เรือประจัญบานยามาโตะ

เรือประจัญบานชั้นยามาโตะ

เรือประจัญบานยามาโตะ (ญี่ปุ่น: 大和โรมาจิYamato) เป็นเรือประจัญบานขนาดยักษ์ ตั้งตามชื่อแคว้นยามาโตะ ซึ่งเป็นแคว้นโบราณในประเทศญี่ปุ่น เป็นเรือประจัญบานชั้นยามาโตะลำแรกของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น เรือประจัญบานยามาโตะและเรือประจัญบานมูซาชิที่อยู่ในชั้นเดียวกัน เป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ที่สุดและมีอาวุธทรงประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้ ด้วยระวางขับน้ำ 72,800 ตันและปืนใหญ่ขนาดปากลำกล้อง 460 มิลลิเมตร (18.1 นิ้ว) เรือทั้งสองลำจมลงในระหว่างสงคราม

A large warship with a tall, pagoda-like superstructure, single funnel and multiple gun turrets, steaming in the open ocean.ยามาโตะขณะทำการแล่นเรือทดสอบ ค.ศ. 1941
ยามาโตะขณะทำการแล่นเรือทดสอบ ค.ศ. 1941
ประวัติ
A flag bearing a stylised red sunburst symbol on a white background.จักรวรรดิญี่ปุ่น
ชื่อยามาโตะ
ตั้งชื่อตามแคว้นยามาโตะ
Orderedมีนาคม ค.ศ. 1937 [2]
อู่เรืออู่ทหารเรือคูเระ[1]
ปล่อยเรือ4 พฤษภาคม ค.ศ 1937 ref name=J38/>
เดินเรือแรก8 สิงหาคม ค.ศ. 1940[1]
เข้าประจำการ16 ธันวาคม ค.ศ. 1941[1]
Stricken31 สิงหาคม ค.ศ. 1945
ความเป็นไปอับปางลงในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1945 ห่างออกไปทางเหนือของเกาะโอกินาวะ[3]
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: ยามาโตะ
ประเภท: เรือประจัญบาน
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 65,027 ตัน มาตราฐาน (71,659 ตัน) [4]
ความยาว: 862 ฟุต 10 นิ้ว (263 เมตร) [5]
ความกว้าง: 127 ฟุต 7 นิ้ว (38.9 เมตร) [5]
กินน้ำลึก: 35 ฟุต 8 นิ้ว (10.86 เมตร) [5]
ระบบพลังงาน: 150,000 แรงม้า[6]
ระบบขับเคลื่อน: • หม้อน้ำแบบคัมปง (Kampon) 12 หม้อ, ขับเคลื่อนด้วยใบจักรไอน้ำ 4 ใบ[6]
• ใบจักร 3 ใบพัด เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ม.[6]
ความเร็ว: 27 นอต[6]
พิสัยเชื้อเพลิง: 7,200 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16 นอต[6]
อัตราเต็มที่: 2,500–2,800 นาย[6][7]
เกราะ: • หน้าป้อมปืนหลัก 650 มม. (26 นิ้ว)[8]
• ด้านข้าง 410 มม. (16 นิ้ว)[8]
• กลางดาดฟ้าเรือ 200 มม. (7.9 นิ้ว) (75%)[8]
• ขอบดาดฟ้าเรือ 226.5 มม. (8.92 นิ้ว) (25%)[8]
อากาศยาน: 7[8]
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: เครื่องดีด 2 เครื่อง[8]

เรือรบลำนี้มีความหมายอันยิ่งใหญ่สำหรับจักรวรรดิญี่ปุ่นในฐานะสัญลักษณ์ด้านนาวิกานุภาพของชาติ (คำว่า "ยามาโตะ บางครั้งก็หมายถึงประเทศญี่ปุ่น) และถูกเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันจมช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปฏิบัติการฆ่าตัวตายเท็งโง ซึ่งการจมของเรือรบยามาโตะ บางครั้งถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นด้วย[ต้องการอ้างอิง]

การออกแบบและการสร้าง

แก้
 
ยามาโตะ' ขณะใกล้เสร็จสิ้นการเตรียมเรือประจำการ 20 กันยายน ค.ศ. 1941[9]

ระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 1930 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปลี่ยนไปสู่ความเป็นชาตินิยมอย่างเข้มข้นด้วยทรรศนะสู่จักรวรรดิญี่ปุ่นอันยิ่งใหญ่[10] ญี่ปุ่นได้ถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติในปี ค.ศ. 1934 และยกเลิกสนธิสัญญาที่เคยทำไว้ทั้งหมด[11] หลังถอนตัวจากสนธิสัญญารัฐนาวีวอชิงตันซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่จำกัดขนาดเรือและอำนาจการยิงของเรือหลวง กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เริ่มออกแบบเรือประจัญบานหนักชั้นใหม่ คือ ชั้นยามาโตะ การออกแบบเรือได้เสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1937[12] เมื่อเริ่มวางกระดูกงู ญี่ปุ่นได้พยายามอย่างยิ่งที่จะปกปิดเป็นความลับไม่ให้เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของอเมริการู้ถึงการดำรงอยู่และข้อมูลลักษณะของเรือ[13][14] ญี่ปุ่นได้กล่าวอ้างว่าปืนใหญ่หลักของเรือมีขนาดเพียง 16 นิ้ว จากความพยายามนี้เองทำให้จวบจนเกือบสิ้นสุดสงครามจึงได้ทราบถึงระวางขับน้ำและขนาดลำกล้องปืนใหญ่หลักที่แท้จริง ยามาโตะเป็นเรือลำแรกในชั้น[15] เหล่าเสนาธิการยอมรับว่าญี่ปุ่นนั้นไม่สามารถแข่งขันทางผลผลิตของอู่ต่อเรือกองทัพกับสหรัฐอเมริกาได้ ดังนั้นเรือชั้นยามาโตะต้องสามารถต่อสู้กับเรือประจัญบานฝ่ายศัตรูได้พร้อมกันทีละหลายลำ[16][17] เรือแต่ละลำมีระวางขับน้ำมากกว่า 70,000 ตัน และหวังว่าอำนาจการยิงของเรือจะชดเชยส่วนต่างของความสามารถในการต่อเรือเมื่อเทียบกับสหรัฐ[6]

