ฝ่ายอักษะ
ฝ่ายอักษะ (อังกฤษ: Axis Powers; เยอรมัน: Achsenmächte; อิตาลี: Potenze dell'Asse; ญี่ปุ่น: 枢軸国 Sūjikukoku) เดิมมีชื่อว่า อักษะ โรม–เบอร์ลิน (Rome–Berlin Axis)[2] เป็นพันธมิตรทางทหารที่ริเริ่มสงครามโลกครั้งที่สองและสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตร สมาชิกหลักคือ นาซีเยอรมนี ราชอาณาจักรอิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ฝ่ายอักษะเป็นการร่วมมือกันเพื่อต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร แต่กลับขาดการประสานงานและความสอดคล้องทางอุดมการณ์ที่พอเทียบกันได้
ฝ่ายอักษะ | |
---|---|
ค.ศ. 1936–1945 | |
ฝ่ายอักษะหลัก[a]
| |
สถานะ | พันธมิตรทางการทหาร |
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่สอง |
25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936 | |
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 | |
27 กันยายน ค.ศ. 1940 | |
• พ่ายแพ้ | 2 กันยายน ค.ศ. 1945 |
เชิงอรรถ
|
| ||
ผู้นำรองฝ่ายอักษะ: ลาสโล บาดอสซี (ฮังการี), บ็อกดาน ฟิลอฟ (บัลแกเรีย), เอียน อันโตเนสคู (โรมาเนีย), จอมพลแปลก พิบูลสงคราม (ไทย), โยฮัน วิลเลม รังเงล (ฟินแลนด์) และราชิด อาลี อัล-เกลานี (อิรัก) |
ฝ่ายอักษะเติบโตจากความพยายามทางการทูตอย่างต่อเนื่องของเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองโดยเฉพาะในช่วงกลางปี ค.ศ. 1930 ขั้นตอนแรกคือ พิธีสารที่ลงนามโดยเยอรมนีและอิตาลีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936 ภายหลังจากผู้นำอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี ได้ประกาศว่า ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปทั้งหมดจะถูกหมุนเวียนกันบนอักษะ โรม-เบอร์ลิน ดังนั้นจึงสร้างคำว่า "อักษะ" ขึ้นมา[3][4] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนได้แสดงให้เห็นถึงการให้สัตยาบันต่อกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ซึ่งเป็นสนธิสัญญาต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ระหว่างเยอรมนีและญี่ปุ่น อิตาลีได้เข้าร่วมกติสัญญาใน ค.ศ. 1937 ตามมาด้วยฮังการีและสเปนใน ค.ศ. 1939 "อักษะ โรม-เบอร์ลิน" กลายเป็นพันธมิตรทางทหารใน ค.ศ. 1939 ภายใต้สิ่งที่เรียกกันว่า "กติกาสัญญาเหล็ก" พร้อมด้วยกติกาสัญญาไตรภาคี ค.ศ. 1940 ได้รวมเป้าหมายทางการทหารของเยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ที่ตามมาในภายหลัง กติกาสัญญาทั้งสามถือเป็นรากฐานของพันธมิตรฝ่ายอักษะ[5]
ณ จุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1942 ฝ่ายอักษะมีอำนาจเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป แอฟริกาเหนือ เอเชียตะวันออก ไม่ว่าจะด้วยการยึดครอง การผนวกรวม หรือรัฐหุ่นเชิด ในทางตรงกันข้ามกับฝ่ายสัมพันธมิตร[6] ไม่มีการจัดงานประชุมสุดยอดสามทาง และความร่วมมือและประสานงานนั้นมีน้อย ในบางโอกาส ผลประโยชน์ของฝ่ายอักษะที่สำคัญยังคงแตกต่างกันอีกด้วย[7] สงครามได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 ด้วยความปราชัยของฝ่ายอักษะและการล่มสลายของพันธมิตรของพวกเขา ในกรณีของพันธมิตร สมาชิกในฝ่ายอักษะนั้นสามารถที่จะแปรเปลี่ยนได้โดยง่าย โดยบางประเทศได้ทำการเปลี่ยนข้างฝ่ายหรือเปลี่ยนระดับของการมีส่วนร่วมทางทหารตลอดในช่วงสงคราม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป การใช้คำว่า "ฝ่ายอักษะ" จะกล่าวถึงพันธมิตรระหว่างอิตาลีและเยอรมนีเป็นหลัก แม้ว่าภายนอกยุโรปจะเข้าใจโดยทั่วไปว่าได้รวมถึงญี่ปุ่นด้วย[8]
จุดกำเนิดและการสร้าง
แก้คำว่า "อักษะ" ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกถึงความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลีและเยอรมนีโดยนายกรัฐมนตรีอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1923 เมื่อเขาได้เขียนบทนำของ Germania Repubblica ของ Roberto Suster ว่า "ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในขณะนี้ แกนกลาง(อักษะ)ของยุโรปกำลังเคลื่อนผ่านทางกรุงเบอร์ลิน" (อิตาลี: non v'ha dubbio che in questo momento l'asse della storia europea passa per Berlino)[9] ในช่วงเวลานั้น เขากำลังหาพันธมิตรกับสาธารณรัฐไวมาร์เพื่อต่อต้านยูโกสลาเวียและฝรั่งเศลในข้อพิพาทเรื่องรัฐอิสระฟียูเม[10]
คำนี้ถูกใช้โดยนายกรัฐมนตรีฮังการี กยูลา เกิมเบิส เมื่อให้การสนับสนุนในการเป็นพันธมิตรระหว่างฮังการีกับเยอรมนีและอิตาลีในช่วงต้น ค.ศ. 1930 ความพยายามของเกิมเบิสส่งผลทำให้เกิดพิธีตราสารโรมระหว่างอิตาลี-ฮังการี แต่เขากลับเสียชีวิตอย่างกระทันหันใน ค.ศ. 1936 ในขณะที่กำลังเจรจากับเยอรมนีในมิวนิค และการมาถึงของ Kálmán Darányi ผู้สืบทอดตำแน่งต่อจากเขา ได้ยุติการมีส่วนร่วมของฮังการีในการติดตามไตรภาคีฝ่ายอักษะ[11] การเจราจาที่ดูขัดแย้งระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของอิตาลี กาลีซโซ ชิอาโน และเอกอัครราชทูตของเยอรมนี Ulrich von Hassell ส่งผลก่อให้เกิดพิธีตราสารสิบเก้าจุด(Nineteen-Point Protocol) ซึ่งถูกลงนามโดยชิอาโนและชาวเยอรมันผู้ที่มีความคล้ายกันกับเขา ค็อนสตันทีน ฟ็อน น็อยราท ใน ค.ศ. 1936 เมื่อมุสโสลินีได้ประกาศเปิดเผยถึงการลงนามต่อสาธารณชน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน เขาได้ประกาศก่อตั้งอักษะ โรม-เบอร์ลิน ขึ้นมา[10]
ข้อเสนอเบื้องต้นของพันธมิตรระหว่างเยอรมนี-อิตาลี
แก้อิตาลีภายใต้ดูเช่ เบนิโต มุสโสลินีได้ติดตามพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ของอิตาลีกับเยอรมนีต่อต้านฝรั่งเศสนับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1920[12] ก่อนที่จะกลายเป็นหัวหน้ารัฐบาลในอิตาลีในฐานะผู้นำขบวนการฟาสซิสต์อิตาลี มุสโสลินีเคยสนับสนุนการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีที่เป็นผู้แพ้สงคราม ภายหลังจากการประชุมสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1919–1920) จุดสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[12] เขาเชื่อว่าอิตาลีสามารถขยายอิทธิพลได้ในยุโรปโดยการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีเพื่อต่อต้านฝรั่งเศส[12] ในช่วงแรกของ ค.ศ. 1923 เพื่อเป็นการแสดงออกถึงสันถวไมตรีที่ดีต่อเยอรมนี อิตาลีได้ส่งอาวุธอย่างลับ ๆ ให้แก่กองทัพบกเยอรมัน ซึ่งต้องเผชิญหน้ากับการลดอาวุธครั้งใหญ่ภายใต้บทบัญญัติของสนธิสัญญาแวร์ซาย[12]
นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1920 อิตาลีได้ระบุว่า ใน ค.ศ. 1935 เป็นวันสำคัญสำหรับการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำสงครามฝรั่งเศส เนื่องจากปี ค.ศ. 1935 เป็นปีที่พันธกรณีของเยอรมนีภายใต้สนธิสัญญาแวร์ซายได้ถูกกำหนดให้สิ้นสุดลง[13] การประชุมเกิดขึ้นที่กรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1924 ระหว่างนายพล Luigi Capello และบุคคลสำคัญในกองทัพเยอรมัน เช่น von Seeckt และเอริช ลูเดินดอร์ฟ เกี่ยวกับความร่วมมือทางทหารระหว่างเยอรมนีและอิตาลี บทสนทนาได้ข้อสรุปว่า เยอรมันยังคงต้องการทำสงครามล้างแค้นกับฝรั่งเศส แต่ยังขาดอาวุธและหวังว่าอิตาลีจะช่วยเหลือเยอรมนีได้[14]
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ มุสโสลินีได้เน้นย้ำเงื่อนไขที่สำคัญประการหนึ่งที่อิตาลีจะติดตามในการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี: อิตาลี "จะต้อง...ลากจูงพวกเขา ไม่ใช่ถูกพวกเขาลากจูง"[12] Dino Grandi รัฐมนตรีต่างประเทศของอิตาลีในช่วงแรกปี ค.ศ. 1930 ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ "น้ำหนักชี้ขาด" ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของอิตาลีระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี ซึ่งเขาได้รับรู้ว่าอิตาลียังไม่ได้เป็นมหาอำนาจ แต่รับรู้ว่าอิตาลีมีอิทธิพลมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการเมืองในยุโรปโดยวางน้ำหนักของการสนับสนุนไว้ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและพยายามสร้างสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสามฝ่าย[15][16]
พันธมิตรแม่น้ำดานูบ ข้อพิพาทเหนือออสเตรีย
แก้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจในเยอรมนี ฮิตเลอร์ได้สนับสนุนการเป็นพันธมิตรระหว่างเยอรมนีและอิตาลีนับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1920[17] ภายหลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีได้ไม่นาน ฮิตเลอร์ได้ส่งข้อความส่วนตัวไปยังมุสโสลินี ประกาศถึง "ความชื่นชมยินดีและการแสดงความเคารพ" และประกาศความคาดหมายของเขาเกี่ยวกับโอกาสของมิตรภาพระหว่างเยอรมันและอิตาลีและแม้แต่กระทั่งเป็นพันธมิตร[18] ฮิตเลอร์ทราบดีว่าอิตาลีมีความกังวลเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในที่ดินของเยอรมนีที่อาจจะเกิดขึ้นในทีโรลทางตอนใต้ และให้การรับรองกับมุสโสลินีว่า เยอรมนีไม่สนใจเมืองทีโรลทางตอนใต้ ฮิตเลอร์ในหนังสือไมน์คัมพฟ์ได้ประกาศว่า ทีโรลทางตอนใต้ไม่ใช่ประเด็นเมื่อพิจารณาถึงข้อได้เปรียบที่จะได้รับจากพันธมิตรระหว่างเยอรมนี-อิตาลี ภายหลังจากการก้าวขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ ข้อเสนอของคณะกรรมการมหาอำนาจทั้งสี่ที่ถูกเสนอโดยอิตาลีได้รับการพิจารณาด้วยความสนใจจากบริติช แต่ฮิตเลอร์ไม่ได้ให้คำมั่นในข้อเสนอนี้ ส่งผลทำให้มุสโสลินีกระตุ้นเร่งเร้าให้ฮิตเลอร์พิจารณาถึงข้อได้เปรียบทางการทูตที่เยอรมนีจะได้รับโดยการแยกตัวออกจากความโดดเดี่ยวโดยการเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางอาวุธทันที[19] ข้อเสนอของคณะกรรมการมหาอำนาจทั้งสี่ได้ระบุว่าเยอรมนีไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดอาวุธอีกต่อไป และจะได้รับสิทธิ์ในการฟื้นฟูแสนยานุภาพภายใต้การควบคุมดูแลของต่างชาติเป็นระยะ ๆ[20] ฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธแนวคิดของการควบคุมแสนยานุภาพภายใต้การควบคุมดูแลของต่างชาติอย่างสิ้นเชิง[20]
มุสโสลินีไม่ไว้วางใจต่อเจตจำนงของฮิตเลอร์เกี่ยวกับอันชลุส หรือไม่ก็คำมั่นสัญญาของฮิตเลอร์ที่จะไม่อ้างสิทธิ์ในดินแดนทีโรลทางตอนใต้[21] มุสโสลินีได้แจ้งแก่ฮิตเลอร์ว่าเขาพึงพอใจต่อการมีอยู่ของรัฐบาลต่อต้านมาร์กซิสต์ของด็อลฟูสในออสเตรีย และเตือนฮิตเลอร์ว่า เขายืนกรานที่จะต่อต้านอันชลุส[21] ฮิตเลอร์ได้ตอบโต้ด้วยการดูถูกมุสโสลินีว่า เขามีความตั้งใจ"ที่จะโยนด็อลฟูสลงไปในทะเล"[21] ด้วยความไม่เห็นด้วยในเรื่องเกี่ยวกับออสเตรียนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างฮิตเลอร์และมุสโสลินีจึงห่างไกลออกไปมากขึ้น[21]
ฮิตเลอร์ได้พยายามที่จะทำลายหนทางตันกับอิตาลีเหนือออสเตรียโดยส่งแฮร์มัน เกอริงไปเจรจากับมุสโสลินีใน ค.ศ. 1933 เพื่อเกลี้ยกล่อมมุสโสลินีให้ทำการกดดันรัฐบาลออสเตรียให้แต่งตั้งสมาชิกพรรคนาซีในออสเตรียเข้าสู่รัฐบาล[22] เกอริงอ้างว่าการครอบงำออสเตรียของนาซีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และอิตาลีควรที่จะยอมรับเรื่องนี้ เช่นเดียวกับการทบทวนมุสโสลินีต่อคำมั่นสัญญาของฮิตเลอร์ว่า "จะพิจารณาปัญหาเรื่องชายแดนทีโรลทางตอนใต้ที่จะถูกยุติลงในที่สุดโดยสนธิสัญญาสันติภาพ"[22] ในการตอบสนองต่อการเข้าพบของเกอริ่งกับมุสโสลินี ด็อลฟูสจึงเดินทางไปยังอิตาลีโดยทันทีเพื่อตอบโต้ความคืบหน้าแต่อย่างใดจากทางการทูตของเยอรมนี[22] ด็อลฟูสได้กล่าวอ้างว่ารัฐบาลของเขากำลังถูกมาร์กซิสต์ท้าทายในออสเตรีย และอ้างว่าเมื่อมาร์กซิสต์ได้รับชัยชนะในออสเตรีย การสนับสนุนออสเตรียของนาซีจะอ่อนกำลังลง[22]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1934 ฮิตเลอร์และมุสโสลินีได้พบกันครั้งแรกที่เวนิส การประชุมไม่เป็นไปอย่างราบรื่น ฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้มุสโสลินีทำการประนีประนอมกับออสเตรียโดยทำการกดดันด็อลฟูสแต่งตั้งให้สมาชิกพรรคนาซีในออสเตรียเข้าไปในคณะรัฐมนตรีของเขา ซึ่งมุสโสลินีได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องอย่างตรงไปตรงมา ในการตอบโต้ ฮิตเลอร์ได้ให้สัญญาว่าเขาจะยอมรับเอกราชของออสเตรียในขณะนี้ โดยกล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดภายในเยอรมนี (ซึ่งหมายถึงหน่วยเอ็สอาของนาซีที่ฮิตเลอร์จะทำการสังหารในไม่ช้าในคืนมีดยาว) ที่เยอรมนีไม่อาจที่จะทำการยั่วยุอิตาลีได้[23] กาลีซโซ ชิอาโนได้บอกกับสื่อมวลชนว่า ผู้นำทั้งสองได้ทำ"ข้อตกลงสุภาพบุรุษ"เพื่อหลีกเลี่ยงการแทรกแซงในออสเตรีย[24]
หลายสัปดาห์ต่อมาภายหลังการประชุมที่เวนิส เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 นาซีชาวออสเตรียได้ทำการลอบสังหารด็อลฟูส[23] มุสโสลินีรู้สึกโกรธเคือง ในขณะที่เขาถือว่า ฮิตเลอร์มีส่วนต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อการลอบสังหารที่ได้ละเมิดคำมั่นสัญญาของฮิตเลอร์ที่ถูกทำขึ้นเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนเพื่อเคารพความเป็นเอกราชของออสเตรีย[25][24] มุสโสลินีได้ส่งกองพลกองทัพบกหลายกองพลและฝูงบินไปยังช่องเขาเบรนเนอร์ และเตือนว่าการที่เยอรมนีโจมตีออสเตรียจะส่งผลทำให้เกิดสงครามระหว่างเยอรมนีและอิตาลี[26] ฮิตเลอร์ได้ตอบโต้ด้วยการปฏิเสธความรับผิดชอบของนาซีในการลอบสังหารและออกคำสั่งให้ยุบความสัมพันธ์ทั้งหมดระหว่างพรรคนาซีเยอรมันและพรรคนาซีสาขาออสเตรีย ซึ่งเยอรมนีได้กล่าวอ้างว่าเป็นความรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์ทางการเมือง[27]
อิตาลีได้ละทิ้งความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนีอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ได้หันเข้าหาฝรั่งเศสเพื่อเป็นการท้าทายต่อการดื้อแพ่งของเยอรมนีด้วยการลงนามในข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศส-อิตาลีเพื่อปกป้องเอกราชของออสเตรีย[28] เสนาธิการทหารจากกองทัพฝรั่งเศสและอิตาลีได้หารือถึงความร่วมมือทางทหารที่เป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับการทำสงครามกับเยอรมนี หากฮิตเลอร์กล้าที่จะโจมตีออสเตรีย
ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและอิตาลีได้รับการฟื้นฟู เนื่องจากการสนับสนุนของฮิตเลอร์ในการรุกรานเอธิโอเปียของอิตาลีใน ค.ศ. 1935 ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ได้ประณามการรุกรานและให้การสนับสนุนการคว่ำบาตรต่ออิตาลี
การพัฒนาของพันธมิตรระหว่างเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น
แก้ความสนใจในเยอรมนีและญี่ปุ่นในการจัดตั้งพันธมิตรได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อนักการทูตชาวญี่ปุ่นนามว่า ฮิโรชิ โอชิมะ ได้เข้าพบกับโยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพในเบอร์ลินใน ค.ศ. 1935[29] โอชิมะได้แจ้งแก่ฟ็อน ริบเบินทร็อพเกี่ยวกับความสนใจของญี่ปุ่นในการจัดตั้งพันธมิตรระหว่างเยอรมัน-ญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียต[29] ฟ็อน ริบเบินทร็อพได้ขยายข้อเสนอของโอชิมะโดยสนับสนุนให้พันธมิตรอยู่ในบริบททางการเมืองของกติกาสัญญาเพื่อต่อต้านโคมินเทิร์น[29] ข้อเสนอในกติกาสัญญาได้พบกับความคิดเห็นที่หลากหลายในญี่ปุ่น โดยมีกลุ่มผู้คลั่งชาติภายในรัฐบาลที่สนับสนุนกติกาสัญญาฉบับนี้ ในขณะที่กองทัพเรือญี่ปุ่นและกระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่นต่างไม่เห็นด้วยกับกติกาสัญญาฉบับนี้อย่างแข็งขัน[30] มีความกังวลอย่างมากในรัฐบาลญี่ปุ่นว่ากติกาสัญญาฉบับนี้กับเยอรมนีอาจจะทำลายความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นกับบริติช ซึ่งเป็นปีที่อันตรายของข้อตกลงระหว่างบริติช-ญี่ปุ่นเป็นประโยชน์ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นสามารถก้าวขึ้นสู่ประชาคมระหว่างประเทศได้ช่วงแรก[31] การตอบสนองต่อกติกาสัญญาได้พบกับหมวดที่คล้ายกันในเยอรมนี ในขณะที่ข้อเสนอในกติกาสัญญาได้รับความนิยมในท่ามกลางผู้นำระดับสูงของพรรคนาซี ถูกต่อต้านโดยคนจำนวนมากในกระทรวงต่างประเทศ กองทัพบก และชุมชนธุรกิจที่มีผลประโยชน์ทางการเงินในจีนซึ่งญี่ปุ่นเป็นศัตรู
ในการเรียนรู้ชองการเจรจาระหว่างเยอรมัน-ญี่ปุ่น อิตาลีก็เริ่มที่จะสนใจที่จะก่อตั้งพันธมิตรกับญี่ปุ่น อิตาลีคาดหวังว่า เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในระยะยาวของญี่ปุ่นกับบริติช พันธมิตรระหว่างอิตาลีและญี่ปุ่นสามารถกดดันให้บริติชยอมรับท่าทีที่เอื้ออำนวยต่ออิตาลีในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้มากขึ้น[29] ในฤดูร้อน ค.ศ. 1936 รัฐมนตรีต่างประเทศของอิตาลี ชิอาโนได้แจ้งแก่ซูกิมูระ โยตาโระ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำอิตาลี "ข้าพเจ้าได้ยินมาว่าข้อตกลงญี่ปุ่น-เยอรมันเกี่ยวกับสหภาพโซเวียตได้บรรลุผลแล้ว และข้าพเจ้าคิดว่าคงเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับข้อตกลงที่คล้ายคลึงกันระหว่างอิตาลีและญี่ปุ่น"[29] ทัศนคติของญี่ปุ่นในช่วงแรกต่อข้อเสนอของอิตาลีนั้นมักจะมองข้าม โดยมองว่าพันธมิตรระหว่างเยอรมันและญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียตเป็นสิ่งจำเป็น ในขณะที่พันธมิตรระหว่างอิตาลี-ญี่ปุ่นเป็นเรืองรอง เนื่องจากญี่ปุ่นคาดการณ์ว่าพันธมิตรระหว่างอิตาลี-ญี่ปุ่นจะทำให้เป็นปรปักษ์กับบริติชที่ประณามการรุกรานเอธิโอเปียของอิตาลี[29] ทัศนคตินี้ของญี่ปุ่นที่มีต่ออิตาลีได้เปลี่ยนแปลงไปใน ค.ศ. 1937 ภายหลังสันนิบาตชาติได้กล่าวประณามญี่ปุ่น เนื่องจากได้ทำการรุกรานในจีนและเผชิญกับการแยกตัวออกจากนานาชาติ ในขณะที่อิตาลียังคงชื่นขมต่อญี่ปุ่นอยู่[29] อันเป็นผลทำให้การสนับสนุนของอิตาลีสำหรับญี่ปุ่นในการต้านทานการประณามจากนานาชาติ ญี่ปุ่นจึงทัศนคติเชิงบวกต่ออิตาลีมากขึ้นและได้ให้ข้อเสนอในการทำข้อตกลงไม่รุกรานระหว่างกันหรือกติกาสัญญาวางตัวเป็นกลางกับอิตาลี[32]
กติกาสัญญาไตรภาคีได้ถูกลงนามโดยเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1940 ในกรุงเบอร์ลิน โดยฮังการี (20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940) โรมาเนีย (23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940) สโลวาเกีย (24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940) และบัลแกเรีย (1 มีนาคม ค.ศ. 1941) ได้เข้าร่วมกติกาสัญญาดังกล่าวในภายหลัง[33]
อุดมการณ์
แก้เป้าหมายหลักของฝ่ายอักษะคือการขยายอาณาเขตของตนไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง[34] ในแง่ของอุดมการณ์ ฝ่ายอักษะได้บรรยายถึงเป้าหมายของพวกเขาว่าเป็นการทำลายอำนาจครอบงำของมหาอำนาจตะวันตกที่ยึดถืออุดมการณ์ระบอบเศรษฐยาธิปไตย และปกป้องอารยธรรมจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ฝ่ายอักษะให้การสนับสนุนรูปแบบต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสต์ ลัทธิทหาร และการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ[35] การสร้างจักรวรรดิลัทธิการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจที่อยู่ติดกันในอาณาเขตเป็นเป้าหมายร่วมกันของทั้งสามประเทศของฝ่ายอักษะ[8]
ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ
แก้ประชากรฝ่ายอักษะใน ค.ศ. 1938 มีจำนวน 258.9 ล้านคน ในขณะที่ประชากรฝ่ายสัมพันธมิตร (ยกเว้นสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ซึ่งภายหลังได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร) มีจำนวน 689.7 ล้านคน[36] ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรมีจำนวนมากกว่าฝ่ายอักษะ 2.7 ต่อ 1[37] รัฐฝ่ายอักษะที่เป็นผู้นำมีจำนวนประชากรในประเทศดังต่อไปนี้: เยอรมนี 75.5 ล้านคน (รวมทั้งจำนวน 6.8 ล้านคนจากการผนวกรวมออสเตรียเข้าด้วยกันได้ไม่นานมานี้) ญี่ปุ่น 71.9 ล้านคน (ยกเว้นดินแดนอาณานิคม) และอิตาลี 43.4 ล้านคน (ยกเว้นดินแดนอาณานิคม) สหราชอาณาจักร(ยกเว้นดินแดนอาณานิคม) มีจำนวนประชากร 47.5 ล้านคน และฝรั่งเศส (ยกเว้นดินแดนอาณานิคม) มีจำนวน 42 ล้านคน[36]
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในช่วงสงครามของฝ่ายอักษะ ราคาอยู่ที่ 911 พันล้านดอลลาร์ ณ จุดสูงสุดใน ค.ศ. 1941 ในราคาสกุลเงินดอลลาร์ระดับสากลใน ค.ศ. 1990[38] จีดีพีของฝ่ายสัมพันธมิตร ราคาอยู่ที่ 1,798 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐอเมริการาคาตั้งอยู่ที่ 1,094 พันล้านดอลลาร์ มากกว่าฝ่ายอักษะโดยรวม[39]
