อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล

อัครมุขนายกแห่งคอนสแตนติโนเปิล (โรมใหม่) และอัครบิดรสากล (อังกฤษ: Archbishop of Constantinople New Rome and Ecumenical Patriarch) มักเรียกโดยย่อว่า อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล[1] (Patriarch of Constantinople) หรือ พระอัยกาแห่งคอนสแตนติโนเปิล เป็นตำแหน่งอัครบิดรที่สำคัญที่สุดตำแหน่งหนึ่งในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แม้แต่ละประเทศที่นับถือนิกายออร์ทอดอกซ์จะมีอัครบิดรเป็นประมุขของตน และอัครบิดรทุกองค์มีฐานะเสมอกัน แต่อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลได้รับยกย่องว่าเป็นบุคคลอันดับหนึ่ง ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ปัจจุบันอัครบิดรสากล คือ อัครบิดรบาร์โธโลมิวที่ 1 แห่งคอนสแตนติโนเปิล นับเป็นลำดับที่ 270[2]

อัครบิดร
แห่งคอนสแตนติโนเปิล
มุขนายก
ออร์ทอดอกซ์
ตราแห่งมุขมณฑล
องค์ปัจจุบัน
อัครบิดรบาร์โธโลมิวที่ 1 แห่งคอนสแตนติโนเปิล
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991

การเรียก อัครบิดรสากล
มุขมณฑล เขตอัครบิดรสากล
อาสนวิหาร โบสถ์นักบุญจอร์จ
องค์แรก: นักบุญอันดรูว์
ดำรงตำแหน่งเมื่อ: ค.ศ. 38
ที่พำนัก: อิสตันบูล ประเทศตุรกี

เว็บไซต์: http://www.patriarchate.org/

นอกจากคริสตจักรออร์ทอดอกซ์แล้ว คริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนียนและคริสตจักรโรมันคาทอลิกก็ตั้งตำแหน่งอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลของตนเช่นกัน โดยรัฐบาลตุรกีเรียกอัครบิดรฝ่ายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ว่า อัครบิดรกรีกแห่งคอนสแตนติโนเปิล ฝ่ายอัครทูตอาร์มีเนียนว่า อัครบิดรอาร์มีเนียนแห่งคอนสแตนติโนเปิล และฝ่ายโรมันคาทอลิกว่า อัครบิดรละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิล แต่ตำแหน่งอัครบิดรละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิลถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่ ค.ศ. 1965 และมีเฉพาะอัครบิดรกรีกแห่งคอนสแตนติโนเปิลที่ถือตำแหน่ง อัครบิดรสากล มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6[3]

อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลต้องอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิออตโตมันภายหลังการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 1453 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายกลายเป็นประเทศตุรกีในปัจจุบัน อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลก็ต้องขึ้นต่อรัฐบาลตุรกี และมีกฎหมายกำหนดให้ผู้จะดำรงตำแหน่งอัครบิดรนี้ต้องเป็นชาวตุรกีเท่านั้น

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเททพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 393
  2. Chryssavgis, John. "Turkey: Byzantine Reflections". World Policy Journal (Winter 2011/2012). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-05. สืบค้นเมื่อ 31 May 2012.
  3. "Oecumenical Patriarch." Cross, F. L., ed. The Oxford Dictionary of the Christian Church. New York: Oxford University Press. 2005.