ยามาโตะได้รับการวางกระดูกงูที่นครฮิโรชิมะ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 ต้องมีการดัดแปลงอู่เรือให้สามารถรองรับลำเรือที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬารได้[13][18] อู่ลึก 1 เมตร มีการติดตั้งเครนขา (gantry crane) ที่ยกของที่มีน้ำหนักได้ถึง 350 ตัน[13][19] ด้วยความหวาดกลัวว่าสหรัฐอเมริกาจะรู้ในลักษณะของเรือ ญี่ปุ่นจึงสร้างกระโจมคลุมเหนือช่องว่างระหว่างท่าเทียบเพื่อป้องกันการพบเห็น[20] ยามาโตะถูกปล่อยลงน้ำในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1940 โดยมีนาวาเอก (ภายหลังได้เลื่อนยศเป็นพลเรือโท) มิยาซาโตะ ชุโตกุ (Miyazato Shutoku) เป็นผู้บังคับการ[21]

อาวุธยุทธภัณฑ์

แก้

หมู่ปืนหลักของยามาโตะประกอบไปด้วยปืนเรือขนาด 46 ซม. (18.1 นิ้ว, 40 ซม./45 แบบ 94) ซึ่งเป็นปืนขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยติดตั้งในเรือรบ[22] แม้กระสุนปืนจะเบากว่าปืนเรือ 18 นิ้วของสหราชอาณาจักร (ปืนเรือ บีแอล 18 นิ้ว เอ็มเค 1) ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปืนแต่ละกระบอกยาว 21.13 เมตร (69.3 ฟุต) หนัก 147.3 เมตริกตัน สามารถยิงกระสุนระเบิดแรงสูงหรือกระสุนเจาะเกราะได้ไกลถึง 42 กม. (26 ไมล์)[A 1] หมู่ปืนรองประกอบด้วย ปืนขนาด 155 มม. (6.1 นิ้ว) 12 กระบอก ติดตั้งป้อมปืนละ 3 กระบอก จำนวน 4 ป้อม (หัวเรือ 1 ป้อม ท้ายเรือ 1 ป้อม และกลางลำ 2 ป้อม) และปืนขนาด 127 มม. (5.0 นิ้ว) 12 กระบอก ติดตั้งป้อมปืนละ 2 กระบอก จำนวน 6 ป้อม (กลางลำเรือฝั่งละ 3 ป้อม) นอกจากนี้ ยามาโตะยังติดตั้งปืนต่อต้านอากาศยาน 25 มม. (0.98 นิ้ว) 24 กระบอก ติดตั้งกลางลำเรือ[22] เมื่อมีการปรับปรุงเรือในปี ค.ศ. 1944 และ ค.ศ. 1945 สำหรับการสู้รบในแปซิฟิกใต้[7] หมู่ปืนรองได้เปลี่ยนเป็นปืนขนาด 155 มม. 6 กระบอก ปืน 127 มม. 24 กระบอก และปืนต่อต้านอากาศยาน 125 มม. เพิ่มขึ้นเป็น 162 กระบอก[23]

การออกปฏิบัติการ

แก้

การทดสอบเรือและปฏิบัติการช่วงแรก

แก้

ระหว่างเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ยามาโตะได้ทำการทดสอบเรือในทะเล เรือสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 27.4 นอต (50.7 กม./ชม., 31.5 ไมล์/ชม.)[21][A 2] ด้วยเงาของสงครามได้เลือนลางอยู่เบื้องหน้า การก่อสร้างทางทหารจึงกลายเป็นความสำคัญอันดับแรกและถูกเร่งการสร้างให้เร็วขึ้น วันที่ 16 ธันวาคม หนึ่งเดือนก่อนกำหนดการ เรือได้ขึ้นระวางประจำการอย่างเป็นทางการที่คูเร (Kure) พิธีการมีการรักษาความปลอดภัยเข้มงวดกว่าปกติเพราะญี่ปุ่นยังคงต้องการปกปิดลักษณะของเรือเป็นความลับ[21] มีนาวาเอก (ภายหลังได้รับการเลื่อนยศเป็นพลเรือโท) กีฮาชิ ทากายานางิ (Gihachi Takayanagi) เป็นผู้บังคับการเรือ เรือสังกัดกองพลเรือประจัญบานที่ 1 ร่วมกับเรือประจัญบานนากาโต้ (Nagato) และเรือประจัญบานมุสึ (Mutsu)[25]

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ยามาโตะได้ขึ้นเป็นเรือธงของกองเรือผสมของพลเรือเอกอิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ[21][24] ยะมะโมะโตะได้วางแผนรบขั้นเด็ดขาดกับกองทัพเรือสหรัฐที่หมู่เกาะมิดเวย์ ดังนั้นหลังเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจการรบเสมือนจริง ยามาโตะได้ออกจากอ่าวฮิโระชิมะในวันที่ 27 พฤษภาคม เพื่อทำหน้าที่ในกลุ่มเรือประจัญบานหลักของยามาโมโต้[21][26] ยามาโมโต้ได้ใช้สะพานเดินเรือของเรือยามาโตะป็นศูนย์สำหรับออกคำสั่งทั้งหมดในปฏิบัติการ[26] โดยแผนการรบของเขานั้นคือกระจายกองกำลังออกไปเพื่อลวงให้สหรัฐติดกับ แต่กลุ่มเรือประจัญบานกลับอยู่ไกลเกินกว่าจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสู้รบ[21] โชคร้ายที่ฝ่ายถอดรหัสของสหรัฐได้ล่วงรู้ถึงแผนที่แท้จริงของยะมะโมะโตะ ทำให้กองเรือบรรทุกอากาศยานของญี่ปุ่นประสบกับหายนะในยุทธนาวีมิดเวย์ กองเรือบรรทุกเครื่องบิน 4 กองและเครื่องบิน 332 ลำถูกทำลาย[21] ในวันที่ 5 มิถุนายน ยามาโมโต้ออกคำสั่งให้เรือรบที่เหลือหันกลับไปยังญี่ปุ่น ดังนั้นเรือยามาโตะและกองเรือประจัญบานหลักจึงล่าถอยไปยังเกาะฮาชิราจิม่า (Hashirajima) ก่อนที่เรือจะเปลี่ยนเส้นทางกลับไปยังเมืองคุเระ[24][25]

ยามาโตะออกเดินทางจากคุระไปยังทรูก (Truk) ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1942[27][A 3] หลังจาก 11 วันในทะเล เรือถูกพบเห็นโดยเรือดำน้ำสหรัฐ ยูเอสเอส ไฟล์อิง ฟิช (USS Flying Fish) เรือดำน้ำโจมตีเรือยามาโตะด้วยตอร์ปิโด 4 ลูก แต่ไม่มีลูกไหนยิงโดนเรือ ยามาโตะเดินทางถึงทรูกอย่างปลอดภัยหลังจากนั้น[24][27][A 4] เรือจอดอยู่ที่นี่ตลอดทั้งการทัพกัวดาลคาแนลเพราะอาวุธขนาด 460 มม. ไม่เหมาะสมสำหรับระดมยิงชายฝั่ง ความไม่คุ้นเคยกับทะเลรอบๆ กัวดาลคาแนล และการที่เรือมีปริมาณการบริโภคเชื้อเพลิงสูง[7][21] ก่อนสิ้นสุดปี นาวาเอก (ภายหลังได้รับการเลื่อนยศเป็นพลเรือตรี) ชิอากิ มะสึดะ (Chiaki Matsuda) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับบัญชาเรือยามาโตะ[27]

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 เรือมูซาชิได้เป็นเรือธงของกองเรือผสมแทนที่เรือยามาโตะ[21] เรือได้รับการขนานนามว่า "โรงแรมยามาโตะ" โดยลูกเรือพิฆาตและเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นที่ประจำการในแปซิฟิกใต้[27] มีเพียงแค่วันเดียวเท่านั้นที่เรือไม่ได้จอดเทียบท่าที่ทรูกตั้งแต่ที่เรือเดินทางมาถึงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1942 จนกระทั่งออกเดินทางในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1943[21][28] ในวันนั้น เรือตั้งเส้นทางเดินเรือไปยังเมืองโยโกซูกะและเดินทางต่อไปยังเมืองคุเระ โดยเดินทางไปถึงเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม[21][28] เรือใช้เวลา 9 วันในอู่แห้งเพื่อทำการตรวจสอบและซ่อมแซมทั่วไป[27] และหลังจากเดินเรือไปยังทะเลในทางตะวันตกของญี่ปุ่น เรือได้เข้าอู่แห้งอีกครั้งในปลายเดือนกรกฎาคมเพื่อซ่อมบำรุงและปรับปรุงเรือ ซึ่งประกอบไปด้วยการปรับปรุงเกราะของป้อมปืนรองและระบบควบคุมหางเสือ[27] และย้ายปืนกราบเรือขนาด 155 มม. ออกเปลี่ยนเป็นอาวุธต่อสู้อากาศยานที่ดีกว่า นั่นคือปืน 25 มม. และระบบเรดาร์ค้นหาสองระนาบ[21] ในวันที่ 16 สิงหาคม เรือยามาโตะได้ออกเดินทางกลับไปยังทรูกเพื่อเข้าร่วมกองเรือเฉพาะกิจขนาดใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ต่อต้านการโจมตีของอเมริกาในเกาะทาราว่าและเกาะมาคิน (Makin)[27] เรือได้โจมตีฝ่าวงล้อมจากการสกัดกั้นของกองเรือเฉพาะกิจที่ 15 ของสหรัฐในปลายเดือนกันยายน ร่วมกับเรือนะกะโตะ (Nagato) เรือบรรทุกอากาศยาน 3 ลำ และเรือรบขนาดเล็ก และได้โจมตีฝ่าวงล้อมอีกครั้งในอีกหนึ่งเดือนให้หลัง โดยร่วมกับเรือประจัญบาน 6 ลำ เรือบรรทุกอากาศยาน 3 ลำ และเรือลาดตระเวน 11 ลำ หน่วยข่าวกรองรายงานว่าฐานทัพเรือสหรัฐที่ท่าเรือเพิวร์ลแทบจะว่างเปล่า มีเรือเหลืออยู่เพียงไม่กี่ลำ[21] ญี่ปุ่นจึงเข้าใจว่ากองกำลังของอเมริกาจะเข้าโจมตีเกาะเวก[21] แต่เรดาร์ไม่มีการตรวจจับความเคลื่อนไหวได้เป็นเวลาถึงหกวัน กองเรือจึงเดินทางกลับไปยังทรูก โดยเดินทางถึงเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม[21]

ยามาโตะได้ทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันในปฏิบัติการขนส่ง บีโอ-1 (Transport Operation BO-1) จากทรูกไปยังโยโกซูกะระหว่างวันที่ 12–17 ธันวาคม[28] ต่อมา เนื่องจากความจุของเรือที่มีความจุมากและเกราะที่หนา ทำให้ยามาโตะและมูซาชิจำต้องทำหน้าที่เป็นเรือขนส่งแทน[29] วันที่ 25 ธันวาคม ขณะที่ทำการขนส่งทหารและยุทธภัณฑ์โยโกซูกะไปทรูก เพื่อเป็นกำลังเสริมแก่กองทหารรักษาการณ์ที่เมืองคาเวียง (Kavieng) และหมู่เกาะแอดมิแรลที (Admiralty Islands) ยามาโตะและกองเรือถูกสกัดกั้นโดยเรือดำน้ำอเมริกัน สเก็ต ขณะออกทะเลมาได้ประมาณ 290 กม. (180 ไมล์)[21][30] สเก็ตยิงตอร์ปิโดสี่ลูกไปยังยามาโตะ โดยยิงแบบแผ่กว้าง มีลูกหนึ่งยิงโดนเรือประจัญบานที่กราบขวาค่อนไปยังท้ายเรือ[21] ทำให้เกิดรูวัดจากส่วนบนของเกราะต่อต้านตอร์ปิโด (anti-torpedo bulge) ลงมา 5 เมตร (16 ฟุต) และเกิดรอยฉีกที่ตัวเรือวัดได้ 25 เมตร (82 ฟุต) และรอยเชื่อมระหว่างเกราะข้างด้านบนและเกราะข้างด้านล่างแตกทำให้ห้องเก็บกระสุนด้านบนของป้อมปืนด้านหลังเกิดน้ำท่วม[9] มีน้ำท่วมเข้าในยามาโตะถึง 3,000 ตัน[9][30] แต่ก็สามารถเดินทางไปถึงทรูกได้หลังจากวันนั้น การซ่อมแซมชั่วคราวบนเรือประจัญบานของเรือซ่อมบำรุงอากาชิ (Akashi) นั้นส่งผลอย่างมาก[27] ยามาโตะออกเดินทางจากทรูกได้ในวันที่ 10 มกราคม[30]

 
ภาพวาดของยามาโตะตามที่ปรากฏในปี ค.ศ. 1944–1945 (โดยเฉพาะโครงร่างภายนอกจากวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1945)

การถูกโจมตี

แก้
 
สงครามในทะเลซิบูยัน 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 เรือยามาโตะถูกโจมตีในทะเลซิบูยัน ได้รับความเสียหายเล็กน้อย

