ป้ายทะเบียนรถ
ป้ายทะเบียนรถ (อังกฤษ: vehicle registration plate) เป็นแผ่นป้ายทำจากโลหะหรือพลาสติก มีทะเบียนรถ เพื่อใช้ในการระบุรถยนต์หรือยานพาหนะทางบกประเภทอื่น ๆ
ป้ายทะเบียนรถในแต่ละประเทศแก้ไข
สหรัฐอเมริกาแก้ไข
ป้ายทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันทำจากอะลูมิเนียม มีขนาด 12 x 6 นิ้ว ในสหรัฐอเมริกาแต่ละรัฐจะกำหนดสีและเลขทะเบียนโดยหน่วยงานของแต่ละรัฐ 30รัฐจากทั้งหมด 50รัฐ บังคับให้รถทุกคันมีป้ายทะเบียนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของรถยนต์ จำนวนตัว6-7ตัวอักษร ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้ทุกตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละรัฐเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งทวีปอเมริกาเหนือ ยกเว้นแซงปีแยร์และมีเกอลงซึ่งเป็นดินแดนของประเทศฝรั่งเศส [1]
สหราชอาณาจักรแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประเทศจีนแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประเทศญี่ปุ่นแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประเทศไทยแก้ไข
ป้ายทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลในประเทศไทย ปัจจุบันทำจากอะลูมิเนียม มีขนาด 13.5 x 6 นิ้ว พื้นป้ายมีลักษณะสะท้อนแสง ตัวอักษรและตัวเลขจะถูกปั๊มนูนออกจากผิวหน้าของป้ายทะเบียน ทำให้ด้านหลังของป้ายนั้นบุ๋มเว้าลงไปตามหมายเลขทะเบียนด้วยเช่นกัน ประเภทของป้ายทะเบียนนั้นสามารถใช้จำแนกประเภทการใช้งานรถได้ ดังนี้
- ป้ายขาวอักษรดำ คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- ป้ายขาวอักษรฟ้า คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
- ป้ายขาวอักษรเขียว คือ ป้ายทะเบียนกระบะ
- ป้ายขาวอักษรแดง คือ ป้ายทะเบียนรถสามล้อ
- ป้ายเหลืองอักษรแดง คือ ป้ายรถรับจ้างระหว่างจังหวัด
- ป้ายเหลืองอักษรดำ คือ ป้ายรถรับจ้าง
- ป้ายเหลืองอักษรฟ้า คือ ป้ายรถกระป๊อ
- ป้ายเหลืองอักษรเขียว คือ ป้ายรถตุ๊กตุ๊ก
- ป้ายเขียวอักษรขาว คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร และรถยนต์บริการให้เช่า
- ป้ายแสดอักษรดำ คือ ป้ายทะเบียนรถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม
- ป้ายขาวอักษรดำ หมวดอักษร TC กรุงเทพมหานคร คือ ป้ายทะเบียนรถทดสอบก่อนผลิต เริ่มมีใช้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560[2][3] (ป้ายทะเบียนรถยนต์ของไทยนั้นโดยปกติตัวอักษรจะเป็นอักษรไทย)
- ป้ายขาวอักษรดำ หมวดอักษร QC กรุงเทพมหานคร คือ ป้ายทะเบียนรถทดสอบคุณภาพ เริ่มมีใช้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560[2][3]
- ป้ายทะเบียนที่บริเวณชื่อจังหวัดเป็นคำว่า THAILAND ตัวพิมพ์ใหญ่ ตามด้วยเลขรหัสจังหวัดสองหลัก และหมวดอักษรของทะเบียนเป็นอักษรอังกฤษ และ/หรือ ตัวเลข หมายถึงแผ่นป้ายทะเบียนรถที่กรมการขนส่งทางบกออกให้เป็นการชั่วคราวเพื่อนำรถออกไปใช้นอกราชอาณาจักร
สำหรับป้ายทะเบียนรถอีกประเภทหนึ่งคือป้ายทะเบียนกราฟิก ซึ่งมีขึ้นภายหลังป้ายทะเบียนแบบปกติ ป้ายทะเบียนนี้จะมีพื้นหลังเป็นรูปภาพ สำหรับเลขทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ (เลขสวย) เช่น ฌร 9999 ซึ่งเลขทะเบียนเหล่านี้จะถูกเปิดประมูลโดยกรมการขนส่งทางบก ป้ายทะเบียนชนิดนี้จะมีภาพพื้นหลังป้าย ที่สื่อถึงจังหวัดนั้นๆ เช่น กรุงเทพมหานคร จะมีรูปวัดพระแก้ว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สะพานพระราม 8 เป็นพื้นหลัง เป็นต้น ทะเบียนนี้คือทะเบียนประมูลในช่วงแรกมีการเปิดประมูลป้ายทะเบียนกราฟิกเฉพาะที่เป็นทะเบียนของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เท่านั้น [4] แต่ต่อมาได้เปิดประมูลป้ายทะเบียนเลขสวยของรถตู้และรถกระบะเพิ่มด้วย แต่ป้ายทะเบียนประมูลของรถตู้และรถกระบะจะเป็นภาพพื้นหลังป้ายที่เหมือนกันหมดทั้งประเทศ โดยมีโทนสีเช่นเดียวกับสีและตัวอักษรของทะเบียนปกติ คือขาวฟ้าและขาวเขียวตามลำดับ ไม่ได้ใช้ภาพพื้นหลังป้ายตามแบบของจังหวัดต่างๆแต่อย่างใด
