ปืนใหญ่
ปืนใหญ่ (อังกฤษ: artillery) เป็นอาวุธระยะไกลที่ยิงกระสุนได้ไกลเกินระยะและอำนาจการยิงของอาวุธปืนทหารราบ การพัฒนาปืนใหญ่ในช่วงแรกนั้นมุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการเจาะกำแพงป้องกันและป้อมสนามระหว่างการล้อม และนำไปสู่การพัฒนาเครื่องยิงสำหรับการล้อมที่หนักและเคลื่อนที่ไม่ได้ เมื่อเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาขึ้น ปืนใหญ่มีขนาดที่เบาขึ้น สามารถเคลื่อนที่ได้มากขึ้นจนเกิดปืนใหญ่สนาม และปืนใหญ่ลำกล้องที่ถูกพัฒนาเพื่อใช้งานในสนามรบ การพัฒนามีมาจนถึงปัจจุบันจนเกิดเป็นพาหนะปืนใหญ่อัตตาจรที่ทันสมัย ซึ่งเป็นอาวุธที่เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัวและมีอำนาจการยิงที่สูง ซึ่งคิดเป็นอำนาจการยิงส่วนใหญ่ของอำนาจการยิงทั้งหมดของกองทัพในการรบต่าง ๆ
เดิมที คำว่า "artillery" หมายถึงกลุ่มทหารที่ติดอาวุธหรือชุดเกราะโดยเฉพาะ จนกระทั่งมีการนำดินปืนและปืนใหญ่ลำกล้อง (cannon) มาใช้งาน คำว่า "artillery" จึงมีความหมายว่าปืนใหญ่ และในการใช้งานร่วมสมัย มักจะหมายถึงปืนยิงกระสุนปืนใหญ่ (shell-firing gun), ปืนใหญ่วิถีโค้ง (howitzer) เครื่องยิงลูกระเบิด (mortar) (เรียกรวมกันว่า ปืนใหญ่ลำกล้อง (barrel artillery, cannon artillery) หรือ (ปืนใหญ่ gun artillery)) และปืนใหญ่จรวด (rocket artillery) ในการรับรู้ทั่วไป คำว่า "ปืนใหญ่" (artillery) มักใช้พูดถึงอุปกรณ์ พร้อมด้วยอุปกรณ์เสริมและเครื่องประกอบ แม้ว่าที่ถูกต้องควรจะเรียกโดยรวมว่าเป็น "ยุทธภัณฑ์" (equipment) ก็ตาม อย่างไรก็ตาม ไม่มีการนิยามคำทั่วไปสำหรับปืนใหญ่วิถีโค้ง, เครื่องยิงลูกระเบิด, และยุทธภัณฑ์อื่น ๆ โดยในสหรัฐใช้งานคำว่า "artillery piece" (ชิ้นส่วนปืนใหญ่) แต่ในกองทัพที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเป็นหลักจะใช้คำว่า "gun" (ปืน) และ "mortar" (ปืนครก) การยิงวิถีโค้งส่วนใหญ่จะเป็น "กระสุนปืนใหญ่กลม" (หากตันภายใน) หรือ "กระสุนปืนใหญ่" (หากภายในไม่ตัน) ในอดีต มีการใช้งานกระสุนปืนแบบกลมตันในรูปแบบของ กระสุนปืนใหญ่กลมแบบลูกปราย, กระสุนปืนใหญ่กลมแบบร้อยโซ่ และเกรปช็อต ซึ่งคำว่า "Shell" เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไปสำหรับกระสุนปืน (projectile) ปืน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเครื่องกระสุน (munition)
ในภาพรวม ปืนใหญ่อาจหมายถึงเหล่าบริการ (เหล่ารบ) ที่ปกติแล้วจะใช้เครื่องยิงดังกล่าว ในบางกองทัพบก เหล่าทหารปืนใหญ่จะปฏิบัติการในภาคสนาม, ชายฝั่ง, ต่อสู้อากาศยาน และต่อสู้รถถัง ในประเทศอื่น ๆ ปฏิบัติการเหล่านี้อาจจะแยกเป็นเหล่ารบออกจากกัน และสำหรับประเทศชายฝั่งบางประเทศจะอยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพเรือหรือเหล่านาวิกโยธิน