เรือประจัญบานยามาโตะ เคยถูกฝูงบินโจมตีของสหรัฐฯ เข้าโจมตี เมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ในระหว่างการเดินทางไปเกาะนิวบริเตน โดยได้บรรทุกทหารบก จำนวน 1,000 นายไปด้วย เพื่อไปส่งที่ฐานทัพราบาวบนเกาะนิวบริเตน ต่อมาเมื่อเดินทางออกจากฐานทัพเรือหน้าวงปะการังตรุกในหมู่เกาะคาโรไลน์ ได้ถูกเรือดำน้ำ สเคท (SS-305) ยิงด้วยตอร์ปิโดถูกที่บริเวณยุ้งโซ่สมอ ทำให้ทหารที่กำลังเรียงโซ่สมอเสียชีวิตไป 6 นาย แต่เรือไม่ได้รับความเสียหาย ยังสามารถทำความเร็วได้ถึง 27 นอต เป็นปกติ นับเป็นครั้งแรกที่ถูกโจมตีจากเรือดำน้ำสหรัฐฯ และในยุทธการ "โช" ขณะเดินทางผ่านทะเลซิบูยันร่วมกับเรือมุซาชิ ในกำลังรบส่วนกลาง ก็ถูกเครื่องบินจากกำลังรบที่ 38 ของสหรัฐ ฯ โจมตีเมื่อ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 เรือยามาโตะได้รับความเสียหายเล็กน้อย

ผลงานการทำลายเรือรบของสหรัฐฯ

แก้

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ในยุทธการ "โช" (ชัยชนะ) ระหว่างการเดินทางไปเพื่อเข้าทำลายเรือลำเลียงและกำลังรบของ สหรัฐ ฯ ที่ยกพลขึ้นบกที่เกาะเลย์เต ก็ได้ปะทะกับกำลังรบของสหรัฐ ฯ ซึ่งเป็นหมวดเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน (TG 77.4) ที่บริเวณนอกเกาะ ซามาร์ และเป็นครั้งแรกที่เรือประจัญบาน ยามาโตะได้ใช้ปืนใหญ่ ขนาด 460 มิลลิเมตร ทำการยิงเรือพิฆาต โฮเอล (DD-533) ของ สหรัฐ ฯ ในระยะยิง 33,000 เมตร จนจมและทำความเสียหายแก่เรือพิฆาต จอนห์ส์ตัน (DD-557) จนต้องถอนตัวออกจากการรบ (แล้วถูกเรือลาดตระเวนและเรือพิฆาตญี่ปุ่น โจมตีจนจม) นอกจากนี้ยังทำความเสียหายแก่เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน แกมเบียร์ เบย์ (CVE-73) จนไม่ สามารถใช้ดาดฟ้าบินได้ (แล้วถูกเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นยิงจมเช่นกัน)

ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินส์

แก้

ต้นเดือนมิถุนายนเรือยามาโตะและเรือมูซาชิได้รับคำร้องให้ทำการขนส่งกองทหารอีกครั้ง เพื่อเสริมกำลังให้กับกองทหารรักษาการณ์และกองกำลังป้องกันทางเรือของเกาะในเบียค (Biak) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการคง (Operation Kon)[29][31] ปฏิบัติการถูกยกเลิกเมือข่าวเรือบรรทุกอากาศยานของสหรัฐอเมริกาเข้าโจมตีหมู่เกาะมาเรียนามาถึงกองบัญชาการของโอะซะวะ[29]

ยุทธนาวีอ่าวเลย์เต

แก้

หลังจากวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ผ่านไป ญี่ปุ่นสูญเสีย เรือประจัญบาน 3 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ เรือลาดตระเวน 9 ลำและเรือพิฆาต 8 ลำ รวมทั้งหมด 24 ลำ ส่วนเรือที่รอดมุ่งออกจากเลเตสู่ทะเลฟิลิบปินส์ซึ่งในวันที่ 25 ตุลาคม กำลังหลักที่ออกสู่ทะเลฟิลิปปินส์พบกองกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ซึ่งเป็นหมวดเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน ในครั้งนี้เรือประจัญบานยามาโตะได้ใช้กระสุนของป้อมปืนใหญ่ ซึ่งมีขนาดน้ำหนักเกือบ 2 ตันซึ่งใช้ยิง 6 กระบอกป้อมละ 3 กระบอกรวม 6 กระบอกยิงใส่เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐจนจม หลังจากสหรัฐยึดครองฟิลิบปินส์เรือประจัญบานยามาโตะเดินทางกลับไปยังญี่ปุ่นเพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย

การออกรบที่โอกินาว่า

แก้
 
วาระสุดท้ายของเรือประจัญบานยามาโตะ

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 กองทัพสหรัฐมีการพิจารณาให้ใช้เรือทั้งหมด 10 ลำเข้าบุกเกาะโอกินาว่า เรือยามาโตะได้รับคำสั่งจากกองทัพญี่ปุ่นให้เข้าปฏิบัติการที่เรียกว่า KIKUSUI โดยมีภารกิจให้ทำการล่อฝูงบินอเมริกันให้ออกจากน่านน้ำโอกินาวา เปิดโอกาสให้ฝูงบินคามิคาเซ่ของญี่ปุ่นบินฝ่าด่านป้องกันของฝูงบินอเมริกา เพื่อเข้าโจมตีกองทัพเรือและปกป้องไม่ให้กองทัพสหรัฐยึดเกาะโอกินาวาได้ แต่ในปฏิบัติการนี้เรือยามาโตะมีน้ำมันเชื้อเพลิงเพียงแค่เที่ยวเดียวเท่านั้น เรือประจัญบานยามาโตะและเรือลำอื่นถูกตรวจพบในเวลาหลังเริ่มปฏิบัติการ 12.35 นาที จึงถูกเครื่องบินสหรัฐ 3 หน่วยกิจเข้าโจมตีซึ่งแต่ละหน่วยกิจมีเครื่องบินหน่วยละ 360 ลำต่อหน่วย เรือประจัญบานยามาโตะโดนโจมตีทางอากาศอย่างหนักตั้งแต่ 12.35 น. - 14.23 น. จนทำความเสียหายแก่เรือมากดังนั้นเรือจึงเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง จากการตรวจสอบ เรือประจัญบานยามาโตะถูกตอร์ปิโดทั้งหมด 13 ลูก ลูกระเบิดขนาดใหญ่ซึ่งมีขนาด 250กก. - 500กก. ทั้งหมด 6 ลูก ลูกระเบิดขนาดกลางอีกมากกว่า 100 ลูก และลูกระเบิดขนาดเล็กอีกมากกว่า 120 ลูก

เรือประจัญบานยามาโตะลำเดียว มีกำลังพลทั้งสิ้น 3,332 นาย ได้รับการช่วยเหลือจากเรือพิฆาตเพียง 276 นาย อีก 3,056 นาย เสียชีวิต และสูญหาย

