ประเทศโรมาเนีย
โรมาเนีย (อังกฤษ: Romania; โรมาเนีย: România, IPA: [ro.mɨˈni.a]) แต่ก่อนเรียกว่า รูมาเนีย (อังกฤษ: Rumania หรือ Roumania) เป็นประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศยูเครนและประเทศมอลโดวา ทิศตะวันตกจดประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย ทิศใต้จดประเทศบัลแกเรีย โรมาเนียมีชายฝั่งบนทะเลดำด้วย
โรมาเนีย România (โรมาเนีย) | |
---|---|
คำขวัญ: ไม่มี | |
![]() | |
เมืองหลวง และ ใหญ่สุด | ![]() |
ภาษาราชการ | ภาษาโรมาเนีย1 |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี |
เกลาส์ โยฮานิส | |
วีออรีกา เดินชีเลอ | |
เอกราช | |
• ประกาศ | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 24202 |
• เป็นที่ยอมรับ | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 24213 |
พื้นที่ | |
• รวม | 238,391 ตารางกิโลเมตร (92,043 ตารางไมล์) (81) |
3% | |
ประชากร | |
• ก.ค. 2549 ประมาณ | 22,303,552 (54) |
• สำมะโนประชากร 2553 | 21,462,186 |
93.7 ต่อตารางกิโลเมตร (242.7 ต่อตารางไมล์) (79) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 474.032 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 23,990 |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 204.943 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 10,372 |
จีนี (2556) | 27.5[1] ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง |
HDI (2559) | ![]() ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 50th |
สกุลเงิน | เลอู (RON) |
เขตเวลา | UTC+2 (EET) |
• ฤดูร้อน (DST) | UTC+3 (EEST) |
รหัสโทรศัพท์ | 40 |
โดเมนบนสุด | .ro |
1ภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาฮังการี ภาษาโรมานี ภาษายูเครน และภาษาเซอร์เบีย เป็นภาษาทางการร่วมในระดับท้องถิ่นหลายแห่ง 3สนธิสัญญาเบอร์ลิน |
ภูมิศาสตร์แก้ไข
โรมาเนียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดใน ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีเทือกเขาทรานซิลเวเนียแอลป์อยู่ทางตอนกลางของประเทศ และมีเทือกเขาคาร์เปเธียนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีที่ราบทางตอนใต้ของเทือกเขาทรานซิลเวเนียแอลป์เป็นที่ทางการเกษตรเรียกว่า วอลลาเชีย
โรมาเนียจัดเป็นประเทศที่ยังมีความหลากหลายทางธรรมชาติอยู่มาก โดยทางเมืองแถบทรานซิลเวเนียแอลป์ยังมีสัตว์ป่า เช่น หมีสีน้ำตาล หมาป่าสีเทา แมวป่าบางชนิด และละมั่งอยู่ในปริมาณที่เยอะมากกว่าประเทศอื่นๆในแถบยุโรป ซึ่งลดจำนวนลงเรื่อยๆ
ประวัติศาสตร์แก้ไข
ยุคก่อนประวัติศาสาตร์แก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคกลางแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดินแดนโรมาเนียส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เมื่อในอดีตอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน ต่อมา ได้ประกาศเอกราช และ สถาปนาเป็นราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2421 ภายใต้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
โรมาเนียในสงครามโลกแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนโรมาเนียถูกกองทัพไรช์ที่สาม เวร์มัคท์เข้ายึดครอง
ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์แก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กองทัพโซเวียตได้ปลดปล่อยและมีอำนาจเหนือโรมาเนียแทนเมื่อสิ้นสุดสงคราม มีการโค่นล้มระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ในปี 2490
ร่วมสมัยใหม่แก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในเดือนธันวาคม 2532 ประชาชนได้ก่อการปฏิวัติล้มล้างการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2534 เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐใหม่เป็นรัฐประชาธิปไตยและสวัสดิการสังคม (Democratic and Social State) มีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเป็นประมุข ภายหลังจากการปกครองแบบระบบคอมมิวนิสต์ของโรมาเนียถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติ
การเมืองการปกครองแก้ไข
บริหารแก้ไข
นิติบัญญัติแก้ไข
ตุลาการแก้ไข
