กลุ่มภาษาโรมานซ์
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
กลุ่มภาษาโรมานซ์ เป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่ประกอบไปด้วยภาษาที่วิวัฒนาการมาจากภาษาละติน ภาษากลุ่มโรมานซ์มีผู้พูดเป็นภาษาแม่รวมกันประมาณ 800 ล้านคน โดยภาษาที่มีผู้พูดเป็นมากที่สุดห้าอันดับแรกได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี และภาษาโรมาเนีย กลุ่มภาษาโรมานซ์จัดว่าเป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มภาษาอิตาลิก
กลุ่มภาษาโรมานซ์ | |
---|---|
กลุ่มเชื้อชาติ: | ชาวโรมานซ์ |
ภูมิภาค: | มีต้นกำเนิดในยุโรปใต้, ตะวันตก และตะวันออกเฉียงใต้; ปัจจุบันพูดทั้งทวีปอเมริกา, ส่วนมากในทวีปแอฟริกา และบางส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | อินโด-ยูโรเปียน
|
กลุ่มย่อย: | |
ISO 639-2 / 5: | roa |
เครือข่ายการวิจัยลิงกัวสเฟียร์: | 51- (phylozone) |
กลอตโตลอก: | roma1334[1] |
โดยกลุ่มภาษาโรมานซ์สามารถแยกย่อยลงไปเป็นกลุ่มที่เล็กลงไปได้อีก
• กลุ่มภาษาโรมานซ์ไอบีเรีย ได้แก่ ภาษาโปรตุเกส ภาษากาลิเซีย ภาษามีรังดา ภาษาอัสตูเรีย ภาษาเลออน ภาษาสเปน ภาษาอารากอน ภาษาลาดิโน
• กลุ่มภาษาโรมานซ์อุตซิตา ได้แก่ ภาษากาตาลา ภาษาอุตซิตา ภาษากัสกอญ
• กลุ่มภาษาโรมานซ์กอล ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอาร์เปอตัง
• กลุ่มภาษาโรมานซ์ไรติอา ได้แก่ ภาษารูมันช์ ภาษาลาดิน ภาษาฟรียูลี
• กลุ่มภาษาแกลโล-อิตาลิก ได้แก่ ภาษาปีเยมอนเต ภาษาลีกูเรีย ภาษาลอมบาร์ด ภาษาเอมีเลีย-โรมัญญา
• กลุ่มภาษาซาร์ดิเนีย
• กลุ่มภาษาโรมานซ์ตะวันออก ได้แก่ ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิสเตรีย-โรมาเนีย ภาษาอาโรมาเนียน ภาษาโมเกลนา-โรมาเนีย
https://www.ethnologue.com/subgroups/romance- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Romance". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.