มีเรือพิฆาตสึซึสึกิ ฟุยุสึกิ ยุคิคาเซะ และ ฮัดสึชิโมะ เพียง 4 ลำเท่านั้น ที่ได้เห็นวาระสุดท้าย ของเรือประจัญบานยามาโตะ และรอดกลับมาได้ทุกลำ มีเรือพิฆาตสึซึสึกิ ได้รับความเสียหายหนัก ถูกลูกระเบิดขนาด 500 กิโลกรัมที่หัวเรือ ทำให้ส่วนหัวเรือ หน้าสะพานเดินเรือขาดหายไป จึงต้องแล่นถอยหลังกลับถึงฐานทัพซาเซโบ้ได้

ปฏิบัติการเท็งโง

แก้
 
ยามาโตะภายใต้การโจมตีนอกฝั่งของคุระ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1945
 
นายทหารอาวุโสในเรือยามาโตะก่อนปฏิบัติการเท็งโง

เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1945 เรือยามาโตะ ฮารูนะ (Haruna) และ นางาโต้ (Nagato) ได้โอนย้ายไปยังกองพลเรือประจัญบานที่ 1 ซึ่งได้รับการจัดตั้งใหม่อีกครั้ง ยามาโตะออกจากอู่แห้งสองวันหลังจากนั้นเพื่อแล่นไปทะเลในของญี่ปุ่น[27] การโอนย้ายนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ กองพลเรือประจัญบานที่ 1 ถูกยุบหน่วยอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ และยามาโตะถูกแบ่งไปสังกัดกองพลเรือบรรทุกอากาศยานที่ 1[32] ในวันที่ 19 มีนาคม เครื่องบินอเมริกันจากเรือบรรทุกอากาศยานเอนเทอร์ไพรซ์ (Enterprise) ยอร์คทาวน์ (Yorktown) และอินเทรพพิด (Intrepid) เข้าโจมตีคุเระ[32][33] แม้ว่าจะมีเรือรบเสียหายถึง 16 ลำ แต่ยามาโตะกลับได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยจากระเบิดด้านและระเบิดลูกหนึ่งที่ทิ้งโดนสะพานเดินเรือ[34] การแทรกแซงของฝูงบินขับไล่คะวะนิชิ เอ็น1เค1 "ชิเด็น" (Kawanishi N1K1 "Shiden", หรือที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเรียกว่า "จอร์จ (George)") ที่บินโดยครูฝึกบินเครื่องขับไล่ที่มากประสบการณ์ช่วยป้องกันการโจมตีดังกล่าว ทำให้ฐานทัพและเรือที่จอดทอดสมออยู่ไม่ได้รับความเสียหายร้ายแรง[33][A 5] ขณะการซ้อมรบที่ช่องแคบนะซะมิ (Nasami) ของเรือยามาโตะก็ได้แสดงผลออกมา[34]

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกโอะกินะวะในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนเริ่มแผนโจมตีแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น[35] กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ตอบโต้โดยการจัดตั้งภารกิจชื่อรหัสปฏิบัติการเท็งโงซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของกองกำลังเรือผิวน้ำของญี่ปุ่นที่เหลืออยู่ ยามาโตะและเรือคุ้มกันอีกเก้าลำ (เรือลาดตระเวนยะฮะงิ และเรือพิฆาตอีก 8 ลำ) เดินเรือสู่โอะกินะวะเพื่อโจมตีกองกำลังสัมพันธมิตรที่รวมตัวกันบนเกาะและรอบเกาะโอะกินะวะและกำลังสู้พัวพันกับ คามิกาเซะ และหน่วยทหารของฐานทัพบนโอะกินะวะ ยามาโตะจะเข้าเกยหาดและทำหน้าที่เสมือนเป็นป้อมปืนใหญ่ชายฝั่งและต่อสู้จนกระทั่งเรือถูกทำลาย[36][37] ในการเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจ ยามาโตะได้รับบรรจุอาวุธเต็มอัตราในวันที่ 29 มีนาคม[27] ตามแผนของญี่ปุ่น เรือจะได้รับการเติมเชื้อเพลิงสำหรับการเดินทางเที่ยวเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เรือได้รับเชื้อเพลิงถึงร้อยละ 60 ของความจุด้วยคำสั่งของผู้บังคับบัญชาฐานทัพ ภายใต้ชื่อ "กองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำ (Surface Special Attack Force)" กองเรือได้ออกจากเมืองโทะกุยะมะ (Tokuyama) เมื่อเวลา 15:20 ในวันที่ 6 เมษายน[36][37]

แต่น่าเสียดาย สัมพันธมิตรดักฟังและถอดรหัสสัญญาณวิทยุของญี่ปุ่นได้ ทำให้ทราบถึงรายละเอียดของปฏิบัติการเท็งโง นอกจากนี้ เมื่อเวลา 20:00 น. เรือดำน้ำฝ่ายสหรัฐ ยูเอสเอส เทรดฟิน (USS Threadfin) และ ยูเอสเอส แฮกเคิลแบ็ก (USS Hackleback) พบเห็นกองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำเดินเรือผ่านช่องแคบบังโงะ (Bungo Suido) เป็นการยืนยันถึงเจตนารมณ์ของญี่ปุ่น เรือดำน้ำทั้งสองรายงานตำแหน่งของยามาโตะต่อกองกำลังจู่โจมเรือบรรทุกอากาศยานของอเมริกาทราบ[7][37] แต่เรือทั้งสองก็ไม่สามารถโจมตีได้เพราะความเร็วกองเรืออยู่ที่ 22 นอต (41 กม./ชม.) และเดินเรือเป็นรูปฟันปลา[37]

กองกำลังสัมพันธมิตรรอบโอะกินะวะเริ่มรวมตัวเพื่อโจมตี พลเรือเอก เรย์มอนด์ สพรัวนซ์ (Raymond Spruance) สั่งให้เรือประจัญบาน 6 ลำที่กำลังระดมยิงชายฝั่งเตรียมพร้อมสำหรับการปะทะกับเรือยามาโตะ แต่คำสั่งนี้ถูกยกเลิกเพราะเห็นด้วยกับการโจมตีทางอากาศจากเรือบรรทุกอากาศยานของพลเรือเอก มาร์ก มิตส์เชอร์ (Marc Mitscher) แต่เพื่อความมั่นใจ เรือประจัญบาน เรือลาดตระเวน 7 ลำ และเรือพิฆาต 21 ลำถูกส่งไปยับยั้งกองเรือญี่ปุ่นก่อนที่กองเรือจะสามารถเข้าถึงเรือขนส่งและเรือยกพลขึ้นบกซึ่งถูกทำลายได้ง่าย[37][A 6]

