36°17′51″N 139°22′05″E / 36.2975685°N 139.368058°E / 36.2975685; 139.368058

ซูบารุ
スバル
ชื่อท้องถิ่น
スバル
อุตสาหกรรมผู้ผลิตรถยนต์
ก่อนหน้าNakajima Edit this on Wikidata
ก่อตั้ง15 กรกฎาคม 1953; 71 ปีก่อน (1953-07-15)[1][2]
ผู้ก่อตั้งเคนจิ คิตะ(Kenji Kita)
สำนักงานใหญ่เอบิสึ,ชิบูยะ, โตเกียว,ประเทศญี่ปุ่น
ผลิตภัณฑ์รถยนต์
พนักงาน
16,961 (พ.ศ. 2565) Edit this on Wikidata
แผนกSubaru Tecnica International
เว็บไซต์Subaru Global

​ซูบารุ​ (อังกฤษ: Subaru; ญี่ปุ่น: スバル​) เป็นฝ่ายผลิตรถยนต์ ของ บริษัทผลิตเครื่องจักรกล ซูบารุคอร์เปอเรชั่น (ในอดีตรู้จักในชื่อ ฟูจิเฮฟวี่อินดัสทรี หรือ FHI) เป็นที่ทราบกันดีว่ารถยนต์ซูบารุนั้น มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากรถยนต์จากผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นคือ การใช้เครื่องยนต์บ๊อกเซอร์(กับขนาดเครื่องยนต์มากกว่า1500cc). และระบบขับเคลื่อนสี่ล้อที่บริษัทวิจัยและพัฒนาขึ้นมาเองอย่าง ระบบ ซิมเมตริคัล ออลวีลไดรฟ์ ที่ถูกใช้งานกับรถยนต์ซูบารุมาตั้งแต่ตั้งแต่ปี 1972. ทั้งเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์และระบบขับเคลื่อนสี่ล้อนั้น ถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับรถยนต์ขนาดกลางและขนาดเล็กของซูบารุทุกรุ่นตั้งแต่ปี 1996 ยกเว้นเพียงซูบารุ บีอาร์แซด ที่เปิดตัวในปี 2012 ร่วมกับโตโยต้าเท่านั้น.

ประวัติ

แก้
 
โลโก้ดั้งเดิมที่ใช้สำหรับรถ ซูบารุ 360 แสดงถึงการวางตำแหน่งดาวที่คล้ายคลึงกับ กระจุกดาวลูกไก่

ฟูจิเฮฟวี่อินดัสทรี และ รถคันแรกจากซูบารุ

แก้

ฟูจิ เฮฟวี่ อินดัสทรี เริ่มจากการเป็น "ห้องค้นคว้าวิจัยอากาศยาน" ในปี 1915 และในปี 1932 ก็เกิดเป็น บริษัท นากาจิมา แอร์คราฟ จำกัด อีกไม่นานก็กลายเป็นผู้ผลิตอากาศยานหลักของประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 และในช่วงปลายของสงคราม บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ฟูจิ ซังเงียว จำกัด (Fuji Sangyo Co, Ltd). ในปี1946 บริษัท ฟูจิ ซังเงียว ได้ผลิตรถสกู๊ตเตอร์ชื่อ ฟูจิแรบบิท โดยใช้ชิ้นส่วนจากอากาศยานที่บริษัทผลิตให้กับกองทัพในช่วงสงคราม. ในปี 1950 บริษัท ฟูจิ ซังเงียว ถูกแบ่งออกเป็น 12 บริษัทย่อย. ระหว่างปี1953 ถึง ปี1955, 5 ใน 12 บริษัทย่อยที่ถูกแบ่งออกจาก บริษัท ฟูจิ ซังเงียว ได้แก่ บริษัท ฟูจิโค๊ะเงียว (Fuji Kogyo) ผู้ผลิตรถสกู๊ตเตอร์, บริษัท ฟูจิจิโดฉะ (Fuji Jidosha) ผู้ผลิตรถบัส, บริษัท โอมิยะฟูจิโค๊ะเงียว (Omiya Fuji Kogyo) ผู้ผลิตเครื่องยนต์, บริษัท อุ๊ตซึโนะมิยะ ซาเรียว (Utsunomiya Sharyo) ผู้ผลิตตัวถัง และ บริษัท โตเกียว ฟูจิดังเงียว (Tokyo Fuji Dangyo) ซึ่งทำการค้าระหว่างประเทศ ได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็น บริษัท ฟูจิ เฮฟวี่ อินดัสทรี (Fuji Heavy Industries หรือ FHI).