ในคริสต์ศตวรรษ 20 อุปกรณ์ค้นหาเป้าหมาย (target acquisition device) (เช่น เรดาร์) และเทคนิคการตรวจจับ (เช่น การตั้งระยะปืนใหญ่จากเสียง และ การเล็งจากแสงวาบ) ที่เกิดขึ้นกับปืนใหญ่เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้มักจะใช้งานกับปืนใหญ่หนึ่งกระบอกหรือหลายกระบอก กระทั่งในช่วงคริสต์ศตวรรษ 20 มีการนำหลักการยิงเล็งจำลอง (indirect fire) ทำให้จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเฉพาะทางสำหรับปืนใหญ่สนาม โดยเฉพาะข้อมูลด้านการสำรวจรังวัดและอุตุนิยมวิทยา ในบางกองทัพบก การจัดเตรียมข้อมูลเหล่านี้เป็นหน้าที่ของเหล่าทหารปืนใหญ่ โดยการเสียชีวิตส่วนใหญ่ในสงครามนโปเลียน, สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสงครามโลกครั้งที่สองเกิดมาจากปืนใหญ่[1] ในปี พ.ศ. 2487 โจเซฟ สตาลิน กล่าวสุนทรพจน์ว่าปืนใหญ่คือ "เทพเจ้าแห่งสงคราม"[1]
ชิ้นส่วนปืนใหญ่
แก้แม้ว่าจะไม่ได้ถูกเรียกขานด้วยชื่อดังกล่าว แต่เครื่องยิงสำหรับการปิดล้อมที่มีบทบาทหน้าที่เช่นเดียวกับปืนใหญ่และถูกใช้งานในการทำสงครามมาตั้งแต่สมัยโบราณ เครื่องยิงแคทะพัลต์เครื่องแรกถูกพัฒนาในเมืองซีรากูซาเมื่อ 399 ปีก่อนคริสตกาล[2] จนกระทั่งมีการใช้ดินปืนในการสงครามของตะวันตก ปืนใหญ่จำเป็นจะต้องใช้พลังงานกลในการทำงานเพื่อทำลายข้อจำกัดของพลังงานจลน์ในการยิงกระสุนออกไปอย่างรุนแรง ทำให้จำเป็นต้องมีการสร้างตัวปืนขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดพลังงานมากเพียงพอ เครื่องยิงแคทะพัลต์ของโรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช การยิงหินหนัก 6.55 กิโลกรัม (14.4 ปอนด์) ได้พลังงานจลน์ 16 กิโลจูล เมื่อเทียบกับปืน 12 ปอนด์ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งยิงด้วยกระสุน 4.1 กิโลกรัม (9.0 ปอนด์) ด้วยพลังงานจลน์ 240 กิโลจูล หรือในเรือประจัญบานของสหรัฐในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ยิงกระสุดขนาด 1,225 กิโลกรัม (2,701 ปอนด์) จากปืนใหญ่เรือหลักซึ่งมีระดับพลังงานเกิน 350 เมกะจูล
ตั้งแต่สมัยกลางจนถึงสมัยใหม่ ชิ้นส่วนของปืนใหญ่บนบกจะถูกเคลื่อนย้ายโดนรถม้าลากปืน ในสมัยปัจจุบัน ชิ้นส่วนปืนใหญ่และพลประจำปืน (crew) ใช้ยานพาหนะที่มีล้อหรือตีนตะขาบในการขนส่ง ปืนใหญ่รุ่นภาคพื้นดินมีขนาดเล็กลงด้วยปืนรถไฟ คือปืนที่มีลำกล้องใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ชื่อว่าโครงการซุปเปอร์กันบาบิลอน (Project Babylon of the Supergun affair) ซึ่งตามทฤษฎีแล้วนั้นปืนสามารถใช้ยิงเพื่อส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรได้ ส่วนปืนใหญ่ที่ใช้งานโดยกองทัพเรือก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งาน โดยใช้งานมิสไซล์แทนที่ปืนเรือในการสงครามเรือผิวน้ำ