ภาระของการทำสงครามกับประเทศที่เข้าร่วมวัดจากเปอร์เซ็นของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ที่อุทิศให้กับการใช้จ่ายทางทหาร[40] เกือบหนึ่งในสี่ของ GNP ของเยอรมนีได้ถูกนำไปใช้ในการทำสงครามใน ค.ศ. 1939 และเพิ่มขึ้นเป็นสามในสี่ของ GNP ใน ค.ศ. 1944 ก่อนช่วงการล่มสลายทางเศรษฐกิจ[40] ใน ค.ศ. 1939 ญี่ปุ่นได้ใช้ประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ของ GNP ในการทำสงครามในจีน ได้เพิ่มขึ้นเป็นสามในสี่ของ GNP ใน ค.ศ. 1944[40] อิตาลีไม่ได้ระดมกำลังทางเศรษฐกิจ GNP ที่ถูกนำไปใช้ในการทำสงครามยังคงอยู่ที่ระดับช่วงก่อนสงคราม[40]
อิตาลีและญี่ปุ่นขาดความสามารุถทางอุตสาหกรรม เศรษฐกิจของพวกเขามีขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับการค้าระหว่างประเทศ แหล่งเชื้อเพลิงจากภายนอก และทรัพยากรอุตสาหกรรมอื่น ๆ[40] เป็นผลทำให้การระดมพลกำลังของอิตาลีและญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าจะอยู่ใน ค.ศ. 1943 ก็ตาม[40]
ท่ามกลางสามประเทศหลักของฝ่ายอักษะ ญี่ปุ่นมีรายได้ต่อหัวที่ต่ำที่สุด ในขณะที่เยอรมนีและอิตาลีมีรายได้ระดับที่เทียบเท่ากับสหราชอาณาจักร[41]
ประเทศสมาชิกหลัก
แก้เยอรมนี
แก้เหตุผลในการทำสงคราม
แก้ในปี ค.ศ. 1941 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้บรรยายถึงการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สองว่าเป็นข้อผิดพลาดของการแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตกต่อเยอรมนีในช่วงที่ได้ทำสงครามกับโปแลนด์ โดยอธิบายว่าเป็นผลของ"ชาวยุโรปและอเมริกันผู้กระหายสงคราม"[42] ฮิตเลอร์ได้ออกแบบให้เยอรมนีกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจครอบงำและมีความสำคัญของโลก เช่น เจตจำนงของเขาที่จะทำให้กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนีกลายเป็น Welthauptstadt (เมืองหลวงโลก) เปลี่ยนชื่อเป็นเจอร์มาเนีย[43] รัฐบาลเยอรมันยังได้แสดงเหตุผลในการกระทำของตนโดยอ้างว่า เยอรมนีจำเป็นต้องขยายอาณาเขตอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกำลังเผชิญกับวิกฤตประชากรล้นเกินที่ฮิตเลอร์ได้อธิบายว่า "เรามีประชากรมากเกินไปและไม่สามารถเลี้ยงตนเองจากทรัพยากรของเราเองได้"[44] ดังนั้นการขยายตัวจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการจัดหาเลเบินส์เราม์ ("พื้นที่อยู่อาศัย") สำหรับประเทศชาติเยอรมันและยุติการมีประชากรมากเกินไปของประเทศภายในอาณาเขตจำกัดที่มีอยู่[44] และจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 พรรคนาซีได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนในการขยายเยอรมนีไปสู่ดินแดนที่สหภาพโซเวียตถือครอง[45]
เยอรมนีได้ให้เหตุผลในการทำสงครามกับโปแลนด์ในประเด็นเรื่องของชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมันภายในโปแลนด์ และโปแลนด์คัดค้านในการผนวกรวมเสรีนครดันท์ซิชที่มีชนกลุ่มใหญ่ชาวเยอรมันส่วนใหญ่เข้ากับเยอรมนี ในขณะที่ฮิตเลอร์และพรรคนาซีก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่อำนาจได้พูดคุยกันอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับการทำลายโปแลนด์และเป็นศัตรูกับโปแลนด์ ภายหลังจากได้ขึ้นสู่อำนาจจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ได้พยายามปกปิดเจตนาที่แท้จริงของเขาที่มีต่อโปแลนด์ และลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันเป็นเวลา 10 ปีใน ค.ศ. 1934 ได้เปิดเผยแผนการของเขาให้เห็นได้แค่เฉพาะเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดที่สุดเท่านั้น[46] ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและโปแลนด์ได้เปลี่ยนไปตั้งแต่ต้นถึงปลาย ค.ศ. 1930 ในขณะที่เยอรมนีพยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์กับโปแลนด์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่โปแลนด์จะเข้าสู่เขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต และเรียกร้องความรู้สึกต่อต้านโซเวียตในโปแลนด์[47] ในทางกลับกัน สหภาพโซเวียตกำลังแข่งขันกับเยอรมนีเพื่อแย่งชิงอำนาจอิทธิพลในโปแลนด์[47] ในเวลาเดียวกัน เยอรมนีกำลังเตรียมทำสงครามกับโปแลนด์ และกำลังเตรียมชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมันในโปแลนด์อย่างลับ ๆ เพื่อทำสงคราม[48]
วิกฤตทางการทูตได้ปะทุขึ้นภายหลังจากฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้ผนวกรวมเสรีนครดันท์ซิชเข้ากับเยอรมนี ซึ่งนำโดยรัฐบาลนาซีต้องการที่จะผนวกเข้ากับเยอรมนี เยอรมนีได้ใช้แบบอย่างทางกฎหมายเพื่อแสดงเหตุผลในการแทรกแซงโปแลนด์และการผนวกรวมเสรีนครดันท์ซิช (นำโดยรัฐบาลนาซีท้องถิ่นที่พยายามรวมตัวเข้ากับเยอรมนี) ใน ค.ศ. 1939[49] โปแลนด์ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของเยอรมนี และเยอรมนีได้เตรียมระดมพลในเช้าวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1940[50]
เยอรมนีได้ให้เหตุผลในการบุกครองกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 โดยกล่าวอ้างว่าตนเองกำลังสงสัยที่บริติชและฝรั่งเศสกำลังเตรียมที่จะใช้กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำเพื่อที่จะบุกรุกภูมิภาครัวร์ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมของเยอรมนี[51] เมื่อเกิดสงครามระหว่างเยอรมนีกับบริติชและฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ประกาศว่าเนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยมจะต้องถูกยึดครอง โดยกล่าวว่า "ฐานทัพอากาศยานของดัตซ์และเบลเยียมจะต้องถูกยึด....คำประกาศวางตัวเป็นกลางจะต้องถูกละเลย"[51] ในการประชุมร่วมกับผู้นำทางทหารของเยอรมนี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ได้ประกาศกับผู้นำทหารว่า "เรามีจุดอ่อนที่รัวร์" และกล่าวว่า "หากอังกฤษและฝรั่งเศสผลักดันผ่านทางเบลเยียมและฮอลแลนด์เข้าสู่รัวร์ เราจะตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวง" จึงกล่าวอ้างว่า เบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ต้องถูกเยอรมนียึดครอง เพื่อปกป้องเยอรมนีจากการรุกรานของบริติชและฝรั่งเศสต่อรัวร์ โดยไม่คำนึงถึงคำกล่าวอ้างของพวกเขาว่าได้วางตัวเป็นกลาง[51]
การรุกรานสหภาพโซเวียตของเยอรมนีใน ค.ศ. 1941 เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องเลเบินส์เราม์ การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ และนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต ภายหลังจากเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1941 ท่าทีของระบอบนาซีที่มีต่อรัสเซียที่ดินแดนกำลังลดน้อยลงและเป็นอิสระได้รับผลกระทบจากแรงกดดันที่เริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1942 จากกองทัพเยอรมันต่อฮิตเลอร์เพื่อรับรองกองทัพรัสเซียภายใต้การนำโดยอันเดรย์ วลาซอฟ[52] ในช่วงแรก ข้อเสนอเพื่อสนับสนุนกองทัพรัสเซียที่ต่อต้านพวกคอมมิวนิสต์ได้ถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงโดยฮิตเลอร์ อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1944 เมื่อเยอรมนีได้ประสบความสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นในแนวรบด้านตะวันออก กองกำลังของวลาซอฟได้รับการยอมรับจากเยอรมนีในฐานะพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ไฮน์ริช ฮิมเลอร์[53]
ภายหลังญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และการปะทุของสงครามระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐ เยอรมนีได้สนับสนุนแก่ญี่ปุ่นโดยการประกาศสงครามกับสหรัฐในช่วงสงคราม เยอรมนีได้ประณามกฎบัตรแอตแลนติกและรัฐบัญญัติการให้ยืม-เช่าที่สหรัฐประกาศใช้เพื่อสนับสนุนมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรก่อนที่จะเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมมุ่งเป้าไปที่การครอบงำและแสวงหาผลประโยชน์จากประเทศภายนอกทวีปอเมริกา[54] ฮิตเลอร์ประณามต่อประธานาธิบดีอเมริกา รูสเวสต์ ที่ใช้คำว่า "เสรีภาพ" เพื่ออธิบายถึงการกระทำของสหรัฐในสงคราม และกล่าวหาชาวอเมริกันว่า "เสรีภาพ" คือ เสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยในการแสวงหาผลประชน์จากโลก และเสรีภาพสำหรับผู้มั่งคั่งในระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวเพื่อเอารัดเอาเปรียบมวลชน[54]
ประวัติศาสตร์
แก้เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ประชาชนชาวเยอรมันรู้สึกว่าประเทศของตนได้รับความอัปยศอดสอันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาแวร์ซาย รวมทั้งถูกกล่าวโทษว่าเป็นผู้ก่อสงครามขึ้นมาและบังคับให้เยอรมนีจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอันมหาศาลและทำการริบดินแดนที่เคยถูกควบคุมโดยจักรวรรดิเยอรมันและดินแดนอาณานิคมทั้งหมด แรงกดดันของค่าปฏิกรรมต่อเศรษฐกิจของเยอรมนีทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออันรุนแรงในช่วงต้นปี ค.ศ. 1920 ใน ค.ศ. 1923 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองภูมิภาครูร์ เมื่อเยอรมนีได้ผิดนัดชำระจ่ายค่าปฏิกรรม แม้ว่าเยอรมนีจะเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงกลางปี ค.ศ. 1920 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้สร้างความยากลำบากทางเศรษฐกิจมากขึ้นและการลุกฮือในกองกำลังทางการเมืองที่สนับสนุนการแก้ปัญหาที่รุนแรงต่อความทุกข์ยากของเยอรมนี นาซีภายใต้ฮิตเลอร์ได้ส่งเสริมเรื่องตำนานนักชาตินิยมถูกแทงข้างหลังโดยระบุว่าเยอรมนีถูกชาวยิวและคอมมิวนิสต์หักหลัง พรรคได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะสร้างเยอรมนีขึ้นมาใหม่กลายเป็นมหาอำนาจที่สำคัญและสร้างมหาประเทศเยอรมนี ซึ่งจะรวมทั้งอาลซัส-ลอแรน ออสเตรีย ซูเดเทินลันท์ และดินแดนอื่น ๆ ซึ่งมีชาวเยอรมันอาศัยอยู่ในทวีปยุโรป นาซียังได้ตั้งเป้าหมายที่จะครอบครองและก่อตั้งดินแดนอาณานิคมที่ไม่ใช่ของเยอรมันในโปแลนด์ รัฐบอลติก และสหภาพโซเวียต โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของนาซีในการแสวงหาเลเบินส์เราม์("พื้นที่อยู่อาศัย") ในยุโรปตะวันออก
เยอรมนีได้ละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายและส่งทหารกลับเข้าสู่ไรน์ลันท์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1936 เยอรมนีได้กลับมาเกณฑ์ทหารอีกครั้งและประกาศถึงการมีอยู่ของกองทัพอากาศเยอรมันอย่างลุฟท์วัฟเฟอ และกองทัพเรือเยอรมันอย่างครีคส์มารีเนอ ใน ค.ศ. 1935 เยอรมนีได้ทำการผนวกรวมออสเตรียใน ค.ศ. 1938 ซูเดเทินลันท์จากเชโกสโลวาเกีย และดินแดนเมเมลจากลิทัวเนียใน ค.ศ. 1939 เยอรมนีได้บุกครองส่วนที่เหลือของเชโกสโลวาเกียใน ค.ศ. 1939 ก่อตั้งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียและประเทศสโลวาเกียขึ้นมา
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ลงนามในกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ ซึ่งมาพร้อมด้วยตราสารลับที่จะทำการแบ่งยุโรปตะวันออกเป็นเขตอิทธิพล[55] เยอรมันได้เข้ารุกรานส่วนหนึ่งของโปแลนด์ภายใต้กติกาสัญญาแปดวันต่อมา[56] ได้จุดชนวนก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1941 เยอรมนีได้ยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป และกองกำลังทหารของเยอรมนีกำลังสู้รบกับสหภาพโซเวียต เกือบจะยึดครองกรุงมอสโกได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ความพ่ายแพ้ในยุทธการที่สตาลินกราดและยุทธการที่คูสค์ได้ทำลายล้างกองทัพเยอรมัน เมื่อรวมกับการยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกในฝรั่งเศสและอิตาลี นำไปสู่สงครามทั้งสามแนวรบที่ทำให้กองทัพเยอรมันละลายหายหมดสิ้น และส่งผลทำให้เยอรมนีพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1945
ดินแดนยึดครอง
แก้รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียถูกสร้างขึ้นมาจากการแบ่งแยกเชโกสโลวาเกีย ไม่นานหลังจากที่เยอรมนีได้ผนวกภูมิภาคซูเดเทินลันท์ของเชโกสโลวาเกีย สโลวาเกียได้ประกาศอิสรภาพ รัฐสโลวีกใหม่เป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ส่วนที่เหลือของประเทศถูกกองทัพเยอรมันเข้ายึดครองและก่อตั้งรัฐในอารักขา สถาบันพลเมืองชาวเช็กได้รับการอนุรักษ์เอาไว้ แต่รัฐในอารักขาได้ถูกพิจารณาภายในอาณาเขตอำนาจอธิปไตยของเยอรมนี
เขตปกครองสามัญ เป็นชื่อที่ถูกตั้งไว้แก่ดินแดนของโปแลนด์ที่ถูกยึดครองซึ่งไม่ได้ถูกผนวกรวมโดยตรงกับจังหวัดต่าง ๆ ของเยอรมนี แต่เป็นเช่นเดียวกับโบฮีเมียและมอเรเวียที่ได้ถูกพิจารณาให้อยู่ภายในอาณาเขตอำนาจอธิปไตยของเยอรมนีโดยทางการนาซี
ไรชส์ค็อมมิสซารีอาท ได้ก่อตั้งขึ้นในเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และนอร์เวย์ โดยกำหนดให้เป็นสถานที่ที่ประชากร"ชาวเจอร์มานิก" ซึ่งจะถูกรวมเข้าไปอยู่ในแผนการมหาประเทศเจอร์มานิกไรช์ ในทางตรงกันข้าม ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทที่ก่อตั้งขึ้นในตะวันออก(ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทอ็อสท์ลันท์ในทะเลบอลติก ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทยูเครนในยูเครน) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นอาณานิคมเพื่อการตั้งถิ่นฐานโดยชาวเยอรมัน
ในนอร์เวย์ ภายใต้ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในนอร์เวเกน ระบอบควิสลิงภายใต้การนำโดยวิดกึน ควิสลิง ได้รับการแต่งตั้งโดยเยอรมันในฐานะระบอบรัฐบริวารในช่วงการยึกครอง ในขณะที่สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 และรัฐบาลโดยชอบธรรมทางกฎหมายได้ลี้ภัยออกนอกประเทศ ควิสลิงได้สนับสนุนให้ชาวนอร์เวย์เข้าไปเป็นทหารอาสาสมัครในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ให้ความร่วมมือในการขับไล่เนรเทศชาวยิวและมีส่วนรับผิดชอบในการประหารชีวิตสมาชิกของขบวนการต่อต้านชาวนอร์เวย์ ชาวนอร์เวย์จำนวนประมาณ 45,000 คนที่เป็นผู้ให้ความร่วมมือได้เข้าร่วมกับ Nasjonal Samling(สหภาพชาติ) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่นิยมนาซี และกรมตำรวจบางหน่วยได้ช่วยเหลือในการจับกุมชาวยิวจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม นอร์เวย์เป็นหนึ่งในประเทศแรกที่ทำการต่อต้านในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างแพร่หลายก่อนถึงช่วงจุดเปลี่ยนสงครามใน ค.ศ. 1943 ภายหลังสงคราม ควิสลิงและผู้ให้ความร่วมมือคนอื่น ๆ ล้วนถูกประหารชีวิต ชื่อของควิสลิงกลายเป็นภาษิตสำหรับ "ผู้สมรู้ร่วมคิด" หรือ "คนทรยศ"
อิตาลี
แก้เหตุผลในการทำสงคราม
แก้ดูเช่ เบนิโต มุสโสลินีได้บรรยายถึงการประกาศสงครามของอิตาลีกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกของบริติชและฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ดังต่อไปนี้ว่า: "พวกเรากำลังจะทำสงครามกับระบอบประชาธิปไตยของเหล่าผู้มั่งคั่งและพวกปฏิกิริยาของพวกตะวันตกที่ขัดขวางความก้าวหน้าอย่างถาวรและมักคุกคามการดำรงอยู่ของประชาชนชาวอิตาลี"[57] อิตาลีประณามมหาอำนาจตะวันตกในการออกมาตราการคว่ำบาตรอิตาลีใน ค.ศ. 1935 สำหรับการกระทำของตนในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง เมื่ออิตาลีได้กล่าวอ้างว่าเป็นการตอบโต้ต่อการกระทำอันก้าวร้าวของชาวเอธิโอเปียต่อชนเผ่าในอิตาเลียนเอริเทีย ในเหตุการณ์วาลวาลใน ค.ศ. 1934[58] อิตาลีได้เหตุผลเดียวกันกับการกระทำของตนเหมือนกับเยอรมนี โดยอ้างว่า อิตาลีจำเป็นต้องขยายอาณาเขตเพื่อจัดหาสปาซิโอ วิตาเล ("พื้นที่อยู่อาศัย") ให้แก่ประเทศอิตาลี[59]
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1938 ภายหลังข้อตกลงมิวนิก อิตาลีได้เรียกร้องการสัมปทานจากฝรั่งเศสเพื่อยินยอมยกให้แก่อิตาลีในแอฟริกา[60] ความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลีและฝรั่งเศสกลับแย่ลง เมื่อฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะยอมรับข้อเรียกร้องของอิตาลี[60] ฝรั่งเศสได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของอิตาลีด้วยการข่มขู่ว่าจะซ้อมการรบทางทะเลเพื่อเป็นการตักเตือนต่ออิตาลี[60] เมื่อความตึงเครียดระหว่างอิตาลีและฝรั่งเศสเพิ่มมากขึ้น ฮิตเลอร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ครั้งสำคัญ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1939 โดยเขาให้คำมั่นสัญญาว่าการสนับสนุนทางทหารของเยอรมนีในกรณีการทำสงครามกับอิตาลีโดยปราศจากการยั่วยุ[61]
อิตาลีได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940 อิตาลีได้ให้เหตุผลในการแทรกแซงกรีซในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 โดยการกล่าวหาว่าบริติชกำลังใช้กรีซต่อกรกับอิตาลี มุสโสลินีได้แจ้งเรื่องนี้แก่ฮิตเลอร์ว่า "กรีซเป็นส่วนหนึ่งในประเด็นหลักของบริติช ยุทธศาสตร์ทางทะเลในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน"[62]
อิตาลีได้ให้เหตุผลในการแทรกแซงยูโกสลาเวียในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 โดยเรียกร้องให้ทั้งชาวอิตาลีทำการกล่าวอ้างสิทธิ์ในการเรียกร้องดินแดนกลับคืนและข้อเท็จจริงของพวกแบ่งแยกดินแดนของชาวแอลเบเนีย โครเอเชีย และมาซิโดเนียที่ไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย[63] การแบ่งแยกดินแดนในโครเอเชียเพิ่มสูงขึ้นภายหลังจากการลอบสังหารผู้นำทางการเมืองของโครเอเชียในรัฐสภายูโกสลาเวียใน ค.ศ. 1928 รวมทั้งการเสียชีวิตของ Stjepan Radić อิตาลีได้ให้การรับรองแก่ อานเต ปาเวลิช ผู้แบ่งแยกชาวโครเอเชียและขบวนการอูสตาเชที่ยึดถืออุดมการณ์ฟาสซิสต์ของเขาซึ่งมีพื้นฐานและการฝึกฝนในอิตาลีโดยได้รับการสนับสนุนจากระบอบฟาสซิสต์ก่อนที่จะมีการแทรกแซงต่อยูโกสลาเวีย[63]
ประวัติศาสตร์
แก้ความตั้งใจของระบอบฟาสซิสต์คือการสร้าง"จักรวรรดิโรมันใหม่" ซึ่งอิตาลีจะครอบครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใน ค.ศ. 1935 - 1936 อิตาลีได้เข้ารุกรานและผนวกเอธิโอเปียและรัฐบาลฟาสซิสต์ได้ประกาศก่อตั้ง "จักรวรรดิอิตาลี"[64] คำประท้วงโดยสันนิบาตชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ บริติช ซึ่งมีผลประโยชน์ในพื้นที่นั้น ทำให้ไม่มีการดำเนินจัดการอย่างจริงจัง แม้ว่าสันนิบาตชาติจะพยายามบังคับใช้มาตราการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิตาลี แต่กลับไร้ผล เหตุการณ์ดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงความอ่อนแอของฝรั่งเศสและบริติช โดยแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างจากความไม่เต็มใจของพวกเขาที่จะบาดหมางอิตาลีและสูญเสียไปในฐานะพันธมิตรของพวกเขา การกระทำที่จำกัดโดยมหาอำนาจตะวันตกได้ผลักดันอิตาลีของมุสโสลินีหันไปเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีของฮิตเลอร์อยู่ดี ใน ค.ศ. 1937 อิตาลีได้ออกจากสันนิบาตชาติและเข้าร่วมกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ซึ่งถูกลงนามโดยเยอรมนีและญี่ปุ่นในปีที่แล้ว ในเดือนมีนาคม/เมษายน ค.ศ. 1939 กองกำลังทหารอิตาลีได้รุกรานและยึดครองแอลเบเนีย เยอรมนีและอิตาลีได้ลงนามในกติกาสัญญาเหล็ก เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม
อิตาลีไม่พร้อมที่จะทำสงคราม แม้จะมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ ค.ศ. 1935 ครั้งแรกกับเอธิโอเปียในปี ค.ศ. 1935-1936 และต่อมาในสงครามกลางเมืองสเปนในฝ่ายชาตินิยมของฟรันซิสโก ฟรังโก[65] มุสโสลินีปฏิเสธที่จะฟังคำเตือนจาก Felice Guarneri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการแลกเปลี่ยนและเงินตรา ผู้ซึ่งกล่าวว่าการกระทำของอิตาลีในเอธิโอเปียและเสปนซึ่งหมายความอิตาลีใกล้ที่จะล้มละลายแล้ว[66] ในปี ค.ศ. 1939 ค่าใช้จ่ายทางทหารของบริติชและฝรั่งเศลพุ่งสูงขึ้นเกินกว่าที่อิตาลีพอจะจ่ายได้ อันเป็นผลมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจกิจของอิตาลี ทหารอิตาลีได้รับค่าจ้างต่ำ มักจะขาดแคลนยุทโธปกรณ์และซัพพลายที่แย่ และความเกลี่ยดชังที่เกิดขึ้นระหว่างทหารและเจ้าหน้าที่นายทหารระดับสูง สิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้ขวัญกำลังใจตกต่ำลงในท่ามกลางหมู่ทหารอิตาลี[67]