 
ซูบารุ 1500 หรือ P-1

นาย เคนจิ คิตะ ผู้บริหารของFHI ณ ขณะนั้น มีความต้องการที่จะให้บริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่นี้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตรถยนต์ และไม่นานก็เริ่มวางแผนที่จะสร้างรถยนต์ โดยใช้รหัสในการพัฒนาคือ P-1. ในระหว่างการพัฒนา นาย คิตะ พยามที่จะเสนอให้มีการตั้งชื่อให้กับรถยนต์คันใหม่ที่พวกเขากำลังพัฒนาอยู่นั้น แต่ไม่มีชื่อไหนที่น่าสนใจมากพอที่จะยกมาใช้เลยแม้แต่ชื่อเดียว. ในท้ายที่สุดนั้นเขา ต้องการจะใช้ชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น "ซูบารุ" (スバル) เป็นชื่อที่เขาเลือกใช้, สำหรับชื่อ ซูบารุ นั้นในภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่ากระจุกดาวลูกไก่. รถยนต์คันแรกของซูบารุนั้นมีชื่อว่า ซูบารุ 1500.

 
ซูบารุ 360 ปี1958

การมีหุ้นส่วน

แก้

ในปี 1968 ภายใต้การบริหารงานของนายไอซาคุ ซาโต้ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะให้อุตสาหรกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่นนั้นร่วมมือกัน เพื่อขยายขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติ. นิสสัน จึงได้เข้าซื้อหุ้น 20.4% ของFHI โดยนิสสันหวังที่จะใช้ความเชี่ยวชาญในการผลิตรถบัสของซูบารุในการผลิตรถบัสของตัวเองในแบรนด์ นิสสันดีเซล. นอกจากนั้นเกียร์อัตโนมัติของซูบารุรุ่น 4EAT ก็ได้ถูกนำไปติดตั้งในรถยนต์ นิสสัน แพทไฟเดอร์ รุ่นแรกด้วยเช่นกัน. ซูบารุได้เปิดตัวรถยนต์หลายรุ่นที่เป็นผลผลิตระหว่างความร่วมมือของซูบารุและนิสสัน ได้แก่อาร์ทู(R-2) ในปี 1969, เรกซ์ และ เลโอเน่ ในปี 1971, แบรท ในปี 1978, อัลซีโอเน่ ในปี 1985, เลกาซี่ ในปี 1989, อิมเพรซซ่า ในปี 1993 (รวมถึงเวอร์ชัน WRX ด้วย), และท้ายสุด ฟอเรสเตอร์ ในปี 1997.