ตลอดระยะเวลาประวัติศาตร์การทหาร กระสุนปืนใหญ่ถูกสร้างมาจากวัสดุที่หลากหลายชนิดจนมีรูปทรงที่แตกต่างกันมากมายตามรูปแบบของเป้าหมายที่เป็นงานโครงสร้างที่ป้องกันและสร้างความเสียหายต่อชีวิตศัตรู ในการใช้งานทางวิศวกรรมก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเมื่อระยะเวลาผ่านไป ซึ่งรวมไปถึงบางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและทันสมัยที่สุดบางส่วนที่ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
ในบางกองทัพบก อาวุธของปืนใหญ่คือกระสุนปืน ไม่ใช่อุปกรณ์การยิงที่ใช้ยิง กระบวนการยิงส่งกระสุนไปยังเป้าหมายจะถูกเรียกว่าการยิงปืนใหญ่ (gunnery) การกระทำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนปืนใหญ่เรียกว่า "การปรนนิบัติบำรุงปืน" (serving the gun) โดย "ส่วนแยก" (detachment) หรือพลประจำปืน ซึ่งประกอบเป็นการยืนปืนใหญ่ทั้งทางตรงและทางอ้อม รูปแบบการใช้พลปืนประจำปืน (หรือรูปขบวน) ดังกล่าวเรียกว่าการสนับสนุนปืนใหญ่ ช่วงเวลาต่าง ๆ ในประวัติศาตร์ยุคต่าง ๆ สิ่งนี้อาจจะหมายถึงอาวุธที่ออกแบบมาติดตั้งบนแท่นอาวุธเพื่อยิงจากภาคพื้นดิน, ทะเล หรือแม้แต่จากอากาศ
พลประจำปืน
แก้ในบางกองทัพจะใช้คำว่า "พลปืน" (gunner) สำหรับทหารและกะลาสีเรือที่มีหน้าที่หลักในการใช้ปืนใหญ่
พลปืนและปืนของพวกเขามักจะถูกจัดกลุ่มให้เป็นชุดที่เรียกว่า "พลประจำปืน" (crew) หรือ "ส่วนแยก" (detachments) โดยกำลังพลและชุดปฏิบัติการที่มีหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกันจะรวมกันเป็นหน่วยปืนใหญ่ ที่ปกติจะเรียกกันว่า กองร้อยทหารปืนใหญ่ (Artillery battery) แม้ว่าบางครั้งจะเรียกว่ากองร้อย (company) ก็ตาม ในส่วนแยกประจำปืน แต่ละบทบาทในส่วนจะมีหมายเลขกำกับ เริ่มที่เลข 1 คือผู้บังคับส่วนแยก และหมายเลขสูงสุดคือผู้ปิดฟ้าปืน (Coverer) คือรองผู้บังคับส่วนแยก ซึ่ง "พลปืน" มักจะเป็นทหารยศต่ำและนายทหารชั้นประทวนระดับปฏิบัติการมักจะถูกเรียกว่า บอมเบอะเดีย (Bombardiers)[3] ในบางเหล่าทหารปืนใหญ่
กองร้อยทหารปืนใหญ่สามารถเทียบเท่าได้กับกองร้อยในทหารราบ และสามารถผสมเข้ากับหน่วยทางทหารขนาดใหญ่ได้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการบริหารและการปฏิบัติการ ไม่ว่าจะในระดับกองพันหรือกรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดในแต่ละกองทัพบก โดยอาจจะรวมกันเป็นกองพลน้อย เช่นในรัสเซียจะจัดบางกองพลน้อยเป็นกองพลทหารปืนใหญ่ และในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจัดกำลังเป็นกองทัพน้อยทหารปืนใหญ่
คำว่า "ปืนใหญ่" ยังหมายถึงเหล่ารบของหน่วยบริการทางหทารที่ใช้ในองค์กรเพื่ออธิบายหน่วยและรูปขบวนของกองทัพแห่งชาติที่ใช้งานอาวุธดังกล่าว
ยุทธวิธี