ในช่วงต้น ค.ศ. 1940 อิตาลียังคงไม่ใช่คู่ต่อสู้รบ และมุสโสลินีได้แจ้งกับฮิตเลอร์ว่าอิตาลีไม่พร้อมที่จะเข้าไปแทรกแซงในไม่ช้า ภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 มุสโสลินีได้ตัดสินใจว่าอิตาลีจะทำการเข้าแทรกแซงแล้ว แต่วันที่ยังไม่ได้เลือก ผู้นำทางทหารระดับอาวุโสได้มีมติคัดค้านอย่างเป็นเอกฉันท์ในการกระทำดังกล่าว เนื่องจากอิตาลีไม่ได้เตรียมตัวเอาไว้ ไม่มีแร่วัตถุดิบที่คงเหลืออยู่ในคลังพัสดุและปริมาณสำรองที่มีอยู่กำลังจะหมดลงในไม่ช้า อุตสาหกรรมของอิตาลีเป็นเพียงแค่หนึ่งในสิบของเยอรมนี และแม้แต่กระทั่งซับพลายที่กองทัพอิตาลีไม่ได้จัดเตรียมไว้เพื่อจัดหายุทโธปกรณ์ที่จำเป็นในการสู้รบกับสงครามสมัยในระยะยาว โครงการการฟื้นแสนยานุภาพที่เต็มไปด้วยความทะเยอทะยานแทบที่จะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากการสำรองทองคำและสกุลเงินต่างประเทศที่จำกัดของอิตาลี และการขาดแคลนแร่วัตถุดิบ มุสโสลินีได้เมินเฉยต่อข้อคิดเห็นเชิงลบ[68]
ใน ค.ศ. 1941 ความพยายามของอิตาลีในการดำเนินการทัพอย่างมีอิสระจากเยอรมนีก็ต้องพังทลายลงอันเป็นผลมาจากความพ่ายแพ้ทางการทหารในกรีซ แอฟริกาเหนือ และแอฟริกาตะวันออก และประเทศก็ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเยอรมนีอย่างมีประสิทธิภาพ ภายหลังจากการรุกรานและเข้ายึดครองยูโกสลาเวียและกรีซซึ่งนำโดยเยอรมัน ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นเป้าหมายของมุ่งหมายในการทำสงครามของอิตาลี อิตาลีถูกบังคับให้ยอมรับการครอบงำของเยอรมันในทั้งสองประเทศที่ถูกยึดครอง[69] นอกจากนี้ ใน ค.ศ. 1941 กองกำลังเยอรมันในแอฟริกาเหนือภายใต้การนำโดยแอร์วีน ร็อมเมิล ได้เข้าควบคุมความพยายามทางทหารอย่างมีประสิทธิภาพในการขับไล่กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรออกไปจากลิเบีย ดินแดนอาณานิคมของอิตาลี และกองทัพเยอรมันได้เข้าประจำการอยู่ที่เกาะซิซิลีในช่วงปีนั้น[70] ความอวดดีของเยอรมนีที่มีต่ออิตาลีในฐานะพันธมิตรได้แสดงให้เห็นในปีนั้น เมื่ออิตาลีถูกกดดันให้ส่ง "แรงงานผู้รับเชิญ" จำนวน 350,000 คน ไปยังเยอรมนีซึ่งถูกใช้เป็นแรงงานเกณฑ์บังคับ[70] ในขณะที่ฮิตเลอร์รู้สึกผิดหวังกับสมรรถภาพทางทหารของอิตาลี เขายังคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับอิตาลีโดยรวม เนื่องจากมิตรภาพอันส่วนตัวของเขากับมุสโสลินี[71][72]
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 ภายหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองเกาะซิซิลี พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ทรงรับสั่งปลดมุสโสลินีออกจากตำแหน่ง พร้อมกับจับกุมและคุมขังเขาเอาไว้ และเริ่มทำการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก การสงบศึกได้ถูกลงนาม เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1943 และสี่วันต่อมา มุสโสลินีได้รับการช่วยเหลือจากเยอรมันในปฏิบัติการโอ้กและได้รับมอบหมายในการดูแลรัฐหุ่นเชิดที่ถูกเรียกว่า สาธารณรัฐสังคมอิตาลี (Repubblica Sociale Italiana/RSI, หรือ สาธารณรัฐซาโล) ทางตอนเหนือของอิตาลี เพื่อเป็นการปลดปล่อยประเทศจากเยอรมันและฟาสซิสต์ อิตาลีได้กลายเป็นคู่ต่อสู้ร่วมของฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นผลทำให้ประเทศได้รับการสืบทอดในสงครามกลางเมือง โดยมีกองทัพคู่ต่อสู้ร่วมและพลพรรคของอิตาลีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายสัมพันธมิตรเข้าต่อสู้รบกับกองทัพของสาธารณรัฐสังคมอิตาลีและเยอรมันที่เป็นพันธมิตร บางพื้นที่ในภาคเหนือของอิตาลีได้รับการปลดปล่อยจากเยอรมันในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 มุสโสลินีถูกสังหารโดยพลพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี เมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1945 ในขณะที่พยายามจะหลบหนีไปยังสวิตเซอร์แลนด์[73]
อาณานิคมและเมืองขึ้น
แก้ในทวีปยุโรป
แก้หมู่เกาะโดเดคานีส เป็นเมืองขึ้นของอิตาลี ตั้งแต่ ค.ศ. 1912 ถึง ค.ศ. 1943
มอนเตเนโกรเป็นเมืองขึ้นของอิตาลี ตั้งแต่ ค.ศ. 1941 ถึง ค.ศ. 1943 เป็นที่รู้จักกันคือ เขตผู้ว่าการแห่งมอนเตรเนโกร ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ว่าการทหารของอิตาลี ในช่วงแรก อิตาลีตั้งใจที่จะทำให้มอนเตรเนโกรกลายเป็นรัฐอิสระซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างใกล้ชิดกับอิตาลี โดยได้รับการสนับสนุนผ่านการเชื่อมโยงทางราชวงศ์ที่เข้มแข็งระหว่างอิตาลีและมอนเตเนโกร เนื่องจากสมเด็จพระราชินีเอเลนาแห่งอิตาลีทรงเป็นพระธิดาของพระเจ้านิกอลาที่ 1 กษัตริย์องค์สุดท้ายของมอนเตเนโกร เซคูล่า เดอร์เยวิช นักชาตินิยมชาวมอนเตเนโกรที่ได้รับการสนับสนุนจากอิตาลีและผู้ติดตามของเขาได้พยายามที่จะสร้างรัฐมอนเตเนโกรขึ้นมา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 พวกเขาได้ประกาศสถาปนา "ราชอาณาจักรมอนเตเนโกร" ภายใต้การอารักขาของอิตาลี ภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ได้ก่อให้เกิดการจลาจลไปทั่วเพื่อต่อต้านชาวอิตาลี ภายในสามสัปดาห์ ผู้ก่อการกำเริบสามารถยึดดินแดนเกือบทั้งหมดของมอนเตเนโกรไว้ได้ กองกำลังทหารอิตาลีจำนวนกว่า 70,000 นาย และทหารที่ไม่ได้เข้าประจำการซึ่งมาจากชาวอัลเบเนียและชาวมุสลิมจำนวน 20,000 คน ได้ถูกส่งเพื่อเข้าปราบปรามกลุ่มกบฏ เดอร์เยวิชถูกขับไล่ออกจากมอนเตเนโกรในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 จากนั้นมอนเตเนโกรก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอิตาลีโดยตรง ด้วยการยอมจำนนของอิตาลีใน ค.ศ. 1943 มอนเตเนโกรได้เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของเยอรมนีโดยตรงแทน
อิตาลีได้เข้าครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจตั้งแต่การก่อตั้งใน ค.ศ. 1913 อัลแบเนียถูกกองกำลังทหารอิตาลีเข้ายึดครองใน ค.ศ. 1939 ในขณะที่พระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนียทรงลี้ภัยออกนอกประเทศพร้อมราชวงศ์ของพระองค์ รัฐสภาแอลเบเนียได้ลงมติถวายบัลลังก์แอลเบเนียแด่กษัตริย์แห่งอิตาลี ส่งผลทำให้เกิดสหภาพส่วนบุคคลระหว่างสองประเทศ[74][75]
ในแอฟริกา
แก้อิตาเลียน แอฟริกาตะวันออก เป็นอาณานิคมของอิตาลีที่ดำรงอยู่ ตั้งแต่ ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1943 ช่วงก่อนการบุกครองและผนวกรวมเอธิโอเปียเข้าสู่อาณานิคมที่เป็นเอกภาพใน ค.ศ. 1936 อิตาลีมีอาณานิคมสองแห่ง ได้แก่ เอริเทรียและโซมาเลีย นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880
ลิเบีย เป็นอาณานิคมของอิตาลีที่ดำรงอยู่ ตั้งแต่ ค.ศ. 1912 ถึง ค.ศ. 1943 ส่วนทางตอนเหนือของลิเบียถูกรวมเข้ากับอิตาลีโดยตรงใน ค.ศ. 1939 อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้ยังคงถูกรวมกันเป็นอาณานิคมภายใต้ข้าหลวงอาณานิคม
ญี่ปุ่น
แก้เหตุผลในการทำสงคราม
แก้รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้เหตุผลในการกระทำของตนโดยอ้างว่ากำลังพยายามที่จะรวบรวมเอเชียตะวันออกภายใต้การนำของญี่ปุ่นในวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา เพื่อที่จะปลดปล่อยชาวเอเชียตะวนออกจากการครอบงำและถูกปกครองในฐานะรัฐบริวารของมหาอำนาจตะวันตก[76] ญี่ปุ่นได้ปลุกระดมแนวคิดอุดมการณ์รวมกลุ่มชาวเอเชียและกล่าวว่าประชาชาวเอเชียมีความจำเป็นที่จะเป็นอิสระจากอิทธิพลตะวันตก[77]
สหรัฐได้ต่อต้านสงครามญี่ปุ่นในจีน และให้การยอมรับรัฐบาลชาตินิยมของเจียงไคเชกว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกตัองตามกฎหมายของจีน ด้วยเหตุนี้ สหรัฐจีงพยายามยุติความพยายามในการทำสงครามของญี่ปุ่นโดยกำหนดมาตราการคว่ำบาตรการค้าทั้งหมดระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่น ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาสหรัฐคิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของเชื้อเพลิงปิโตรเลียม และผลที่ตามมาก็คือ การคว่ำบาตรดังกล่าวส่งผลก่อให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจและการทหารของญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นไม่สามารถทำสงครามกับจีนได้อีกต่อไป ถ้าหากไม่สามารถเข้าถึงเชื้อเพลิงปิโตรเลียม[78]
เพื่อที่จะยืนยันในการทัพทางทหารในจีนโดยสูญเสียการค้าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมกับสหรัฐครั้งใหญ่ ญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงวิธีที่ดีที่สุดในการหาแหล่งทางเลือกของเชื้อเพลิงปิโตรเลียมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อุดมไปด้วยเชื้อเพลิงปิโตรเลียมและทรัพยากรทางธรรมชาติมากมาย[79] การข่มขู่ว่าจะตอบโต้โดยญี่ปุ่นต่อการคว่ำบาตรการค้าทั้งหมดโดยสหรัฐ เป็นที่รับรู้โดยรัฐบาลอเมริกัน รวมทั้งรัฐมนตรีแห่งรัฐของอเมริกานามว่า Cordell Hull ซึ่งกำลังเจรจากับญี่ปุ่นเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม โดยเกรงว่าการคว่ำบาตรทั้งหมด จะทำให้ญี่ปุ่นชิงลงมือในเข้าโจมตีหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตซ์[80]
ญี่ปุ่นระบุว่ากองเรือแปซิฟิกของอเมริกันซึ่งตั้งฐานทัพเรืออยู่ในเพิร์ลฮาร์เบอร์เป็นภัยคุกคามหลักต่อการออกแบบในการรุกรานและเข้ายึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[79] ดังนั้นญี่ปุ่นจึงริเริ่มโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เพื่อยับยั้งการตอบสนองต่อการรุกรานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และซื้อเวลาเพื่อให้ญี่ปุ่นทำการรวบรวมทรัพยากรเหล่านี้ด้วยตัวเองเพื่อทำสงครามทั้งหมดกับสหรัฐ และบังคับให้สหรัฐยอมรับการครอบครองของญี่ปุ่น[79] เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิบริติช
ประวัติศาสตร์
แก้จักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ถูกปกครองโดยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะทรงเป็นประมุข เป็นประเทศมหาอำนาจฝ่ายอักษะหลักในทวีปเอเชียและทะเลแปซิฟิก ภายใต้จักรพรรดิ มีคณะรัฐมนตรีทางการเมืองและกองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งจักรวรรดิซึ่งมีหัวหน้าเสนาธิการทหารอยู่สองคน ใน ค.ศ. 1945 จักรพรรดิญี่ปุ่นทรงเป็นมากกว่าผู้นำเชิงสัญลักษณ์ พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อรักษาราชบังลังก์ของพระองค์เอาไว้[81]
ณ จุดสูงสุด วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพาของญี่ปุ่น รวมทั้งแมนจูเรีย มองโกเลียใน ส่วนใหญ่ของแผ่นดินจีน มาเลเซีย อินโดจีนฝรั่งเศส หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตซ์ ฟิลิปปินส์ พม่า ส่วนขนาดเล็กของอินเดีย และหมู่เกาะต่าง ๆ ในภาคกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก
อันเป็นผลมาจากความไม่ลงรอยกันภายในและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำใน ค.ศ. 1920 องค์ประกอบทางทหารทำให้ญี่ปุ่นอยู่ในเส้นทางของลัทธิการขยายอาณาเขต เนื่องจากหมู่เกาะอันเป็นบ้านเกิดของญี่ปุ่นขาดแคลนทรัพยากรทางธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับการเติบโต ญี่ปุ่นจึงวางแผนที่จะก่อตั้งสถาปนาอำนาจในทวีปเอเชียและพึ่งพาตนเองได้โดยการเข้ายึดดินแดนที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ นโยบายการขยายอาณาเขตของญี่ปุ่นทำให้ตนเองดูแปลกแยกจากประเทศอื่น ๆ ในสันนิบาตชาติ และในช่วงกลางปี ค.ศ. 1930 ได้ทำให้ญี่ปุ่นใกล้ชิดกับเยอรมนีและอิตาลีมากขึ้น ซึ่งทั้งสองประเทศก็ดำเนินนโยบายการขยายอาณาเขตที่คล้ายคลึงกัน ความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและเยอรมนีได้เริ่มต้นด้วยกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ซึ่งทั้งสองประเทศตกลงที่จะเป็นพันธมิตรเพื่อท้าทายต่อการโจมตีใด ๆ จากสหภาพโซเวียต
ญี่ปุ่นได้เข้าสู่ความขัดแย้งกับจีนใน ค.ศ. 1937 ญี่ปุ่นเข้ารุกรานและยึดครองพื้นที่บางส่วนของจีนทำให้เกิดการกระทำความโหดร้ายทารุณต่อพลเรือนจำนวนมากมาย เช่น การสังหารหมู่ที่นานกิง และนโยบายทั้งสามประการ ญี่ปุ่นได้ต่อสู้รบอย่างประปรายกับกองทัพโซเวียต-มองโกเลียในแมนจูกัวใน ค.ศ. 1938 และ ค.ศ. 1939 ญี่ปุ่นต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการทำสงครามกับสหภาพโซเวียตโดยการลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันใน ค.ศ. 1941
ผู้นำทางทหารของญี่ปุ่นได้แตกแยกจากความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนีและอิตาลี และทัศนคติต่อสหรัฐ กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นสนับสนุนการทำสงครามกับสหรัฐแต่กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะคัดค้านอย่างรุนแรง เมื่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น พลเอก ฮิเดกิ โทโจ ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของสหรัฐให้ญี่ปุ่นถอนกำลังทหารออกจากจีน การเผชิญหน้ามีแนวโน้มมากขึ้น[82] การทำสงครามกับสหรัฐกำลังถูกปรึกษาหารือภายในรัฐบาลญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1940[83] ผู้บัญชาการกองเรือผสม พลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโตะ ได้เปิดเผยในการแสดงคัดค้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี โดยบอกกล่าวไว้ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1940 "การสู้รบกับสหรัฐก็เหมือนกับการสู้รบกับคนทั้งโลก แต่ก็ได้ตัดสินใจไปแล้ว ดังนั้นข้าพเจ้าจะสู้อย่างสุดความสามารถ แน่นอนว่าข้าพเจ้าจะต้องตายบนเรือนางาโตะ[เรือธงของเขา] ในขณะเดียวกัน โตเกียวจะถูกแผดเผาพื้นถึงสามครั้ง โคโนเอะและคนอื่น ๆ จะถูกฉีกเป็นชิ้น ๆ โดยประชาชนผู้เคียดแค้น ข้าพเจ้า[ไม่ควร] ที่จะประหลาดใจ"[83] ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ยามาโมโตะได้ติดต่อสื่อสารกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกองทัพเรือ โออิคาวะ และกล่าวว่า "มันไม่เหมือนในช่วงก่อนไตรภาคี ต้องมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งเพื่อทำให้แน่ใจว่าเราหลีกเลี่ยงอันตรายจากการไปทำสงคราม"[83]
ด้วยมหาอำนาจยุโรปที่มุ่งแต่ทำสงครามในยุโรป ญี่ปุ่นจึงต้องการที่จะเข้ายึดครองอาณานิคมของพวกเขา ใน ค.ศ. 1940 ญี่ปุ่นได้ตอบสนองต่อการรุกรานฝรั่งเศสของเยอรมันโดยการเข้ายึดครองทางตอนเหนือของอินโดจีนฝรั่งเศส ระบอบวิชีฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรโดยพฤตินัยของเยอรมนี ได้ให้การยอมรับในการครอบครอง กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ตอบโต้ด้วยการทำสงคราม อย่างไรก็ตาม สหรัฐได้เริ่มต้นการคว่ำบาตรต่อญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1941 เนื่องจากการทำสงครามอย่างต่อเนื่องในจีน สิ่งนี้จะเป็นการตัดซัพพลายอย่างเศษเหล็กและน้ำมันของญี่ปุ่นที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรม การค้า และความพยายามการทำสงคราม
เพื่อทำการแบ่งแยกกองกำลังสหรัฐที่ประจำการอยู่ในฟิลิปปินส์แเพื่อลดอำนาจของกองทัพเรือสหรัฐ กองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งจักรวรรดิได้สั่งให้โจมตีฐานทัพเรือสหรัฐที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ เกาะฮาวาย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 พวกเขายังได้เข้ารุกรานหมู่เกาะมลายูและฮ่องกง ในช่วงแรกได้รับชัยชนะมาหลายครั้ง ใน ค.ศ. 1943 กองทัพญี่ปุ่นได้ผลักดันล่าถอยกลับไปยังหมู่เกาะบ้านเกิด สงครามแปซิฟิกได้กินเวลาจนกระทั่งการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิใน ค.ศ. 1945 โซเวียตประกาศสงครามอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 และเข้าปะทะกองทัพญี่ปุ่นในแมนจูเรียและจีนทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ดินแดนอาณานิคมและเมืองขึ้น
แก้เกาะไต้หวัน เป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1895 เกาหลีเป็นรัฐในอารักขาและเมืองขึ้นของญี่ปุ่นซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยสนธิสัญญาญี่ปุ่น-เกาหลี ค.ศ. 1910
แปซิฟิกใต้ในอาณัติ เป็นดินแดนที่ถูกมอบให้แก่ญี่ปุ่น ในข้อตกลงสันติภาพของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้กำหนดให้หมู่เกาะแปซิฟิกใต้ของเยอรมันตกเป็นของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้รับดินแดนเหล่านี้เป็นรางวัลจากฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อญี่ปุ่นเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อต้านเยอรมัน
ญี่ปุ่นเข้ายึดครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตซ์ในช่วงสงคราม ญี่ปุ่นวางแผนที่จะเปลี่ยนดินแดนเหล่านี้เป็นรัฐบริวารของอินโดนีเซียและเสาะหาพันธมิตรกับนักชาตินิยมชาวอินโดนีเซียรวมถึงซูการ์โน ประธานาธิบดีอินโดนีเซียในอนาคต อย่างไรก็ตาม ความพยายามเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เกิดรัฐอินโดนีเซียขึ้นมาจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนน[84]
ประเทศอื่น ๆ ที่ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี
แก้นอกจากประเทศทั้งสามหลักของฝ่ายอักษะ ยังมีอีกหกประเทศที่ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคีในฐานะประเทศสมาชิก ในบรรดาประเทศอื่น ๆ เช่น โรมาเนีย ฮังการี บัลแกเรีย รัฐเอกราชโครเอเชีย และสโลวาเกีย ต่างได้เข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารต่าง ๆ ของฝ่ายอักษะด้วยกองกำลังติดอาวุธประจำชาติ ในขณะที่ประเทศที่หก ยูโกสลาเวีย ได้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลที่ให้การสนับสนุนนาซีได้ถูกโค่นล้มก่อนหน้านี้ในการก่อรัฐประหารเพียงไม่กี่วัน ภายหลังจากที่ได้ลงนามในกติกาสัญญาและสมาชิกก็ถูกถอดถอน
บัลแกเรีย
แก้ราชอาณาจักรบัลแกเรียถูกปกครองโดยพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 เมื่อลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1941 บัลแกเรียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและต้องการเอาคืนในสิ่งที่ผู้นำบัลแกเรียเห็นว่าเป็นดินแดนที่สูญเสียไปทั้งทางชาติพันธ์และประวัติศาสตร์ของบัลแกเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาซิโดเนียและเทรซ(ทั้งหมดอยู่ในราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ราชอาณาจักรกรีซ และตุรกี) ในช่วงปี ค.ศ. 1930 เนื่องจากองค์ประกอบดั้งเดิมของฝ่ายขวา บัลแกเรียจึงเข้าใกล้นาซีเยอรมนีมากขึ้น ใน ค.ศ. 1940 เยอรมนีได้กดดันให้โรมาเนียลงนามในสนธิสัญญาไครโอวา โดยทำการส่งคืนภูมิภาคดอบรูจาใต้แก่บัลแกเรีย ซึ่งสูญเสียไปใน ค.ศ. 1913 เยอรมันยังได้ให้คำมั่นสัญญากับบัลแกเรีย - หากเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ - การขยายอาณาเขตของตนไปยังชายแดนที่ได้ระบุเอาไว้ในสนธิสัญญาซานสเตฟาโน
บัลแกเรียได้เข้าร่วมในการรุกรานยูโกสลาเวียและกรีซของฝ่ายอักษะโดยปล่อยให้กองกำลังทหารเยอรมันเข้าโจมตีดินแดนของตนและส่งกองกำลังทหารไปยังกรีซ เมื่อวันที่ 20 เมษายน เพื่อเป็นรางวัล ฝ่ายอักษะได้อนุญาตให้บัลแกเรียครอบครองพื้นที่บางส่วนของทั้งสองประเทศ - ทางใต้และทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูโกสลาเวีย(วาร์ดาร์ บาโนวินา) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ(ส่วนหนึ่งของกรีกมาซิโดเนียและกรีกเธรซ) กองกำลังบัลแกเรียในพื้นที่เหล่านี้ได้ใช้เวลาหลายปีในการต่อสู้รบกับกลุ่มฝ่ายชาตินิยมและขบวนการต่อต้านต่าง ๆ แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากเยอรมนี บัลแกเรียไม่ได้มีส่วนร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตของฝ่ายอักษะและไม่เคยประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตเลย อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือบัลแกเรียยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบหลายครั้งกับกองเรือทะเลดำของโซเวียต ซึ่งได้เข้าโจมตีเรือขนส่งสินค้าของบัลแกเรีย
ภายหลังจากญี่ปุ่นเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 รัฐบาลบัลแกเรียได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก การกระทำนี้ยังคงเป็นสัญลักษณ์ส่วนใหญ่(อย่างน้อยก็ในมุมมองของบัลแกเรีย) จนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1943 เมื่อการป้องกันทางอากศและกองทัพอากาศของบัลแกเรียได้โจมตีเครื่องบินทิ้งระเบิดฝ่ายสัมพันธมิตร การกลับมา(ได้รับความเสียหายอย่างหนัก) จากภารกิจเหนือโรงกลั่นน้ำมันของโรมาเนีย สิ่งนี้กลายเป็นหายนะสำหรับพลเมืองในโซเฟียและเมืองที่สำคัญอื่น ๆ ของบัลแกเรีย ซึ่งถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักโดยฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 1943-1944
เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1944 กองทัพแดงได้เข้าใกล้ชายแดนบัลแกเรีย รัฐบาลบัลแกเรียชุดใหม่ได้เข้ามามีอำนาจและต้องการที่จะเจรจาสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ขับไล่กองกำลังทหารเยอรมันที่หลงเหลืออยู่ไม่มาก และประกาศวางตัวเป็นกลาง อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้ไม่อาจขัดขวางสหภาพโซเวียตประกาศสงครามกับบัลแกเรียในวันที่ 5 กันยายน และวันที่ 8 กันยายน กองทัพแดงได้เคลื่อนทัพเข้าสู่ประเทศ โดยแทบไร้การต่อต้าน ซึ่งตามมาด้วยการก่อรัฐประหาร เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1944 ซึ่งทำให้รัฐบาลของแนวรบปิตุภูมิที่สนับสนุนโซเวียตขึ้นสู่อำนาจ ภายหลังจากนั้น กองทัพบัลแกเรีย(ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวรบยูเครนที่ 3 ของกองทัพแดง) ได้เข้าต่อสู้รบกับเยอรมันในยูโกสลาเวียและฮังการี ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาสันติภาพปารีสได้ถือว่าบัลแกเรียเป็นหนึ่งในประเทศที่พ่ายแพ้สงคราม บัลแกเรียได้รับอนุญาตในการรักษาภูมิภาคดอบรูจาใต้เอาไว้ แต่ต้องยกเลิกการอ้างสิทธิ์ในดินแดนกรีกและยูโกสลาเวียทั้งหมด
ฮังการี
แก้ฮังการีถูกปกครองโดยผู้สำเร็จราชการนามว่า พลเรือเอก มิกโลช โฮร์ตี เป็นประเทศแรกที่นอกเหนือจากเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งได้ยึดมั่นตามกติกาสัญญาไตรภาคี ถูกลงนามในข้อตกลง เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940[85]
ด้วยความไร้เสถียรภาพทางการเมืองได้ก่อกวนประเทศ จนกระทั่งมิกโลช โฮร์ตี ขุนนางฮังการีและเจ้าหน้าที่นายทหารเรือแห่งออสเตรีย-ฮังการีได้กลายเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินใน ค.ศ. 1920 ชาวฮังการีส่วนใหญ่ต้องการที่จะกอบกู้ดินแดนที่เสียไปโดยสนธิสัญญาทรียานง ในช่วงรัฐบาลของกยูลา เกิมเบิส ฮังการีได้เข้าใกล้ชิดกับเยอรมนีและอิตาลีมากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการร่วมกันที่จะแก้ไขการตั้งถิ่นฐานอย่างสันติที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[86] หลายคนต่างเห็นด้วยกับนโยบายต่อต้านชาวยิวของระบอบนาซี เนื่องจากจุดยืนที่ให้การสนับสนุนเยอรมนีและความพยายามครั้งใหม่ในนโยบายระหว่างประเทศ ฮังการีจึงได้รับการตั้งถิ่นฐานในดินแดนอย่างเป็นที่น่าพอใจโดยรางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง ภายหลังจากการล่มสลายของเชโกสโลวาเกียซึ่งได้เข้ายึดครองและผนวกส่วนที่เหลือของคาร์พาเทียน รูเธเนีย และใน ค.ศ. 1940 ได้รับทรานซิลเวเนียทางตอนเหนือจากโรมาเนียผ่านทางรางวัลเวียนนาครั้งที่สอง ฮังการีได้อนุญาตให้ทหารเยอรมันเดินทางผ่านอาณาเขตของตนในช่วงการรุกรานยูโกสลาเวีย และกองกำลังฮังการีได้เข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารภายหลังการประกาศสถาปนารัฐเอกราชโครเอเชีย บางส่วนของอดีตยูโกสลาเวียได้ถูกผนวกรวมเข้ากับฮังการี สหราชอาณาจักรได้ยุติความสัมพันธ์ทางการทูตโดยทันทีเพื่อเป็นการตอบโต้
แม้ว่าฮังการีจะไม่ได้เข้าร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตของเยอรมันในช่วงแรก แต่ฮังการีและสหภาพโซเวียตได้กลายเป็นคู่สงครามในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1941 จำนวนทหารกว่า 500,000 นายได้ปฏิบัติการรบบนแนวรบด้านตะวันออก กองทัพภาคสนามทั้งห้าได้เข้าร่วมในสงครามต่อต้านสหภาพโซเวียตในที่สุด ส่วนที่สนับสนุนที่สำคัญโดยกองทัพบกฮังการีที่สอง
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ฮังการีเป็นหนึ่งในสิบสามประเทศที่ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นซึ่งได้เริ่มทำใหม่ กองกำลังทหารฮังการีเช่นเดียวกับฝ่ายอักษะ มีส่วนร่วมในปฏิบัติการรบในการต่อต้านโซเวียตจำนวนมากมาย ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1943 โซเวียตได้เปรียบในการรบและเยอรมันต้องล่าถอย กองทัพบกฮังการีที่สองถูกทำลายล้างในการสู้รบกับแนวรบโวโรเนจ บนริมฝั่งแม่น้ำดอน
ก่อนที่เยอรมนีจะเข้ายึดครองภายในพื้นที่ฮังการี ชาวยิวจำนวนประมาณ 63,000 คนได้สูญสิ้นไปหมดแล้ว ภายหลังจากนั้น ในช่วงปลาย ปี ค.ศ. 1944 ชาวยิวจำนวน 437,000 คนได้ถูกเนรเทศไปยังค่ายกักกันเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนา พวกเขาส่วนใหญ่ล้วนเสียชีวิตทั้งหมด[87] โดยรวมแล้ว ชาวยิวเชื้อสายฮังการีได้ประสบความสูญเสียจำนวนเกือบ 560,000 คน[88]
ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีกับผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของมิกโลช โฮร์ตีได้ล่มสลายใน ค.ศ. 1944 เมื่อโฮร์ตีได้พยายามที่จะเจรจาทำข้อตกลงสันติภาพกับโซเวียตและกระโดดออกจากสงครามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเยอรมัน โฮร์ตีได้ถูกบีบบังคับให้สละตำแหน่ง ภายหลังจากหน่วยคอมมานโดเยอรมัน ซึ่งนำโดยพันเอก ออทโท สกอร์เซนี ทำการจับลูกชายของเขาไว้เป็นตัวประกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการพันแซร์เฟาสท์ ฮังการีได้รับการปรับปรุงใหม่ภายหลังจากการสละตำแหน่งของโฮร์ตี้ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944 ให้กลายเป็นระบอบเผด็จการที่เรียกว่า รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติฮังการี ซึ่งนำโดยแฟแร็นตส์ ซาลอชี เขาเป็นนายกรัฐมนตรีของฮังการีนับตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 และเป็นผู้นำของพรรคแอร์โรว์ครอสส์แห่งฮังการี เขตอำนาจได้ถูกจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพจนกระทั่งกลุ่มอาณาเขตที่หดแคบลงเรื่อย ๆ ในภาคกลางของฮังการี รอบกรุงบูดาเปสต์นับตั้งแต่ที่พวกเขาเข้ายึดอำนาจ กองทัพแดงซึ่งอยู่ห่างไกลจากภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ทีมสังหารของแอร์โรว์ครอสส์ได้สังหารชาวยิวเชื้อสายฮังการีมากถึง 38,000 คน เจ้าหน้าที่แอร์โรว์ครอสส์ได้ช่วยเหลืออาด็อล์ฟ ไอช์มันในการเปิดใช้งานกระบวนการขับไล่เนรเทศอีกครั้ง ซึ่งชาวยิวในกรุงบูดาเปสต์ได้รับการไว้ชีวิตเป็นการชั่วคราว ทำการส่งชาวยิวจำนวนประมาณ 80,000 คน ออกจากเมืองเพื่อถูกใช้เป็นแรงงานเกณฑ์และจำนวนอีกมายมายถูกส่งตรงไปยังค่ายมรณะ พวกเขาส่วนใหญ่ล้วนเสียชีวิต รวมทั้งหลายคนที่ถูกฆ่าตายทันทีภายหลังการสู้รบจบลงในขณะที่พวกเขากำลังเดินทางกลับบ้าน[89][90] หลายวันภายหลังรัฐบาลซาลอซีเข้ายึดอำนาจ กรุงบูดาเปสต์ที่เป็นเมืองหลวงถูกล้อมรอบไปด้วยกองทัพแดงของโซเวียต กองทัพเยอรมันและฮังการีได้พยายามที่จะหยุดยั้งการรุกของโซเวียตแต่กลับล้มเหลว ภายหลังการสู้รบอย่างดุเดือด กรุงบูดาเปสต์ก็ถูกโซเวียตยึดครอง ชาวฮังการีที่สนับสนุนเยอรมันจำนวนมากได้ล่าถอยไปยังอิตาลีและเยอรมนี ที่พวกเขาต่อสู้รบกันจนสงครามยุติลง
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 ซาลอชีได้ลี้ภัยไปยังเยอรมนีในฐานะผู้นำรัฐบาลผลัดถิ่น จนกระทั่งการยอมจำนนของเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945
รัฐเอกราชโครเอเชีย
แก้เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1941 ได้ถูกเรียกว่า รัฐเอกราชโครเอเชีย (Nezavisna Država Hrvatska, หรือ NDH) ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของเยอรมัน-อิตาลีซึ่งได้ร่วมกันก่อตั้ง ได้ลงนามร่วมในกติกาสัญญาไตรภาคี รัฐเอกราชโครเอเชียยังคงเป็นประเทศสมาชิกของฝ่ายอักษะจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง กองกำลังของตนได้ต่อสู้รบเพื่อเยอรมนี แม้ว่าดินแดนขอวงตนจะถูกบุกรุกโดยพลพรรคยูโกสลาเวีย เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1941 อานเต ปาเวลิช นักชาตินิยมชาวโครเอเชียและหนึ่งในผู้ก่อตั้งอูสตาเช("ขบวนการปลดปล่อยโครเอเชีย") ได้รับการประกาศแต่งตั้งเป็น Poglavnik (ท่านผู้นำ) ของระบอบใหม่
ในช่วงแรก อูสตาเชได้รับอิทธิพลอย่างมากมาจากอิตาลี พวกเขาได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากระบอบฟาสซิสต์ของมุสโสลินีในอิตาลี ซึ่งได้ส่งมอบพื้นที่ในการฝึกซ้อมแก่ขบวนการเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำสงครามต่อต้านยูโกสลาเวีย รวมทั้วได้ให้การยอมรับปาเวลิชเป็นผู้ลี้ภัยและอนุญาตให้เขามาพำนักอยู่ในกรุงโรม ใน ค.ศ. 1941 ในช่วงการรุกรานกรีซของอิตาลี มุสโสลินีได้ร้องขอให้เยอรมนีเข้ารุกรานยูโกสลาเวียเพื่อรักษากองทัพอิตาลีในกรีซ ฮิตเลอร์ตอบตกลงอย่างไม่เต็มใจ ยูโกสลาเวียถูกรุกรานและรัฐเอกราชโครเอเชียก็ถูกสร้างขึ้น ปาเวลิชได้นำกลุ่มผู้แทนไปยังกรุงโรมและเสนอถวายมงกุฎแห่งรัฐเอกราชโครเอเชียแก่เจ้าชายอิตาลีแห่งราชวงศ์ซาวอย ผู้ที่ได้รับการสวมมงกุฎพระนามว่า ตอมิสลัฟที่ 2 วันรุ่งขึ้น ปาเวลิชได้ลงนามในสัญญาแห่งกรุงโรมกับมุสโสลินี โดยยกให้ภูมิภาคแดลเมเชียแก่อิตาลี และทำการแก้ไขชายแดนถาวรระหว่างรัฐเอกราชโครเอเชียและอิตาลี กองทัพอิตาลีได้รับอนุญาตให้ควบคุมแนวชายฝั่งทั้งหมกของรัฐเอกราชโครเอเชีย ทำให้อิตาลีเข้าควบคุมแนวชายฝั่งทะเลเอเดรียติกเอาไว้ทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อกษัตริย์อิตาลีได้ทำการขับไล่มุสโสลินีออกจากอำนาจและอิตาลีได้ยอมจำนน รัฐเอกราชโครเอเชียก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเยอรมันอย่างสมบูรณ์
พื้นเวทีของขบวนการอูสตาเชได้ประกาศว่า ชาวโครเอเชียได้ถูกกดขี่ข่มเหงโดยราชอาณาจักรยูโกสลาเวียที่ถูกครอบงำโดบชาวเซิร์บ และชาวโครเอเชียสมควรที่จะมีประเทศเอกราชภายหลังหลายปีที่ถูกครอบงำโดยจักรวรรดิต่างชาติ อูสตาเชได้มองชาวเซิร์บดูด้อยกว่าชาวโครเอเชีย และมองเห็นว่าพวกเขาเป็นผู้บุกรุกที่ครอบครองดินแดนโครเอเชีย พวกเขาได้มองเห็นถึงการกำจัดและการขับไล่หรือเนรเทศชาวเซิร์บตามความจำเป็นเพื่อทำให้โครเอเชียมีความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติ ในขณะที่เป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย นักชาตินิยมชาวโครเอเชียจำนวนมากต่อต้านระบอบกษัตริย์ยูโกสลาเวียที่ถูกครอบงำโดบชาวเซิร์บและทำการลอบปลงพระชนม์ต่อสมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย ร่วมกับองค์การฝ่ายปฏิวัติชาวมาซิโดเนียภายใน ระบอบการปกครองได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักชาตินิยมชาวโครเอเชียหัวรุนแรง กองกำลังอูสตาเชได้ต่อสู้รบกับกองโจรพลพรรคคอมมิวนิสต์ชาวยูโกสลาฟตลอดช่วงสงคราม
เมื่อเข้าสู่อำนาจ ปาเวลิชได้ก่อตั้งกองอารักขาบ้านเกิดโครเอเชีย(Hrvatsko domobranstvo) ในฐานะกองกำลังทหารอย่างเป็นทางการของรัฐเอกราชโครเอเชีย แต่เดิมได้รับอำนาจในการมีกองกำลังจำนวน 16,000 นาย ได้เติบโตเป็นกองกำลังสู้รบสูงสุดจำนวน 130,000 นาย กองอารักขาบ้านเกิดโครเอเชียรวมทั้งกองทัพอากาศและกองทัพเรือ แม้ว่ากองทัพเรือจะถูกจำกัดขนาดโดยสัญญาแห่งกรุงโรม นอกจากกองอารักขาบ้านเกิดโครเอเชียแล้ว ปาเวลิชยังเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทหารอาสาอูสตาเช แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว หน่วยทหารของรัฐเอกราชโครเอเชียทั้งหมดจะอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกองทัพเยอรมันหรืออิตาลีในพื้นที่ปฏิบัติการ
ขบวนการอูสตาเชได้ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ค.ศ. 1941 และส่งกองกำลังทหารไปยังแนวรบด้านตะวันออกของเยอรมนี กองทหารอาสาอูสตาเชได้ถูกส่งไปรักษาการในบอลข่าน ต่อสู้รบกับพลพรรคคอมมิวนิสต์
รัฐบาลอูสตาเชได้ใช้กฎหมายทางเชื้อชาติกับชาวเซิร์บ ชาวยิว และชาวโรมานี รวมทั้งกำหนดเป้าหมายถึงผู้ที่ต่อต้านระบอบฟาสซิสต์ และภายหลังเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ได้ทำการเนรเทศพวกเขาไปยังค่ายกักกันจาเซโนวัก(Jasenovac concentration camp) หรือค่ายของเยอรมันในโปแลนด์ กฎหมายทางเชื้อชาติที่ถูกบังคับใช้โดยกองทหารอาสาอูสตาเช จำนวนผู้ที่ตกเป๋นเหยื่อของระบอบอูสตาเชนั้นไม่แน่นอน เนื่องจากมีการทำลายเอกสารและตัวเลขที่แตกต่างกันโดยนักประวัติศาสตร์ ตามข้อมูลของพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานรำลึกฮอโลคอสต์ของสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี ซี จำนวนชาวเซิร์บ ระหว่าง 320,000 คน และ 340,000 คนล้วนถูกสังหารในรัฐเอกราชโครเอเชีย[91]
โรมาเนีย
แก้เมื่อสงครามปะทุขึ้นในยุโรป เศรษฐกิจของราชอาณาจักรโรมาเนียดูด้อยกว่าผลประโยชน์ของนาซีเยอรมนีผ่านทางสนธิสัญญาที่ลงนามในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1939 อย่างไรก็ตาม ประเทศไม่ได้ละทิ้งความเห็นอกเห็นใจที่สนับสนุนต่อบริติชโดยสิ้นเชิง โรมาเนียยังเป็นพันธมิตรกับโปแลนด์ตลอดในช่วงระหว่างสงคราม ภายหลังจากการรุกรานโปแลนด์โดยเยอรมนีและสหภาพโซเวียต และการพิชิตฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนี โรมาเนียพบว่าตนเองโดดเดี่ยวมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ฝ่ายสนับสนุนเยอรมันและฝ่ายสนับสนุนลัทธิฟาสซิสต์ก็เริ่มเติบโตขึ้น
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพระหว่างเยอรมนีและโซเวียตซึ่งประกอบไปด้วยพิธีตราสารลับว่าด้วยได้ยกดินแดนเบสซาราเบียและบูโกวินาทางตอนเหนือให้แก่สหภาพโซเวียต[55] เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1940 สหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองและผนวกรวมเบสซาราเบีย เช่นเกียวกับส่วนหนึ่งของโรมาเนียตอนเหนือและภูมิภาคเฮิร์ตซา[92] เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1940 อันเป็นผลมาจากการตัดสินด้วยอนุญาโตตุลาการของเยอรมัน-อิตาลีในรางวัลเวียนนาครั้งที่สอง โรมาเนียต้องยกดินแดนทรานซิลเวเนียทางตอนเหนือให้แก่ฮังการี ดอบรูจาใต้ถูกยกให้แก่บัลแกเรียในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 ในความพยายามที่จะเอาใจพวกฟาสซิสต์ภายในประเทศและได้รับการคุ้มครองจากเยอรมัน พระเจ้าคาโรลที่ 2 ทรงแต่งตั้งให้นายพล อียอน อันตอเนสกู เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1940
สองวันต่อมา อันตอเนสกูได้บีบบังคับกษัตริย์ให้ทำการสละราชบังลังก์และแต่งตั้งพระราชโอรสองค์เล็กพระนามว่า ไมเคิล(มีไฮ) ขึ้นครองราชย์ และประกาศแต่งตั้งตนเองเป็น Conducător(ท่านผู้นำ) ด้วยอำนาจเผด็จการ รัฐกองทหารแห่งชาติได้ถูกประกาศสถาปนา เมื่อวันที่ 14 กันยายน โดยมีกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กปกครองร่วมกับอันตอเนสกู ซึ่งเป็นขบวนการทางการเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวในโรมาเนีย ภายใต้กษัตริย์มีไฮที่ 1 และรัฐบาลทหารของอันตอเนสกู โรมาเนียได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ทหารเยอรมันได้เข้าสู่ประเทศ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1941 เพื่อทำการฝึกแก่กองทัพโรมาเนีย คำสั่งของฮิตเลอร์ต่อทหาร เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ได้ระบุว่า "จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงแม้แต่การยึดครองทางทหารของโรมาเนียเพียงน้อยนิด"[93] การเข้ามาของทหารเยอรมันในโรมาเนียได้ทำให้เบนิโต มุสโสลินี เผด็จการอิตาลีตัดสินใจในการเปิดฉากการรุกรานกรีซ เริ่มต้นสงครามกรีซ-อิตาลี[94] ภายหลังจากได้รับอนุมัติจากฮิตเลอร์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1941 อันตอเนสกูทำการขับไล่กลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กออกจากอำนาจ
ต่อมาโรมาเนียถูกใช้เป็นเวทีสำหรับการรุกรานยูโกสลาเวียและสหภาพโซเวียต แม้จะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางทหารในการรุกรานยูโกสลาเวีย โรมาเนียได้ร้องขอให้ทหารฮังการีไม่ปฏิบัติการในบาเน็ท ดังนั้น เพาลุสจึงแก้ไขแผนการของฮังการีและเก็บทหารของตนไว้ทางตะวันตกของแม่น้ำติซอ[95]
โรมาเนียได้เข้าร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตซึ่งนำโดยเยอรมนี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 อันตอเนสกูเป็นผู้นำต่างประเทศเพียงคนเดียวที่ฮิตเลอร์ปรึกษาหารือเรื่องทางทหาร[96] และทั้งสองคนจะพบกันไม่น้อยกว่าสิบครั้งตลอดช่วงสงคราม[97] โรมาเนียได้ยึดดินแดนเบสซาราเบียและบูโควินาทางตอนเหนือกลับคืนมาในช่วงปฏิบัติการมึนเชินก่อนที่จะยึดครองดินแดนโซเวียตต่อไปและก่อตั้งเขตผู้ว่าการทรานส์นิสเตรีย ภายหลังการล้อมออแดซา เมืองกลายเป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการ กองทหารโรมาเนียต่อสู้รบเพื่อเข้าสู่แหลมไครเมียพร้อมกับกองทหารเยอรมันและมีส่วนสำคัญในการล้อมเซวัสโตปอล ต่อมา กองทหารภูเขาได้ร่วมการทัพของเยอรมันในเทือกเขาคอเคซัสไปจนถึงนัลชิค[98] ภายหลังจากประสบความสูญเสียอย่างร้ายแรงที่สตาลินกราด เจ้าหน้าที่โรมาเนียได้เริ่มทำการเจรจาทำข้อตกลงเพื่อสันติภาพอย่างลับ ๆ กับฝ่ายสัมพันธมิตร
อุตสาหกรรมทางทหารของโรมาเนียนั้นมีขนาดเล็กแต่เต็มไปด้วยความอเนกประสงค์ สามารถคัดลอกและผลิตระบบอาวุธของฝรั่งเศส โซเวียต เยอรมัน บริติช และเชโกสโลวักได้หลายพันรายการ รวมไปถึงการผลิตผลผลิตแบบดั้งเดิมที่มีประสิทธิภาพ[99] โรมาเนียยังได้สร้างเรือรบขนาดใหญ่มาก เช่น เรือวางทุ่นระเบิด NMS Amiral Murgescu และ เรือดำน้ำ NMS Rechinul และ NMS Marsuinul[100] มีการผลิตเครื่องบินที่ถูกออกแบบแต่เดิมจำนวนหลายร้อยลำ เช่น เครื่องบินขับไล่อย่าง IAR 80 และเครื่องบินทิ้งระเบิดเบาอย่าง IAR 37[101] ประเทศนี้ได้สร้างยานรบหุ้มเกราะอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ยานเกราะพิฆาตรถถัง Mareșal ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่ามีอิทธิพลต่อการออกแบบของยานเกราะพิฆาตรถถัง เฮ็ทเซอร์ ของเยอรมัน[102] โรมาเนียยังเป็นประเทศที่สำคัญในอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในยุโรป และโรงกลั่นน้ำมันที่โปลเยชต์ ได้ให้ผลผลิตประมาณ 30% ของการผลิตน้ำมันของฝ่ายอักษะทั้งหมด[103] นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษนามว่า เดนนิส เดเลแทนต์ ได้ยืนยันว่า การสนับสนุนที่สำคัญของโรมาเนียต่อการทำสงครามของฝ่ายอักษะ รวมถึงการมีกองทัพฝ่ายอักษะขนาดใหญ่เป็นอันดับสามในยุโรปและค้ำจุนการทำสงครามของเยอรมันด้วยน้ำมันและยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งหมายความว่า "เทียบเท่ากับอิตาลีที่เป็นพันธมิตรที่สำคัญและไม่ได้อยู่ในหมวดหมู่ของประเทศรองที่เป็นรัฐบริวารของฝ่ายอักษะ"[104] นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษอีกคนนามว่า Mark Axworthy มีความเชื่อว่า โรมาเนียมีโอกาสที่จะพิจารณาได้ว่ามีกองทัพฝ่ายอักษะที่สำคัญมากที่สุดเป็นอันดับสองในยุโรป มากกว่ากองทัพอิตาลีด้วยซ้ำ[105]
โรมาเนียภายใต้อันตอเนสกูเป็นรัฐเผด็จการฟาสซิสต์และระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ชาวยิวจำนวนระหว่าง 45,000 คน และ 60,000 คน ล้วนถูกสังหารในบูโกวินาและเบรสซาราเบียโดยทหารโรมาเนียและเยอรมันใน ค.ศ. 1941 ตามคำกล่าวของ Wilhelm Filderman ว่า ชาวยิวอย่างน้อย 150,000 คนในเบรสซาราเบียและบูโกวินา ล้วนเสียชีวิตภายใต้ระบอบอันตอเนสกู(ทั้งผู้ที่ถูกขับไล่เนรเทศและผู้ที่ยังคงอยู่) โดยรวมแล้ว ชาวยิวประมาณ 250,000 คน ที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลของโรมาเนียล้วนเสียชีวิต[106]
ใน ค.ศ. 1943 กระแสสงครามได้เปลี่ยนไป โซเวียตได้ผลักดันกลับไปยังทางตะวันตกมากขึ้น สามารถยึดยูเครนกลับคืนมา และในที่สุดก็ได้เปิดฉากการรุกโรมาเนียทางตะวันออกในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1944 ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ กองกำลังทหารโรมาเนียในแหลมไครเมียได้ช่วยกันขับไล่การยกพลขึ้นบกของโซเวียตในช่วงแรก แต่ในที่สุด คาบสมุทรทั้งหมดก็ถูกกองทัพโซเวียตยึดครองกลับคืนอีกครั้ง และกองทัพเรือโรมาเนียได้ทำการอพยพทหารเยอรมันและโรมาเนียมากกว่า 100,000 นาย ความสำเร็จดังกล่าวทำให้พลเรือเอกของกองทัพเรือโรมาเนียนามว่า โฮเรีย มาเชลลาริอู(Horia Macellariu) ได้รับเหรียญกางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็ก[107] ในช่วงการรุกยาช–คีชีเนฟ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 โรมาเนียได้เปลี่ยนข้างฝ่าย เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ทหารโรมาเนียได้ต่อสู้รบเคียงข้างกับกองทัพโซเวียตจนกระทั่งสงครามยุติลง ซึ่งเดินทางไปไกลถึงเชโกสโลวาเกียและออสเตรีย