 
ยามาโตะคัดท้ายเลี้ยวหลบระเบิดและตอร์ปิโดระหว่างปฏิบัติการเท็งโง

ลูกเรือยามาโตะเข้าประจำสถานีรบและพร้อมสำหรับการต่อต้านอากาศยานเมื่อรุ่งเช้าวันที่ 7 เมษายน เครื่องบินของสัมพันธมิตรพบเห็นกองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำเมื่อเวลา 08.23 น. เรือบินสองลำเดินทางมาถึงทันทีหลังจากนั้น อีกห้าชั่วโมงต่อมายามาโตะยิงกระสุนร่วมแบบ 3 หรือกระสุนรวมแบบรวงผึ้ง (3 Shiki tsûjôdan, 3 ชิกิ สึโงดัน) ไปที่เรือบิน แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการสอดแนมได้ เรดาร์ของยามาโตะจับสัญญาณของเครื่องบินได้เมื่อเวลา 10.00 น. หนึ่งชั่วโมงต่อมาฝูงเครื่องบินขับไล่ เอฟ6เอฟ เฮลแคท (F6F Hellcat) ของอเมริกันก็ปรากฏขึ้นเหนือน่านฟ้าเพื่อต่อสู้กับเครื่องบินญี่ปุ่นที่อาจปรากฏขึ้น แต่กลับไม่พบ[38][A 7]

เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. เครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโดจำนวน 280 ลำเดินทางมาถึงกองเรือญี่ปุ่น เรือพิฆาตอะซะชิโมะ (Asashimo) ต้องออกจากรูปขบวนไปก่อนเพราะเกิดปัญหาเครื่องยนต์ และถูกโจมตีจนอับปางโดยหน่วยบินของเรือยูเอสเอส แซนจาซินโท (USS San Jacinto) กองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำเพิ่มความเร็วเป็น 24 นอต (44 กม./ชม.) และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเพื่อต่อต้านอากาศยานของญี่ปุ่น คือเรือพิฆาตตั้งขบวนล้อมเรือยามาโตะ เครื่องบินเริ่มโจมตีระลอกแรกเมื่อเวลา 12.37 น. เรือยะฮะงิเลี้ยวกลับและเพิ่มความเร็วเป็น 35 นอต (64.8 กม./ชม.) เพื่อพยายามดึงเครื่องบินที่โจมตีให้ไล่ตาม แม้กลยุทธ์นี้จะประสบความสำเร็จแต่เครื่องบินที่ติดตามไปนั้นมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ยามาโตะหลบการโจมตีได้ถึง 4 นาทีจนกระทั่งเวลา 12:41 น. เครื่องบินทิ้งระเบิดสองเครื่องได้ทำลายแท่นปืนต่อต้านอากาศยานปากกระบอกแฝดสามขนาด 25 มม. สองแท่นและสร้างรูขึ้นบนดาดฟ้าเรือ เครื่องบินทิ้งระเบิดลำที่สามได้ทำลายห้องเรดาห์และแท่นปืน 127 มม. ที่กราบขวาด้านท้ายของเรือ เมื่อเวลา 12.46 น. เครื่องบินทิ้งระเบิดอีกสองลำได้โจมตีด้านกราบซ้ายของเรือ เกิดความเสียหายเล็กน้อยบริเวณด้านหน้าป้อมปืนขนาด 155 มม. ที่ติดตั้งตรงกลางท้ายเรือ และบริเวณด้านบนของป้อมปืนขวาด้านท้ายเรือ เหตุเหล่านี้ ได้สร้างความเสียหายต่อป้อมปืนและห้องเก็บกระสุนเป็นอันมาก มีลูกเรือเพียงคนเดียวที่ปีนหนีออกมาได้[38][A 8] เมื่อเวลา 12:45 มีตอร์ปิโดหนึ่งลูกโจมตีโดนยามาโตะเข้าที่ด้านหน้ากราบซ้ายของเรือ ส่งผลให้เกิดแรงกระแทกที่รุนแรงตลอดทั้งเรือ แต่เพราะผู้รอดชีวิตจากการโจมตี ภายหลังกลับเสียชีวิตจากยิงกราดจากเครื่องบินและติดอยู่ภายในเรือเมื่อยามาโตะอับปาง ทำให้รายละเอียดไม่มีความแน่นอน แต่ผู้แต่งการ์ซคีและดับบลินบันทึกว่าเป็นความเสียหายเพียงเล็กน้อย[38] หลังจากนั้นไม่นาน มีตอร์ปิโดอีกสามลูกยิงโดนยามาโตะ มีสองลูกยิงเข้าที่กราบซ้ายใกล้ห้องเครื่องยนต์ และหนึ่งลูกที่ห้องหม้อน้ำที่ได้รับการยืนยัน ตอร์ปิโดลูกที่สามนั้นยังคงเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ แต่การ์ซคีและดับบลินพิจารณาว่าอาจเป็นไปได้ เพราะมันจึงอธิบายถึงรายงานน้ำท่วมห้องหางเสือช่วยของยามาโตะได้ การโจมตีสิ้นสุดลงในเวลาประมาณ 12:47 น. เรือเอียงถาวร 5–6° ไปทางกราบซ้าย มีการต่อต้านน้ำท่วม ปล่อยน้ำท่วมห้องอย่างจงใจในอีกด้านของเรือ ทำให้ลดการเอียงได้ 1° ห้องหม้อน้ำหนึ่งห้องใช้การไม่ได้ ส่งผลให้ความเร็วสูงสุดของยามาโตะลดลงเล็กน้อย และการยิงกราดจากเครื่องบินทำให้พลปืนต่อต้านอากาศยานขนาด 25 มม. จำนวนมากบาดเจ็บล้มตายไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ทำให้ลดทอนประสิทธิผลลง[38]

 
รูปยามาโตะระหว่างยุทธนาวี ถ่ายโดยเครื่องบินจาก ยูเอสเอส ยอร์กทาวน์ (USS Yorktown) เรือประจัญบานเกิดไฟไหม้และมองเห็นว่าเรือเอียงทางกราบซ้าย