แก้ระหว่างปฏิบัติการทางทหาร ปืนใหญ่สนามมีบทบาทในการสนับสนุนอาวุธอื่น ๆ ในการรบหรือการโจมตีเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางลึก โดยทั่วไปแล้วจะส่งผลกระทบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท โดยกรณีแรกมีจุดประสงค์เพื่อยิงข่มหรือต่อต้านศัตรู กรณีต่อมาคือการทำให้เกิดการบาดเจ็บจนเสียชีวิต สร้างความเสียหาย และทำลายล้าง ส่วนใหญ่จะสำเร็จได้โดยการยิงส่งกระสุนระเบิดแรงสูงเพื่อข่มหรือทำให้ศัตรูเสียชีวิตจากสะเก็ดกระสุนหรือเศษซากวัตถุอื่น ๆ และจากการระเบิด หรือทำลายตำแหน่ง อุปกรณ์ และยานพาหนะของศัตรู สำหรับกระสุนที่ไม่ร้ายแรงถึงชีวิต โดยเฉพาะกระสุนควัน สามารถข่มหรือต่อต้านศัตรูได้ด้วยการบดบังการมองเหตุในการตรวจการณ์ด้วยสายตาของศัตรู
การยิงอาจจะถูกสั่งการโดยผู้ตรวจการณ์ปืนใหญ่หรือผู้ตรวจการอื่น ๆ รวมไปถึงอากาศยานที่มีคนขับแะไม่มีคนขับ หรือการเรียกไปยังพิกัดบนแผนที่
หลักนิยมทางทหารมีอิทธิพลสำคัญต่อการออกแบบทางวิศวกรรมของอาวุธยุทโธปกรณ์ปืนใหญ่ตลอดช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ ในการพยายามรักษาสมดุลระหว่างการยิงและการเคลื่อนที่ของอาวุธ อย่างไรก็ตาม ในสมัยปัจจุบันก็ได้เพิ่มการคำนึงถึงการปกป้องพลปืน เนื่องจากช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการนำอาวุธทหารราบยุคใหม่มาใช้งาน โดยใช้กระสุนทรงกรวย ที่รู้จักกันในชื่อว่า มินิบอล (Minié ball) ซึ่งมีระยะการยิงที่สูงเกือบจะเทียบเท่าระยะของปืนใหญ่สนาม
ความเสี่ยงที่มากขึ้นของพลปืนในการมีส่วนร่วมในการต่อสู้โดยตรงกับอาวุธอื่น ๆ และการถูกโจมตีโดยอากาศยาน จำเป็นต้องมีเกราะป้องกันสำหรับปืน และจากปัญหาในการใช้ปืนใหญ่แบบประจำที่หรือปืนใหญ่ที่ใช้ม้าในการลากจูงเคลื่อนที่ ทำให้มีการพัฒนาวิธีการในรูปแบบใหม่ ๆ ในการเคลื่อนย้ายปืนใหญ่เข้าสู่สนามรบ และเกิดปืนใหญ่ขึ้นมาอีก 2 รูปแบบคือ ปืนใหญ่แบบลากจูง (towed gun) ใช้สำหรับการโจมตีหรือป้องกันในแนวรับเป็นหลัก และปืนใหญ่อัตตาจร (self-propelled gun) ที่มีจุดประสงค์เพื่อติดตามกองกำลังที่เคลื่อนที่และให้การยิงสนับสนุนและ/หรือการข่มอย่างต่อเนื่อง อิทธิพลดังกล่าวก่อให้เกิดการพัฒนายุทโธปกรณ์ปืนใหญ่, ระบบ, การจัดหน่วย และการปฏิบัติการจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถสนับสนุนการรบตั้งแต่ระยะตั้งแต่ 100 เมตร จนถึงระยะไกลข้ามทวีปในพิสัยของขีปนาวุธ ซึ่งการรบเดียวที่ปืนใหญ่ไม่สามารถเข้าร่วมได้คือการรบระยะประชิด (close-quarters combat) ยกเว้นชุดลาดตระเวนทหารปืนใหญ่[4]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ 1.0 1.1 Bellamy, Christopher (2004). "artillery". Oxford Companion to Military History. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-860696-3.
