อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

คริสตจักร

คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[1] (อังกฤษ: Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย

ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก

ชาวออร์ทอดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์ทอดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระอัครบิดร[2] หรือ พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักรออร์ทอด็อกซ์ และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์

คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ

คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

ประวัติ แก้

คริสตจักรออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าคริสตจักรของพวกเขาถูกก่อตั้งโดยอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ซึ่งมี 5 คริสตจักรตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก มีดังนี้

  1. คริสตจักรแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิล ก่อตั้งโดยนักบุญแอนดรูว์
  2. คริสตจักรแห่งอเล็กซานเดรีย ก่อตั้งโดยนักบุญมาระโก
  3. คริสตจักรแห่งอันติออก ก่อตั้งโดยนักบุญเปาโล
  4. คริสตจักรแห่งกรุงเยรูซาเล็ม ก่อตั้งโดยนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบ และ
  5. คริสตจักรแห่งโรม ก่อตั้งโดยนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล

ต่อมาคริสตจักรเหล่านี้เผยแพร่ศาสนาออกไปและก่อตั้งคริสตจักรจักรย่อยต่าง ๆ ขึ้นมา ได้แก่ คริสตจักรแห่งซีนาย คริสตจักรแห่งรัสเซีย คริสตจักรกรีซ คริสตจักรเซอร์เบีย คริสตจักรบัลกาเรีย คริสตจักรโรมาเนีย เป็นต้น โดยคริสตจักรทั้งหมดนี้จะมีหลักธรรมคำสอนที่เป็นหนึ่งเดียวกัน แต่จะอำนาจปกครองเป็นอิสระต่อกัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1054 คริสตจักรแห่งกรุงโรมและคริสตจักรอีก 4 แห่งที่เหลือได้แยกจากกัน คริสตจักรที่เหลืออื่น ๆ นอกจากโรม จะเรียกคริสตจักรตนเองว่า ออร์ทอดอกซ์ ซึ่งจะมีความเชื่อ ความศรัทธา ในหลักธรรมคำสอนเพียงหนึ่งเดียวและพิธีกรรมต่าง ๆ อย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามความเชื่อของพวกเขา[3]

คริสตจักรในสังกัด แก้

นิกายออร์ทอดอกซ์ในปัจจุบันนี้ประกอบด้วย 14 ผู้นำคริสตจักรของแต่ละคริสตจักรทั่วโลก[4] ที่ปกครองตนเองที่เป็นอิสระของแต่ประเทศ ซึ่งมีหลักคำสอนและจุดประสงค์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน อัครบิดรของศาสนจักรออร์ทอดอกซ์แต่ละประเทศนั้น สามารถตัดสินใจที่จะกระทำการในพิธีกรรมต่าง ๆ ได้ แต่จะไม่สามารถที่จะเปลี่ยนหลักคำสอนของนิกายออร์ทอดอกซ์ทั้งสิ้นที่มีมาแต่ดั้งเดิม เนื่องด้วยแต่ละประมุขของนิกายออร์ทอดอกซ์ของแต่ละประเทศนั้นอยู่ในวัตถุประสงค์เดียวกัน คือรักษาหลักคำสอนของนิกายออร์ทอดอกซ์ ซึ่งต้องปฏิบัติตามเหมือนกันอย่างเคร่งครัด[5]

  1. เขตอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล (ประเทศตุรกี)
  2. เขตอัครบิดรแห่งแอนติออกและตะวันออกทั้งมวล
  3. เขตอัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรีย (ประเทศอียิปต์)
  4. เขตอัครบิดรแห่งเยรูซาเลม (ประเทศอิสราเอล)
  5. เขตอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสเซียทั้งมวล (ประเทศรัสเซีย)
  6. เขตอัครบิดรแห่งเซอร์เบีย (ประเทศเซอร์เบีย)
  7. เขตอัครบิดรแห่งโรมาเนีย (ประเทศโรมาเนีย)
  8. เขตอัครบิดรแห่งบัลแกเรีย (ประเทศบัลแกเรีย)
  9. เขตอัครบิดรแห่งจอร์เจีย (ประเทศจอร์เจีย)
  10. คริสตจักรแห่งไซปรัส (ประเทศไซปรัส)
  11. คริสตจักรแห่งกรีซ (ประเทศกรีซ)
  12. คริสตจักรพอลิชออร์ทอดอกซ์ (ประเทศโปแลนด์)
  13. คริสตจักรเช็กและสโลวักออร์ทอดอกซ์ (ประเทศสาธารณรัฐเช็ก)
  14. คริสตจักรออร์ทอดอกซ์ในอเมริกา (ประเทศสหรัฐอเมริกา)

วันสำคัญ แก้

นิกายออร์ทอดอกซ์ มีเทศกาลและวันสำคัญต่าง ๆ อีกหลายวันตามปฏิทินจูเลียน ดังนี้

  • 7 มกราคม - วันฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส)
  • 19 มกราคม - วันสมโภชพระเยซูเจ้าเข้ารับพิธีล้าง และ สมโภชพระเยซูคริสต์แสดงองค์
  • 15 กุมภาพันธ์ - วันสมโภชพระเยซูเจ้าเข้าสุหนัต
  • วันสมโภชพระเยซูคริสต์เจ้า เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม (วันอาทิตย์แห่งใบปาล์ม)
  • เทศกาลอีสเตอร์ ซึ่งเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองวันอาทิตย์แรกของสุริยะคติ จันทรคติแรกแห่งฤดูใบไม้ผลิ จากระหว่างวันที่ 4 เมษายน จนถึง วันที่ 8 พฤษภาคม ของแต่ละปี
  • 7 เมษายน - วันฉลองพระนางมารีย์รับสาร (คือการแจ้งข่าวประเสริฐของทูตสวรรค์ต่อพระนางมารีย์พรหมจารีย์ เกี่ยวกับการเสด็จมาจุติสมภพของพระเยซูคริสต์พระบุตรแห่งพระเจ้าในพระครรภ์ของพระนาง)
  • เทศกาลฉลองวันพระจิตเจ้า และ วันแห่งพระตรีเอกภาพ (สิบวันหลังจากการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซูคริสต์เจ้า) ในวันที่ห้าสิบหลังวันอีสเตอร์
  • 19 สิงหาคม - วันสมโภชพระเยซูเจ้าจำแลงพระวรกาย
  • 28 สิงหาคม - วันสมโภชแม่พระบรรทม (วันสิ้นพระชนม์ของพระนางมารีย์)
  • 21 กันยายน - วันสมโภชแม่พระบังเกิด (วันประสูติของพระนางมารีย์)
  • 27 กันยายน - วันสมโภชพระกางเขน
  • 4 ธันวาคม - วันสมโภชพระนางมารีย์เข้าสู่พระวิหาร

แผนภาพ แก้

(ไม่ได้แสดงนิกายที่มิใช่ไนซีน, ไม่ถือตรีเอกานุภาพ, และนิกายฟื้นฟูบางนิกาย)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 66
  2. "ข่าวและกิจกรรม". มูลนิธิคริสต์สาสนิกชนดั้งเดิมออร์โธดอกซ์ในประเทศไทย. 15 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ประวัติความเป็นมา". Holy Trinity Church in Phuket. 15 ตุลาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-09. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Ecumenical Patriarchate". สืบค้นเมื่อ 5 March 2015.
  5. http://www.orthodox.or.th/index.php?content=orthodox_world&lang=th