สโลวาเกีย
แก้สาธารณรัฐสโลวักภายใต้การนำโดยประธานาธิบดี ยอเซ็ฟ ติซอ ซึ่งได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940
สโลวาเกียมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเยอรมนีเกือบที่จะโดยทันทีภายหลังจากการประกาศอิสรภาพจากเชโกสลโลวาเกีย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1939 สโลวาเกียได้เข้าสู่ในสนธิสัญญาอารักขากับเยอรมนี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1939
ทหารสโลวาเกียได้เข้าร่วมการรุกรานโปแลนด์ของเยอรมัน โดยมีความสนใจในภูมิภาคสปิชและโอราวา ทั้งสองภูมิภาคพร้อมกับ Cieszyn Silesia ได้มีข้อโต้แย้งกันระหว่างโปแลนด์และเชโกสโลวาเกียนับตั้งแต่ ค.ศ. 1918 โปแลนด์ได้ผนวกรวมดินแดนทั้งสองอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงมิวนิก ภายหลังจากการรุกรานโปแลนด์ สโลวาเกียได้ยึดครองดินแดนเหล่านั้นกลับคึน สโลวาเกียได้รุกรานโปแลนด์พร้อมกองทัพเยอรมัน โดยให้การสนับสนุนด้วยกองกำลังทหารจำนวน 50,000 นายในช่วงสงคราม
สโลวาเกียได้ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1941 และลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นซึ่งได้เริ่มทำใหม่ใน ค.ศ. 1941 ทหารสโลวาเกียบได้เข้าต่อสู้รบบนแนวรบด้านตะวันออกของเยอรมนี ซึ่งได้จัดหาเพื่อเสริมกำลังให้แก่เยอรมนีด้วยสองกองพลโดยจำนวนทั้งหมด 80,000 นาย สโลวาเกียประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ
สโลวาเกียได้รอดพ้นจากการยึดครองของกองทัพเยอรมันจนกระทั่งการก่อการกำเริบชาติสโลวาเกีย ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1944 และเกือบจะถูกบดขยี้โดยทันทีโดยหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สและกองกำลังทหารสโลวักที่ภักดีต่อยอเซ็ฟ ติซอ
ภายหลังสงคราม ติซอถูกจับกุมและประหารชีวิต และสโลวาเกียก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของเชโกสโลวาเกียอีกครั้ง ชายแดนที่ติดกับโปแลนด์ได้ถูกย้ายกลับไปเป็นรัฐในช่วงก่อนสงคราม สโลวาเกียและสาธารณรัฐเช็กต่างได้แยกตัวออกกลายเป็นรัฐอิสระในที่สุดใน ค.ศ. 1993
ยูโกสลาเวีย (เพียงแค่สองวันของการเป็นประเทศสมาชิก)
แก้ยูโกสลาเวียส่วนมากถูกล้อมรอบไปด้วยประเทศสมาชิกของกติกาสัญญาและตอนนี้มีชายแดนติดกับเยอรมันไรช์ ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1940 ฮิตเลอร์ต้องการทำกติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันกับยูโกสลาเวีย ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้ยูโกสลาเวียเข้าร่วมกติกาสัญญาไตรภาคี แต่รัฐบาลยูโกสลาเวียกลับยืดเวลา ในเดือนมีนาคม กองพลของกองทัพเยอรมันได้มาถึงชายแดนระหว่างบัลแกเรีย-ยูโกสลาเวียและได้ขออนุญาตผ่านทางเพื่อเข้าโจมตีกรีซ วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1941 ด้วยความเกรงกลัวว่ายูโกสลาเวียจะถูกรุกรานไปด้วย รัฐบาลยูโกสลาเวียจึงตัดสินใจที่จะลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคีโดยมีข้อสงวนที่สำคัญ ซึ่งต่างจากประเทศมหาอำนาจฝ่ายอักษะอื่น ๆ ยูโกสลาเวียไม่จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือทางทหาร หรือจัดหาอาณาเขตของตนแก่ฝ่ายอักษะเพื่อเคลื่อนกองกำลังทหารในช่วงสงคราม เพียงแค่สองวัน ภายหลังการประท้วงบนถนนในกรุงเบลเกรด เจ้าชายพอลและรัฐบาลได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยการก่อรัฐประหาร สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 ด้วยพระชนมพรรษา 17 พรรษา ทรงได้รับประกาศบรรลุนิติภาวะ รัฐบาลชุดใหม่ของยูโกสลาเวียภายใต้การนำโดยนายพล ดูชัน ซิมอวิช ได้ปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันจากการลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคีของยูโกสลาเวีย และเริ่มต้นการเจรจากับบริเตนใหญ่ และสหภาพโซเวียต วินสตัน เชอร์ชิลได้ลงความเห็นว่า "ยูโกสลาเวียได้พบจิตวิญญาณแล้ว" อย่างไรก็ตาม ฮิตเลอร์ออกคำสั่งให้กองทัพบุกเข้ายึดครองอย่างรวดเร็ว
ประเทศอื่น ๆ ที่ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น
แก้บางประเทศได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นแต่ไม่ได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี ดังนั้นการยึดมั่นต่อฝ่ายอักษะจึงอาจดูน้อยกว่าผู้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี บางส่วนของรัฐเหล่านี้ได้ทำสงครามอย่างเป็นทางการกับสมาชิกของฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศอื่น ๆ ยังคงวางตัวเป็นกลางในสงคราม และทำการส่งทหารอาสาสมัครไปเข้าร่วมรบเท่านั้น การลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นถูกมองว่า "เป็นบททดสอบความจงรักภักดี" โดยผู้นำนาซี[108]
จีน (รัฐบาลแห่งชาติจีนที่ได้รับการปฏิรูป)
แก้ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เข้ารุกจากฐานที่มั่นในแมนจูเรียไปเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกและตอนกลางของจีน รัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นหลายแห่งถูกก่อตั้งขึ้นในพื้นที่ที่ถูกกองทัพญี่ปุ่นยึดครอง รวมทั้งรัฐบาลเฉพาะกาลของสาธารณรัฐจีนที่ปักกิ่ง ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1937 และรัฐบาลที่ได้รับปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีนที่หนานจิง ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1938 รัฐบาลเหล่านี้ถูกรวมเข้าด้วยกันกลายเป็นรัฐบาลแห่งชาติจีนที่ได้รับการปฏิรูปที่หนานจิง เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1940 วาง จิงเว่ย์กลายเป็นประมุขแห่งรัฐ รัฐบาลจะต้องดำเนินการตามแนวทางเดียวกับระบอบชาตินิยมและใช้สัญลักษณ์ของตนเอง
รัฐบาลหนานจิงแทบไม่มีอำนาจที่แท้จริง บทบาทหลักคือทำหน้าที่เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อสำหรับญี่ปุ่น รัฐบาลหนานจิงได้สรุปข้อตกลงกับญี่ปุ่นและแมนจูกัว โดยอนุญาตให้ญี่ปุ่นยึดครองจีน และยอมรับความเป็นเอกราชของแมนจูกัวภายใต้อารักขาของญี่ปุ่น รัฐบาลหนานจิงได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ค.ศ. 1941 และประกาศสงครามกับสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1943
รัฐบาลมีความสัมพันธ์อันตึงเครียดกับญี่ปุ่นตั้งแต่เริ่มต้น การที่นายวางยืนกรานว่าระบอบการปกครองของเขาเป็นรัฐบาลชาตินิยมที่แท้จริงของจีนและในการลอกเลียนแบบสัญลักษณ์ทั้งหมดของพรรคก๊กมินตั๋งทำให้เกิดความขัดแย้งกับญี่ปุ่นอยู่บ่อยครั้ง ประเด่นที่เด่นชัดมากที่สุดคือเรื่องของธงของระบอบการปกครอง ซี่งเหมือนกับธงของสาธารณรัฐจีน
สถานการณ์ที่เลวร้ายลงสำหรับญี่ปุ่น ตั้งแต่ ค.ศ. 1943 เป็นต้นมา ซึ่งหมายความว่ากองทัพนานกิงได้รับบทบาทที่สำคัญในการป้องกันจีนที่ถูกยึดครองมากกว่าที่ญี่ปุ่นจะคาดคิดในช่วงแรก กองทัพได้ถูกใช้เกือบอย่างต่อเนื่องในการต่อต้านกองทัพใหม่ที่สี่ของฝ่ายคอมมิวนิสต์จีน วาง จิงเว่ย์ได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 และได้รับการสืบทอดตำแหน่งโดยรองผู้ช่วยของเขา เฉิน กงป๋อ เฉินมีอำนาจอิทธิพลเพียงแค่เล็กน้อย อำนาจที่แท้จริงซึ่งอยู่เบื้องหลังในระบอบคือ โจว โฝไห่ นายกเทศมนตรีเซี่ยงไฮ้ การตายของนายวางได้ขจัดความชอบธรรมเพียงเล็กน้อยเท่าที่ระบอบนั้นมี วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1945 ภายหลังความพ่ายแพ้สงครามของญี่ปุ่น พื้นที่ดังกล่าวได้ยอมจำนต่อนายพล เหอ หยิงฉิน นายพลฝ่ายชาตินิยมผู้จงรักภักดีต่อเจียง ไคเชก เฉิน กงป๋อถูกนำตัวขึ้นศาลและถูกตัดสินประหารชีวิตใน ค.ศ. 1946
เดนมาร์ก
แก้เดนมาร์กถูกยึดครองโดยเยอรมนีภายหลังเดือนเมษายน ค.ศ. 1940 และไม่เคยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 เดนมาร์กและเยอรมนีได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานระหว่างกัน ซึ่งไม่มีภาระผูกผันทางทหารแต่อย่างใดสำหรับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง[109] เมื่อวันที่ 9 เมษายน เยอรมันได้เข้าโจมตีสแกนดิเนเวีย และความรวดเร็วของการบุกครองเดนมาร์กของเยอรมันทำให้พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 และรัฐบาลเดนมาร์กต้องลี้ภัย พวกเขาต้องยอมรับ"การอารักขาโดยไรชส์" และการเข้าประจำการของกองทัพเยอรมันเพื่อแลกกับความเป็นอิสระเพียงแค่ในนาม เดนมาร์กได้คอยประสานนโยบายต่างประเทศกับเยอรมนี ขยายการยอมรับทางการทูตไปยังผู้ให้ความร่วมมือและระบอบหุ่นเชิดของฝ่ายอักษะ และทำลายความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐบาลผลัดถิ่นของฝ่ายสัมพันธมิตร เดนมาร์กได้ทำลายความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียตและลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ค.ศ. 1941[110] อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรได้เพิกเฉยต่อเดนมาร์กและทำงานร่วมกับเฮนริก คัฟฟ์แมนน์ เอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำสหรัฐ เมื่อพูดถึงข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้ไอซ์แลนด์ กรีนแลนด์ และกองเรือพาณิชย์ของเดนมาร์กในการต่อต้านเยอรมนี[111][112]
ใน ค.ศ. 1941 นาซีได้ก่อตั้งไฟรคอร์ เดนมาร์ก ทหารอาสาสมัครหลายพันนายและหลายคนเสียชีวิตในฐานะส่วนหนึ่งของกองทัพเยอรมันบนแนวรบด้านตะวันออก เดนมาร์กได้ขายผลิตผลทางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมให้กับเยอรมนีและให้เงินกู้สำหรับอาวุธยุทโธปกรณ์และป้อมปราการ การมีอยู่ของเยอรมันในเดนมาร์ก รวมไปถึงการก่อสร้างส่วนหนึ่งของป้อมปราการในกำแพงแอตแลนติกซึ่งเดนมาร์กจ่ายไปและไม่เคยได้รับกลับคืนมาอีกเลย
รัฐบาลในอารักขาของเดนมาร์กดำรงอยู่จนถึงวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1943 เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ลาออกกันหมด ภายหลังจากการเลือกตั้งที่ถูกกำหนดการตามปกติและเสรีเป็นส่วนใหญ่ ทำให้วาระปัจจุบันของรัฐสภาเดนมาร์กได้สิ้นสุดลง เยอรมันได้ประกาศบังคับใช้กฏอัยการศึกตามมาด้วยปฏิบัติการซาฟาริ และผู้ให้ความร่วมมือชาวเดนมาร์กยังคงดำเนินต่อไปในระดับฝ่ายบริหารปกครอง โดยระบบข้าราชการของเดนมาร์กซึ่งทำงานอยู่ภายใต้คำสั่งของเยอรมัน กองทัพเรือเดนมาร์กได้ทำลายเรือขนาดใหญ่ จำนวน 32 ลำ เยอรมันได้ยึดเรือมา 64 ลำ และต่อมาได้ถูกยกและซ่อมแซมเรือที่จมไป จำนวน 15 ลำ[113][114] เรือรบ 13 ลำ ได้เล่นเรือหนีไปยังสวีเดนและก่อตั้งกองเรือรบเดนมาร์กในการผลัดถิ่น สวีเดนอนุญาตให้จัดตั้งกองพลน้อยทหารเดนมาร์กในการผลัดถิ่น ซึ่งไม่เคยเห็นออกมาสู้รบเลย[115] ขบวนการต่อต้านเดนมาร์กมีบทบาทในการก่อวินาศกรรมและการออกหนังสือพิมพ์ใต้ดินและการขึ้นบัญชีดำกับผู้ที่ให้ความร่วมมือ[116]
ฟินแลนด์
แก้แม้ว่าฟินแลนด์จะไม่เคยลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี แต่กลับต่อสู้กับสหภาพโซเวียตเคียงข้างกับเยอรมนีในสงครามต่อเนื่อง ค.ศ. 1941-44 ในช่วงที่ตำแหน่งทาหารของรัฐบาลฟินแดลน์ในช่วงสงครามคือฟินแลนด์เป็นคู่สงครามของเยอรมันซึ่งพวกเขาได้อธิบายว่า "สหายผู้ร่วมรบ" (brothers-in-arms)[117] ฟินแลนด์ได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นอีกครั้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1941[118] ฟินแลนด์ได้ลงนามสนธิสัญญาสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตรใน ค.ศ. 1947 ซึ่งได้อธิบายว่า ประเทศฟินแลนด์นั้นเป็น "พันธมิตรของเยอรมนีภายใต้การนำของฮิตเลอร์" ในสงครามต่อเนื่อง[119] ด้วยเหตุนี้ ฟินแลนด์จึงเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเพียงประเทศเดียวที่เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ[120][121] ความเป็นอิสระอีกครั้งของฟินแลนด์จากเยอรมนีทำให้ฟินแลนด์อยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบมากที่สุดในเหล่าประเทศรองมหาอำนาจฝ่ายอักษะทั้งหมด[122]
ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามต่อเนื่องยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในฟินแลนด์[123] ในหนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า Helsingin Sanomat ปี ค.ศ. 2008 ได้สำรวจพบว่า นักประวัติศาสตร์ชาวฟินแลนด์จำนวน 16 คนจาก 28 คนซึ่งเห็นด้วยว่าฟินแลนด์เป็นพันธมิตรของนาซีเยอรมนี มีเพียงแค่ 6 คนเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย[124]
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ ระหว่างเยอรมนีและสหภาพโซเวียตซึ่งมีพิธีสารลับที่จะทำการแบ่งแยกยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ออกจากกันและกำหนดให้ฟินแลนด์เป็นเขตอิทธิพลของโซเวียต[55][125] ภายหลังจากความพยายามในการบีบบังคับเพื่อทำการยกดินแดนและการสัมปทานอื่น ๆ ในฟินแลนด์ซึ่งประสบความล้มเหลว สหภาพโซเวียตได้พยายามที่จะบุกครองฟินแลนด์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ในช่วงสงครามฤดูหนาว ด้วยความตั้งใจที่จะจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในฟินแลนด์[126][127] ความขัดแย้งครั้งนี้ได้เข้าคุกคามเส้นทางการขนส่งแร่เหล็กของเยอรมนีและเปิดโอกาสในการเข้าแทรกแซงของฝ่ายสัมพันธมิตรในภูมิภาคนี้[128] แม้ว่าฟินแลนด์จะทำการต่อต้าน สนธิสัญญาสันติภาพได้ถูกลงนามในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 ซึ่งฟินแลนด์ได้ทำการยกดินแดนที่สำคัญเพียงบางส่วนให้กับสหภาพโซเวียต รวมทั้งคอคอดคาเรเลียน ซึ่งมีเมืองขนาดใหญ่อันดับสองของฟินแลนด์คือ วิปูริ และสิ่งปลูกสร้างการป้องกันที่สำคัญอย่างแนวมันเนอร์เฮม ภายหลังสงครามครั้งนี้ ฟินแลนด์ต้องการที่จะได้รับการคุ้มครองและสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร[129][130] และสวีเดนที่ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง[131] แต่ถูกขัดขวางโดยการกระทำของโซเวียตและเยอรมัน ส่งผลทำให้ฟินแลนด์เริ่มเข้าใกล้ชิดกับเยอรมนีมากขึ้น ประการแรกด้วยความตั้งใจที่จะได้แรงสนับสนุนของเยอรมันในฐานะตัวถ่วงดุลเพื่อขัดขวางแรงกดดันของโซเวียตอย่างต่อเนื่อง และต่อมาเพื่อช่วยในการทวงคืนดินแดนที่สูญเสียไปกลับคืนมา
ในช่วงวันที่เปิดฉากปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา การบุกครองสหภาพโซเวียตของเยอรมนี ฟินแลนด์ได้อนุญาตให้เครื่องบินเยอรมันที่บินกลับมาจากการทิ้งทุ่นระเบิดเหนือเกาะครอนสตัดท์และแม่น้ำเนวาเพื่อทำการเติมเชื้อเพลิงที่สนามบินฟินแลนด์ก่อนที่จะบินกลับไปยังฐานทัพในปรัสเซียตะวันออก เพื่อเป็นการตอบโต้ สหภาพโซเวียตได้เปิดฉากการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ต่อสนามบินและเมืองต่าง ๆ ของฟินแลนด์ ซึ่งทำให้ฟินแลนด์ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ความขัดแย้งของฟินแลนด์กับสหภาพโซเวียตซึ่งมักจะถูกเรียกกันว่า สงครามต่อเนื่อง
เป้าหมายหลักของฟินแลนด์คือการทวงคืนดินแดนที่สูญเสียไปให้กับสหภาพโซเวียตในสงครามฤดูหนาว อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 จอมพล คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม ได้ออกคำสั่งประจำวันซึ่งได้มีการกำหนดที่เข้าใจในระดับสากลว่า เป็นผลประโยชน์บนดินแดนของฟินแลนด์ในคาเรเลียของรัสเซีย
ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหราชอาณาจักรและฟินแลนด์ได้ถูกตัดขาด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1941 ภายหลังจากบริติชได้ทำการทิ้งระเบิดใส่กองทัพเยอรมันในเพ็ตซาโมที่เป็นหมู่บ้านและท่าเรือของฟินแลนด์ สหราชอาณาจักรได้เรียกร้องให้ฟินแลนด์ยุติการรุกรานต่อสหภาพโซเวียตหลายครั้ง และประกาศสงครามกับฟินแลนด์ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคมคม ค.ศ. 1941 แม้ว่าจะไม่มีปฏิบัติการทางทหารอื่น ๆ ก็ตาม สงครามครั้งนี้ไม่เคยถูกประกาศระหว่างฟินแลนด์และสหรัฐฯ แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศจะถูกตัดขาดไปใน ค.ศ. 1944 อันเป็นผลมาจากข้อตกลงรุติ-–ริบเบินทร็อพ
ฟินแลนด์ได้ยืนยันที่จะคอยบัญชาการกองทัพของตนเองและดำเนินการตามเป้าหมายในการทำสงครามอย่างเป็นอิสระโดยไม่ขึ้นกับเยอรมนี เยอรมันและฟินแลนด์ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในปฏิบัติการซิลเวอร์ ฟ็อกซ์ ซึ่งเป็นการโจมตีร่วมกันต่อมูร์มันสค์ ฟินแลนด์ได้เข้าร่วมในการล้อมเลนินกราด ฟินแลนด์เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญที่สุดของเยอรมนีในการทำสงครามกับสหภาพโซเวียต[108]
ความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และเยอรมนียังได้รับผลกระทบมาจากข้อตกลงรุติ-–ริบเบินทร็อพ ซึ่งได้ให้ข้อเสนอเป็นเงื่อนไขของเยอรมันสำหรับความช่วยเหลือด้วยอาวุธยุโธปกรณ์และการสนับสนุนทางอากาศ เนื่องจากการรุกของโซเวียตร่วมกับดีเดย์ได้ทำการคุกคามฟินแลนด์ด้วยการยึดครองอย่างสมบูรณ์ ข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกลงนามโดยประธานาธิบดี ริสโต รุติ แต่ไม่เคยให้สัตยาบันโดยรัฐสภาฟินแลนด์ ทำให้ฟินแลนด์ไม่ต้องการสันติภาพที่แยกจากกัน
ภายหลังการรุกของโซเวียตซึ่งการสู้รบได้หยุดนิ่งลง ผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากรุติคือ จอมพล มันเนอร์เฮม ได้ปฏิเสธข้อตกลงและเปิดการเจรจาลับกับโซเวียต ซึ่งทำให้มีการหยุดยิงในวันที่ 4 กันยายน และการสงบศึกมอสโก เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1944 ภายใต้เงื่อนไขของการสงบศึกคือ ฟินแลนด์จำเป็นที่จะต้องทำการขับไล่ทหารเยอรมันออกไปจากดินแดนฟินแลนด์ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการสู้รบที่ถูกเรียกว่า สงครามแลปแลนด์
แมนจูเรีย (แมนจูกัว)
แก้แมนจูกัว ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในแมนจูเรียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถูกปกครองเพียงแต่ในนามโดยผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับถูกควบคุมโดยกองทัพญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ กองทัพคันโต ในขณะที่แมนจูกัวเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นรัฐสำหรับชนกลุ่มน้อยชาวแมนจู แต่ภูมิภาคก็มีชาวจีนฮั่นเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่
ภายหลังญี่ปุ่นเข้ารุกรานแมนจูเรียในค.ศ. 1939 ความเป็นเอกราชของแมนจูกัว เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 โดยมีผู่อี๋เป็นประมุขแห่งรัฐ เขาได้ประกาศตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกัวในอีกหนึ่งปีต่อมา ประเทศแมนจูใหม่นี้ได้รับการยอมรับจาก 23 ประเทศจาก 80 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ เยอรมนี อิตาลี และสหภาพโซเวียตเป็นหนึ่งในมหาอำนาจหลักที่ได้ให้การยอมรับแมนจูกัว ประเทศอื่นที่ได้ให้การยอมรับต่อรัฐ ได้แก่ สาธารณรัฐโดมินิกัน คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ และนครวาติกัน แมนจูกัวยังได้รับกรยอมรับโดยพันธมิตรและรัฐบาลหุ่นเชิดอื่น ๆ ของญี่ปุ่น รวมทั้งเหมิ่งเจียง(มองโกเลียใน) รัฐบาลพม่าของบะม่อ ประเทศไทย ระบอบวาง จิ่งเว่ย์ และรัฐบาลอินเดียของสุภาษ จันทระ โพส สันนิบาตชาติได้ประกาศภายหลังใน ค.ศ. 1934 ว่า แมนจูเรียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของจีนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ญี่ปุ่นถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติ รัฐแมนจูกัวได้ยุติการดำรงอยู่ภายหลังจากโซเวียตเข้ารุกรานแมนจูเรียใน ค.ศ. 1945
แมนจูกัวได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ค.ศ. 1939 แต่ไม่เคยลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี
สเปน
แก้รัฐสเปนของเกาดิโย ฟรันซิสโก ฟรังโก ได้ให้ความช่วยเหลือด้านศีลธรรม เศรษฐกิจ และการทหารแก่ฝ่ายอักษะ ในขณะที่ยังคงวางตัวเป็นกลางเพียงแค่ในนาม ฟรังโกได้อธิบายว่า สเปนเป็นสมาชิกของฝ่ายอักษะและลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นในปี ค.ศ. 1941 กับฮิตเลอร์และมุสโสลินี สมาชิกของพรรค Falange ที่ปกครองในสเปนได้จัดการออกแบบในการทวงคืนดินแดนต่อยิบรอลตาร์[132] กลุ่ม Falangists ยังคงสนับสนุนการเข้าครอบครองอาณานิคมของสเปนในแทนเจียร์ ฝรั่งเศสโมร็อกโก และทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสแอลจีเรีย[133] นอกจากนี้ สเปนยังคงมีความปรารถนากับอดีตอาณานิคมของสเปนในละตินอเมริกา[134]
