ความรู้ เป็นความคุ้นเคย ความตระหนักหรือความเข้าใจในเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งอื่น เช่น ข้อเท็จจริง (ความรู้ประพจน์) ทักษะ (ความรู้กระบวนการ) หรือวัตถุ (ความรู้โดยประจักษ์) วิธีหาความรู้มีหลายวิธีและมีแหล่งที่มาต่าง ๆ เช่น ประสบการณ์ การศึกษา เหตุผล ความทรงจำ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจและการฝึกฝน เป็นต้น การศึกษาความรู้ในทางปรัชญา เรียก ญาณวิทยา

ความรู้สามารถหมายความถึงความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งในทางทฤษฎีหรือปฏิบัติ อาจเป็นความรู้โดยปริยาย (เช่นทักษะหรือความชำนาญในการปฏิบัติ) หรือความรู้ชัดแจ้ง (เช่น ความเข้าใจทางทฤษฎี) ความรู้รูปนัยหรืออรูปนัย ความรู้เชิงระบบหรือโดยจำเพาะ นักปรัชญาเพลโตชี้ให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างความรู้และความเชื่อที่จริงใน Theaetetus ทำให้มีหลายคนอ้างเขาโดยนิยามความรู้ว่าเป็น "ความเชื่อที่จริงและมีการอ้างเหตุผลสนับสนุน" (justified true belief)[1][2]

อ้างอิง แก้

  1. "The Analysis of Knowledge". Stanford Encyclopedia of Philosophy. สืบค้นเมื่อ 13 June 2020.
  2. Paul Boghossian (2007), Fear of Knowledge: Against relativism and constructivism, Oxford: Clarendon Press, ISBN 978-0199230419, Chapter 7, pp. 95–101.