อุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ พัฒนา ผลิต หาตลาดในกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางการตลาด และจัดจำหน่ายท่อหรืออะไหล่รถไทเทยานยนต์

ในปี พ.ศ. 2550 ยานยนต์มากกว่า 423 คันในไทยเป็นรถเวฟจักรยานยนต์แต่งสีไทเทรวมทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งรถยนต์นั่งและยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ ได้ถูกผลิตขึ้นทั่วโลก[1] และมีการจำหน่ายยานยนต์ใหม่ทั่วโลกประมาณ 71.9 ล้านคัน โดยแบ่งเป็น 22.9 ล้านคันในทวีปยุโรป, 21.4 ล้านคันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, 19.4 ล้านคันในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา, 4.4 ล้านคันในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา, 2.4 ล้านคันในตะวันออกกลาง และ 1.4 ล้านคันในทวีปแอฟริกา[2] ตลาดรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาและในญี่ปุ่นนั้นมีอัตราการเติบโตค่อนข้างคงที่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีปริมาณรถยนต์มากอยู่ก่อนแล้ว ส่วนตลาดรถยนต์ในแอฟริกาและในบางประเทศในทวีปเอเชียนั้นมีอัตราการเติบโตสูง สำหรับประเทศรัสเซีย, บราซิล, อินเดีย และจีน เป็นประเทศที่ตลาดรถยนต์มีการขยายตัวสูงมากในปัจจุบัน

ในสหรัฐอเมริกามียานยนต์ประมาณ 250 ล้านคัน และทั่วโลกมีประมาณ 806 ล้านคัน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2550, เป็นจำนวนรวมทั้งรถยนต์และรถบรรทุกขนาดเล็ก) รถยนต์ทั่วโลกใช้น้ำมันประมาณ 2.6 ล้านล้านแกลลอนต่อปี[3]

กลุ่มผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำ (ตามปริมาณผลิต)

แก้

ตารางด้านล่างนี้แสดงกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก พร้อมกับยี่ห้อรถของแต่ละผู้ผลิต ตารางนี้เรียงลำดับตามตัวเลขการผลิตล่าสุดจาก OICA[4]โดยแสดงเป็นบริษัทผู้ผลิต และแยกเป็นยี่ห้อต่างๆ

