาณาจักรฮังการี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1536 ถึง ค.ศ. 1783[6] และเป็นบ้านของบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายคนของสโลวาเกีย, ฮังการี และเยอรมนี

ประวัติศาสตร์ แก้

 
An original Biatec and its replica on a modern 5-koruna coin.

การตั้งถิ่นฐานถาวรในพื้นที่นี้ เท่าที่ทราบกันในปัจจุบัน เริ่มต้นขึ้นมากับ Linear Pottery Culture เมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาลในยุคหินใหม่ จนกระทั่งเมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล เผ่าพันธุ์ Celtic Boii ได้ตั้งถิ่นฐานขนาดใหญ่แห่งแรกขึ้น ซึ่งเป็นเมืองป้อมปราการที่เรียกว่า Oppidum และยังได้ก่อตั้งโรงกษาปณ์ผลิตเหรียญเงินที่เรียกว่า Biatec พื้นที่นี้อยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรโรมันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1-4 ทางการโรมันได้ใช้พื้นที่นี้สำหรับเพาะปลูกองุ่นและผลิตไวน์ ซึ่งยังคงทำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

บรรพบุรุษเผ่าพันธุ์สลาฟของชาวสโลวักปัจจุบันเข้ามาถึงพื้นที่นี้เมื่อระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5-6 ในช่วง Migration Period จนกระทั่งเมื่อครั้งถูกโจมตีโดยชาว Avar เผ่าพันธุ์สลาฟพื้นเมืองได้ต่อต้าน และสถาปนา Samo's Empire (พ.ศ. 1166-1201) ซึ่งเป็น political entity ของชาวสลาฟแห่งแรกเท่าที่ทราบในปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ปราสาทต่างๆที่บราติสลาวาและ Devín เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของ Principality of Nitra และ Great Moravia ซึ่งเป็นของชาวสลาฟ การบันทึกข้อความที่กล่าวถึงเมืองนี้เป็นครั้งแรกสืบย้อนไปถึงได้ถึง พ.ศ. 1450 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการล่มสลายของ Great Moravia อันเนื่องมาจากการโจมตีของชาวฮังกาเรียน

ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 อาณาบริเวณของบราติสลาวา (ต่อมากลายเป็น Pozsony County) ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของฮังการี (เรียกว่า "ราชอาณาจักรฮังการี" ตั้งแต่ พ.ศ. 1543) และกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการปกครองบนแนวพรมแดนของอาณาจักร ตำแหน่งที่ตั้งที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์นี้ทำให้เมืองนี้เป็นสถานที่สู้รบอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและเสริมสถานะทางการเมืองให้เข้มแข็งมากขึ้น

อ้างอิง แก้

  1. "Population and migration". Statistical Office of the Slovak Republic. สืบค้นเมื่อ 2019-04-16.
  2. "Statistical Yearbook of the Slovak Republic 2017". Statistical Office of the Slovak Republic. December 31, 2016. สืบค้นเมื่อ February 5, 2019.
  3. Dominic Swire (2006). "Bratislava Blast". Finance New Europe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2006. สืบค้นเมื่อ May 8, 2007.
  4. "Srbi u Slovačkoj" (website). Project Rastko. 2010. สืบค้นเมื่อ 14 February 2014.
  5. "Brochure – Culture and Attractions". City of Bratislava. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 7, 2007. สืบค้นเมื่อ April 25, 2007.
  6. Gruber, Ruth E. (March 10, 1991). "Charm and Concrete in Bratislava". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-07-27.

ดูเพิ่ม แก้