ฟรังโกเคยชนะสงครามกลางเมืองสเปนด้วยความช่วยเหลือของนาซีเยอรมนีและฟาสซิสต์อิตาลี ทั้งสองประเทศต่างมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะสถาปนารัฐฟาสซิสต์อีกแห่งในยุโรป สเปนเป็นหนี้กับเยอรมนีมากกว่า 212 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[135] สำหรับซัพพลายอาวุธยุทโธปกรณ์ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน และกองกำลังทหารอิตาลีที่ได้เข้าต่อสู้รบในสเปน โดยอยู่ข้างฝ่ายชาตินิยมของฟรังโก
เมื่อเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1941 ฟรังโกได้เสนอให้จัดตั้งกองกำลังทหารอาสาสมัครเพื่อเข้าร่วมการรุกรานโดยทันที สิ่งนี้ได้รับการยอมรับโดยฮิตเลอร์ และภายในสองสัปดาห์ ได้มีทหารอาสาสมัครที่มากเกินพอที่จะจัดตั้งเป็นกองพล - กองพลน้ำเงิน(División Azul) ภายใต้บังคับบัญชาการโดยนายพล อกุสติน มูนอซ กรานเดส
ด้วยความเป็นไปได้ที่สเปนจะเข้ามาแทรกแซงในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับสหรัฐฯ ซึ่งได้สำรวจความเคลื่อนไหวของพรรคฟาลังเฆที่ปกครองในละตินอเมริกาของสเปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปวยร์โตรีโก ซึ่งความรู้สึกนิยมฟาลังเฆและนิยมฟรังโกนั้นมีอยู่สูง แม้แต่ในหมู่ผู้ปกครองชนชั้นสูง[136] กลุ่มฟาลังฆิสต์ได้ส่งเสริมแนวคิดมในการสนับสนุนอดีตอาณานิคมของสเปนในการสู้รบต่อต้านการปกครองของอเมริกา[134] ก่อนสงครามจะปะทุ การสนับสนุนต่อฟรังโกและฟาลังเฆนั้นมีอยู่สูงในฟิลิปปินส์[137] กลุ่มฟาลังเฆภายนอก สาขาระดับระหว่างประเทศของฟาลังเฆได้ร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่นต่อต้านกองทัพสหรัฐและฟิลิปิโนในฟิลิปปินส์ผ่านทางฟิลิปปินส์ ฟาลังเฆ[138]
กติกาสัญญาทวิภาคีกับฝ่ายอักษะ
แก้บางประเทศได้สมรู้ร่วมคิดกับเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น โดยไม่ได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นและกติกาสัญญาไตรภาคี ในบางกรณีข้อตกลงทวิภาคีเหล่านี้ได้ถูกทำขึ้นอย่างเป็นทางการ ในบางกรณีก็เป็นทางการที่น้อยกว่า บางประเทศเหล่านี้ก็เป็นรัฐหุ่นเชิดที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยฝ่ายอักษะเอง
พม่า (รัฐบาลบะม่อ)
แก้กองทัพญี่ปุ่นและเหล่านักชาตินิยมชาวพม่า ซึ่งนำโดยอองซาน เข้ายึดการควบคุมพม่าจากสหราชอาณาจักรในช่วงปี ค.ศ. 1942 รัฐพม่าได้ถูกก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1943 ภายใต้การนำโดยผู้นำนักชาตินิยมชาวพม่านามว่า บะม่อ สนธิสัญญาพันธมิตรระหว่างระบอบบะม่อและญี่ปุ่นและเรนโซะ ซาวาดะ สำหรับญี่ปุ่นในวันเดียวกับที่รัฐบาลบะม่อได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่ญี่ปุ่น "ด้วยความช่วยเหลือที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อดำเนินการปฏิบัติการทางทหารที่ประสบความสำเร็จในพม่า" รัฐบาลบะม่อได้ระดมสังคมชาวพม่าในช่วงสงครามเพื่อสนับสนุนความพยายามในการทำสงครามของฝ่ายอักษะ[139]
ระบอบบะม่อได้ก่อตั้งกองทัพป้องกันพม่า(ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพแห่งชาติพม่า) ซึ่งอยู่ภายใต้บัญชาการโดยอองซาน ทำการต่อสู้เคียงข้างกับญี่ปุ่นในการทัพพม่า บะม่อได้ถูกอธิบายว่า เป็นรัฐที่มี"ความเป็นอิสระโดยปราศจากอำนาจอธิปไตย" เป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ[140] เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1945 กองทัพแห่งชาติพม่าได้ก่อกบฏต่อญี่ปุ่น
ไทย
แก้ในฐานะที่เป็นประเทศพันธมิตรของญี่ปุ่นในช่วงสงครามซึ่งคอยส่งกองกำลังทหารไปต่อสู้รบเคียงข้างกับญี่ปุ่นในการต่อสู้รบกับกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร ไทยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรฝ่ายอักษะ[141][142][143] หรืออย่างน้อย "เข้าข้างกับมหาอำนาจฝ่ายอักษะ"[144] ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1945 แคลร์ บูธ ลูซ นักการเมืองหญิงชาวอเมริกัน ได้เขียนบทความอธิบายว่า ประเทศไทยเป็น"ประเทศฝ่ายอักษะอย่างไม่อาจปฏิเสธได้" ในช่วงสงคราม[145]
ประเทศไทยได้เข้าต่อสู้รบในสงครามฝรั่งเศส-ไทยในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941 เพื่อทวงคืนดินแดนจากอินโดจีนฝรั่งเศส กองทัพญี่ปุ่นได้บุกประเทศไทยภายในหนึ่งชั่วโมงครึ่งช่วงก่อนการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์(เนื่องจากเส้นแบ่งเขตวันสากล ช่วงเวลาท้องถิ่นคือช่วงเช้าของวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941) เพียงไม่กี่ชั่วโมงภายหลังการรุกราน จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทยได้ออกคำสั่งให้ยุติการต่อต้านญี่ปุ่น มีการตกลงแผนปฏิบัติการทางทหารร่วมระหว่างญี่ปุ่น-ไทย โดยกองกำลังไทยจะบุกพม่าเพื่อปกป้องปีกขวาของกองทัพญี่ปุ่น ได้ตกลงกัน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1941[146] เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1941 พันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่นได้ถูกลงนาม และเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 สังข์ พัธโนทัยได้อ่านคำประกาศสงครามของไทยต่อสหรัฐฯและสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการผ่านทางวิทยุ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐฯ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ไม่ได้ส่งมอบสำเนาคำประกาศสงคราม ดังนั้น แม้ว่าบริติชจะตอบโต้ด้วยการประกาศสงครามกับไทยและถือว่าเป็นประเทศที่เป็นศัตรู แต่สหรัฐฯกลับไม่ทำเช่นนั้น
ฝ่ายไทยและญี่ปุ่นได้เห็นพ้องต้องกันว่ารัฐฉานและรัฐกะเหรี่ยงแดงของพม่าให้อยู่ภายใต้การควบคุมของไทย ส่วนที่เหลือของพม่าให้อยู่ภายใต้การควบคุมญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 กองทัพพายัพของไทยได้เข้าสู่รัฐฉานทางตะวันออกของพม่า ซึ่งได้ถูกกล่าวอ้างสิทธิ์โดยราชอาณาจักรสยาม ทหารราบสามกองพลและทหารม้าหนึ่งกองพลของไทย หัวหอกโดยกลุ่มยานเกราะลาดตระเวนและได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศ ได้เข้าปะทะกับกองพลที่ 93 ของจีนที่กำลังล่าถอย เชียงตุงที่เป็นเป้าหมายหลัก ได้ถูกยึดครองเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม การรุกครั้งใหม่ในเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายนทำให้จีนล่าถอยกลับสู่ยูนนาน[147]
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ประเทศไทยได้ลงนามในคำปฏิญญาร่วมมหาเอเชียบูรพา ซึ่งได้เข้าข้างกับฝ่ายอักษะอย่างเป็นทางการ พื้นที่ที่ประกอบไปด้วยรัฐฉานและรัฐกะยาได้ถูกผนวกรวมเข้ากับประเทศไทย ใน ค.ศ. 1942 และอีกสี่รัฐทางตอนเหนือของมลายาก็ถูกญี่ปุ่นโอนย้ายไปยังประเทศไทยเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความร่วมมือของไทย พื้นที่เหล่านี้ได้ถูกส่งคืนให้กับพม่าและมลายูใน ค.ศ. 1945[148] ทหารไทยสูญเสียไปทั้งหมด 5,559 นายในช่วงสงคราม โดยในจำนวนเหล่านี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 180 นาย ที่ต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ประมาณ 150 นายที่เสียชีวิตในการสู้รบในรัฐฉาน และส่วนที่เหลือซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคไข้มาลาเรียและโรคอื่น ๆ[146] ในช่วงสองสามเดือนแรกนี้มีการก่อตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้น โดยเป็นองค์กรเสรีไทยที่เป็นคู่ขนานในสหราชอาณาจักร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งเป็นผู้นำในนามขององค์กรที่ก่อตั้งองค์กรในอังกฤษ และปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นหัวหน้ากองบัญชาการที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งปฏิบัติการอยู่ในประเทศไทย ได้รับความช่วยเหลือจากองค์ประกอบทางทหาร มีการก่อตั้งสนามบินลับและค่ายฝึก ในขณะที่สำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ของอเมริกันและสายลับจากกองกำลัง 136 ของบริติชได้ทำการลักลอบเข้าและออกนอกประเทศ
เมื่อสงครามยืดเยื้อ ประชาชนชาวไทยต่างไม่พอใจต่อการมีอยู่ของญี่ปุ่น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกโค่นล้มอำนาจด้วยการก่อรัฐประหาร รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ภายใต้การนำของควง อภัยวงศ์ได้พยายามช่วยเหลือกลุ่มต่อต้าน ในขณะที่รักษาความสัมพันธ์อันดีกับญี่ปุ่น ภายหลังสงคราม อิทธิพลของสหรัฐได้ขัดขวางไม่ให้ประเทศไทยได้รับการปฏิบัติในฐานะประเทศผู้แพ้สงครามของฝ่ายอักษะ แต่บริติชได้เรียกร้องข้าวจำนวน 3 ล้านตันเพื่อเป็นค่าชดเชยและการส่งคืนพื้นที่ที่ได้ผนวกรวมจากมลายูในช่วงสงคราม ประเทศไทยยังได้ส่งคืนพื้นที่บางส่วนของบริติชพม่าและอินโดจีนฝรั่งเศสที่ได้ถูกผนวกรวมไว้ด้วย จอมพล ป. พิบูลสงครามและพรรคพวกจำนวนหนึ่งได้ถูกดำเนินคดีในข้อก่ออาชญากรรมสงครามและให้ความร่วมมือกับฝ่ายอักษะ อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาได้ถูกปัดตกไปเนื่องจากแรงกดดันจากสาธารณชนอย่างเข้มข้น ความคิดเห็นของประชาชนเป็นที่ชื่นชอบของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เนื่องจากเขาคิดว่าได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของไทย
สหภาพโซเวียต
แก้ใน ค.ศ. 1939 สหภาพโซเวียตได้พิจารณาที่จะก่อตั้งพันธมิตรกับบริติชและฝรั่งเศสหรือกับเยอรมนี[149][150] เมื่อการเจรจากับบริติชและฝรั่งเศสได้ล้มเหลว พวกเขาจึงหันเข้าหาเยอรมนีและลงนามในกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีในตอนนี้ได้หลุดพ้นจากความเสี่ยงในการทำสงครามกับโซเวียต และรับรองในการส่งน้ำมันเชื้อเพลิง สิ่งนี้ได้รวมถึงพิธีสารลับที่ดินแดนที่ถูกควบคุมโดยโปแลนด์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย โรมาเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนียได้ถูกแบ่งออกเป็นเขตอิทธิพลของทั้งสองฝ่าย[151] โซเวียตต้องการที่จะผนวกดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐเหล่านั้นอีกครั้ง ซึ่งแต่เดิมได้รับมาจากจักรวรรดิรัสเซียในศตวรรษก่อนและสูญเสียให้กับรัสเซียในภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งรวมถึงดินแดน เช่น ภูมิภาคเครซี (เบลารุสตะวันตกและยูเครนตะวันตก) ที่ได้ตกเป็นโปแลนด์ ภายหลังจากได้พ่ายแพ้ในสงครามโซเวียต-โปแลนด์ ค.ศ. 1919-1921[152]
วันที่ 1 กันยายน เกือบหนึ่งสัปดาห์หลังจากกติกาสัญญาได้ถูกลงนาม เยอรมนีได้ทำการบุกครองโปแลนด์ สหภาพโซเวียตได้ทำการบุกครองโปแลนด์จากตะวันออกในวันที่ 17 กันยายน และในวันที่ 28 กันยายน ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาลับกับนาซีเยอรมนีเพื่อคอยประสานงานร่วมกันในการสู้รบกับขบวนการต่อต้านโปแลนด์ โซเวียตได้พุ่งเป้าไปที่หน่วยข่าวกรอง นายทุน และเจ้าหน้าที่ด้วยการจับกุมจำนวนมาก โดยมีเหยื่อจำนวนมากถูกส่งไปยังค่ายกูลักในไซบีเรีย และก่อกระทำอันโหดร้ายหลายครั้งซึ่งลงเอยด้วยการสังหารหมู่กาตึญ ไม่นานหลังจากบุกครองโปแลนด์ สหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองสามประเทศบอลติก ได้แก่ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย และผนวกรวมเบสซาราเบียและทางตอนเหนือของบูโควินาจากโรมาเนีย สหภาพโซเวียตได้เข้าโจมตีฟินแลนด์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามฤดูหนาว[127] การป้องกันของฟินแลนด์ได้ต้านทานการรุกรานทั้งหมดไว้ได้ ส่งผลทำให้เกิดสันติภาพเป็นการชั่วคราว แต่ฟินแลนด์ถูกบีบบังคับให้ทำการยกพื้นที่ชายแดนที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ใกล้กับเลนินกราด
สหภาพโซเวียตได้ให้การสนับสนุนในการส่งแร่ยุทธภัณฑ์แก่เยอรมนีในการทำสงครามกับยุโรปตะวันตกผ่านทางข้อตกลงเชิงพาณิชย์สองครั้ง ครั้งแรกใน ค.ศ. 1939 และครั้งที่สองใน ค.ศ. 1940 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งออกแร่วัตถุดิบ (แร่ฟอสเฟต โครเมียม และเหล็ก น้ำมันแร่ ธัญพืช ฝ้าย และยาง) สินค้าส่งออกอื่น ๆ เหล่านี้ได้ถูกขนส่งผ่านทางโซเวียตและดินแดนโปแลนด์ที่ถูกยึดครอง ทำให้เยอรมนีสามารถหลีกเลี่ยงการปิดล้อมทางทะเลของบริติช ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 การสนทนาเยอรมัน-โซเวียตได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะที่เกิดขึ้นในเบอร์ลิน[153][154] โจเซฟ สตาลินได้ตอบกลับเป็นการส่วนตัวด้วยข้อเสนอแยกต่างหากในจดหมาย เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ประกอบไปด้วยพิธีสารลับหลายประการ รวมทั้ง "พื้นที่ทางตอนใต้ของบาตัม และบากูในทิศทางทั่วไปของอ่าวเปอร์เซียได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางของแรงบันดาลใจของสหภาพโซเวียต" ซึ่งหมายถึงพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับอิรักและอิหร่านในปัจจุบันและโซเวียตได้อ้างสิทธิ์ในบัลแกเรีย ฮิตเลอร์ไม่เคยตอบจดหมายของสตาลินเลย[155][156] ไม่นานหลังจากนั้น ฮิตเลอร์ออกคำสั่งลับในการรุกรานสหภาพโซเวียต[157][158] เหตุผลรวมทั้งอุดมการณ์นาซีอย่างเลเบินส์เราม์และไฮม์ อินส์ ไรช์(กลับบ้านสู่ไรช์)[159]
ฝรั่งเศสเขตวีชี
แก้กองทัพเยอรมันได้เข้าสู่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 มิถถุนายน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากยุทธการที่ฝรั่งเศส เปแต็งกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มิถถุนายน ค.ศ. 1940
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อิรัก
แก้ประเทศอิรัก ได้เป็นประเทศพันธมิตรอักษะในช่วงสั้น ๆ โดยได้ต่อสู้กับสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามอังกฤษ-อิรักในเดือน พ.ค. 1941
รัฐหุ่นเชิด
แก้รัฐบาลที่เป็นอิสระเพียงในนามต่าง ๆ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาจากกลุ่มผู้ฝักใฝ่ท้องถิ่นภายใต้ระดับต่าง ๆ ของการควบคุมของเยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นภายในอาณาเขตที่พวกเขายึดครองในช่วงสงคราม บางส่วนของรัฐบาลเหล่านั้นได้ประกาศตนว่าเป็นกลางในความขัดแย้งกับฝ่ายสัมพันธมิตร หรือไม่เคยสรุปเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับฝ่ายอักษะ แต่พวกเขาถูกควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพโดยฝ่ายอักษะทำให้พวกเขาในความเป็นจริงที่เป็นการแผ่ขยายอาณาเขตของมันและด้วยเหตุนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของมัน สิ่งเหล่านี้แตกต่างจากเจ้าหน้าที่อำนาจทางทหารและคอมมิสซิเนอร์ที่มีอำนาจทางฝ่ายพลเรือนที่ได้รับมอบหมายแต่งตั้งโดยอำนาจที่เป็นผู้ยึดครอง พวกเขาได้ก่อตั้งขึ้นมาจากประชาชนของประเทศที่ถูกยึดครองและความชอบธรรมที่ถูกอนุมานว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดนั้นได้รับการยอมรับโดยผู้ยึดครองโดยนิตินัย หากไม่ใช่โดยพฤตินัย[160]
เยอรมัน
แก้ฝ่ายบริหารปกครองที่ให้ความร่วมมือของประเทศที่ถูกเยอรมันยึดครองในยุโรปนั้นมีการปกครองตนเองที่มีระดับที่แตกต่างกันไป และไม่ใช่ทุกประเทศที่มีคุณสมบัติที่เป็นรัฐอธิปไตยที่ได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่ เขตปกครองสามัญในโปแลนด์ที่ถูกยึดครองเป็นเขตการบริหารปกครองของเยอรมันโดยสมบูรณ์ ในประเทศนอร์เวย์ที่ถูกยึดครอง รัฐบาลแห่งชาติภายใต้การนำโดยวิดกึน ควิสลิง - ซึ่งเป็นชื่อของบุคคลที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความร่วมมือของเหล่าผู้นิยมฝ่ายอักษะในหลายภาษา - ภายใต้การปกครองของไรชส์ค็อมมิสซารีอาท นอร์เวย์ ไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีกองกำลังติดอาวุธใด ๆ ในฐานะพันธมิตรทางทหารที่เป็นที่ยอมรับหรือมีอำนาจปกครองตนเองแต่อย่างใด ในเนเธอร์แลนด์ที่ถูกยึดครอง อันตอน มุสเซิร์ตได้รับตำแหน่งเชิงสัญลักษณ์ว่า 'ฟือเรอร์แห่งประชาชนเนเธอร์แลนด์' - ขบวนการชาติสังคมนิยมของเขาได้จัดตั้งรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือแก่ฝ่ายบริหารปกครองของเยอรมัน แต่ไม่เคยได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐบาลดัตซ์ที่แท้จริง
แอลแบเนีย (ราชอาณาจักรแอลเบเนีย)
แก้ภายหลังการสงบศึกของอิตาลี สูญญากาศแห่งอำนาจได้เปิดฉากขึ้นในแอลเบเนีย กองทัพอิตาลีที่ยึดครองนั้นกลับดูไร้อำนาจเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติได้เข้าควบคุมทางใต้และแนวร่วมแห่งชาติ (Balli Kombëtar) ได้เข้าควบคุมทางเหนือ ชาวอัลแบเนียในกองทัพอิตาลีได้เข้าร่วมกองกำลังกองโจร ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 กองกำลังกองโจรได้เข้ายึดกรุงติรานาที่เป็นเมืองหลวง แต่พลทหารโดดร่มเยอรมันได้โดดร่มเข้าสู่เมือง ไม่นานภายหลังจากการสู้รบ กองบัญชาการทหารสูงสุงได้ประกาศว่าพวกเขาจะยอมรับความเป็นเอกราชของมหาประเทศแอลเบนีย พวกเขาได้จัดตั้งรัฐบาล ตำรวจ และทหารของแอลเบเนียในความร่วมมือกับ Balli Kombëtar เยอรมันไม่ได้ออกแรงการควบคุมอย่างหนักในการปกครองแอลเบเนีย แต่กลับพยายามที่จะได้รับความนิยมโดยการให้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการแก่พันธมิตรทางการเมือง เหล่าผู้นำหลายคนของ Balli Kombëtar ได้รับตำแหน่งในระบอบการปกครอง กองทัพร่วมซึ่งเป็นการรวมตัวเข้าด้วยกันโดยคอซอวอ มาซิโดเนียตะวันตก มอนเตเนโกรทางตอนใต้ และเปรเซโวจนกลายเป็นรัฐแอลเบเนีย สภาผู้สำเร็จราชการระดับสูงได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐ ในขณะที่รัฐบาลส่วนใหญ่เป็นผู้นำโดยนักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมชาวแอลเบเนีย แอลเบเนียเป็นประเทศเดียวในยุโรปที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายอักษะ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลงด้วยจำนวนประชากรชาวยิวที่มีมากมายก่อนช่วงสงคราม[161] รัฐบาลแอลเบเนียได้ปฏิเสธที่จะส่งมอบประชากรชาวยิว พวกเขาได้จัดทำเอกสารปลอมแปลงให้กับครอบครัวชาวยิวและช่วยเหลือให้พวกเขาได้กระจัดกระจายออกไปในประชากรชาวแอลเบเนีย[162] แอลเบเนียได้รับการปลดปล่อยอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944
ดินแดนของผู้บัญชาการทหารในเซอร์เบีย
แก้รัฐบาลผู้พิทักษ์ชาติ(Government of National Salvation) หรือเรียกว่า ระบอบเนดิก เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของเซอร์เบียที่สอง ภายหลังจากรัฐบาลผู้ตรวจการณ์(Commissioner Government) ซึ่งถูกก่อตั้งในเขตปกครอง(เยอรมนี)ผู้บัญชาการทหารในเซอร์เบีย[163]|group=nb}} ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้บัญชาการทหารเยอรมันในเซอร์เบียและดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1941 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 แม้ว่าระบอบหุ่นเชิดเซอร์จะได้รับการสนับสนุนบางส่วน[164] ซึ่งไม่เป็นที่นิยมในหมู่ชาวเซิร์บส่วนใหญ่ที่ต่างได้เข้าร่วมกับพลพรรคยูโกสลาเวียหรือกลุ่มเชทนิกส์ของดราฌา มิฮาอิลอวิช[165] นายกรัฐมนตรีตลอดกาลคือ นายพล มิลาน เนดิก รัฐบาลผู้พิทักษ์ชาติได้อพยพออกจากกรุงเบลเกรดไปยังเมือง Kitzbühel ณ เยอรมนี ในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 ก่อนที่เยอรมันถอนกำลังออกจากเซอร์เบียอย่างสมบูรณ์
กฎหมายทางเชื้อชาติได้ถูกนำมาใช้ในทุกพื้นที่ดินแดนยึดครองโดยมีผลทันทีต่อประชาชนชาวยิวและโรมานี เช่นเดียวกับการจำคุมขังต่อผู้ที่ต่อต้านลัทธินาซี ค่ายกักกันหลายแห่งถูกก่อตั้งขึ้นในเซอร์เบีย และงานนิทรรศการต่อต้านฟรีเมสัน ค.ศ. 1942 ในกรุงเบลเกรด เมืองนี้ได้ถูกประกาศว่า ปลอดชาวยิว(Judenfrei) เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1942 เกสตาโปของเซอร์เบียได้ถูกก่อตั้งขึ้น ผู้คนประมาณ 120,000 คนถูกกักขังในค่ายกักกันที่เยอรมันเป็นผู้ดำเนินในเซอร์เบียภายใต้เนดิก ระหว่าง ค.ศ. 1941 ถึง ค.ศ. 1944 อย่างไรก็ตาม ค่ายกักกันบานจิกา(Banjica Concentration Camp) ได้ถูกดำเนินการร่วมกันโดยกองทัพบกเยอรมันและระบอบเนดิก[166] จำนวน 50,000 ถึง 80,000 คนล้วนถูกสังหารในช่วงเวลานั้น เซอร์เบียกลายเป็นประเทศที่สองในยุโรป รองจากเอสโตเนีย ซึ่งได้ถูกประกาศว่า ปลอดชาวยิว(Judenfrei) ชาวเซอร์เบียเชื้อสายยิวประมาณ 14,500 คน - 90 เปอร์เซ็นของประชากรชาวเซอร์เบียเชื้อสายยิวจำนวน 16,000 คน ถูกสังหารในสงครามโลกครั้งที่สอง
