ภาษากาตาลา
ภาษากาตาลา (กาตาลา: català) ซึ่งในแคว้นบาเลนเซียและเขตเอลการ์เชเรียกว่า ภาษาบาเลนเซีย (บาเลนเซีย: valencià) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ตะวันตกซึ่งแผลงมาจากภาษาละตินสามัญ เป็นภาษาราชการของประเทศอันดอร์รา[4] และเป็นภาษาราชการร่วมของแคว้นปกครองตนเองสามแคว้นทางภาคตะวันออกของประเทศสเปน ได้แก่ กาตาลุญญา บาเลนเซีย และหมู่เกาะแบลีแอริก นอกจากนี้ยังมีสถานะกึ่งทางการในเทศบาลอัลเกโรของประเทศอิตาลี[5] นอกจากนี้ยังมีผู้พูดในจังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาลของประเทศฝรั่งเศสและในพื้นที่อีกสองแห่งทางภาคตะวันออกของประเทศสเปน ได้แก่ แถบตะวันออกของแคว้นอารากอนและเขตเอลการ์เชในแคว้นภูมิภาคมูร์เซีย มักเรียกดินแดนที่พูดภาษากาตาลา/บาเลนเซียรวมกันว่า "ประเทศกาตาลา" (Països Catalans)
ภาษากาตาลา/ภาษาบาเลนเซีย | |
---|---|
català/valencià | |
ออกเสียง | [kətəˈla]/[valensiˈa] |
ประเทศที่มีการพูด | สเปน, อันดอร์รา, ฝรั่งเศส, อิตาลี |
ชาติพันธุ์ | ชาวกาตาลา, ชาวบาเลนเซีย, ชาวแบลีแอริก, ชาวอารากอน |
จำนวนผู้พูด | 4.1 ล้านคน[1] (2555) จำนวนผู้พูดทั้งหมด: มากกว่า 10 ล้านคน (ภาษาที่หนึ่งบวกภาษาที่สอง; 2561)[2] |
ตระกูลภาษา | อินโด-ยูโรเปียน
|
รูปแบบก่อนหน้า | ภาษากาตาลาเก่า
|
รูปแบบมาตรฐาน | ภาษากาตาลา (จัดประมวลโดยสถาบันการศึกษากาตาลา)
ภาษาบาเลนเซีย (จัดประมวลโดยบัณฑิตยสถานภาษาบาเลนเซีย)
|
ระบบการเขียน | อักษรละติน (ชุดตัวอักษรกาตาลา) อักษรเบรลล์กาตาลา |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ |
|
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน |
|
ผู้วางระเบียบ | • สถาบันการศึกษากาตาลา • บัณฑิตยสถานภาษาแห่งบาเลนเซีย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | ca |
ISO 639-2 | cat |
ISO 639-3 | cat |
Linguasphere | 51-AAA-e |
ดินแดนที่มีการพูดและใช้ภาษากาตาลา/บาเลนเซียเป็นภาษาทางการ ดินแดนที่มีการพูดภาษากาตาลา/บาเลนเซีย แต่ไม่มีการใช้เป็นภาษาทางการ ดินแดนซึ่งในอดีตไม่มีการพูดภาษากาตาลา/บาเลนเซีย แต่ปัจจุบันมีการใช้เป็นภาษาทางการ | |
ภาษากาตาลามีวิวัฒนาการมาจากภาษาละตินสามัญรอบเทือกเขาพิรินีตะวันออกในสมัยกลาง ในสเปนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปรากฏขบวนการฟื้นฟูวรรณกรรมกาตาลา[6][7] ซึ่งเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 ปัจจุบันหน่วยงานที่มีหน้าที่วางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษากาตาลาคือ สถาบันการศึกษากาตาลา (Institut d'Estudis Catalans) ส่วนหน่วยงานที่มีหน้าที่วางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาบาเลนเซียคือ บัณฑิตยสถานภาษาแห่งบาเลนเซีย (Acadèmia Valenciana de la Llengua)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ภาษากาตาลา". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 14 November 2017.
- ↑ "InformeCAT 50 dades sobre la llengua catalana" (PDF) (ภาษาคาตาลัน). 7 June 2018. รายงานเกี่ยวกับภาษากาตาลาโดยองค์การฐานช่องทางเพื่อภาษา (Plataforma per la Llengua) จากการสำรวจทางภาษาศาสตร์สังคมล่าสุด
- ↑ 3.0 3.1 นักวิชาการไอบีเรียบางคนจัดภาษากาตาลา/บาเลนเซียเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ไอบีเรีย/ไอบีเรียตะวันออก
- ↑ Wheeler 2010, p. 191.
- ↑ Minder, Raphael (21 November 2016). "Italy's Last Bastion of Catalan Language Struggles to Keep It Alive". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 21 January 2017.
- ↑ Wheeler 2010, p. 190–191.
- ↑ Costa Carreras & Yates 2009, pp. 6–7.
บรรณานุกรม
แก้- Costa Carreras, Joan; Yates, Alan (2009). The Architect of Modern Catalan: Selected Writings/Pompeu Fabra (1868–1948). Instutut d'Estudis Catalans & Universitat Pompeu Fabra & Jonh Benjamins B.V. pp. 6–7. ISBN 978-90-272-3264-9.
- Wheeler, Max (2010). "Catalan". Concise Encyclopedia of Languages of the World. Oxford: Elsevier. pp. 188–192. ISBN 978-0-08-087774-7.