การโจมตีระลอกที่สองเริ่มขึ้นก่อนเวลา 13:00 น. ในการโจมตีประสาน เครื่องบินดำทิ้งระเบิดบินสูงเหนือหัวก่อนเริ่มโจมตี ขณะที่เครื่องบินบรรทุกตอร์ปิโดเข้าโจมตีจากทุกทิศทางสูงเพียงเหนือระดับน้ำทะเล แม้จะท่วมท้นไปด้วยเป้าหมาย แต่ปืนต่อต้านอากาศยานของเรือประจัญบานกลับได้ผลเพียงเล็กน้อย ญี่ปุ่นได้พยายามใช้มาตรการรุนแรงเพื่อหยุดการโจมตี ปืนหลักของยามาโตะได้ยิงกระสุนรวมแบบรวงผึ้ง ซึ่งจะระเบิดออกหลังยิงหนึ่งวินาที ที่ 1,000 เมตร (3,300 ฟุต) จากเรือ แต่ได้ผลเพียงเล็กน้อย ตอร์ปิโดสี่หรือห้าลูกยิงโดนเรือ สามหรือสี่ลูกที่กราบซ้ายและหนึ่งลูกที่กราบขวา สามลูกที่ยิงโดนบริเวณใกล้กันที่กราบซ้ายได้รับการยืนยัน ลูกแรกยิงโดนที่ห้องหม้อน้ำ อีกลูกยิงโดนที่ห้องหม้อน้ำอีกห้อง ลูกที่สามยิงโดนตัวเรือที่ติดกับห้องเครื่องยนต์ที่ตั้งอยู่นอกลำตัวเรือซึ่งได้รับความเสียหายก่อนหน้า ทำให้น้ำท่วมเพิ่มมากขึ้น และไหลไปสู่พื้นที่ว่าง อีกทั้งอาจเป็นเหตุให้น้ำท่วมพื้นที่ใกล้เคียงบริเวณนั้น ลูกที่สี่ (ไม่ได้รับการยืนยัน) อาจโจมตีโดนท้ายเรือ การ์ซคีและดับบลินเชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะอธิบายถึงการที่น้ำท่วมอย่างฉับพลันที่มีการรายงานในบริเวณนั้นได้[39] การโจมตีนี้ทำให้ยามาโตะตกอยู่ในอันตราย เรือเอียงถาวร 15–18° ไปทางกราบซ้าย การต่อต้านน้ำท่วมทั้งหมดที่เหลืออยู่ทางกราบขวาถูกใช้จนหมด ซึ่งช่วยให้เรือเอียงเหลือเพียง 10° แต่การแก้ไขที่เพิ่มขึ้นมาต้องการการซ่อมแซมหรือไม่ก็ปล่อยน้ำท่วมห้องเครื่องยนต์และห้องหม้อน้ำ ถึงแม้ว่า ตอนนี้เรือยังไม่ถึงกับจมลง แต่การเอียงถาวรทำให้หมู่ปืนหลักใช้การไม่ได้ และความเร็วสูงสุดของเรือถูกจำกัดอยู่ที่ 18 นอต (33 กม./ชม.)[40]

เวลา 14:05 น. ยามาโตะก็หยุดลงอย่างสิ้นเชิงและเรือเริ่มเอียงตัว พลเรือโท อิโต และกัปตันเรือปฏิเสธที่จะสละเรือหนีไปพร้อมกับลูกเรือที่รอดชีวิต เวลา 14:20 น. ยามาโตะได้พลิกคว่ำและเริ่มจมลง (30°22′N 128°04′E) เวลา 14:23 น. เรือเกิดระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ตามรายงานที่ได้รับสามารถมองเห็นและได้ยินไกลถึงเมืองคะโงะชิมะซึ่งห่างออกไป 200 กม. และก่อให้เกิดเมฆรูปเห็ดสูง 20,000 ฟุตกลางอากาศ มีการกล่าวอ้างว่าแรงระเบิดของเรือทำให้เครื่องบินสหรัฐที่สังเกตการอยู่ในขณะนั้นตกหลายลำ เชื่อกันว่าการระเบิดเกิดจากไฟของระเบิดที่โดนเข้าบริเวณคลังแสงหลักของเรือ


การค้นพบซากเรือ

แก้

เนื่องจากเหตุการณ์ที่สับสนและข้อมูลเกี่ยวกับการอับปางของเรือที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ซากเรือรบของญี่ปุ่นสองสามลำที่มีการค้นพบถูกระบุว่าเป็นเรือประจัญบานยามาโตะ[41] แต่ด้วยภาพวาดบันทึกเหตุการณ์รบของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1982 จึงมีการค้นพบซากเรือที่คาดว่าจะเป็นเรือยามาโตะในบริเวณทะเลจีนใต้แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัด[42] สองปีให้หลัง คณะสำรวจคณะที่สองได้หวนกลับไปสำรวจยังจุดเดิม และด้วยภาพถ่ายและวิดีโอที่คณะสำรวจบันทึกไว้ ซากเรือได้รับการยืนยันว่าเป็นเรือยามาโตะโดยหนึ่งในผู้ออกแบบเรือ ชิเงะรุ มะกิโนะ (Shigeru Makino) ซากเรืออยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ 290 กม. (180 ไมล์) จากเกาะคีวชู ในน้ำลึก 340 ม. (1,120 ฟุต) ซากเรือฉีกออกจากกันเป็นสองส่วนใหญ่ๆ ประกอบด้วย ส่วนหัวเรือที่ยาวถึงสองในสามของเรือ และส่วนท้ายเรือ[42]

อิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรม

แก้

ภาพยนตร์

แก้

มีการนำเรื่องราวของเรือรบยามาโตะมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ในปี 2548 โดยใช้ชื่อว่า 男たちの大和 (Otoko-tachi no Yamato) หรือในประเทศไทยใช้ชื่อว่า ยามาโตะ พิฆาตยุทธการ มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการทำสงครามของเรือรบยามาโตะและชีวิตของลูกเรือระหว่างสงคราม และภาพยนตร์เรื่องล่าสุดคือ 2199 ยามาโตะกู้จักรวาล (Space Battleship Yamato) กำกับโดย ทาคาชิ ยามาซากิ และนำแสดงโดย ทาคุยะ คิมูระ เข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

การ์ตูน,เกมส์

แก้

เรือรบยามาโตะ เป็นต้นแบบให้เกิดภาพยนตร์ไซไฟ การ์ตูน ชื่อ เรือรบอวกาศยามาโตะ (Space Battleship Yamato - 宇宙戦艦ヤマト, Uchū Senkan Yamato) กำกับโดยเรอิจิ มัสสึโมโต้ ฉายทางโทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่นจำนวน 3 ภาค ในปี พ.ศ. 2517 2521 2523 จำนวน 127 ตอน นำไปตัดต่อใหม่ พากย์เสียงภาษาอังกฤษ ฉายในสหรัฐอเมริกาในชื่อว่า Space Cruiser Yamato (ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น Star Blazers) ระหว่างปี พ.ศ. 2523 - 2525 จำนวน 137 ตอน และสร้างเป็นภาพยนตร์ฉายในโรง จำนวน 5 ภาค ระหว่างปี พ.ศ. 2520 - 2526 ล่าสุดในเกมส์ kantai collection กับ anime ซีรีส์ประกอบเกมส์ ได้นำเสนอภาพลักษณ์ของเรือยามาโตะในรูปแบบของสาวน้อยเรือรบสุดน่ารักเป็นที่นิยมจำนวนมากอีกด้วย(2558) และมีการปรากฏตัวของยามาโตะในเกม World of Warships โดยจะเป็นเรือประจัญบาน ลำสุดท้ายของผังวิทยาการของเรือประจัญบานญี่ปุ่น