ในปี 1999 เมื่อนิสสันถูกเข้าซื้อกิจการโดย เรโนล, พวกเขาขายหุ้นใน FHI ให้กับ เจเนอรัล มอเตอร์ (General Motors หรือ GM). ภายใต้การร่วมมือครั้งใหม่ระหว่าง GM และ FHI นั้น ซูบารุได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ ได้แก่ บาฮา ในปี 2003 และ ไทรเบก้า ในปี 2005. ในประเทศอินเดียนั้น ซูบารุ ฟอเรสเตอร์ ถูกขายในชื่อ เชฟโรเลต ฟอเรสเตอร์ (เชฟโรเลต เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ในเครื่องของ GM). และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ในประเทศญี่ปุ่น โอเปิ้ล ซาฟิร่า (ในขณะนั้น โอเปิ้ล เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ในเครื่องของ GM) ก็ได้ถูกนำไปขายในชื่อ ซูบารุ ทราวิค เช่นเดียวกัน. นอกจากนี้รถยนต์ต้นแบบ เชฟโรเลต บอร์เรโก้ คอนเซปท์ (Chevrolet Borrego concept) ที่เปิดตัวในปี 2002 นั้น ยังใช้พื้นฐานมาจากแพลทฟอร์มของ ซูบารุ เลกาซี่ เทอร์โบ อีกด้วย. ในสหรัฐอเมริกา GM ยังได้นำพื้นฐานตัวถังของ ซูบารุ อิมเพรซซ่า ไปทำการดัดแปลงและขายในชื่อ ซ้าบ 9-2เอกซ์ (ในขณะนั้น ซ้าบ เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ในเครื่องของ GM ). ส่วนSUVที่มีพื้นฐานตัวถังจาก ซูบารุ ไทรเบก้า ได้มีแผนที่จะนำมาดัดแปลงและขายในชื่อ ซ้าบ 9-6เอกซ์ แต่แผนนั้นก็ต้องถูกยุติลง. ส่วนเส้นสายที่ GM ได้ออกแบบไว้นั้น ถูกนำกลับมาใช้ใหม่โดยซูบารุเอง ในรุ่นปรับโฉมของ ไทรเบก้า.

ในปี 2005 GM ได้ขายหุ้นที่ตนถือครองอยู่ใน FHI. ในเวลานั้นแทบทุกโครงการที่เป็นการร่วมมือระหว่าง ซูบารุ และ ซ้าบ ได้ถูกยุติลงเกือบทั้งหมด. คงเหลือไว้เพียงแต่ให้ ซูบารุ เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนของ ซ้าบ 9-2เอกซ์ ส่งให้กับทางGMเพียงเท่านั้น. หลังจากที่GMประกาศขายหุ้นของFHI โตโยต้าได้เข้าซื้อหุ้นของ FHI เป็นจำนวน40%ของหุ้น FHI ที่ GM ถือครองอยู่ในอดีต. โดยหุ้นที่โตโยต้าถือครองอยู่นั้นคิดเป็น 8.7% ของหุ้นทั้งหมดในFHI.

ในเดือนกรกฎาคมปี 2008 โตโยต้าได้ทำการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมจากเดิม มีส่วนแบ่ง8.7%เพิ่มขึ้นเป็น16.5%. ผลจากการที่โตโยต้าเข้าซื้อหุ้นเพิ่มในซูบารุนั้น ส่งผลให้เกิดการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ร่วมกันนั่นก็คือ ซูบารุ บีอาร์แซด และ โตโยต้า 86 รวมถึงรถยนต์ขนาดเล็กประเภท เคย์-คาร์ (Kei-car) ที่ซูบารุนำพื้นฐานตัวรถจากโตโยต้ามาปรับปรุง แล้วขายในแบรนด์ของซูบารุเอง.

ซูบารุในประเทศไทย

แก้

รถยนต์ซูบารุในประเทศไทย ปัจจุบัน ดำเนินงานภายใต้ส่วนหนึ่งของ บริษัท ตันจง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จากประเทศสิงคโปร หลังจากทางบริษัทได้รับสิทธิในการจัดจำหน่ายรถยนต์ซูบารุในภูมิภาคเอเซีย ได้แก่ ไทย , มาเลเซีย ,ฟิลิปปินส์,ไต้หวัน,ฮ่องกง,จีน ,สิงคโปร ,เวียดนาม และกัมพูชา