การบังคับใช้กฎหมายแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถานการณ์สำคัญแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เดิมรัฐบาลโรมาเนียเป็นรัฐบาลผสมระหว่างพรรค National Liberal Party (NLP) พรรค Democratic Party (DP) และพรรค Hungarian Democratic Union of Romania (HDUR) อย่างไรก็ดี ในระยะหลัง 2 พรรคใหญ่ คือ พรรค NLP (ของนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu) และพรรค DP (ของประธานาธิบดี Basescu) เริ่มไม่ลงรอยกัน อันมีสาเหตุมาจากการที่ประธานาธิบดี Basescu ประกาศจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2551 การประกาศตนเป็นคู่แข่งดังกล่าว ทำให้ประธานาธิบดี Basescu และนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu เริ่มมีความขัดแย้งมากขึ้น
รัฐบาลชุดปัจจุบันของนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆ ดังนี้ การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของโรมาเนีย การแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง การปฏิรูประบบศาลให้มีอิสระอย่างแท้จริง การเพิ่มสิทธิเสรีภาพแก่สื่อมวลชน การเสริมสร้างบรรยากาศ การแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ การพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีและพหุภาคี การส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้านพรมแดนกับยูเครน รวมทั้งการส่งเสริมความสัมพันธ์กับมอลโดวา
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 นาย Mihai Razvan Ungureanu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดนาย Basescu ประธานาธิบดี ได้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมิได้รายงานให้นาย Popescu-Tariceanu นายกรัฐมนตรี ทราบถึงกรณีคนงานชาวโรมาเนีย 2 รายถูกจับกุม เนื่องจากถ่ายภาพในฐานทัพของสหรัฐฯ ในอิรักโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งสื่อต่างประเทศวิเคราะห์ว่า การลาออกของ นาย Ungureanu เป็นการตอกย้ำความไม่ลงรอยกันระหว่างประธานาธิบดี Basescu กับนายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu และเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่โรมาเนียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป รัฐบาลโรมาเนียก็ประสบวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวหาประธานาธิบดีว่ามีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการสร้างสาธารณูปโภค นอกจากนี้การลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และการที่ประธานาธิบดีกล่าวหานายกรัฐมนตรีว่าโกหกในเรื่องการผลักดัน การลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ทำให้คาดการณ์ว่า หากรัฐบาลสามารถคงอยู่ต่อไป ก็จะเป็นรัฐบาลไร้เสถียรภาพ หรือหากมีความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปเร็วขึ้นกว่ากำหนด
การที่หัวหน้าพรรคใหญ่ที่ทรงอิทธิพล 2 พรรค ได้แก่ พรรค PNL ของนายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu และพรรค PD ของประธานาธิบดี Basescu มีความขัดแย้งกันเช่นนี้ นำไปสู่การที่นายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu ประกาศปรับคณะรัฐมนตรีใหม่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 โดยการถอดพรรค PD ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้มีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีซึ่งมาจากพรรค PD ออก 8 ตำแหน่ง ส่งผลให้พรรคร่วมรัฐบาลใหม่ประกอบด้วยพรรค PNL และพรรค Democratic Union of Hungarians in Romania (UDMR) แทน โดยคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้รับการรับรองจากรัฐสภาโรมาเนียแล้วเมื่อ วันที่ 3 เมษายน 2550
การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีชุดนี้มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการรวมตัวของยุโรป กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญของ โรมาเนีย และแม้ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย (ร้อยละ 26) แต่ก็ได้รับการรับรองจากรัฐสภาซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มาจากพรรค PNL คู่ปรับ เนื่องจากสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้น (ตามรัฐธรรมนูญโรมาเนีย หากรัฐสภาปฏิเสธที่จะให้การรับรองรายชื่อคณะรัฐมนตรี 2 ครั้ง ประธานาธิบดีสามารถยุบสภาได้)
ความตึงเครียดทางความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนการถอดพรรค PD ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ส่งผลให้เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2550 รัฐสภาโรมาเนียได้มีมติถอดถอนประธานาธิบดี Basescu ด้วยคะแนนเสียง 322 ต่อ 108 ด้วย 19 ข้อหา อาทิ ประธานาธิบดี Basescu พยายามเข้าครอบงำหน่วยงานรัฐ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานด้านความมั่นคง และวิพากษ์วิจารณ์ศาล ซึ่งมีผลให้ประธานาธิบดี Basescu ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จนกว่าจะมีการลงประชามติว่าประชาชนเห็นชอบกับการถอดถอนดังกล่าวหรือไม่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550 ซึ่งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิลงประชามติประมาณ 5.8 ล้านคน (หรือประมาณร้อยละ 44 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด) และปรากฏว่า มีผู้ลงมติสนับสนุนประธานาธิบดี (คัดค้านมติของรัฐสภา) ถึงประมาณร้อยละ 75 และมีผู้ลงมติไม่สนับสนุนประธานาธิบดีประมาณร้อยละ 25 ซึ่งผลการลงประชามติในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของประธานาธิบดี Basescu ที่มีต่อรัฐสภาและรัฐบาล และแสดงให้เห็นถึงความนิยมของประชาชนที่มีต่อประธานาธิบดี Basescu พร้อมกันนี้ นาย Jose Manuel Barosso ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้กล่าวแสดงความหวังว่า ผลการลงประชามติดังกล่าว จะมีส่วนสนับสนุนให้โรมาเนียดำเนินการปฏิรูปสังคมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการยุติธรรม ต่อไป
สิทธิมนุษยชนแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแบ่งเขตการปกครองแก้ไข
โรมาเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 40 จังหวัด (judet หรือ County ในภาษาอังกฤษ) กับ 1 เมืองหลวง (municipui หรือ municipalityในภาษาอังกฤษ) และเขตการเกษตร ซึ่งอยู่รอบชานเมืองหลวง ชื่อว่า Ilfov หรือ Agricultural Sector มี 260 เมือง ซึ่งมี 57 เทศบาลเมือง การจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปตามหลักแห่งการปกครองตนเอง และการกระจายอำนาจการบริการสาธารณะ (Public Services)
ประเทศโรมาเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 41 เทศมณฑล (counties) กับ 1 เทศบาลนคร (municipality) ได้แก่
นโยบายต่างประเทศแก้ไข
กับสหภาพยุโรปแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กับราชอาณาจักรไทยแก้ไข
โรมาเนีย |
ไทย |
- การทูต
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- เศรษฐกิจ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- ความร่วมมือทางวิชาการ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- การเยือน
- ฝ่ายไทย
- ฝ่ายโรมาเนีย
กองทัพแก้ไข
กองกำลังกึ่งทหารแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เศรษฐกิจแก้ไข
โครงสร้างเศรษฐกิจแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โรมาเนียประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยกว่า 3 ปี ก่อนที่จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ในปี 2543[ต้องการอ้างอิง]จากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของตลาดสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา โรมาเนียประสบปัญหาหลัก 4 ประการ คือ[ต้องการอ้างอิง] (1) การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้สินทั้งของภาครัฐและเอกชน (2) ปัญหาค่าเงินเลตกต่ำ (3) ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และ (4) ปัญหาระบบธนาคาร ซึ่งรัฐบาลโรมาเนียได้พยายามดำเนินมาตรการจำเป็นต่างๆ เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ และระบบราชการ รวมทั้งแก้ปัญหาการขาดความชัดเจนด้านกฎหมาย ปัญหาด้านศุลกากร และปัญหาคอรัปชั่น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการระดมทุนจากต่างประเทศ
ในปี 2545 เศรษฐกิจของโรมาเนียเริ่มมีสภาวะดีขึ้น โดยภาคธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาได้แก่ อุตสาหกรรมก่อสร้าง การสร้างทางรถไฟและท่าเรือ และโครงการด้านการพลังงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังมีภาคธุรกิจอื่นๆ ที่มีแนวโน้มในศักยภาพ อาทิ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ ประกันภัย การท่องเที่ยว เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ อุตสาหกรรมอาหาร ในการปฏิรูประบบโครงสร้าง รัฐบาลมีโครงการจำหน่ายรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ อาทิ ธนาคาร Banca Coerciala Romana (BCR) ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ[ต้องการอ้างอิง] และบริษัทน้ำมันแห่งชาติ PETROM และยังมีโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน เหมืองแร่ และอาวุธ รัฐบาลโรมาเนียจึงต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ มาชำระหนี้สิน โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้อนุมัติเงินกู้ระยะ 2 ปี จำนวน 367 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่โรมาเนีย[ต้องการอ้างอิง]โรมาเนียได้ดำเนินการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ เพื่อให้พร้อมในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้โรมาเนียได้รับเงินช่วยเหลือทางการเกษตรหลายร้อยล้านยูโร ความช่วยเหลือในการพัฒนาระบบขนส่งและสาธารณูปโภค รวมทั้ง เงินลงทุนจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากค่างจ้างแรงงานและค่าใช้จ่ายซึ่งถูกกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป
แหล่งท่องเที่ยวแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โครงสร้างพื้นฐานแก้ไข
คมนาคม และ โทรคมนาคมแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษาแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาธารณสุขแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากรศาสตร์แก้ไข
เชื้อชาติแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากร 22.3 ล้านคน (กรกฎาคม 2549) ประกอบด้วย โรมาเนีย (ร้อยละ 89.5) ฮังการี (ร้อยละ 6.6) ชาวโรมานี (ร้อยละ 2.5) เยอรมัน (ร้อยละ 0.3) ยูเครน (ร้อยละ 0.3)
ศาสนาแก้ไข
ประเทศโรมาเนียไม่มีศาสนาประจำชาติ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ โดย 81.0% ของผู้ที่ตอบสำมะโนประชากรของประเทศในปี ค.ศ. 2011 ถือนิกายออร์ทอดอกซ์ ซึ่งจัดอยู่ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์แห่งโรมาเนีย อีก 6.2% เป็นโปรเตสแตนต์ 4.3% เป็นโรมันคาทอลิก และ 0.8% เป็นออร์ทอดอกซ์แบบกรีก จากประชากรที่เหลือ 195,569 คน นับถือศาสนาคริสต์นิกายอื่น หรือนับถือศาสนาอื่น โดย 64,337 คนนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งโดยมากเป็นชาวโรมาเซียเชื้อสายเติร์กและตาร์ตาร์ ส่วนอีก 3,519 คนเป็นชาวยิว นอกจากนี้ ประชากรจำนวน 39,660 คน ไม่นับถือศาสนาใดเลย หรือถืออเทวนิยม ในขณะที่ที่เหลือไม่มีข้อมูลว่านับถืออะไร[2]
ภาษาแก้ไข
ภาษาทางการของโรมาเนียคือภาษาโรมาเนีย ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ตัวอักษรละติน จัดอยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ บางส่วนของประเทศมีการใช้ภาษาโรมาเนียควบคู่ไปกับภาษาฮังการี ในขณะที่บางแห่งของประเทศยังมีการพูดภาษาเยอรมันเล็กน้อย
โดยทั่วไป ชาวโรมาเนียหลายคนพูดภาษาอังกฤษและหรือภาษาฝรั่งเศสได้ดีพอใช้ ซึ่ง ทั้งสองภาษานั้น โดยเฉพาะภาษาอังกฤษจะใช้บ่อยในวงการธุรกิจ
กีฬาแก้ไข
ฟุตบอลแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
มวยสากลแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรมแก้ไข
สถาปัตยกรรมแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรณกรรมแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาหารแก้ไข
อาหารโรมาเนีย ประกอบด้วยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกลุ่มชนต่าง ๆ โดยอิทธิพลที่ได้รับส่วนใหญ่มาจากอาหารออตโตมัน ในขณะที่ยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจากประเทศยุโรปอื่น คือ อาหารเยอรมัน อาหารเซอร์เบีย อาหารบัลแกเรีย และอาหารฮังการี ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ ทำให้อาหารโรมาเนียมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
สื่อสารมวลชนแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วันหยุดแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Romania". World Bank.
- ↑ "2011 census results by religion" (xls). www.recensamantromania.ro, website of the Romanian Institute of Statistics. สืบค้นเมื่อ 2015-05-05.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศโรมาเนีย ได้โดยค้นหาจาก โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย : | |
---|---|
หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม | |
หนังสือ จากวิกิตำรา | |
คำคม จากวิกิคำคม | |
ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ | |
ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์ | |
เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว | |
แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย |
- รัฐบาล
- การศึกษา
- ด้านการท่องเที่ยว
- ประเทศโรมาเนีย ข้อมูลการท่องเที่ยวจาก วิกิท่องเที่ยว