ดูเพิ่ม

แก้

เชิงอรรถ

แก้
  1. Johnston and McAuley (2000), p. 123. ด้วยขนาดของปืนจำนวน 3 กระบอกในป้อมปืนและความหนาของเกราะ ทำให้ป้อมปืนหนึ่งป้อมมีน้ำหนักมากกว่าเรือพิฆาต
  2. หนังสือการ์ซ (Garzke) / ดูวลิน (Dulin) และ ไวต์ลีย์ (Whitley) ไม่ได้ระบุวัน และระบุเดือนไม่ตรงกัน เล่มแรกระบุเป็นเดือนตุลาคม เล่มหลังระบุเป็นเดือนพฤศจิกายน[21][24]
  3. วิตลีย์ (Whitley) กล่าวว่า ยามาโต้ออกเดินทางก่อน 6 วัน (วันที่ 11)[24]
  4. การ์ซ (Garzke) และ ดูลิน (Dulin) รายงานว่า ยามาโต้เดินทางถึงทรูกวันที่ 29[21]
  5. นำโดยชายผู้วางแผนโจมตีท่าเรือเพิร์ล มิโนะรุ เก็นดะ (Minoru Genda) ด้วยลักษณะของเครื่องบินขับไล่ที่เท่ากับหรือเหนือกว่าเครื่อง เอฟ6เอฟ เฮลแคท (F6F Hellcat) ในทางประสิทธิภาพ ทำให้เครื่องบินอเมริกันที่เข้าโจมตีไม่ให้ทันได้ตั้งตัวนั้นถูกยิงตกหลายลำ[33]
  6. ผู้แต่ง การ์ซคี (Garzke) และ ดับบลิน (Dulin) คาดว่าผลของการต่อสู้ของสองกองเรือ ชัยชนะจะตกเป็นของสัมพันธมิตร แต่สัมพันธมิตรก็ต้องจ่ายค่าตอบแทนมหาศาลเพราะมีความแตกต่างอย่างมาก โดยเฉพาะ ยามาโตะที่เหนือกว่าเรือประจัญบานเก่าในอำนาจการยิง (460 มม. vs. 356 มม.) เกราะ และความเร็ว (27 นอต (50 กม./ชม.) vs. 21 นอต (39 กม./ชม.))[37]
  7. ด้วยคุณภาพที่ต่ำของเรดาร์เรือญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แสดงถึงว่า กลุ่มเครื่องบินกลุ่มใหญ่เท่านั้นเรดาร์จึงจะตรวจพบ ปกติกลุ่มขนาดเล็กจะแยกด้วยวิธีใช้เส้นสายตา
  8. มาจาก Garzke and Dulin's Battleships: Axis and Neutral Battleships in World War II ผลงานอื่น ๆ โดยทั่วไปก็เป็นที่ยอมรับ ถึงแม้ว่ากำหนดเวลาที่แน่นอนของเหตุการณ์อาจแตกต่างกันระหว่างแหล่งที่มา[21]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Jentshura, Jung and Mickel (1977), p. 38.
  2. Skulski (2004), p. 8.
  3. Jentshura, Jung and Mickel (1977), p. 39.
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ phaunkon0942
  5. 5.0 5.1 5.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ phanukon0942
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ jackson74
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Jackson (2000), p. 128.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Parshall, Jon. ""Combined Fleet" – Yamato Class Battleship". สืบค้นเมื่อ 25 October 2008. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 Garzke and Dulin (1985), p. 55.
  10. Willmott (2000), p. 32.
  11. Garzke and Dulin (1985), p. 44.
  12. Garzke and Dulin, pp. 45–51
  13. 13.0 13.1 13.2 Johnston and McAuley, p. 123 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "johnston123" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  14. Hough, p. 205
  15. Skulski (2004), pp. 8–11.
  16. Johnston and McAuley (2000), p. 122.
  17. Willmott (2000), p. 35. The Japanese Empire produced 3.5% of the world's industrial output, while the United States produced 35%.
  18. Garzke and Dulin (1985), pp. 52–54.
  19. Garzke and Dulin (1985), p. 53.
  20. Garzke and Dulin (1985), pp. 50–51.
  21. 21.00 21.01 21.02 21.03 21.04 21.05 21.06 21.07 21.08 21.09 21.10 21.11 21.12 21.13 21.14 21.15 21.16 21.17 21.18 21.19 Garzke and Dulin (1985), p. 54.
  22. 22.0 22.1 Jackson (2000), p. 75.
  23. Johnston and McAuley (2000), p. 180.
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 24.4 Whitley (1998), p. 211.
  25. 25.0 25.1 Skulski (2004), p. 10.
  26. 26.0 26.1 Ballard (1999), p. 36.
  27. 27.00 27.01 27.02 27.03 27.04 27.05 27.06 27.07 27.08 27.09 "Combined Fleet – tabular history of Yamato". Parshall, Jon; Bob Hackett, Sander Kingsepp, & Allyn Nevitt. 2009. สืบค้นเมื่อ 1 April 2010.
  28. 28.0 28.1 28.2 Whitley (1998), p. 212.
  29. 29.0 29.1 29.2 Steinberg (1978), p. 147.
  30. 30.0 30.1 30.2 Whitley (1998), p. 213.
  31. Garzke and Dulin (1985), p. 56.
  32. 32.0 32.1 Reynolds (1982), p. 160.
  33. 33.0 33.1 33.2 Reynolds (1968), p. 338.
  34. 34.0 34.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ G&D59
  35. Feifer (2001), p. 7.
  36. 36.0 36.1 Reynolds (1982), p. 166.
  37. 37.0 37.1 37.2 37.3 37.4 37.5 Garzke and Dulin (1985), p. 60.
  38. 38.0 38.1 38.2 38.3 Garzke and Dulin (1985), pp. 60–61.
  39. Garzke and Dulin (1985), pp. 62–63.
  40. Garzke and Dulin (1985), p. 63.
  41. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Yamato wreck
  42. 42.0 42.1 "Remains of sunken Japanese battleship Yamato discovered". Reading Eagle. Associated Press. 4 August 1985. สืบค้นเมื่อ 31 March 2010.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้