เนดิกถูกจับกุมโดยอเมริกัน เมื่อพวกเขายึดครองดินแดนเดิมของออสเตรียและต่อมาก็ถูกส่งตัวมอบให้กับทางการคอมมิวนิส์ยูโกสลาเวียเพื่อทำหน้าที่เป็นพยานต่ออาชญากรสงคราม ด้วยความเข้าใจว่า เขาจะถูกส่งตัวกลับไปยังการดูแลของอเมริกันเพื่อเผชิญหน้ากับการพิจารณาคดีโดยฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ทางการยูโกสลาเวียได้ปฏิเสธที่จะส่งตัวเนดิกกลับคืนสู่การดูแลของอเมริกัน เขาเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 ภายหลังจากได้กระโดดหรือตกลงมาจากหน้าต่างของโรงพยาบาลเบลเกรด ภายใต้เหตุการณ์ตามสภาพแวดล้อมที่ดูไม่ชัดเจน
อิตาลี (สาธารณรัฐสังคมอิตาลี)
แก้ผู้นำฟาซิสต์อิตาลี เบนิโต มุสโสลินี ได้ก่อตั้งสาธารณรัฐสังคมอิตาลี(Repubblica Sociale Italiana ในภาษาอิตาลี) เมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1943 รับช่วงต่อจากราชอาณาจักรอิตาลีในฐานะสมาชิกของฝ่ายอักษะ
มุสโสลินีได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งและถูกจับกุมโดยพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 ภายหลังอิตาลีได้ลงนามสงบศึก ในการตีโฉบฉวยที่นำโดยพลทหารโดดร่มเยอรมันอย่างออทโท สกอร์เซนี มุสโสลินีได้รับการช่วยเหลือจากการจองจำขัง
เมื่อได้รับการฟื้นคืนสู่อำนาจ มุสโสลินีได้ประกาศว่าอิตาลีเป็นสาธารณรัฐและเขาเป็นประมุขแห่งรัฐคนใหม่ เขาได้อยู่ภายใต้การควบคุมของเยอรมันในช่วงปลายสงคราม
รัฐบริวารที่ถูกปกครองร่วมกันระหว่างเยอรมัน-อิตาลี
แก้กรีซ (รัฐเฮลเลนิก)
แก้ภายหลังจากเยอรมันรุกรานกรีซและการลี้ภัยของรัฐบาลกรีซไปยังเกาะครีตและอียิปต์ รัฐเฮลเลนิกได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941 ในฐานะรัฐหุ่นเชิดของทั้งอิตาลีและเยอรมนี ในช่วงแรก อิตาลีต้องการผนวกกรีซ แต่ถูกเยอรมนีกดดันให้หลีกเลี่ยงเหตุการณ์การก่อความไม่สงบจากพลเรือน ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ผนวกบัลแกเรีย ผลที่ได้รับคืออิตาลีได้ยอมรับการก่อตั้งระบอบหุ่นเชิดโดยได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี อิตาลีได้รับการรับรองจากฮิตเลอร์ถึงบทบาทหลักในกรีซ ส่วนใหญ่ของประเทศถูกกองทัพอิตาลียึดครอง แต่พื้นที่ในทางยุทธศาสตร์(มาซิโดเนียตอนกลาง หมู่เกาะอีเจียนทางตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ของเกาะครีต และส่วนหนึ่งของแอตติกา(Attica)) ถูกครอบครองโดยเยอรมัน ซึ่งได้ทำการยึดทรัพย์สินทางเศรษฐกิจของประเทศและควบคุมรัฐบาลที่เป็นฝ่ายให้ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ ระบอบหุ่นเชิดไม่เคยสั่งการในอำนาจที่แท้จริงแต่อย่างใด และไม่ได้รับความภักดีจากประชาชน ด้วยค่อนข้างประสบสำเร็จในการขัดขวางขบวนการแบ่งแยกดินแดนอย่างเหล่าทหารโรมันแห่งอะโรเมเนียจากการก่อตั้งของพวกเขาเอง ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1943 ขบวนการต่อต้านกรีกได้เข้าปลดปล่อยส่วนใหญ่ของพื้นที่ภายในภูเขา("เสรีกรีซ") ได้ก่อตั้งเขตปกครองที่แยกต่างหากที่นั่น ภายหลังการสงบศึกของอิตาลี เขตยึดครองของอิตาลรได้ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมัน ซึ่งยังคงอยู่ในหน้าที่ดูแลประเทศจนพวกเขาได้ถอนกำลังในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1944 ในบางแห่งของหมู่เกาะอีเจียน กองทหารรักษาการณ์ของเยอรมันได้ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง และทำได้แค่เพียงยอมจำนนในภายหลังสงครามยุติลง
ญี่ปุ่น
แก้จักรวรรดิญี่ปุ่นได้สร้างรัฐบริวารจำนวนมากในเขตพื้นที่ยึดครองโดยกองทัพ จุดเริ่มต้นด้วยการก่อตั้งแมนจูกัวใน ค.ศ. 1932 รัฐหุ่นเชิดเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติในระดับที่แตกต่าง
กัมพูชา
แก้ราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นที่มีอายุสั้นซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม ถึง 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นได้เคลื่อนทัพเข้าสู่กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศสในกลางปี ค.ศ. 1941 แต่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของวิชีฝรั่งเศสยังคงดำรงตำแหน่งบริหารปกครอง ในขณะที่ญี่ปุ่นได้เรียกร้องถึง "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" ได้ชนะใจแก่ชาวกัมพูชาผู้รักชาติหลายคน
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 เพื่อที่จะได้รับการสนับสนุนจากท้องถิ่น ญี่ปุ่นได้ทำการยุบการปกครองดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสและกดดันให้กัมพูชาประกาศเอกราชภายในวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา กษัตริย์สีหนุทรงประกาศว่าราชอาณาจักรกัมพูชา(แทนที่นามของฝรั่งเศส) เป็นอิสระ เซิน หง็อก ถั่ญซึ่งลี้ภัยไปอยู่ที่ญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1942 ได้เดินทางกลับมาในเดือนพฤษภาคม และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ[167] ในวันที่ญี่ปุ่นได้ยอมจำนน รัฐบาลชุดใหม่ได้ถูกประกาศโดยมีเซิน หง็อก ถั่ญเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดครองกรุงพนมเปญในเดือนตุลาคม เซิน หง็อก ถั่ญถูกจับกุมในข้อหาให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นและถูกเนรเทศไปยังฝรั่งเศส[167]
อซาดฮินด์
แก้The Arzi Hukumat-e-Azad Hind "รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งเสรีอินเดีย" เป็นรัฐที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลฝ่ายอักษะทั้งเก้าประเทศและได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายอักษะโดยญี่ปุ่น[168]
นำโดยสุภาษ จันทระ โพส นักชาตินิยมชาวอินเดียที่ได้ปฏิเสธถึงวิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรงของมหาตมา คานธีในการได้รับเอกราช กองทัพบกแห่งชาติอินเดียที่หนึ่งได้เกิดความลังเลใจ ภายหลังจากผู้นำได้คัดค้านการตกเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อสำหรับเป้าหมายการทำสงครามของญี่ปุ่น และบทบาทของสำนักงานการประสานงานของญี่ปุ่น ได้รับการฟื้นฟูโดยสันนิบาตเอกราชอินเดียด้วยการสนับสนุนของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1942 ภายหลังจากที่อดีตเชลยศึกและพลเรือนชาวอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตกลงที่จะเข้าร่วมในการลองเสี่ยงของกองทัพบกแห่งชาติอินเดียภายใต้เงื่อนไข้ที่นำโดยโพส ตั้งแต่สิงคโปร์ถูกยึดครอง โพสได้ประกาศอิสรภาพให้แก่อินเดีย เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1943 กองทัพบกแห่งชาติอินเดียได้รับมอบหมายให้เป็นส่วนหนึ่งของการรุกอูโก(U Go Offensive) มันเป็นการเล่นบทบาทส่วนใหญ่ในการสู้รบ และได้ประสบความสูญเสียอย่างหนัก และต้องถอนตัวไปพร้อมกองทัพญี่ปุ่นที่เหลืออยู่ภายหลังจากการล้อมที่อิมผาลถูกตีแตกหัก ต่อมาได้รับมอบหมายในการป้องกันพม่าจากการรุกรานของฝ่ายสัมพันธมิตร ได้มีผู้ละทิ้งหน้าที่จำนวนมากในส่วนหลังนี้ กองกำลังทหารที่เหลืออยู่ของกองทัพบกแห่งชาติอินเดียยังคงรักษาความสงบเรียบร้อยในย่างกุ้ง ภายหลังจากการถอนตัวของรัฐบาลบะ ม่อ รัฐบาลเฉพาะกาลได้รับการควบคุมแต่เพียงในนามของหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945
มองโกเลียใน (เหมิ่งเจียง)
แก้เหมิ่งเจียงเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในเขตมองโกเลียใน ถูกปกครองเพียงแต่ในนามโดยเจ้าชาย Demchugdongrub ขุนนางชาวมองโกลที่สืบเชื้อสายมาจากเจงกิส ข่าน แต่ในความจริงแล้ว ได้ถูกควบคุมโดยกองทัพญี่ปุ่น ความเป็นเอกราชของเหมิ่งเจียงได้ถูกประกาศ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936 ภายหลังจากญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองภูมิภาคนี้
ชาวมองโกเลียในมีความรู้สึกข้อข้องใจหลายประการต่อส่วนกลางของรัฐบาลจีนในนานกิง รวมถึงนโยบายของพวกเขาที่ได้อนุญาตให้ชาวจีนเชื้อสายฮั่นอพยพไปยังภูมิภาคได้อย่างไม่จำกัด เจ้าชายน้อยหลายพระองค์ของมองโกเลียในได้เริ่มยุยงปลุกปั่นเพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพจากรัฐบาลส่วนกลางมากขึ้น และโดยผ่านคนเหล่านี้ที่เมื่อญี่ปุ่นมองเห็นถึงโอกาศที่ดีในการใช้ประโยชน์จากลัทธิชาตินิยมอุดมการณ์รวมกลุ่มชาวมองโกล และในที่สุดก็เข้ายึดการควบคุมเขตมองโกเลียนอกจากสหภาพโซเวียต
ญี่ปุ่นได้ก่อตั้งเหมิ่งเจียงเพื่อใช้ประโยชน์จากความตึงเครียดระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมองโกเลียและรัฐบาลส่วนกลางของจีน ซึ่งในทางทฤษฏีแล้ว ได้ปกครองเขตมองโกลเลียใน เมื่อรัฐบาลหุ่นเชิดต่าง ๆ ของจีนได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้รัฐบาลของวาง จิงเว่ย์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 เหมิ่งเจียงยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนในฐานะสหพันธ์อิสระ แม้ว่าจะอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างมั่นคงของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งได้ยึดครองดินแดน เจ้าชาย Demchugdongrub ก็มีกองทัพอิสระของพระองค์เอง เหมิ่งเจียงได้สูญหายไปใน ค.ศ. 1945 ภายหลังญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง
ลาว
แก้อินโดจีนฝรั่งเศส รวมทั้งลาวได้ถูกยึดครองโดยญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1941 แม้ว่ารัฐบาลโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของวิชีฝรั่งเศสยังคงดำเนินต่อไป การปลดปล่อยฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1944 ได้ทำให้ชาร์ล เดอ โกลได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งหมายความว่าความเป็นพันธมิตรระหว่างญี่ปุ่นและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของวิชีฝรั่งเศสได้สิ้นสุดลงในอินโดจีน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นได้ก่อรัฐประหารในกรุงฮานอย และวันที่ 8 เมษายน พวกเขาได้เดินทางมาถึงหลวงพระบาง สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ได้ถูกควบคุมตัวโดยญี่ปุ่นและถูกบีบบังคับให้ออกแถลงการณ์ประกาศสถานะเอกราช แม้ว่าดูเหมือนไม่เคยมีพิธีการเกิดขึ้นก็ตาม ฝรั่งเศสก็ได้กลับมาควบคุมลาวอีกครั้งใน ค.ศ. 1946[169]
ฟิลิปปินส์ (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่สอง)
แก้ภายหลังการยอมจำนนของกองทัพฟิลิปปินส์และอเมริกันในคาบสมุทรบาตาอันและเกาะกอร์เรฮีดอร์ ญี่ปุ่นได้ก่อตั้งรัฐหุ่นเชิดในฟิลิปปินส์ใน ค.ศ. 1942[170] ในปีต่อมา สมัชชาแห่งชาติฟิลิปปินส์ได้ประกาศให้ฟิลิปปินส์เป็นสาธารณรัฐอิสระและได้เลือกโฮเซ เลาเรล เป็นประธานาธิบดี[171] ไม่เคยมีพลเรือนที่ให้การสนับสนุนแก่รัฐอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่เป็นเพราะความรู้สึกต่อต้านญี่ปุ่นโดยทั่วไปซึ่งเกิดขึ้นจากความโหดร้ายที่ถูกกระทำโดยกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น[172] สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่สองได้สิ้นสุดลงพร้อมกับการยอมจำนนของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1945 และเลาเรลถูกจับกุมและตั้งข้อหาว่าเป็นกบฏโดยรัฐบาลสหรัฐ เขาได้รับนิรโทษกรรมโดยประธานาธิบดีมานูเอล โรฮัส และยังคงมีบทบาททางการเมือง ในท้ายที่สุดก็ได้เข้าที่นั่งในวุฒิสภาในภายหลังสงคราม
เวียดนาม (จักรวรรดิเวียดนาม)
แก้จักรวรรดิเวียดนามเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นที่มีอายุสั้นซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ถึง 23 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองอินโดจีนฝรั่งเศส พวกเขาได้ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของวิชีฝรั่งเศสอยู่ในการควบคุมเพียงแต่ในนาม การปกครองของฝรั่งเศสนี้ได้สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1945 เมื่อญี่ปุ่นได้เข้าควบคุมรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ไม่นานหลังจากนั้น จักรพรรดิบ๋าว ดั่ยได้ทำให้สนธิสัญญากับฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1884 ตกเป็นโมฆะ และเจิ่น จ่อง กีม นักประวัติศาสตร์ได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรี
การร่วมมือในสงครามโลกครั้งที่สองของเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น
แก้การร่วมมือของฝ่ายอักษะ เยอรมนี-ญี่ปุ่น
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สมาชิก
แก้ชาติ | ดินแดน | เข้าร่วม WWII |
---|---|---|
นาซีเยอรมนี | ออสเตรีย | 1 กันยายน 1939 |
ราชอาณาจักรอิตาลี | ลิเบีย เอริเทเรีย เอธิโอเปีย ดินแดนโพ้นทะเลของประเทศอิตาลี |
10 มิถุนายน 1940 |
จักรวรรดิญี่ปุ่น | เกาหลี ไต้หวัน กวันตง คาราฟูโตะ แปซิฟิกใต้ในอาณัติ แมนจู |
7 ธันวาคม 1941 |
สาธารณรัฐสังคมอิตาลี | 12 กันยายน 1943 | |
ราชอาณาจักรฮังการี | 6 เมษายน 1941 | |
รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติฮังการี | 15 ตุลาคม 1944 | |
ราชอาณาจักรโรมาเนีย | 22 มิถุนายน 1941 | |
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย | 6 เมษายน 1941 | |
สาธารณรัฐฟินแลนด์ | 25 มิถุนายน 1941 | |
ราชอาณาจักรไทย | 25 มกราคม 1942 | |
ราชอาณาจักรอิรัก | 2 พฤษภาคม 1941 | |
สาธารณรัฐสโลวักที่ 1 | 1 กันยายน 1939 | |
รัฐเอกราชโครเอเชีย | 14 ธันวาคม 1941 | |
ราชอาณาจักรแอลเบเนีย | 17 ธันวาคม 1941 | |
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2 | 23 กันยายน 1944 |
การยอมแพ้
แก้ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Tom Gallagher, C. Hurst & Co. Publishers, 2005, Theft of a Nation: Romania Since Communism, p. 35
- ↑ Goldberg, Maren; Lotha, Gloria; Sinha, Surabhi (24 March 2009). "Rome-Berlin Axis". Britannica.Com. Britannica Group, inc. สืบค้นเมื่อ 11 February 2021.
- ↑ Cornelia Schmitz-Berning (2007). Vokabular des Nationalsozialismus. Berlin: De Gruyter. p. 745. ISBN 978-3-11-019549-1.
- ↑ "Axis". GlobalSecurity.org. สืบค้นเมื่อ 26 March 2015.
- ↑ Cooke, Tim (2005). History of World War II: Volume 1 - Origins and Outbreak. Marshall Cavendish. p. 154. ISBN 0761474838. สืบค้นเมื่อ 28 October 2020.
- ↑ Tucker, Spencer; Roberts, Priscilla Mary (2005). Encyclopedia of World War II A Political, Social and Military History. ABC-Clio. p. 102. ISBN 9781576079997. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
- ↑ Momah, Sam (1994). Global strategy : from its genesis to the post-cold war era. Vista Books. p. 71. ISBN 9789781341069. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
- ↑ 8.0 8.1 Hedinger, Daniel (8 June 2017). "The imperial nexus: the Second World War and the Axis in global perspective". Journal of Global History. 12 (2): 184–205. doi:10.1017/S1740022817000043.
- ↑ Martin-Dietrich Glessgen and Günter Holtus, eds., Genesi e dimensioni di un vocabolario etimologico, Lessico Etimologico Italiano: Etymologie und Wortgeschichte des Italienischen (Ludwig Reichert, 1992), p. 63.
- ↑ 10.0 10.1 D. C. Watt, "The Rome–Berlin Axis, 1936–1940: Myth and Reality", The Review of Politics, 22: 4 (1960), pp. 530–31.
- ↑ Sinor 1959, p. 291.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 MacGregor Knox. Common Destiny: Dictatorship, Foreign Policy, and War in Fascist Italy and Nazi Germany. Cambridge University Press, 2000. p. 124.
- ↑ MacGregor Knox. Common Destiny: Dictatorship, Foreign Policy, and War in Fascist Italy and Nazi Germany. Cambridge University Press, 2000. p. 125.
- ↑ John Gooch. Mussolini and His Generals: The Armed Forces and Fascist Foreign Policy, 1922–1940. Cambridge University Press, 2007. p. 11.
- ↑ Gerhard Schreiber, Bern Stegemann, Detlef Vogel. Germany and the Second World War. Oxford University Press, 1995. p. 113.
- ↑ H. James Burgwyn. Italian foreign policy in the interwar period, 1918–1940. Wesport, Connecticut, USA: Greenwood Publishing Group, 1997. p. 68.
- ↑ Christian Leitz. Nazi Foreign Policy, 1933–1941: The Road to Global War. p. 10.
- ↑ H. James Burgwyn. Italian foreign policy in the interwar period, 1918–1940. Wesport, Connecticut, USA: Greenwood Publishing Group, 1997. p. 75.
- ↑ H. James Burgwyn. Italian foreign policy in the interwar period, 1918–1940. Wesport, Connecticut, USA: Greenwood Publishing Group, 1997. p. 81.
- ↑ 20.0 20.1 H. James Burgwyn. Italian foreign policy in the interwar period, 1918–1940. Wesport, Connecticut, USA: Greenwood Publishing Group, 1997. p. 82.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 H. James Burgwyn. Italian foreign policy in the interwar period, 1918–1940. Wesport, Connecticut, USA: Greenwood Publishing Group, 1997. p. 76.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 H. James Burgwyn. Italian foreign policy in the interwar period, 1918–1940. Wesport, Connecticut, USA: Greenwood Publishing Group, 1997. p. 78.
- ↑ 23.0 23.1 Peter Neville. Mussolini. London, England: Routledge, 2004. p. 123.
- ↑ 24.0 24.1 Knickerbocker, H.R. (1941). Is Tomorrow Hitler's? 200 Questions On the Battle of Mankind. Reynal & Hitchcock. pp. 7–8. ISBN 9781417992775.
- ↑ Peter Neville. Mussolini. London, England: Routledge, 2004. pp. 123–125.
- ↑ Gordon Martel. Origins of Second World War Reconsidered: A. J. P. Taylor and Historians. Digital Printing edition. Routledge, 2003. p. 179.
- ↑ Gordon Martel. Austrian Foreign Policy in Historical Context. New Brunswick, New Jersey, USA: Transaction Publishers, 2006. p. 179.
- ↑ Peter Neville. Mussolini. London, England: Routledge, 2004. p. 125.
- ↑ 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 29.5 29.6 Adriana Boscaro, Franco Gatti, Massimo Raveri, (eds). Rethinking Japan. 1. Literature, visual arts & linguistics. pp. 32–39
- ↑ Adriana Boscaro, Franco Gatti, Massimo Raveri, (eds). Rethinking Japan. 1. Literature, visual arts & linguistics. p. 33.
- ↑ Adriana Boscaro, Franco Gatti, Massimo Raveri, (eds). Rethinking Japan. 1. Literature, visual arts & linguistics. p. 38.
- ↑ Adriana Boscaro, Franco Gatti, Massimo Raveri, (eds). Rethinking Japan. 1. Literature, visual arts & linguistics. pp. 39–40.
- ↑ Hill 2003, p. 91.
- ↑ Shelley Baranowski. Axis Imperialism in the Second World War. Oxford University Press, 2014.
- ↑ Stanley G. Payne. A History of Fascism, 1914–1945. Madison, Wisconsin, USA: University of Wisconsin Press, 1995. p. 379.
- ↑ 36.0 36.1 Harrison 2000, p. 3.
- ↑ Harrison 2000, p. 4.
- ↑ Harrison 2000, p. 10.
- ↑ Harrison 2000, pp. 10, 25.
- ↑ 40.0 40.1 40.2 40.3 40.4 40.5 Harrison 2000, p. 20.
- ↑ Harrison 2000, p. 19.
- ↑ Lewis Copeland, Lawrence W. Lamm, Stephen J. McKenna. The World's Great Speeches: Fourth Enlarged (1999) Edition. p. 485.
- ↑ Hitler's Germany: Origins, Interpretations, Legacies. London, England: Routledge, 1939. p. 134.
- ↑ 44.0 44.1 Stephen J. Lee. Europe, 1890–1945. p. 237.
- ↑ Peter D. Stachura. The Shaping of the Nazi State. p. 31.
- ↑ Stutthof. Zeszyty Muzeum, 3. PL ISSN 0137-5377. Mirosław Gliński Geneza obozu koncentracyjnego Stutthof na tle hitlerowskich przygotowan w Gdansku do wojny z Polska
- ↑ 47.0 47.1 Jan Karski. The Great Powers and Poland: From Versailles to Yalta. Rowman & Littlefield, 2014. p. 197.
- ↑ Maria Wardzyńska, "Był rok 1939. Operacja niemieckiej policji bezpieczeństwa w Polsce Intelligenzaktion Instytut Pamięci Narodowej, IPN 2009
- ↑ A. C. Kiss. Hague Yearbook of International Law. Martinus Nijhoff Publishers, 1989.
- ↑ William Young. German Diplomatic Relations 1871–1945: The Wilhelmstrasse and the Formulation of Foreign Policy. iUniverse, 2006. p. 271.