- ↑ Rihll, Tracey Elizabeth (2007). The Catapult: A History. Westholme Publishing. ISBN 9781594160356.
- ↑ "bombardier หมายถึง ทหารปืนใหญ่ซึ่งมียศชั้นประทวน". dictionary.mthai.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ Šotnar, Jiří; Carbol, Michal; Blaha, Martin. "Modernization of artillery reconnaissance" (PDF). INASE. Applied Mathematics, Computational Science and Engineering. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 17, 2018. สืบค้นเมื่อ March 17, 2015.
บรรณานุกรม
แก้- Browne, J.P.R.; Thurbon, M T (1998). Electronic Warfare. Brassey's air power, v. 4. London: Brassey's. ISBN 978-1-85753-133-6. OCLC 38292289.
- Hackett, James, บ.ก. (2010), The Military Balance, The International Institute for Strategic Studies
- Holmes, Richard (1988). The World Atlas of Warfare: Military Innovations that Changed the Course of History. New York: Viking Studio Books. ISBN 978-0-670-81967-6. OCLC 17840438.
- McCamley, N.J. (2004). Disasters Underground. Barnsley: Pen & Sword Military. ISBN 978-1-84415-022-9. OCLC 53241739.
- McNaughton, Andrew (January 1929). "The Development of Artillery in the Great War". Canadian Defence Quarterly. 6 (2).
- Ordway, Frederick I (July 1970). "History of Astronautics Symposium: Mar Del Plata, Argentina, October 1969". Technology and Culture. 11 (3): 407–416. doi:10.2307/3102202. ISSN 0040-165X. JSTOR 3102202. S2CID 113141625.
- Schmidtchen, Volker (1977). "Riesengeschütze des 15. Jahrhunderts. Technische Höchstleistungen ihrer Zeit" [Giant cannon of the 15th century: technical masterpieces of their era]. Technikgeschichte (ภาษาเยอรมัน). 44 (2): 153–73 (162–64). OCLC 85351643.
- Interavia. International Aeronautic Federation. 32: 262. January–June 1977. ISSN 0020-5168.
{{cite journal}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - Hogg, Oliver Frederick Gillilan (1970). Artillery: Its Origin, Heyday and Decline. London: C. Hurst. ISBN 978-0-900966-43-9. OCLC 99454.
- Bailey, J.B.A. (2004). Field Artillery and Firepower. AUSA Institute of Land Warfare book. Annapolis, MD: Naval Institute Press. ISBN 978-1-59114-029-0. OCLC 51931033.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Naval Weapons of the World
- Cannon Artillery – The Voice of Freedom's Thunder
- Modern Artillery เก็บถาวร พฤษภาคม 4, 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- What sort of forensic information can be derived from the analysis of shell fragments เก็บถาวร สิงหาคม 9, 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Evans, Nigel F. (2001–2007) "British Artillery in World War 2"
- Artillery Tactics and Combat during the Napoleonic Wars
- Artillery of Napoleon's Imperial Guard
- French artillery and its ammunition. 14th to the end of the 19th century
- Historic films showing artillery in World War I at europeanfilmgateway.eu
- Video: Inside shrieking shrapnel. Hear the great sound of shrapnel's – Finnish field artillery fire video year 2013
- Video: Forensic and archaeological interpretation of artillery shell fragments and shrapnel