คริสตจักร

ชุมชนของผู้ศรัทธาที่ยอมรับศรัทธาในพระเยซูคริสต์

คริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร[1] (ศัพท์คาทอลิก) (อังกฤษ: Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาป[2] ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้าย

ความหมาย แก้

คำว่า church มีที่มาจากศัพท์ภาษากรีกว่า ekklesia ซึ่งแปลว่า รวมตัวกัน ที่ประชุม การประชุม[3] เมื่อนำคำนี้มาใช้ในคริสต์ศาสนา จึงหมายถึงประชาคมของผู้เชื่อในพระเยซูที่มีทั่วทั้งโลก และยังใช้หมายถึงสถานที่ประชุมของคริสตชนเพื่อประกอบพิธีนมัสการพระเจ้าด้วย คำว่าคริสตจักรในความหมายอย่างหลังนี้มักเรียกโดยทั่วไปว่า โบสถ์คริสต์

คริสตจักรต่าง ๆ ในปัจจุบัน แก้

แม้ว่าคริสตชนทุกคนจะเป็นหนึ่งเดียวกันในความเชื่อเรื่องการไถ่บาปของพระเยซู แต่ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของมนุษย์ก็ทำให้คริสตชนมีความเชื่อปลีกย่อยอื่น ๆ พิธีกรรม และการจัดระบบองค์กรคริสตจักรไว้แตกต่างกัน ในปัจจุบันคริสตจักรจึงถูกแบ่งเป็นนิกายย่อยต่าง ๆ มากมาย โดยมีคริสตจักรสำคัญอยู่ 3 คริสตจักร คือ โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และออร์ทอดอกซ์ เฉพาะนิกายโปรเตสแตนต์ก็ประกอบด้วยหลายคริสตจักรย่อย เช่น ลูเทอแรน เพรสไบทีเรียน แองกลิคัน แบปทิสต์ เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ เป็นต้น

คริสตจักรในประเทศไทย แก้

ปัจจุบันประเทศไทย มีองค์กรคริสตจักรที่กรมการศาสนารับรองอยู่ 5 องค์กร[4] คือ

  1. สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ปกครองคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย
  2. สภาคริสตจักรในประเทศไทย ปกครองคณะเพรสไบทีเรียน คณะคริสเตียนเชิร์ช (ดิสไซเปิลส์ออฟไครส์) คณะลูเทอแรนเชิร์ชออฟอเมริกา ในประเทศไทย เป็นต้น
  3. สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ปกครองคณะคริสเตียนแอนด์มิชชันนารีอไลแอนส์ คณะเวิร์ลด์ไวด์อีแวนเจไลเซชั่นครูเสด ในประเทศไทย เป็นต้น
  4. มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ ปกครองคริสตจักรแบปทิสต์ในประเทศไทย
  5. มูลนิธิคริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย ปกครองเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมี

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติศาสตร์พระศาสนจักร
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152
  3. ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์, หลักความเชื่อคริสเตียนและศาสนศาสตร์ระบบ, สถาบันคริสเตียนศึกษาและพัฒนาคริสตจักร, 2550, หน้า 186
  4. กรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 55-64
  5. "สภาคริสตจักรลูเธอร์แรนในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-17. สืบค้นเมื่อ 2011-04-13.
  6. มูลนิธิคริสต์ศาสนิกชนดั้งเดิมออร์โธดอกซ์ในประเทศไทย

ดูเพิ่ม แก้