เทววิทยา

การศึกษาธรรมชาติของเทพและความเชื่อทางศาสนา

เทววิทยา[1] (อังกฤษ: theology) ในความหมายอย่างแคบคือวิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ความหมายอย่างกว้างคือการศึกษาเรื่องศาสนา อิทธิพลของศาสนา ธรรมชาติของความจริงทางศาสนา อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล หรือหมายถึงวิชาชีพที่มาจากการฝึกฝนเรียนรู้ทางด้านศาสนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สำนักเทวศาสตร์ หรือเซมินารี[2]

เทววิทยากับศาสนาพุทธ แก้

คำนิยามของเทววิทยา (Theos +logos) ก็คือ การศึกษาเรื่องคำสอนในศาสนา และการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ เพราะฉะนั้น การศึกษาพระไตรปิฎกในพุทธศาสนา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธเจ้าและมนุษย์ หรือที่ศาสนาพุทธ กล่าวไว้ว่า พุทธเจ้าและเวไนยสัตว์นั่นเอง

จึงนำระบบเทววิทยามาศึกษาศาสนาพุทธได้ อย่างลงตัว แม้คำว่า เทววิทยา อเทววิทยา นั้นจะมาสร้างความเข้าใจผิด แก่ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาวิชาศาสนาเปรียบเทียบได้ก็จริง หากมองอีกมุมมองหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า วิชาเทววิทยา จึงรวมการศึกษาที่เป็นระบบ ทั้งที่เป็นเทววิทยาและระบบที่ไม่ใช้เทววิทยาระบบทั้งหมดนั้นไว้ และจัดเป็นระบบเทววิทยาได้ลงตัว เพราะว่าวิชาเทววิทยาเป็นศาสตร์เป็นกระบวนการเท่านั้น มิได้ผูกขาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเป็นเพียงชื่อหน่วยตรรกวิทยาการเรียน logos เพื่อเป็นเครื่องหมายถึงการเรียนรู้ ถึงคำสอน ของศาสนานั้น ๆ และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคำสอนของศาสดาผู้สอนและมนุษย์เท่านั้น

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, 2548, หน้า 97
  2. theology
  • "theology", The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition
  • วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท หน้า ๑๕๐ "เรื่อง ระบบเทววิทยาและมุมมองในพระไตรปิฎก" มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๕๕๐

ดูเพิ่ม แก้