ภาษาอารากอน (อารากอน: aragonés) เป็นภาษาโรมานซ์ที่พูดกันเป็นหลักในหมู่ผู้คนประมาณ 10,000–12,000 คน (พ.ศ. 2560) ในหุบเขาหลายแห่งของเทือกเขาพิรินีในแคว้นอารากอน ประเทศสเปน ส่วนใหญ่อยู่ในเทศมณฑลโซมอนตาโนเดบาร์บัสโตร, ลาฆาเซตาเนีย, อัลโตกาเยโก, โซบราร์เบ และริบากอร์ซา[1][2] ภาษานี้เป็นภาษาสมัยใหม่เพียงภาษาเดียวจากภาษานาวาร์-อารากอนสมัยกลางที่ยังอยู่รอดในรูปแบบที่ต่างจากภาษาสเปนอย่างชัดเจน

ภาษาอารากอน
aragonés
ออกเสียง[aɾaɣoˈnes]
ประเทศที่มีการพูดสเปน
ภูมิภาคแคว้นอารากอน (ตอนเหนือและตอนกลางของจังหวัดอูเอสกาและตอนเหนือของจังหวัดซาราโกซา)
ชาติพันธุ์ชาวอารากอน
จำนวนผู้พูด10,000–12,000 คน (ผู้พูดเชิงส่งสาร)
30,000–50,000 คน (รวมผู้พูดเชิงรับสาร)[1]  (2560)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาอารากอนเก่า
  • ภาษาอารากอน
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรอารากอน)
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบบัณฑิตยสถานภาษาอารากอน
รหัสภาษา
ISO 639-1an
ISO 639-2arg
ISO 639-3arg
Linguasphere51-AAA-d
แผนที่แคว้นอารากอนแสดงภาษาถิ่นต่าง ๆ ทางตอนเหนือของแคว้นด้วยสีเทา ฟ้า และส้ม

แต่เดิมผู้คนเรียกภาษานี้ว่า ฟาบลา (แปลว่า "คำพูด" หรือ "การพูด") ผู้พูดภาษาอารากอนเป็นภาษาแม่มักเรียกชื่อภาษานี้ตามชื่อภาษาอารากอนถิ่นของตน เช่น เชโซ (จากบาเยเดเอโช) หรือ ปาตูเอส (จากหุบเขาเบนัสเก)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Perez, R. (2017-02-21). "El aragonés: la lengua romance que ya solo hablan el 1% de los aragoneses" [Aragonese: the Romance language that only 1% of Aragonese already speak]. ABC (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
  2. [1] Report about Census of population 2011 of Aragonese Sociolinguistics Seminar and University of Zaragoza