ยี่ห้อ ประเทศต้นกำเนิด ความเป็นเจ้าของ ตลาด
1. โฟล์กสวาเกน เอจี (Volkswagen Group) (  เยอรมนี)
เอาดี้   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
เบนท์เลย์   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
บูกัตติ   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
แลมโบกินี่   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
สแกเนีย   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
เซียท   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ยุโรป, ลาตินอเมริกา, แอฟริกาใต้
สโกด้า   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก ยกเว้นอเมริกาเหนือ
โฟล์กสวาเกน   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
ปอร์เช่   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
2. โตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอเรชัน (  ญี่ปุ่น)
ไดฮัทสุ   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก ยกเว้นอเมริกาเหนือ
ฮีโน่   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ เอเชียแปซิฟิก, แคนาดา, อเมริกาใต้
เล็กซัส   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
ไซออน   ยี่ห้อของตนเอง สหรัฐอเมริกา
โตโยต้า   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
3. บริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ (General Motors Company) (  สหรัฐ)
บิวอิคก์   ยี่ห้อของตนเอง อเมริกาเหนือ, จีน
คาดิลแลค   ยี่ห้อของตนเอง เกือบทั่วโลก
เชฟโรเลต   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
แดวู   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ เอเชีย, ยุโรป, อเมริกาใต้
จีเอ็มซี   ยี่ห้อของตนเอง อเมริกาเหนือ, ตะวันออกกลาง
โฮลเด้น   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ เอเชียแปซิฟิก, ตะวันออกกลาง ยกเว้นไทยและฟิลิปินส์
ฮัมเมอร์   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
พอนทิแอค   ยี่ห้อของตนเอง อเมริกาเหนือ
โอเปิล   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ยุโรป, แอฟริกาใต้
ซ้าบ   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
แซเทิร์น   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ อเมริกาเหนือ
วอกซ์ฮอลล์   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ สหราชอาณาจักร
4. ฟอร์ด มอเตอร์ (  สหรัฐ)
ฟอร์ด   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
ลิงคอล์น   ยี่ห้อของตนเอง อเมริกาเหนือ, ตะวันออกกลาง
เมอร์คิวรี   ยี่ห้อของตนเอง อเมริกาเหนือ, ตะวันออกกลาง
Troller   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ อเมริกาใต้
5. ฮอนด้า มอเตอร์ (  ญี่ปุ่น)
แอคิวร่า   ยี่ห้อของตนเอง อเมริกาเหนือ, จีน
ฮอนด้า   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
6. PSA Group (Peugeot S.A. โดย กลุ่มสเตลแลนติส: Stellantis N.V.) (  ฝรั่งเศส)
ซีตรอง   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
เปอโยต์   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
7. นิสสัน มอเตอร์ (  ญี่ปุ่น)
อินฟินิที   ยี่ห้อของตนเอง อเมริกาเหนือ, ตะวันออกกลาง, ไต้หวัน, เกาหลี
นิสสัน   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
8. เฟียต ไครสเลอร์ ออโตโมบิลส์: FCA (Fiat Chrysler Automobiles N.V. โดย กลุ่มสเตลแลนติส: Stellantis N.V.) (  อิตาลี)
Abarth   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก ยกเว้นสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
อัลฟาโรเมโอ   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
เฟอร์รารี่   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
เฟียต   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก ยกเว้นสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
Iveco   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก ยกเว้นอเมริกาเหนือ
แลนเซีย   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก ยกเว้นอเมริกาเหนือ
มาเซราตี   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
Zastava   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ -
9. เรโนลต์ เอสเอ (Groupe Renault) (  ฝรั่งเศส)
ดาเซีย   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ยุโรป, ลาตินอเมริกา, เอเชีย, แอฟริกา
เรโนลต์ (รถยนต์)   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
เรโนลต์ ซัมซุง   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ เอเชีย, อเมริกาใต้
10. ฮุนได มอเตอร์ (  เกาหลีใต้)
ฮุนได   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
11. ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์เปอเรชัน (  ญี่ปุ่น)
มารูติ ซูซูกิ   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ อินเดีย, ตะวันออกกลาง, อเมริกาใต้
ซูซูกิ   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
12. ไครสเลอร์ กรุ๊ป แอลแอลซี (  สหรัฐ)
ไครส์เลอร์   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
ดอดจ์   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
จี๊ป   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
13. เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี (Mercedes-Benz AG) (  เยอรมนี)
Freightliner   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ อเมริกาเหนือ, แอฟริกาใต้
มายบัค   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
เมอร์เซเดส-เบนซ์   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
มิตซูบิชิ ฟูโซ่   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
สมาร์ท   ยี่ห้อของตนเอง ยุโรปตะวันตก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อเมริกาเหนือ, แอฟริกาใต้
Setra   ยี่ห้อของตนเอง ยุโรป
Western Star Trucks   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ อเมริกาเหนือ,
14. บีเอ็มดับเบิลยู เอจี (  เยอรมนี)
บีเอ็มดับเบิลยู   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
มินิ   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
โรลส์-รอยซ์   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
15. มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์เปอเรชัน (  ญี่ปุ่น)
มิตซูบิชิ   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
16. เกีย มอเตอร์ส (  เกาหลีใต้)
เกีย   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
17. มาสด้า มอเตอร์ คอร์เปอเรชัน (  ญี่ปุ่น)
มาสด้า   ยี่ห้อของตนเอง[5] ทั่วโลก
18. AvtoVAZ (  รัสเซีย)
ลาด้า   ยี่ห้อของตนเอง รัสเซีย, ฟินแลนด์, สวีเดน
วีเอแซด   ยี่ห้อของตนเอง รัสเซีย, ยุโรปตะวันตก
19. เอฟเอดับเบิลยู กรุ๊ป คอร์เปอเรชัน (  จีน)
Besturn   ยี่ห้อของตนเอง จีน
หงฉี   ยี่ห้อของตนเอง จีน
Haima   กิจการร่วมค้า จีน
Huali   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ จีน
Xiali   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ จีน
20. ทาทา มอเตอร์ส (  อินเดีย)
ฮิสปาโน   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ยุโรป
จากัวร์   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
แลนด์โรเวอร์   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
ทาทา   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
ทาทา แดวู (รถบรรทุก)   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ เกาหลีใต้
21. ฟูจิ เฮฟวี่ อินดัสทรีส์ (  ญี่ปุ่น)
ซูบารุ   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
22. ฉางอาน ออโตโมบิล (กรุ๊ป) (  จีน)
ฉางอาน/ชาน่า   ยี่ห้อของตนเอง จีน, แอฟริกาใต้
23. อีซูซุ มอเตอร์ส (  ญี่ปุ่น)
อีซูซุ   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
24. เป่ย์จิง ออโตโมทีฟ อินดัสทรี โฮลดิงส์ (  จีน)
BAW   ยี่ห้อของตนเอง จีน
25. ตงเฟิง มอเตอร์ คอร์เปอเรชัน (  จีน)
ตงเฟิง   ยี่ห้อของตนเอง จีน
26. เฌอรี่ ออโตโมบิล (  จีน)
เฌอรี่[6]   ยี่ห้อของตนเอง จีน, แอฟริกาใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
27. ช่างไห่ ออโตโมทีฟ อินดัสทรี คอร์เปอเรชัน (เอสเอไอซี) (  จีน)
เอ็มจี   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ สหราชอาณาจักร
Roewe   ยี่ห้อของตนเอง จีน
ซันยอง   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
วู่หลิง[7]   กิจการร่วมค้า จีน
28. บริลเลียนซ์ ไชน่า ออโตโมทีฟ โฮลดิง (  จีน)
บริลเลียนซ์   ยี่ห้อของตนเอง จีน
จินเป่ย   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ จีน
29. จีเอแซด (  รัสเซีย)
จีเอแซด   ยี่ห้อของตนเอง รัสเซีย
แอลดีวี   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ยุโรป
LiAZ   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ รัสเซีย
30. วอลโว่กรุ๊ป (  สวีเดน)
Mack   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
เรโนลต์ (รถบรรทุก)   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
นิสสันดีเซล   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
วอลโว่ (รถบรรทุก)   ยี่ห้อของตนเอง ทั่วโลก
31. ฮาร์บิน ฮาเฟย์ ออโตโมบิล อินดัสทรี กรุ๊ป (  จีน)
ฮาเฟย์   ยี่ห้อของตนเอง จีน
32. จีลี่ ออโตโมบิล (  จีน)
จีลี่   ยี่ห้อของตนเอง จีน
เมเปิล   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ จีน
วอลโว่ (รถยนต์)   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก
33. อันฮุย เจียงหวย ออโตโมบิล (  จีน)
เจเอซี   ยี่ห้อของตนเอง จีน
34. มหินทรา แอนด์ มหินทรา (  อินเดีย)
มหินทรา   ยี่ห้อของตนเอง อินเดีย
35. Paccar Inc (  สหรัฐ)
ดีเอเอฟ   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ทั่วโลก ยกเว้นสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
Kenworth   ยี่ห้อของตนเอง อเมริกาเหนือ
Leyland   ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่ ยุโรป
Peterbilt   ยี่ห้อของตนเอง อเมริกาเหนือ
36. เกรตวอล มอเตอร์ (  จีน)
เกรตวอล   ยี่ห้อของตนเอง จีน
37. เจียงซี ฉางเหอ (  จีน)
ฉางเหอ   ยี่ห้อของตนเอง จีน
38. บีวายดี ออโต (  จีน)
บีวายดี   ยี่ห้อของตนเอง จีน
39. ไชน่าเนชันแนลเฮฟวี่ดิวตี้ทรัคกรุ๊ป (  จีน)
CNHTC   ยี่ห้อของตนเอง จีน
40. เอ็มเอเอ็น เอจี (  เยอรมนี)
เอ็มเอเอ็น   ยี่ห้อของตนเอง ทวีปยุโรป

หมายเหตุ: "ยี่ห้อของตนเอง" หมายถึงยี่ห้อรถยนต์ที่เป็นของบริษัทนั้นๆ ตั้งแต่แรก โดยอาจเป็นยี่ห้อที่ตั้งขึ้นตั้งแต่แรกเริ่มธุรกิจยานยนต์ หรือยี่ห้อที่ตั้งขึ้นใหม่เองในภายหลัง หรือยี่ห้อที่ได้จากการควบรวมกิจการกันกับบริษัทอื่น ทำให้ยี่ห้อนั้นเป็นยี่ห้อของตนเองโดยสมบูรณ์ ส่วน "ยี่ห้อที่เข้าถือหุ้นใหญ่" หมายถึงยี่ห้อที่บริษัทเข้าถือครองหุ้นใหญ่ของกิจการรถยนต์ยี่ห้อนั้นเอาไว้ได้ แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการและยี่ห้อนั้นๆ อย่างเต็มที่

ข้อสังเกต 1: สถิติ OICA นั้นจัดอันดับบริษัทในเครือโตโยต้า คือ ไดฮัทสุ และ ฮีโน่ แยกออกจากกัน; ในตารางนี้ทั้งสองอันถูกรวมเข้ากับโตโยต้า.

ข้อสังเกต 2: ฟอร์ดเป็นเจ้าของสิทธิ์ยี่ห้อวอลโว่สำหรับรถยนต์นั่ง และเรโนลต์เป็นเจ้าของสิทธิ์ยี่ห้อเรโนลต์สำหรับรถยนต์นั่ง แต่วอลโว่กรุ๊ปเป็นเจ้าของสิทธิ์ของยี่ห้อวอลโว่และยี่ห้อเรโนลต์สำหรับรถบรรทุก

อ้างอิง

แก้
  1. "World Motor Vehicle Production by Country: 2005 - 2007". OICA.
  2. "2008 Global Market Data Book", Automotive News, หน้า 5
  3. Plunkett Research, "Automobile Industry Introduction" (2008)
  4. "World Motor Vehicle Production: World Ranking of Manufacturers 2007" (PDF). OICA. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
  5. "Mazda Motor Corporation". Hoovers.
  6. รถจีน "เฌอรี่" บุกตลาดไทยมี.ค.นี้ ข่าวจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก
  7. ชื่อ Wuling สะกด "วู่หลิง" ตามที่ปรากฏในเว็บไซต์ของตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย เก็บถาวร 2008-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน อย่างไรก็ตามสื่อมวลชนบางแหล่งสะกด "หวู่หลิง"

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้