ภาษาตาตาร์ไครเมีย
ภาษาตาตาร์ ไครเมีย หรือภาษาไครเมีย ภาษาตุรกีไครเมีย เป็นภาษาของชาวตาตาร์ไครเมีย ใช้พูดในไครเมีย เอเชียกลาง โดยเฉพาะในอุซเบกิสถาน และผู้อพยพชาวตาตาร์ ไครเมียในตุรกี โรมาเนีย บัลแกเรีย เป็นคนละภาษากับภาษากวาซัน ตาตาร์
ภาษาตาตาร์ไครเมีย | |
---|---|
Qırımtatar tili | |
ประเทศที่มีการพูด | ไครเมีย (ยูเครน)![]() ![]() ![]() ![]() |
ภูมิภาค | ทะเลดำ |
จำนวนผู้พูด | ราว 300,000 คน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | crh |
ISO 639-3 | crh |
![]() |
ประวัติแก้ไข
ภาษานี้เกิดขึ้นในยุคที่ตุรกีแผ่อำนาจเข้าไปในแหลมไครเมียและเป็นการสิ้นสุดอำนาจของไครเมียข่าน ภาษาเขียนหลักในยุคไครเมีย ข่านคือภาษาชะกะไตและภาษาตุรกีแบบออตโตมัน เมื่อเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ภาษาตาตาร์ ไครเมีย เขียนด้วยอักษรอาหรับแบบเปอร์เซีย พ.ศ. 2319 มีการจัดมาตรฐานภาษาเขียนของภาษาตาตาร์ ไครเมียแต่ละสำเนียงให้เป็นแบบเดียวกันโดย Ismail Gaspirali
ใน พ.ศ. 2471 เปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรละตินแบบภาษาตุรกี และเปลี่ยนเป็นอักษรซีริลลิก ในอีกสิบปีต่อมา เริ่มหันมาใช้อักษรละตินอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2533 แต่ยังคงมีการใช้อักษรซีริลลิกอยู่ ภาษานี้เคยเป็นภาษาราชการในสาธารณรัฐปกครองตนเองโซเวียตไครเมีย
จำนวนผู้พูดแก้ไข
มีผู้พูดมากกว่า 260,000 คนในไครเมีย และราว 150,000 คนในลี้ภัยในเอเชียกลาง โดยเฉพาะในอุซเบกิสถาน 5 ล้านคนในตุรกี และในโรมาเนียอีก 24,000 คน บัลแกเรีย 3,000 คน และมีในประเทศอื่นๆอีก
สำเนียงแก้ไข
มีสามสำเนียงคือ โนคายส์ (ต่างจากภาษาโนไก) กำเนิดจากภาษาเคียปชัก สำเนียงโอคุซซึ่งใกล้เคียงกับภาษาตุรกี และสำเนียงตัตส์ซึ่งมีลักษณะผสมระหว่างสำเนียงทั้งสอง สำเนียงเหล่านี้พัฒนามาจากภาษาคูมันโดยตรง แต่ได้รับอิทธิพลจากภาษาตุรกีแบบโอคุซ การเขียนในปัจจุบันยึดตามสำเนียงตัตส์ โดยผู้พูดสำเนียงนี้มี 55% ของผู้พูดภาษาตาตาร์ ไครเมีย ทั้งหมด