- ↑ 51.0 51.1 51.2 Gabrielle Kirk McDonald. Documents and Cases, Volumes 1–2. The Hague, Netherlands: Kluwer Law International, 2000. p. 649.
- ↑ Geoffrey A. Hosking. Rulers And Victims: The Russians in the Soviet Union. Harvard University Press, 2006 p. 213.
- ↑ Catherine Andreyev. Vlasov and the Russian Liberation Movement: Soviet Reality and Emigré Theories. First paperback edition. Cambridge, England: Cambridge University Press, 1989. pp. 53, 61.
- ↑ 54.0 54.1 Randall Bennett Woods. A Changing of the Guard: Anglo-American Relations, 1941–1946. University of North Carolina Press, 1990. p. 200.
- ↑ 55.0 55.1 55.2 Molotov–Ribbentrop Pact 1939.
- ↑ Roberts 2006, p. 82.
- ↑ John Whittam. Fascist Italy. Manchester, England; New York, New York, USA: Manchester University Press. p. 165.
- ↑ Michael Brecher, Jonathan Wilkenfeld. Study of Crisis. University of Michigan Press, 1997. p. 109.
- ↑ *Rodogno, Davide (2006). Fascism's European Empire: Italian Occupation During the Second World War. Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 46–48. ISBN 978-0-521-84515-1.
- ↑ 60.0 60.1 60.2 H. James Burgwyn. Italian Foreign Policy in the Interwar Period, 1918–1940. Westport, Connecticut, USA: Praeger Publishers, 1997. pp. 182-183.
- ↑ H. James Burgwyn. Italian Foreign Policy in the Interwar Period, 1918–1940. Westport, Connecticut, USA: Praeger Publishers, 1997. p. 185.
- ↑ John Lukacs. The Last European War: September 1939 – December 1941. p. 116.
- ↑ 63.0 63.1 Jozo Tomasevich. War and Revolution in Yugoslavia, 1941–1945: Occupation and Collaboration. pp. 30–31.
- ↑ Lowe & Marzari 2002, p. 289.
- ↑ McKercher & Legault 2001, pp. 40–41.
- ↑ McKercher & Legault 2001, p. 41.
- ↑ Samuel W. Mitcham: Rommel's Desert War: The Life and Death of the Afrika Korps. Stackpole Books, 2007. p. 16.
- ↑ Stephen L. W. Kavanaugh. Hitler's Malta Option: A Comparison of the Invasion of Crete (Operation Merkur) and the Proposed Invasion of Malta (Nimble Books LLC, 2010). p. 20.
- ↑ Mussolini Unleashed, 1939–1941: Politics and Strategy in Fascist Italy's Last War. pp. 284–285.
- ↑ 70.0 70.1 Patricia Knight. Mussolini and Fascism. Routledge, 2003. p. 103.
- ↑ Davide Rodogno. Fascism's European Empire: Italian Occupation during the Second World War. Cambridge, England: Cambridge University Press, 2006. p. 30.
- ↑ John Lukacs. The Last European War: September 1939 – December 1941. Yale University Press, 2001. p. 364.
- ↑ Shirer 1960, p. 1131.
- ↑ Albania: A Country Study: Italian Occupation, Library of Congress. Last accessed 14 February 2015.
- ↑ "Albania – Italian Penetration". countrystudies.us.
- ↑ Barak Kushner. The Thought War: Japanese Imperial Propaganda. University of Hawaii Press, p. 119.
- ↑ Hilary Conroy, Harry Wray. Pearl Harbor Reexamined: Prologue to the Pacific War. University of Hawaii Press, 1990. p. 21.
- ↑ Euan Graham. Japan's sea lane security, 1940–2004: a matter of life and death? Oxon, England; New York, New York, USA: Routledge, 2006. p. 77.
- ↑ 79.0 79.1 79.2 Daniel Marston. The Pacific War: From Pearl Harbor to Hiroshima. Osprey Publishing, 2011.
- ↑ Hilary Conroy, Harry Wray. Pearl Harbor Reexamined: Prologue to the Pacific War. University of Hawaii Press, 1990. p. 60.
- ↑ Herbert P. Bix, Hirohito and the Making of Modern Japan (2001) ch. 13
- ↑ Dull 2007, p. 5.
- ↑ 83.0 83.1 83.2 Asada 2006, pp. 275–276.
- ↑ Li Narangoa, R. B. Cribb. Imperial Japan and National Identities in Asia, 1895–1945. Psychology Press, 2003. pp. 15-16.
- ↑ Seamus Dunn, T.G. Fraser. Europe and Ethnicity: The First World War and Contemporary Ethnic Conflict. Routledge, 1996. p. 97.
- ↑ Montgomery 2002, p. [ต้องการเลขหน้า].
- ↑ Hungary and the Holocaust Confrontation with the Past (2001) (Center for Advanced Holocaust Studies United States Holocaust Memorial Museum); Tim Cole; Hungary, the Holocaust, and Hungarians: Remembering Whose History? pp. 3-5; [1]
- ↑ Randolph L. Braham; (2010) Hungarian, German, and Jewish calculations and miscalculations in the last chapter of the Holocaust pp. 9-10; Washington, D.C. : Center for Advanced Holocaust Studies, United States Holocaust Memorial Museum, [2]
- ↑ "Szita Szabolcs: A budapesti csillagos házak (1944-45) | Remény". Remeny.org. 15 February 2006. สืบค้นเมื่อ 2017-06-17.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-05-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Jasenovac United States Holocaust Memorial Museum web site
- ↑ Senn 2007, p. [ต้องการเลขหน้า].
- ↑ Dinu C. Giurescu, Romania in the Second World War (1939–1945)
- ↑ Craig Stockings, Eleanor Hancock, Swastika over the Acropolis: Re-interpreting the Nazi Invasion of Greece in World War II, p. 37
- ↑ Carlile Aylmer Macartney, October Fifteenth: A History of Modern Hungary, 1929–1945, Volume 1, p. 481
- ↑ Dennis Deletant, Final report, p. 498
- ↑ Robert D. Kaplan, In Europe's Shadow: Two Cold Wars and a Thirty-Year Journey Through Romania and Beyond, p. 134
- ↑ David T. Zabecki, World War II in Europe: An Encyclopedia, p. 1421
- ↑ Zaloga 2013, p. 31.
- ↑ Axworthy 1995, pp. 350–351.
- ↑ Axworthy 1995, pp. 239, 243.
- ↑ Axworthy 1995, p. 229.
- ↑ Atkinson, Rick (2013). The Guns at Last Light (1 ed.). New York: Henry Holt. p. 354. ISBN 978-0-8050-6290-8.
- ↑ Dennis Deletant, "Romania", in David Stahel, Joining Hitler's Crusade (Cambridge University Press, 2017), p. 78
- ↑ Axworthy 1995, p. 9.
- ↑ Radu Ioanid; (2008) The Holocaust in Romania: The Destruction of Jews and Gypsies Under the Antonescu Regime 1940-1944 pp. 289-297; Ivan R. Dee, ISBN 1461694906
- ↑ Spencer C. Tucker, World War II at Sea: An Encyclopedia, p. 633
- ↑ 108.0 108.1 Goda, Norman J. W. (2015). "The diplomacy of the Axis, 1940–1945". The Cambridge History of the Second World War: 276–300. doi:10.1017/CHO9781139524377.015. ISBN 9781139524377. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
- ↑ "Den Dansk-Tyske Ikke-Angrebstraktat af 1939". Flådens Historie. (ในภาษาเดนมาร์ก)
- ↑ Aage, Trommer. ""Denmark". The Occupation 1940–45". Foreign Ministry of Denmark. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-18. สืบค้นเมื่อ 2006-09-20.
- ↑ William L. Langer and S. Everett Gleason, The Undeclared War, 1940–1941 (1953), pp. 172–73, 424–31, 575–78
- ↑ Richard Petrow, The Bitter Years: The Invasion and Occupation of Denmark and Norway, April 1940 – May 1945 (1974) p. 165
- ↑ "Jasenovac". 11 July 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2003.
- ↑ "Flåden efter 29 August 1943". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2007.
- ↑ "Den Danske Brigade DANFORCE – Den Danske Brigade "DANFORCE" Sverige 1943–45". 12 August 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2002.
- ↑ Petrow, The Bitter Years (1974) pp. 185–95
- ↑ Kirby 1979, p. 134.
- ↑ Kent Forster, "Finland's Foreign Policy 1940–1941: An Ongoing Historiographic Controversy," Scandinavian Studies (1979) 51#2 pp. 109–123
- ↑ "Treaty of Peace With Finland". 1947. p. 229. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
- ↑ Wagner, Margaret E.; Osbourne, Linda Barrett; Reyburn, Susan (2007). The Library of Congress World War II companion. New York: Simon & Schuster. p. 39. ISBN 9780743252195. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
- ↑ Jukes, Geoffrey; O'Neill, Robert (2010). World War II: The Eastern Front 1941-1945. The Rosen Publishing Group. p. 52. ISBN 978-1435891340. สืบค้นเมื่อ 7 February 2021.
- ↑ DiNardo, R.L. (2005). Germany and the Axis Powers from Coalition to Collapse. University Press of Kansas. p. 95. ISBN 9780700614127. สืบค้นเมื่อ 9 February 2021.
- ↑ Tallgren, Immi (2014). "Martyrs and Scapegoats of the Nation? The Finnish War-Responsibility Trial, 1945–1946". Historical Origins of International Criminal Law. 2 (21): 512. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
- ↑ Mäkinen, Esa (19 October 2008). "Historian professorit hautaavat pitkät kiistat". Helsingin Sanomat. สืบค้นเมื่อ 7 February 2021.
- ↑ Kirby 1979, p. 120.
- ↑ Kirby 1979, pp. 120–121.
- ↑ 127.0 127.1 Kennedy-Pipe 1995, p. [ต้องการเลขหน้า].
- ↑ Kirby 1979, p. 123.
- ↑ Seppinen 1983, p. [ต้องการเลขหน้า].
- ↑ British Foreign Office Archive, 371/24809/461-556.
- ↑ Jokipii 1987, p. [ต้องการเลขหน้า].
- ↑ Wylie 2002, p. 275.
- ↑ Rohr 2007, p. 99.
- ↑ 134.0 134.1 Bowen 2000, p. 59.
- ↑ Reginbogin, Herbert (2009). Faces of Neutrality: A Comparative Analysis of the Neutrality of Switzerland and other Neutral Nations during WW II (First ed.). LIT Verlag. p. 120.
- ↑ Leonard & Bratzel 2007, p. 96.
- ↑ Steinberg 2000, p. 122.
- ↑ Payne 1999, p. 538.
- ↑ Seekins, Donald M. (27 Mar 2017). Historical Dictionary of Burma (Myanmar). Rowman & Littlefield. p. 438. ISBN 978-1538101834. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
- ↑ Yoon, Won Z. (September 1978). "Military Expediency: A Determining Factor in the Japanese Policy regarding Burmese Independence". Journal of Southeast Asian Studies. 9 (2): 262–263. doi:10.1017/S0022463400009772. JSTOR 20062727. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
- ↑ Fry, Gerald W.; Nieminen, Gayla S.; Smith, Harold E. (8 August 2013). Historical Dictionary of Thailand. Scarecrow Press. p. 221. ISBN 978-0810875258. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
- ↑ Merrill, Dennis; Patterson, Thomas (10 Sep 2009). Major Problems in American Foreign Relations, Volume II: Since 1914. Cengage Learning. p. 343. ISBN 978-1133007548. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
- ↑ Bowman, John Stewart (1998). FACTS ABOUT THE AMERICAN WARS. H.W. Wilson Company. p. 432. ISBN 9780824209292. สืบค้นเมื่อ 7 February 2021.
- ↑ Smythe, Hugh H. (Third Quarter 1964). "Thailand Minority Groups". Phylon. Clark Atlanta University. 25 (3): 280–287. doi:10.2307/273786. JSTOR 273786. สืบค้นเมื่อ 2 April 2021.
- ↑ Booth Luce, Clare (14 December 1945). "Not Unduly Exacting About Java". Congressional Record: Proceedings and Debates of the US Congress. U.S. Government Printing Office: A5532. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
- ↑ 146.0 146.1 Murashima, Eiji (October 2006). "The Commemorative Character of Thai Historiography: The 1942-43 Thai Military Campaign in the Shan States Depicted as a Story of National Salvation and the Restoration of Thai Independence". Modern Asian Studies. Cambridge University Press. 40 (4): 1056–1057. doi:10.1017/S0026749X06002198. JSTOR 3876641. S2CID 144491081. สืบค้นเมื่อ 1 April 2021.
- ↑ "Thailand and the Second World War". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-27.
- ↑ Darling, Frank C. (March 1963). "British and American Influence in Post-War Thailand". Journal of Southeast Asian History. Cambridge University Press. 4 (1): 99. doi:10.1017/S0217781100000788. JSTOR 20067423. สืบค้นเมื่อ 1 April 2021.
- ↑ Nekrich, A. M. (Aleksandr Moiseevich) (1997). Pariahs, partners, predators : German-Soviet relations, 1922-1941. Freeze, Gregory L., 1945-. New York: Columbia University Press. pp. 112–120. ISBN 0-231-10676-9. OCLC 36023920.
- ↑ Shirer, William L. (William Lawrence), 1904-1993. The rise and fall of the Third Reich. New York. pp. 495–496. ISBN 0-671-62420-2. OCLC 1286630.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Internet History Sourcebooks". sourcebooks.fordham.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-10-29.
- ↑ Eastern Europe, Russia and Central Asia 2004, Volume 4. London, England: Europa Publications, 2003. pp. 138–139.
- ↑ Roberts 2006, p. 58.
- ↑ Brackman 2001, pp. 341–343.
- ↑ Donaldson & Nogee 2005, pp. 65–66.
- ↑ Churchill 1953, pp. 520–521.
- ↑ Nekrich, Ulam & Freeze 1997, pp. 202–205.
- ↑ Roberts 2006, p. 59.
- ↑ Baranowski, Shelley (2011). Nazi Empire: German Colonialism and Imperialism from Bismarck to Hitler. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-85739-0.
- ↑ Lemkin, Raphael (1944). Axis Rule in Occupied Europe: Laws of Occupation, Analysis of Government, Proposals for Redress. Carnegie Endowment for International Peace. p. 11. ISBN 1584779012. สืบค้นเมื่อ 24 October 2020.
- ↑ Sarner 1997, p. [ต้องการเลขหน้า].
- ↑ "Shoah Research Center – Albania" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2003-11-27.
- ↑ Hehn (1971), pp. 344–73
- ↑ MacDonald, David Bruce (2002). Balkan holocausts?: Serbian and Croatian victim-centred propaganda and the war in Yugoslavia. Manchester: Manchester University Press. p. 142. ISBN 0719064678.
- ↑ MacDonald, David Bruce (2007). Identity Politics in the Age of Genocide: The Holocaust and Historical Representation. Routledge. p. 167. ISBN 978-1-134-08572-9.
- ↑ Raphael Israeli (4 March 2013). The Death Camps of Croatia: Visions and Revisions, 1941–1945. Transaction Publishers. p. 31. ISBN 978-1-4128-4930-2. สืบค้นเมื่อ 12 May 2013.
- ↑ 167.0 167.1 David P. Chandler, A History of Cambodia, Silkworm 1993 [ต้องการเลขหน้า]
- ↑ Gow, I; Hirama, Y; Chapman, J (2003). Volume III: The Military Dimension The History of Anglo-Japanese Relations, 1600-2000. Springer. p. 208. ISBN 0230378870. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
- ↑ Ivarsson, Søren; Goscha, Christopher E. (February 2007). "Prince Phetsarath (1890-1959): Nationalism and Royalty in the Making of Modern Laos". Journal of Southeast Asian Studies. Cambridge University Press. 38 (1): 65–71. doi:10.1017/S0022463406000932. JSTOR 20071807. S2CID 159778908. สืบค้นเมื่อ 2 April 2021.
- ↑ Guillermo, Artemio R. (2012). Historical Dictionary of the Philippines. Scarecrow Press. pp. 211, 621. ISBN 978-0-8108-7246-2. สืบค้นเมื่อ 22 March 2013.
- ↑ Abinales, Patricio N; Amoroso, Donna J. (2005). State And Society In The Philippines. State and Society in East Asia Series. Rowman & Littlefield. pp. 160, 353. ISBN 978-0-7425-1024-1. สืบค้นเมื่อ 22 March 2013.
- ↑ Cullinane, Michael; Borlaza, Gregorio C.; Hernandez, Carolina G. "Philippines". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ January 22, 2014.
บรรณานุกรม
แก้สิ่งตีพิมพ์
แก้- Asada, Sadao (2006). From Mahan to Pearl Harbor: The Imperial Japanese Navy and the United States. Annapolis: Naval Institute Press. ISBN 978-1-55750-042-7.
- Axworthy, Mark (1995). Third Axis – Fourth Ally: Romanian Armed Forces in the European War, 1941-1945. London: Arms and Armour. ISBN 9781854092670.
- Bachelier, Christian (2000). Azéma & Bédarida (บ.ก.). L'armée française entre la victoire et la défaite. La France des années noires. Vol. 1. Le Seuil.
- Bowen, Wayne H. (2000). Spaniards and Nazi Germany: Collaboration in the New Order. Columbia, Missouri: University of Missouri Press. ISBN 978-0-8262-1300-6.
- Brackman, Roman (2001). The Secret File of Joseph Stalin: A Hidden Life. London; Portland: Frank Cass. ISBN 978-0-7146-5050-0.
- Leonard, Thomas M.; Bratzel, John F. (2007). Latin America During World War II. Lanham Road, Maryland; Plymouth, England: Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-7425-3740-8.
- Churchill, Winston (1953). The Second World War. Boston: Houghton Mifflin Harcourt. ISBN 978-0-395-41056-1.
- Corvaja, Santi (2008) [2001]. Hitler & Mussolini: The Secret Meetings. New York: Enigma.
- Donaldson, Robert H; Nogee, Joseph L (2005). The Foreign Policy of Russia: Changing Systems, Enduring Interests. Armonk, New York: M. E. Sharpe. ISBN 978-0-7656-1568-8.
- Dull, Paul S (2007) [1978]. A Battle History of the Imperial Japanese Navy, 1941–1945. Annapolis: Naval Institute Press.
- Harrison, Mark (2000) [1998]. The Economics of World War II: Six Great Powers in International Comparison. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-78503-7.
- Hill, Richard (2003) [2002]. Hitler Attacks Pearl Harbor: Why the United States Declared War on Germany. Boulder, CO: Lynne Rienner.
- Jabārah, Taysīr (1985). Palestinian leader, Hajj Amin al-Husayni, Mufti of Jerusalem. Kingston Press. p. 183. ISBN 978-0-940670-10-5.
- Jokipii, Mauno (1987). Jatkosodan synty: tutkimuksia Saksan ja Suomen sotilaallisesta yhteistyöstä 1940–41 [Birth of the Continuation War: Analysis of the German and Finnish Military Co-operation, 1940–41] (ภาษาฟินแลนด์). Helsinki: Otava. ISBN 978-951-1-08799-1.
- Kennedy-Pipe, Caroline (1995). Stalin's Cold War: Soviet Strategies in Europe, 1943 to 1956. New York: Manchester University Press. ISBN 978-0-7190-4201-0.
- Kershaw, Ian (2007). Fateful Choices: Ten Decisions That Changed the World, 1940–1941. London: Allen Lane. ISBN 978-1-59420-123-3.
- Kirby, D. G. (1979). Finland in the Twentieth Century: A History and an Interpretation. London: C. Hurst & Co. ISBN 978-0-905838-15-1.
- Lebra, Joyce C (1970). The Indian National Army and Japan. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 978-981-230-806-1.
- Lewis, Daniel K. (2001). The History of Argentina. New York; Hampshire: Palgrave MacMillan.
- Lidegaard, Bo (2003). Dansk Udenrigspolitisk Historie, vol. 4 (ภาษาเดนมาร์ก). Copenhagen: Gyldendal. ISBN 978-87-7789-093-2.
- Lowe, Cedric J.; Marzari, Frank (2002) [1975]. Italian Foreign Policy, 1870–1940. Foreign Policies of the Great Powers. London: Routledge.
- McKercher, B. J. C.; Legault, Roch (2001) [2000]. Military Planning and the Origins of the Second World War in Europe. Westport, Connecticut: Greenwood Publishing Group.
- Montgomery, John F. (2002) [1947]. Hungary: The Unwilling Satellite. Simon Publications.
- Nekrich, Aleksandr Moiseevich; Ulam, Adam Bruno; Freeze, Gregory L. (1997). Pariahs, Partners, Predators: German-Soviet Relations, 1922–1941. Columbia University Press. ISBN 0-231-10676-9.
- Paxton, Robert O (1993). J. P. Azéma & François Bédarida (บ.ก.). La Collaboration d'État. La France des Années Noires. Paris: Éditions du Seuil.
- Payne, Stanley G. (1987). The Franco Regime, 1936–1975. Madison, Wisconsin: University of Wisconsin Press. ISBN 978-0-299-11074-1.
- Payne, Stanley G. (1999). Fascism in Spain, 1923–1977. Madison, Wisconsin: University of Wisconsin Press. ISBN 978-0-299-16564-2.
- Potash, Robert A. (1969). The Army And Politics in Argentina: 1928–1945; Yrigoyen to Perón. Stanford: Stanford University Press.
- Roberts, Geoffrey (2006). Stalin's Wars: From World War to Cold War, 1939–1953. Yale University Press. ISBN 0-300-11204-1.
- Preston, Paul (1994). Franco: A Biography. New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-02515-2.
- Rodao, Florentino (2002). Franco y el imperio japonés: imágenes y propaganda en tiempos de guerra. Barcelona: Plaza & Janés. ISBN 978-84-01-53054-8.
- Rohr, Isabelle (2007). The Spanish Right and the Jews, 1898–1945: Antisemitism and Opportunism. Eastbourne, England; Portland, Oregon: Sussex Academic Press.
- Sarner, Harvey (1997). Rescue in Albania: One Hundred Percent of Jews in Albania Rescued from the Holocaust. Cathedral City, California: Brunswick Press.
- Senn, Alfred Erich (2007). Lithuania 1940: Revolution From Above. Amsterdam; New York: Rodopi Publishers. ISBN 978-90-420-2225-6.
- Seppinen, Ilkka (1983). Suomen ulkomaankaupan ehdot 1939–1940 [Conditions of Finnish Foreign Trade 1939–1940] (ภาษาฟินแลนด์). Helsinki: Suomen historiallinen seura. ISBN 978-951-9254-48-7.
- Shirer, William L. (1960). The Rise and Fall of the Third Reich. New York: Simon & Schuster. ISBN 978-0-671-62420-0.
- Sinor, Denis (1959). History of Hungary. Woking; London: George Allen and Unwin.
- Steinberg, David Joel (2000) [1982]. The Philippines: A Singular and a Plural Place. Boulder Hill, Colorado; Oxford: Westview Press. ISBN 978-0-8133-3755-5.
- Walters, Guy (2009). Hunting Evil: The Nazi War Criminals Who Escaped and the Quest to Bring Them to Justice. New York: Broadway Books.
- Wettig, Gerhard (2008). Stalin and the Cold War in Europe. Landham, Md: Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-7425-5542-6.
- Wylie, Neville (2002). European Neutrals and Non-Belligerents During the Second World War. Cambridge; New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-64358-0.
- Zaloga, Steven J. (2013). Tanks of Hitler's Eastern Allies 1941-45. Oxford: Osprey. ISBN 978-1-78096-020-3.
ข้อมูลออนไลน์
แก้- Halsall, Paul (1997). "The Molotov–Ribbentrop Pact, 1939". New York: Fordham University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2012-03-22.
อ่านเพิ่ม
แก้- Dear, Ian C. B. (2005). Foot, Michael; Daniell, Richard (บ.ก.). The Oxford Companion to World War II. Oxford University Press. ISBN 0-19-280670-X.
- Kirschbaum, Stanislav (1995). A History of Slovakia: The Struggle for Survival. New York: St. Martin's Press. ISBN 0-312-10403-0.
- Ready, J. Lee (2012) [1987]. The Forgotten Axis: Germany's Partners and Foreign Volunteers in World War II. Jefferson, N.C.: McFarland & Company. ISBN 9780786471690. OCLC 895414669.
- Roberts, Geoffrey (1992). "Infamous Encounter? The Merekalov-Weizsacker Meeting of 17 April 1939". The Historical Journal. Cambridge University Press. 35 (4): 921–926. doi:10.1017/S0018246X00026224. JSTOR 2639445.
- Toynbee, Arnold, บ.ก. (1954). Survey of International Affairs: Hitler's Europe 1939–1946. Highly detailed coverage of conquered territories.
- Weinberg, Gerhard L. (2005). A World at Arms: A Global History of World War II (2nd ed.). New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-85316-3.