แรกเริ่มเดิมที ตัน จง อินเตอร์เนชั่นแนล จัดจำหน่ายรถยนต์ซูบารุในประเทศสิงคโปรเป็นหลัก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ก่อนขยายมายังสู่ตลาดเอเซียอื่นๆ โดยในประเทศไทย เข้ามาขายในช่วงปี พ.ศ. 2529 แรกเริ่มใช้ชื่อว่า มอเตอร์อิมเมจ ในฐานะบริษัทภายใต้เครือตันจง อินเตอร์เนชั่นแนล มีสำนักงานใหญ่อยู่บนถนนเสรีไทย และยังเป็นสำนักงานอยู่จวบจนทุกวันนี้

ปัจจุบันรถยนต์ที่วางจำหน่ายในประเทศไทย บางส่วนนำเข้าจากโรงงานประกอบประเทศมาเลเซีย ได้แก่ รถยนต์ Subaru XV และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ทางเครือตันจง ได้บรรลุข้อตกลงกับ ซูบารุ คอร์เปอร์เรชั่น (FHI เดิม) ในการจัดตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศไทย เป็นแห่งที่ 3 นอกประเทศญี่ปุ่นรองจากอเมริกา โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการผลิตรถยนต์ ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์โฉมใหม่ เพื่อส่งขายในประเทศไทย และกลุ่มประเทศทางเอเซีย ที่ทางตันจง ถือครองสิทธิการขายอยู่ ส่วนรถรุ่นอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ เป็นการนำเข้าโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่น

สำหรับการลงทุนในโรงงานใหม่[3]แห่งนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 5 พันล้านบาท จัดตั้งเป็นบริษัทลูกแห่งใหม่ขึ้นมา โดยทางตันจงอินเตอร์เนชั่นแนลลงทุน ทั้งสิ้น 74.9% ส่วนทางซูบารุ คอร์เปอร์เรชั่น ประเทศญี่ปุ่นลงทุนทั้งสิ้น 25.1% โดยโรงงานแห่งใหม่นี้จะเริ่มผลิตรถป้อนตลาดภายในปี พ.ศ. 2562

ล่าสุด TC Subaru ประเทศไทย เตรียมนำเข้า และ เปิดตัว All NEW Subaru WRX อย่างเป็นทางการในไทย ช่วงเดือน สิงหาคม นี้ ! คาดว่าเป็นช่วงงาน Big Motor Sales 2022 : 19-28 สิงหาคม 2565 @ BITEC ไบเทค บางนา แล้ว ยังมีการเตรียมทำตลาด All NEW WRX SPORTS WAGON อีกด้วย !

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เพจเฟสบุ๊ค Autolifethailand ได้เปิดเผยข้อมูลว่า SUBARU เตรียมปิดกิจการและโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2567 โดยจะเลิกจ้างพนักงานฝ่ายผลิตทั้งหมด และมีการจ่ายค่าชดเชยตามความเหมาะสม แต่ยังคงทำการตลาดในประเทศไทยเหมือนเดิม โดยนำเข้ารถยนต์จากโรงงานที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น [4]

รุ่นรถยนต์ซูบารุตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

แก้

1950s–1960s

แก้

รถต้นแบบ

แก้


ในวันที่ 4 ธันวาคม 2007 เห็นบทความอ้างว่า Subaru กำลังพิจารณาการสร้างรถจักรยานยนต์ที่เรียกว่าซูบารุ HS500 เครื่องยนต์สูบเดียว 50 แรงม้า (37 กิโลวัตต์) Subaru HS500 เก็บถาวร 2017-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  1. "Corporate Profile | Subaru Outline". SUBARU. สืบค้นเมื่อ 2018-03-18.
  2. "Corporate Information | Overview". Fuji Heavy Industries Ltd. 2015-03-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-23. สืบค้นเมื่อ 2016-02-16.
  3. https://www.ridebuster.com/subaru-invest-new-factory-in-thailand/
  4. ซูบารุ ค่ายรถดังญี่ปุ่น เตรียมปิดโรงงานในไทย เลิกจ้างพนักงานทั้งหมด 30 ธ.ค.นี้

[1]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0