รถยนต์
รถยนต์ หมายถึง ยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนที่ด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งและถ่ายทอดลงสู่ล้อ เพื่อพาผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือสิ่งของ ไปยังจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน รถยนต์โดยส่วนมากได้รับการออกแบบอย่างซับซ้อนในทางวิศวกรรม และหลากหลายประเภท ตามความเหมาะสมของการใช้งาน หรือใช้สำหรับงานเฉพาะกิจ ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ[1]
ประวัติ
แก้ก่อนช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ยานพาหนะของผู้คนในสมัยนั้น ยังคงอาศัยแรงของสัตว์ เช่น รถม้า หลังจากมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้มีการประยุกต์ใช้แรงดันไอน้ำมาขับเคลื่อนเป็นยานพาหนะแบบใหม่ที่ไม่ต้องอาศัยแรงของสัตว์
ในปี ค.ศ. 1886 คาร์ล เบ็นทซ์ วิศวกรชาวเยอรมันได้สร้างรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เพลิงเผาไหม้คันแรกของโลกได้สำเร็จ (Benz Patent Motorwagen) โดยใช้โครงสร้างแบบลูกสูบเหมือนของเครื่องจักรไอน้ำ เพียงแต่ได้เพิ่มอุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนเชื้อเพลิงในรูปของเหลวให้กลายเป็นก๊าซ และเพิ่มวาล์วไอดีไอเสีย ในรูปแบบของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ (ปัจจุบันรถยนต์ใช้ระบบเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน)
เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงในยุคแรก ๆ นั้น ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง ต่อมาใน ค.ศ. 1897 รูด็อล์ฟ ดีเซิล พยายามคิดค้นพลังงานอื่นมาใช้กับเครื่องยนต์ จนสำเร็จเป็นเครื่องยนต์ดีเซล [ต้องการอ้างอิง]
ประเทศไทยเริ่มมีรถยนต์ใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวต่างชาติเป็นคนนำเข้ามาภายในประเทศซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นไทยได้เริ่มมีอุตสาหกรรมรถยนต์โดยใช้ชื่อบริษัทว่า ไทยรุ่ง ยูเนี่ยนคาร์ แต่ปัจจุบันเชื้อเพลิงดังกล่าวมีราคาสูงขึ้นและปริมาณน้อยลงมากทำให้มีการคิดค้นรถยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งสามารถผลิตขึ้นเองได้และมีความนิยมมากขึ้น
รายชื่อยี่ห้อรถยนต์ในแต่ละประเทศ
แก้- ญี่ปุ่น: โตโยต้า, เล็กซัส, มาสด้า, ฮอนด้า, มิตซูบิชิ, นิสสัน, ซูบารุ, ซูซูกิ, อีซูซุ, ฮีโน่, มิตซูโอกะ (อดีต), ไดฮัทสุ (อดีต)
- เกาหลีใต้: ฮุนได มอเตอร์ส, เกีย, ซันยอง, แดวู (อดีต)
- มาเลเซีย: โปรตอน (อดีต), นาซา (อดีต)
- อินเดีย: ทาทา
- จีน: เกรตวอลล์, ตงฟง, โฟตอน, แม็คซัส, เฌอรี่ (อดีต)
- สหรัฐอเมริกา: ฟอร์ด, เทสลา, จี๊ป (อดีต), เชฟโรเลต (อดีต)
- อังกฤษ: มินิ, เอ็มจี, แอสตันมาร์ติน, เบนท์เลย์, แลนด์โรเวอร์, โลตัส, แมคลาเรน, โรลส์-รอยซ์, จากัวร์ (อดีต)
- เยอรมนี: เมอร์เซเดส-เบนซ์, บีเอ็มดับเบิลยู, ฟ็อลคส์วาเกิน, พอร์เชอ, อาวดี้, โอเปิล (อดีต), มายบัค
- สวีเดน: วอลโว่ , ซาบ (อดีต)
- ฝรั่งเศส: เปอโยต์, ซีตรอง (อดีต), เรโนลต์ (อดีต)
- อิตาลี: เฟอร์รารี่, ลัมโบร์กีนี, มาเซราตี (อดีต), อัลฟาโรเมโอ (อดีต), เฟียต (อดีต)
- เช็กเกีย: สโกด้า (อดีต)
- ไทย: ไทยรุ่ง ยูเนี่ยนคาร์, เดวา ออโต้, วีรา ออโตโมทีฟ, ไมน์ โมบิลิตี้, Siam V.M.C. (อดีต)
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ม. 4 (9)