เดือนสิงหาคม 2557 ได้เริ่มมีการประมูลป้ายรถตู้ พื้นขาว อักษรฟ้า หมวด ฮล เฉพาะจังหวัดกรุงเทพมหานคร ในครั้งนั้นได้เงินไปจำนวน 25,273,969.- บาท[5]
ป้ายทะเบียนรถเกิดขึ้นพร้อมกับกฎหมายว่าด้วย รถยนต์ฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ รัตนโกสินทร์ศก 128 (พ.ศ. 2452) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีเจตนารมณ์เพื่อต้องการควบคุมรถและทราบว่าใครเป็น เจ้าของรถ และเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี
ถึงแม้ว่าจะมีป้ายทะเบียนรถเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ตามหลักฐานได้มีการออกกฎหมายของกระทรวงครั้งแรกเริ่ม มีป้ายทะเบียนรถตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 โดยรูปแบบเป็นแบบ กท.เรียงดิ่ง มีหมวดตัวอักษรและตัวเลขอยู่ในแผ่นป้าย ขนาดมาตรฐานกว้าง 11 ซม. ยาว 39 ซม. พื้นหลังเป็นสีดำ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 มีการเปลี่ยนจากรูปแบบ กท. เรียง ดิ่งเป็นแบบเรียงตามแนวนอน มีการเปลี่ยนขนาดแผ่นป้าย เป็นกว้าง 15 ซม. ยาว 30 ซ ม . และพื้นหลังเป็นสีขาว
ในปี พ.ศ. 2526 กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการเปลี่ยนจาก ตราโล่ เป็นตัวย่อ ขส อย่างงที่เราเห็นกันในปัจจุบัน และไดมีการเปลี่ยนงานรับผิดชอบดูแลป้ายทะเบียนรถจาก กระทรวงมหาดไทยมาเป็นของกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2531 ซึ่งรูปแบบทะเบียนรถยังคงเหมือนเดิมทุกประการ
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยมีการเพิ่มตัวอักษรเป็น 2 ตัว เช่น กก - 9999 รวมทั้งเปลี่ยนขนาดแผ่นป้ายให้ยาวขึ้น จากขนาด ยาว 30 ซม. เป็นยาว 34 ซม. เนื่องจากมีการเพิ่มตัวอักษรขึ้นมาอีก 1 ตัว ต่อมามีการแก้ไขชื่อจังหวัด จากชื่อเต็ม เช่น กรุงเทพมหานคร เป็น กทม / จังหวัดเชียงใหม่ เป็น ชม ในปี พ.ศ. 2540 แต่ใช้ได้เพียง 1 ปี ก็ต้องกลับมาใช้ชื่อจังหวัดแบบเดิม เนื่องจากมีปัญหาในด้านการมองเห็น เช่น ตัวอักษรตัวเล็กไปบ้าง มองเห็นไม่ชัดบ้าง และบางทีไม่ทราบว่าตัวอักษรย่อนั้นเป็นตัวย่อของจังหวัดใด
ประเทศลาวแก้ไข
ป้ายทะเบียนรถยนต์ในประเทศลาว
- ป้ายทะเบียนสีเหลืองอักษรดำ คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนในนามบุคคล
- ป้ายทะเบียนสีเหลืองอักษรเทา คือ เป็นรถชาวต่างชาติที่มีใบพำนักถาวร
- ป้ายทะเบียนสีขาวอักษรฟ้า คือ ป้ายรถที่จดทะเบียนในนามบริษัท หรือไฟแนนซ์ ที่ยังผ่อนชำระไม่หมด
- ป้ายทะเบียนสีขาวอักษรดำ คือ เป็นรถชาวต่างชาติที่ไม่มีใบพำนักถาวร
- ป้ายทะเบียนสีขาวอักษรฟ้า ไม่มีแขวงระบุ มีขีดคั่น คือ เป็นรถคนลาวยังไม่เสียภาษี
- ป้ายทะเบียนสีขาวอักษรฟ้า สท-และตัวเลข คือ เป็นรถของสถานทูตซึ่งได้รับสิทธิคุ้มครอง (Immunity) ตามสนธิสัญญากรุงเวียนนา
- ป้ายทะเบียนสีน้ำเงินอักษรขาว คือ ป้ายรถเจ้าหน้าที่พลเรือน
- ป้ายทะเบียนสีแดงอักษรขาว คือ ป้ายรถยนต์ของกระทรวงป้องกันความสงบ(ตำรวจ) และกระทรวงป้องกันประเทศ(ทหาร)
ประเทศเวียดนามแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประเทศพม่าแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประเทศกัมพูชาแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://www.madehow.com/Volume-5/License-Plate.html
- ↑ 2.0 2.1 ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อ งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต และระยะเวลาในการใช้รถ และเครื่องหมายแสดงการใช้รถที่ใช้เพื่อการทดสอบ พ.ศ. ๒๕๖๐
- ↑ 3.0 3.1 ข่าวเดลินิวส์ 9 สิงหาคม 2560 - "ขนส่ง"แจงอย่าตกใจป้าย"TC" รถทดสอบ-ถูกกฎหมาย
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-26. สืบค้นเมื่อ 2012-09-25.
- ↑ http://www.tabienrod.com/?cat=8
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |