อาวุธปืน
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
อาวุธปืน คือ เครื่องมือที่ใช้ยิงไปทำอันตรายถึงสาหัสและถึงแก่ชีวิตได้ เป็นอาวุธซึ่งยิงกระสุนหนึ่งหรือมากกว่าด้วยความเร็วสูงผ่านทางการควบคุมการระเบิดของดินปืน การยิงเกิดขึ้นได้โดยแก๊สที่เกิดอย่างรวดเร็ว กระบวนการการเผาไหม้ที่รวดเร็วนี้เรียกว่าการลุกไหม้ (deflagration) ในอาวุธปืนแบบเก่าการเคลื่อนที่นี้เกิดจากดินปืน แต่ในยุคปัจจุบันอาวุธปืนนั้นจะใช้ดินปืนที่มีควันน้อยกว่า คอร์ไดท์ หรืออื่น ๆ อาวุธปืนในปัจจุบัน (ยกเว้นปืนลูกซอง) จะมีลำกล้องที่ข้างในทำร่องเป็นเกลียวเพื่อเพิ่มความเสถียรในการหมุนของลูกกระสุน
ประวัติ
แก้การพรรณาถึงอาวุธครั้งแรกสุดนั้นมาจากภาพแกะสลักในถ้ำที่เสฉวนซึ่งย้อนกลับไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นรูปที่ถือปืนทรงแจกันพร้อมเปลวไฟและลูกปืนใหญ่พุ่งออกมา[1] ปืนที่เก่าแก่ที่สุดทำมาจากทองสัมฤทธ์ซึ่งย้อนกลับไปเมื่อ ค.ศ. 1288 เนื่องจากมันถูกค้นพบในบริเวณเขตโบราณสถานเอเชียง (Acheng District) ที่ซึ่งยวนชิ (Yuan Shi) ได้ทำการรบมาก่อน[2]
ชาวยุโรป อาหรับ และเกาหลีล้วนมีอาวุธปืนในทศวรรษที่ 1300 ชาวตุรกี อิหร่าน และอินเดียได้อาวุธปืนหลังจากทศวรรษที่ 1400 โดยทั้งหมดมาจากฝั่งยุโรป[1] ชาวญี่ปุ่นไม่ได้รับอาวุธปืนจนถึงทศวรรษที่ 1500 และจากนั้นก็ได้รับจากชาวโปรตุเกสมากกว่าที่จะเป็นชาวจีน[1]
ในยุคกลางคำว่า "อาวุธปืน" หรือ "ไฟร์อาร์ม" (อังกฤษ: firearm) ถูกใช้โดยอังกฤษเพื่อระบุอาวุธที่จะต้องใช้ไม้ขีดไฟเพื่อจุดระเบิดของปืนใหญ่ คำดังกล่าวยังเป็นแบบหนึ่งที่ใช้เรียกนักธนูอีกด้วย เนื่องมาจากผลกระทบของการยิงในตอนนั้นพลปืนจึงต้องอยู่ที่ส่วนหลังของปืนใหญ่ พร้อมอีกมือหนึ่งค้ำเอาไว้ จึงได้ชื่อว่า "แฮนด์กัน" (อังกฤษ: hand gun) กลายมามีความหมายเดียวกับคำว่า "ไฟร์อาร์ม" ถึงแม้ว่าคำว่า "ปืน" หรือ "กัน" (อังกฤษ: gun) ในปัจจุบันจะมักใช้เพื่อหมายถึงอาวุธปืน แต่ในทางทหารหรือผู้เชี่ยวชาญจะใช้เพื่อหมายถึงปืนขนาดใหญ่เท่านั้น ปืนใหญ่จะมีขนาดใหญ่กว่าอาวุธปืนอย่างมาก มักติดตั้งบนแท่นที่เคลื่อนที่ได้ จะมีขนาดมากถึง 890
นิ้วและอาจมีน้ำหนักถึงตัน อาวุธเช่นนี้ไม่ใช่อาวุธปืน
อาวุธปืนที่ถือได้อย่างปืนเล็กยาว คาร์ไบน์ ปืนพก และอาวุธปืนขนาดเล็กอื่น ๆ มักไม่ถูกเรียกว่า "ปืน" หรือ "กัน" ในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ ปืนกลจะยิงกระสุนขนาดเล็กกว่า (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 14.5 ม.ม.หรือเล็กกว่า) และปืนกลมากมายจะมีทหารคอยบังคับมากกว่าหนึ่งนาย เช่นเดียวกันกับปืนใหญ่ โดยปกติแล้วอาวุธปืนอัตโนมัติที่ถูกออกแบบมาเพื่อผู้ใช้เพียงคนเดียวจะเรียกว่าปืนเล็กยาวอัตโนมัติ
ในศตวรรษปัจจุบันอาวุธปืนได้กลายมาเป็นอาวุธที่มีอำนาจที่ถูกใช้โดยมนุษย์ชาติ ในสงครามยุคใหม่ตั้งแต่ยุคเรอเนสซองซ์ได้มีการใช้อาวุธปืนมากมายในประวัติศาสตร์ทางทหารและประวัติศาสตร์ทั่วไป สิ่งนี้ได้สร้างการรบแบบใหม่ขึ้นมาซึ่งเป็นการหลอมหลอมกองทัพยุคใหม่
สำหรับปืนสั้นและปืนยาวในยุคก่อน ๆ นั้นจะใช้กระสุนที่เป็นทรงกลมและมีการเริ่มทำเป็นทรงเรียวในยุคใหม่ แต่ไม่นานก็ถูกแทนที่ด้วยลูกเหล็กทรงกลม กระสุนจะถูกยิงโดยการเผาไหม้ที่รวดเร็วแต่ในอาวุธขนาดเล็กมักจะบรรจุระเบิดไว้ภายในตัวเองซึ่งถูกสั่งห้ามในสนธิสัญญา (Hague Convention) กระสุนของอาวุธขนาดเล็กถูกสั่งห้ามในสงครามด้วยเหตุผลคล้าย ๆ กัน สำหรับปืนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นกระสุนที่มีระเบิดเช่นเดียวกับแบบก่อน ๆ
จนกระทั่งถึงทศวรรษที่ 1800 กระสุนและดินปืนถูกแยกออกจากกันถูกใช้โดยอาวุธอย่างปืนเล็กยาว ปืนพก และปืนใหญ่ บางครั้งเพื่อความสะดวกในความเหมาะสมของดินปืนและกระสุนถูกห่อรวมกันในกระดาษ เรียกว่าปลอกกระสุนปืน (อังกฤษ: Cartridge) สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับท่อเหล็กที่ห่อหุ้มตัวจุดระเบิดและดินระเบิด ซึ่งกระสุนจะวางไว้ที่ปลายตรงกันข้ามกับตัวจุดระเบิด กระสุนแบบมีปลอกนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายและในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมันก็ได้กลายมาเป็นกระสุนแบบพื้นฐานสำหรับอาวุธปืนขนาดเล็ก รถถัง และปืนใหญ่ ปืนครกจะใช้การห่อหุ้มที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตามกระสุนและกรอบมักรวมเป็นชิ้นเดียวกันซึ่งจะถูกยิงออกจากอาวุธปืน ปืนใหญ่ประจำเรือพิสัยใกล้มีบ้างที่ใช้กระสุนแบบกรอบ แต่ปืนบนเรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนส่วนใหญ่ใช้กระสุนระเบิดและแยกออกจากดินปืน ซึ่งถูกเลือกตามความต้องการในกระสุนแบบทรงเรียว
ความแตกต่างระหว่างกระสุนกับอาวุธปืนก็คือบางครั้งกระสุนนั้นหมายถึงอาวุธ ส่วนอาวุธปืนนั้นหมายถึงแท่นอาวุธ ในบางกรณีอาวุธปืนสามารถใช้เป็นอาวุธได้โดยตรงในการต่อสู้ระยะใกล้ ตัวอย่างเช่น ปืนเล็กยาว ปืนคาบศิลา และปืนกลมือสามารถติดดาบปลายปืนจนทำให้มันกลายเป็นหอกหรือหลาว ด้วยบางข้อยกเว้น พานท้ายปืนของปืนยาวสามารถใช้เป็นตะบองเพื่อตีได้ มันยังเป็นไปได้ที่จะตีใครด้วยลำกล้องปืนหรือด้ามจับ
ปัญหาของอาวุธปืนคือการเก็บรักษา ตัวกระสุนเองมักทิ้งเศษเอาไว้ และมันอาจก่อให้เกิดการขัดลำกล้องได้ เศษผงเหล่านี้มักก่อให้เกิดการขัดข้องภายในลำกล้อง มันจะส่งผลให้ต้องทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลาเพื่อรักษาความมีประสิทธิภาพของปืนเอาไว้
บางครั้งอาวุธปืนจะหมายถึงอาวุธปืนขนาดเล็ก อาวุธดังกล่าวคืออาวุธปืนที่สามารถขนย้ายได้ด้วยบุคคลคนเดียว ตามที่ว่าเอาไว้ในกฎหมายสงคราม อาวุธปืนขนาดเล็กถูกจัดว่าเป็นอาวุธปืนซึ่งยิงกระสุนที่ไม่มากไปกว่า 15 ม.ม.[ต้องการอ้างอิง] อาวุธปืนขนาดเล็กจะถูกเล็งโดยปกติโดยใช้ศูนย์เล็งธรรมดา ระยะความแม่นยำสำหรับอาวุธปืนขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดประมาณ 1,600 เมตร โดยทั่วไปแล้วจัดว่าน้อย ถึงแม้ว่าสถิติในปัจจุบันของปืนซุ่มยิงจะมากกว่า 2.4 กิโลเมตรก็ตาม
อาวุธปืนขนาดเล็ก
แก้ปืนสั้นหรือปืนพก
แก้อาวุธปืนขนาดเล็กที่สุดนั้นคือปืนสั้นหรือปืนพก ปืนสั้นนั้นมีด้วยกันสามชนิด คือ แบบยิงทีละนัด ปืนลูกโม่ และปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ปืนลูกโม่จะมีจำนวนการยิงตามช่องใส่กระสุนทรงกระบอก ในแต่ละช่องของทรงกระบอกจะบรรจุกระสุนเอาไว้หนึ่งนัด ปืนพกกึ่งอัตโนมัติจะมีช่องปืนเพียงช่องเดียวที่ด้านท้ายของลำกล้องและมีแมกกาซีนที่สามารถเปลี่ยนได้จึงทำให้พวกมันสามารถยิงได้มากกว่าหนึ่งนัด ปืนลูกโม่มาเตบาของอิตาลีเป็นแบบลูกผสมที่หายาก ในการเหนี่ยวไกแต่ละครั้งจะหมุนกระบอกทันทีจนทำให้มันยิงได้อย่างรวดเร็ว ปืนเว้บลีย์ของอังกฤษก็เป็นปืนลูกโม่อัตโนมัติเช่นกัน มันเกิดขึ้นประมาณศตวรษที่ 20
ปืนสั้นแตกต่างจากปืนเล็กยาวหรือปืนไรเฟิลและปืนลูกซองด้วยขนาดที่เล็กกว่า ขาดพานท้าย กระสุนที่ไม่ทรงพลังเท่า และถูกออกแบบมาเพื่อใช้ด้วยหนึ่งหรือสองมือ ในขณะที่คำว่า "ปืนพก" สามารถใช้เพื่อบรรยายถึงปืนสั้น มันมักหมายถึงปืนพกที่ยิงทีละนัดหรือแบบที่ป้อนกระสุนอัตโนมัติ และปืนลูกโม่ก็จะหมายความโดยตรง
คำว่า "ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ" ใช้และบางครั้งก็เข้าใจผิดว่าเป็นปืนอัตโนมัติ เนื่องจากอันที่จริงแล้วคำว่าอัตโนมัติของมันไม่ได้หมายถึงกลไกการยิงแต่เป็นการป้อนกระสุน เมื่อยิงปืนพกกึ่งอัตโนมัติจะใช้แก๊สเพื่อดีดปลอกกระสุนเก่าออกและใส่กระสุนใหม่เข้าไปแทนโดยอัตโนมัติ โดยปกติแล้ว (แต่ก็ไม่เสมอไป) กลไกการยิงก็เป็นระบบอัตโนมัติเช่นกัน ปืนพกอัตโนมัติจะยิงกระสุนหนึ่งนัดต่อการเหนี่ยวไกหนึ่งครั้ง ไม่เหมือนกับอาวุธปืนอัตโนมัติอย่างปืนกลซึ่งยิงตลอดนานเท่าที่เหนี่ยวไกและจะมีปลอกกระสุนที่ยังไม่ได้ใช้ในแมกกาซีน อย่างไรก็ตามปืนพกบางรุ่นก็เป็นแบบอัตโนมัติเต็มที่ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน ทั้ง "กึ่งอัตโนมัติ" และ "บรรจุกระสุนอัตโนมัติ" จึงหมายถึงอาวุธปืนที่ยิงหนึ่งนัดต่อการเหนี่ยวไก
ก่อนศตวรรษที่ 19 ปืนสั้นทั้งหมดเป็นแบบยิงทีละนัด ด้วยการประดิษฐ์ปืนลูกโม่ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2321 ปืนพกก็สามารถมีกระสุนได้มากกว่าหนึ่งและมันก็กลายมาเป็นที่นิยม การออกแบบปืนพกบรรจุกระสุนอัตโนมัตินั้นปรากฏตัวขึ้นในทศวรรษที่ 1870 และได้เข้ามาแทนที่ปืนลูกโม่เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อจบศตวรรษที่ 20 ปืนสั้นส่วนมากที่ถูกใช้โดยกองทัพ ตำรวจ และพลเรือนเป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าปืนลูกโม่ยังคงเป็นที่แพร่หลายอยู่ กองทัพและตำรวจใช้ปืนพกกึ่งอัตโนมัติเพราะว่าความจุของแมกกาซีนที่มากและความสามารถในการบรรจุกระสุนได้อย่างรวดเร็ว ปืนลูกโม่เป็นที่ชื่นชอบในหมู่นักสะสมเพราะว่ามันทรงพลังมากกว่าปืนรุ่นใหม่และความทนทาน ง่ายดาย และแข็งแกร่งทำให้มันเหมาะกับการใช้อย่างทรหด การออกแบบทั้งสองเป็นที่นิยมในหมู่พลเรือนซึ่งขึ้นอยู่กับความชอบของเจ้าของ
ปืนสั้นมีหลายรูปร่างและขนาด ตัวอย่างเช่น "เดอร์ริงเกอร์" เป็นปืนที่มีขนาดเล็กมาก ลำกล้องที่สั้น มักมีหนึ่งหรือสองลำกล้องแต่บางครั้งก็มีมากกว่านั้น ซึ่งต้องบรรจุกระสุนด้วยมือหลังจากทำการยิง ปืนสำหรับการดวล มันถูกใช้อย่างมากในหมู่สุภาพบุรุษ พวกเขามักมีมันเพื่อแสดงถึงตำแหน่งและความสูงศักดิ์ ปืนลูกโม่และปืนพกบรรจุกระสุนอัตโนมัติมีขนาดที่หลากหลาย ซึ่งปืนพกแบบใหม่มักสี่ขนาด ในแต่ละขนาดจะมีข้อดีและข้อด้อย ปืนที่เล็กกว่ามักจะต้องแลกด้วยกระสุนที่น้อยลง ในขณะที่ปืนที่ใหญ่กว่าก็จะมีความแม่นยำมากกว่า ในปืนแบบอัตโนมัติอย่าง เอ็มเอซี-10 กล็อก 18 และเบเรทต้า 93อาร์เป็นการพัฒนาครั้งล่าสุดของศวรรษที่ 20
ปืนสั้นมีขนาดเล็กและมักง่ายที่จะพกพา ดังนั้นทำให้มือทั้งสองนั้นว่างพอที่จะทำอย่างอื่นได้ ปืนสั้นที่มีขนาดเล็กสามารถเก็บซ่อนได้ง่าย ทำให้มันถูกเลือกเป็นอาวุธสำหรับป้องกันตัว ในกองทัพปืนสั้นมักใช้โดยผู้ที่ไม่คาดว่าจะต้องใช้อาวุธปืนจริง ๆ อย่างนายพลและนายทหาร และสำหรับผู้ที่ไม่มีที่ว่างพอจะใช้ปืนเล็กยาวอย่างนักบินหรือพลขับยานพาหนะ ในบทบาทสุดท้ายนี้พวกมันมักถูกใช้เป็นคาร์บิน คือปืนเล็กยาวขนาดสั้นซึ่งมักใช้โดยทหารพลร่มเพราะว่าขนาดที่เล็กของมัน ปืนสั้นยังถูกใช้โดยพลปืนเล็กยาวในฐานะอาวุธสำรอง อย่างไรก็ดีความเชื่อถือได้ในการยิงและอำนาจการยิงนั้นก็ตกเป็นของปืนเล็กยาวจู่โจม มันจึงทำให้ปืนสั้นแทบหมดประโยชน์ไปเมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 20 นอกจากกองทัพแล้วปืนสั้นก็มักเป็นอาวุธของตำรวจและพลเรือนตามกฎหมาย
พลเมืองมีสิทธิในการพกอาวุธในที่สาธารณะเป็นปืนสั้นเท่านั้นยกเว้นเมื่อทำการล่าสัตว์ เพราะอาวุธปืนที่ไม่ได้ปกปิดนั้นจะดึงดูดความสนใจและไม่ค่อยปลอดภัยนัก ปืนสั้นยังถูกใช้ในกีฬาถึงแม้ว่าการล่าสัตว์ที่เป็นกีฬานั้นจะไม่เหมาะกับปืนสั้นก็ตาม นักล่าสัตว์บางคนที่ต้องการล่าในที่ที่แคบก็มักเลือกที่จะใช้ปืนสั้นแทน กระสุนปืนสั้นยังถูกกว่ากระสุนของปืนเล็กยาวและมักมีประสิทธิภาพกับสัตว์หลายชนิด
ปืนยาว
แก้ปืนยาวในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นปืนเล็กยาวหรือปืนลูกซอง ในทางประวัติศาสตร์ปืนยาวนั้นคือปืนคาบศิลา ปืนเล็กยาวมีจีลำกล้องที่ด้านในทำเป็นร่องเกลียวและยิงกระสุนทีละนัด ในขณะที่ปืนลูกซองจะยิงออกมาเป็นลูกปราย นัดเดียว กระสุนแซบบ็อท หรือกระสุนพิเศษ (อย่างแก๊สน้ำตา) ปืนเล็กยาวมีบริเวณปะทะที่เล็กมากแต่มีระยะไกลและความแม่นยำสูง ปืนลูกซองนั้นมีบริเวณปะทะขนาดใหญ่แต่มีความแม่นยำและระยะที่น้อย อย่างไรก็ตามบริเวณปะทะที่ใหญ่มากขึ้นสามารถชดเชยความแม่นยำได้ อย่างที่ปืนลูกซองมักถูกใช้เพื่อยิงเป้าบิน
ปืนเล็กยาวและปืนลูกซองมักใช้เพื่อล่าสัตว์และมักใช้เพื่อป้องกันบ้านหรือที่ทำธุรกิจ โดยปกติแล้วในการล่าสัตว์จะใช้ปืนเล็กยาว ในขณะที่การล่านกจะใช้ปืนลูกซอง ปืนลูกซองนั้นยังถูกใช้เพื่อป้องกันที่อาศัยหรือธุรกิจเพราะว่ามันมีบริเวณปะทะที่กว้าง สร้างความเสียหายได้เยอะ ระยะที่สั้นกว่า และไม่ทะลุผนังจนสร้างความเสียหายเกินไป แต่ปืนพกก็นิยมใช้ในทางนี้ด้วยเช่นกัน
ปืนเล็กยาวและปืนลูกซองนั้นมีหลากหลายแบบโดยขึ้นอยู่กับวิธีในการเติมกระสุน ปืนเล็กยาวแบบลูกเลื่อนและแบบงัดนั้นทำการแบบมือ ทั้งสองต้องใช้เวลาในการนำปลอกกระสุนออก ทั้งสองแบบมักถูกใช้โดยปืนเล็กยาว ปืนเล็กยาวและปืนลูกซองแบบสไลด์หรือปั้มพ์มักจะดีดกระสุนออกโดยอัตโนมัติ แบบนี้มักใช้โดยปืนลูกซองแต่ก็มีบริษัทผู้ผลิตไม่น้อยที่นำไปใช้กับปืนเล็กยาว
ทั้งปืนเล็กยาวและปืนลูกซองยังมีแบบที่ต้องบรรจุกระสุนด้วยมือแทนที่จะเป็นกลไก ทั้งปืนเล็กยาวและปืนลูกซองเริ่มมีหนึ่งหรือสองลำกล้อง อย่างไรก็ดีเนื่องมาจากราคาที่แพงและความยากในการผลิต แบบที่มีสองลำกล้องจึงผลิตออกมาน้อย ปืนเล็กยาวสองลำกล้องนั้นมักใช้ล่าสัตว์ที่อัฟริกา
ปืนเล็กยาวถูกใช้โดยพลแม่นปืนในหลาย ๆ ประเทศแม้กระทั่งในยุโรปและสหรัฐฯ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เมื่อปืนเล็กยาวปรากฏตัวขึ้นครั้งแรก หนึ่งในการแข่งขันปืนเล็กยาวที่เก่าแก่ที่สุดของอเมริกาเกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2318 เมื่อแดเนียล มอร์แกนได้ทำหน้าที่พลแม่นปืนในเวอร์จิเนียในสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกา ในบางประเทศพลแม่นปืนคือความภูมิใจของชาติ ปืนเล็กยาวพิเศษบางชนิดถูกอ้างว่ามีระยะถึง 1 ไมล์ (1,600 เมตร) ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะน้อยกว่า ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 กีฬาปืนลูกซองนั้นเป็นที่นิยมมากกว่าปืนเล็กยาว
ในกองทัพ ปืนเล็กยาวแบบลูกเลื่อนพร้อมกับกล้องส่องจะหมายถึงปืนซุ่มยิง อย่างไรก็ตามในสงครามเกาหลีปืนเล็กยาวแบบลูกเลื่อนและกึ่งอัตโนมัติที่ถูกใช้โดยทหารราบนั้นจะสามารถเปลี่ยนเป็น "ปืนเล็กยาวอัตโนมัติ" ได้
ปืนอัตโนมัติ
แก้ปืนอัตโนมัติเป็นอาวุธปืนที่สามารถทำการยิงกระสุนได้หลายนัดในการเหนี่ยวไกหนึ่งครั้ง แกทลิ่งเป็นอาวุธที่ทำงานด้วยข้อหมุนแบบแรกซึ่งเป็นปืนอัตโนมัติชนิดแรกเช่นกัน แม้ว่าปืนกลอย่างในปัจจุบันยังไม่เป็นที่นิยมนักในตอนนั้นจนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปืนอัตโนมัติจะถูกใช้โดยกองทัพเท่านั้นแม้ว่ามีจำนวนมากที่ถูกใช้โดยอาชญากร
ปืนกล
แก้ปืนกลเป็นอาวุธอัตโนมัติขนานแท้ โดยปกติจะไม่เหมือนกับอาวุธอัตโนมัติด้วยการที่มันใช้สายกระสุน (บางแบบเป็นแบบวงกลม) โดยทั่วไปจะใช้กระสุนคล้ายกับปืนเล็กยาวตั้งแต่ 5.56 ม.ม. ของนาโต้ไปจนถึง .50 บีเอ็มจีหรืออาจมีขนาดใหญ่กว่าสำหรับอาวุธเครื่องบิน ถึงแม้ว่ามันจะไม่ถูกใช้อย่างกว้างขวางนักจนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปืนกลแบบแรก ๆ นั้นถูกใช้โดยกองทัพในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 พวกมันเป็นอาวุธปืนสำหรับป้องกันโดยมีผู้ควบคุมสองนาย เพราะว่ามันยากที่จะเคลื่อนย้ายและติดตั้ง และพวกมันก็ไม่ค่อยมีความแม่นยำ ปืนกลขนาดเบาในยุคใหม่อย่างเอฟเอ็น มินิมิมักถูกใช้โดยทหารเพียงหนึ่งนาย พวกมันยิงกระสุนออกมามากและในอัตราที่สูงและมักถูกใช้เพื่อสร้างการยิงคุ้มกัน ปืนกลมักติดตั้งอยู่บนยานพาหนะหรือเฮลิคอปเตอร์ และมักถูกใช้เป็นอาวุธของเครื่องบินขับไล่และรถถังตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ปืนกลมือ
แก้ปืนกลมือเป็นอาวุธปืนที่ใช้แมกกาซีน มักมีขนาดเล็กกว่าปืนอัตโนมัติแบบอื่น ๆ ซึ่งมันนั้นใช้กระสุนของปืนพก ด้วยเหตุนี้เองปืนกลมือจึงมักเรียกกันว่าปืนพกกลโดยเฉพาะเมื่อหมายถึงปืนอย่างสกอร์เปียน วีซี. 61 และกล็อก 18 ตัวอย่างของปืนกลมือได้แก่อูซี่ของอิสราเอลและเอชเค เอ็มพี5 ซึ่งใช้กระสุน 9x19 ม.ม.แบบพาราเบลลัม ปืนกลมือทอมป์สันของอเมริกาที่ใช้กระสุน .45 เอซีพีและเอฟเอ็น พี90 ของเบลเยี่ยมซึ่งใช้กระสุน 5.7x28 ม.ม. เนื่องมาจากขนาดที่เล็กของพวกมันและกระสุนที่ไม่ทะลุทะลวงจนเกินไป ปืนกลมือจึงมักเป็นที่ชื่นชอบในกองทัพและตำรวจโดยใช้ในบริเวณที่เป็นอาคารหรือในเมือง
ชนิดของอาวุธปืนที่คล้ายกันนั้นคืออาวุธป้องกันบุคคลหรือพีดีดับบลิว (Personal Defense Weapon) ซึ่งเป็นปืนกลมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อยิงกระสุนของปืนเล็กยาว ปืนกลมือนั้นได้เปรียบที่ขนาดเล็กและความจุกระสุน แต่ถึงกระนั้นกระสุนของปืนพกที่มันใช้ก็ขาดการทะลุทะลวง ในทางตรงกันข้ามกระสุนของปืนเล็กยาวนั้นสามารถเจาะทะลุเกราะได้และแม่นยำ แต่แม้กระทั่งคาร์บินก็มีขนาดใหญ่เทอะทะจนยากในการใช้งานในที่แคบ ทางแก้ไขของบริษัทผู้ผลิตอาวุธปืนจำนวนมากคือการนำเสนออาวุธที่ผสมปืนกลมือเข้ากับอำนาจการยิงของกระสุนที่ทรงพลังหรือการนำปืนคาร์บินมาผสมกับปืนกลมือนั่นเอง ตัวอย่างเช่น เอฟเอ็น พี90 และเอชเค เอ็มพี7
ปืนเล็กยาวอัตโนมัติ
แก้ปืนเล็กยาวอัตโนมัติเป็นปืนยาวที่ใช้แมกกาซีน ใช้โดยทหารหนึ่งนาย ซึ่งทำงานเป็นระบบอัตโนมัติ ปืนเล็กยาวอัตโนมัติบราวนิ่งเป็นอาวุธอัตโนมัติชนิดแรกของกองทัพสหรัฐฯ และถูกใช้เพื่อการยิงคุ้มกันหรือสนับสนุนซึ่งในปัจจุบันเป็นหน้าที่ของปืนกลขนาดเบา ปืนเล็กยาวอัตโนมัติรุ่นอื่น ๆ ได้แก่เฟเดรอฟ อาฟโตมัทและปืนเล็กยาวอัตโนมัติฮวท ต่อมาฝ่ายเยอรมนีได้ใช้เอสทีจี 44ในสงครามโลกครั้งที่สอง มันเป็นปืนเล็กยาวอัตโนมัติขนาดเบา ปืนนี้ไดกลายมาเป็นต้นแบบของปืนเล็กยาวจู่โจม หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจบลง เอ็ม14 (เข้ามาแทนที่เอ็ม1 กาแรนด์) ถูกนำมาใช้โดยสหรัฐฯ ตามมาด้วยปืนเล็กยาวเอ็ม16เอ1 ที่ถูกใช้อย่างกว้างขวางในสงครามเวียดนาม นอกจากนั้นยังมีเอเค 47 ของคาลาชนิคอฟที่ถูกใช้โดยสหภาพโซเวียตและฝ่ายคอมมิวนิสต์อย่างจีน เกาหลีเหนือ และเวียดนามเหนือ ทั้งเอ็ม16 และเอเค-47 ยังคงถูกใช้มาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าปืนเล็กยาวอัตโนมัติแบบอื่น ๆ จะมีให้ใช้ก็ตาม เอ็ม16เอ2 ที่มีขนาดเล็กกว่าหรือเอ็ม4 คาร์บินถูกใช้โดยพลขับรถถังและยานพาหนะ พลร่ม พลสนับสนุน และในสถานที่ต่าง ๆ ที่คับแคบ ไอเอ็มไอ กาลิลของอิสราเอลนั้นคล้ายคลึงกับ เอเค-47 มันถูกใช้โดยอิสราเอล อิตาลี พม่า พิลิปปินส์ เปรู และกัมพูชา เอสไอจี ซูเออร์ของสวิตเซอร์แลนด์ได้ผลิตเอสไอจี เอสจี 550 ที่ใช้โดยฝรั่งเศส ชิลี และสเปน และสเตร์ แมนนิลเชอร์ได้ผลิตสเตร์ เอยูจีที่ใช้โดยออสเตรเลีย อสสเตรีย นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ และซาอุดิอาระเบีย
กลไกการยิงและบรรจุกระสุน
แก้ปืนใหญ่มือที่บรรจุกระสุนทางปากกระบอก
แก้ต้นกำเนิดของอาวุธปืนทั้งหมดคือปืนใหญ่มือ (อังกฤษ: hand cannon) ที่ใช้ดินปืนและยิงผ่านทางปากกระบอกในขณะที่ชนวนอยู่ที่ด้านหลัง ชนวนจะถูกจุดด้วยไฟจนทำให้ดินปืนเกิดการระเบิดและส่งลูกปืนใหญ่ออกไป ในทางทหารปืนใหญ่มือแบบพื้นฐานจะส่งพลังมากในขณะที่มันก็ไร้ประโยชน์เพราะพลปืนไม่สามารถทำการเล็งได้ การถีบกลับก็ถูกดูดซับได้เพียงการใช้ไม้ค้ำแทนพานท้าย ด้วยการไม่สามารถควบคุมทั้งดินปืนและเส้นผ่าศูนย์กลางของกระสุนได้มันจึงส่งผลให้การยิงนั้นไม่แม่นยำ ปืนใหญ่มือถูกแทนที่ด้วยอาร์คิวบัส (อังกฤษ: arqurbus) หรือปืนคาบชุดที่ทรงพลังกว่า
ปืนบรรจุกระสุนทางปากกระบอก
แก้ปืนคาบศิลาแบบนี้เป็นหนึ่งในการพัฒนาของปืนในช่วงแรก ๆ อาวุธปืนจะบรรจุดินปืนทางปากกระบอก จากนั้นก็ตามด้วยกระสุนลูกกลม (โดยปกติแล้วจะเป็นของแข็งทรงกลม แต่หากหมดกระสุนแล้วก็มักใช้หินแทน) ในปัจจุบันปืนแบบนี้ที่พัฒนาแล้วยังถูกสร้างอยู่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการล่าสัตว์ ปืนจะต้องทำการบรรจุกระสุนใหม่ทุกครั้งหลังจากยิง พลธนูที่มีทักษะสามารถยิงธนูได้รวดเร็วกว่าปืนคาบศิลาแบบแรก ๆ ถึงแม้ว่าในศตวรรษที่ 18 ปืนชนิดนี้ได้กลายมาเป็นอาวุธพื้นฐานในกองทัพ ทหารที่ฝึกมาดีสามารถยิงได้ถึงหกนัดต่อนาที ก่อนหน้านั้นความมีประสิทธิภาพของปืนชนิดนี้มีจำกัดเพราะความช้าในการบรรจุกระสุนและกลไกการยิงที่ไม่สมบูรณ์ นอกจากนั้นมันยังมีความเสี่ยงสูงต่อผู้ที่ใช้มัน
ระบบแมทช์ล็อก
แก้แมทช์ล็อกเป็นอาวุธปืนขนาดเล็กชนิดแรกและมีระบบการยิงที่เรียบง่ายที่สุด มันใช้ระบบกลไกที่เรียกว่าแมชท์ล็อก (อังกฤษ: matchlock) ซึ่งดินปืนในลำกล้องจะถูกจุดระเบิดด้วยเชือกที่ไหม้ไฟเรียกว่าตัวประกบหรือ "แมทช์" ตัวประกบจะถูกบีบอัดเข้าในเหล็กรูปตัว S เมื่อดึงไกปืนตัวประกบจะถูกดึงเข้าไปสัมผัสกับ "ช่องสัมผัส" ที่ฐานของลำกล้องซึ่งจะมีดินปืนโรยอยู่ จากนั้นก็จุดระเบิดดินปืนในลำกล้อง ตัวประกบมักจะต้องใส่เชือกเข้าไปใหม่เมื่อทำการยิง
ระบบลูกล้อ
แก้แบบลูกล้อหรือวีลล็อก (อังกฤษ: wheellock) เป็นผู้ตกทอดมาจากระบบแมทช์ล็อกและมาก่อนแบบนกสับ ถึงแม้ว่ามันจะมีข้อผิดหลาดอยู่หลายประการ วีลล็อกนั้นก็เป็นการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพเหนือแมทช์ล็อกในเรื่องความสะดวกและความปลอดภัย เพราะว่ามันไม่ต้องใช้การเผาไหม้อย่างช้า ๆ เพื่อไปจุดดินปืน มันทำงานด้วยการใช้ลูกล้อขนาดเล็กที่คล้ายกับของไฟแช็กซึ่งจะถูกหมุนขึ้นพร้อมกับสลักก่อนใช้ และเมื่อเหนี่ยวไกมันก็จะกระทบกันจนสร้างประกายไฟที่จะไปจุดระเบิดดินปืนในช่องสัมผัส มันน่าจะถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยลีโอนาร์โด ดาวินชี ถึงกระนั้นระบบลูกล้อก็ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
ระบบนกสับ
แก้ระบบนกสับหรือฟลินท์ล็อก (อังกฤษ: flintlock) เป็นการพัฒนาครั้งใหญ่ของอาวุธปืนขนาดเล็ก ประกายไฟถูกใช้เพื่อจุดระเบิดดินปืนในช่องสัมผัสที่ทำหน้าที่โดยหินที่ยึดเข้ากับนกปืน ซึ่งเมื่อปล่อยโดยไกปืนชิ้นเหล็กที่เรียกว่า "ฟริซเซน" (frizzen) เพื่อสร้างประกายไฟ นกสับจะต้องถูกตั้งใหม่ทุกครั้งหลังยิง และหินกระทบจะต้องถูกแทนเพราะถูกกระทบ ระบบนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในศตวรรษที่ 18 และ 19 ทั้งในปืนคาบศิลาและปืนเล็กยาว
เพอร์คัสชั่นแค็ป
แก้เพอร์คัสชั่นแค็ป (อังกฤษ: Percussion cap) หรือแก๊ปเริ่มเข้ามาอย่างกว้างขวางเมื่อศตวรรษที่ 19 มันคือการพัฒนาครั้งใหญ่เหนือกลไกนักสับหรือฟลินท์ล็อก ด้วยกลไกแก๊ป ดินปืนในแบบก่อนหน้าที่ถูกใช้ในทุกอาวุธปืนถูกแทนที่โดยระเบิดที่บรรจุอยู่ในตัวเองในรูปแบบเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "แก๊ป" แก็ปถูกทำให้รวดเร็วขึ้นในช่องสัมผัสของปืนและจุดระเบิดด้วยนกสับ
เมื่อเกิดการกระทบ เปลวไฟจากแก๊ปจะจุดระเบิดดินปืน เช่นเดียวกับฟลินท์ล็อก แต่มันไม่จำเป็นต้องบรรจุดินปืนใส่ช่องสัมผัสอีกต่อไป และยิ่งไปกว่านั้นช่องสัมผัสไม่ต้องเผยตัวอีกต่อไป ผลที่ได้ของกลไกแก๊ปถูกมองว่าปลอดภัยกว่า ทนทานต่อสภทพอากาศ และไว้ใจได้มากกว่ามาก ปืนบรรจุทางปากกระบอกทั้งหมดที่ผลิตออกมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ใช้แก๊ปยกเว้นพวกที่เป็นของจำลองหรืออาวุธปืนรุ่นก่อนหน้า
ปลอกกระสุน
แก้ปลอกกระสุน (อังกฤษ: cartridge) เป็นการพัฒนาครั้งใหญ่ของอาวุธปืนขนาดเล็กและปืนใหญ่ขนาดเบาในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 เมื่อกระสุน ซึ่งก่อนหน้าเคลื่อนที่ได้ด้วยดินปืนและกระสุนกลม ได้ถูกผสมเข้าในปลอกกระสุนที่มีแก๊ป ดินปืน และหัวกระสุนในหีบห่อเดียวกัน ข้อได้เปรียบหลักของปลอกกระสุนทองเหลืองคือประสิทธิภาพและแรงดันจากแก๊สที่ไว้ใจได้ เมื่อแรงดันแก๊สกดต่อปลอดระสุนเพื่อดันมันออกไปจะดันมันเข้ากับด้านในของลำกล้อง สิ่งนี้ป้องกันการรั่วไหลของแก๊สร้อนซึ่งอาจทำให้ผู้ยิงบาดเจ็บได้ ปลอกกระสุนทองเหลืองยังเปิดทางให้กับอาวุธปืนกลแบบใหม่โดยรวมลูกกระสุน ดินปืน และไพรเมอร์เข้าด้วยกัน
ก่อนเกิดสิ่งนี้ ปลอกกระสุนเป็นการรวมดินปืนเข้าเป็นลูกกลมในถุงหนังสัตว์ขนาดเล็ก (หรือห่อเป็นมวนกระดาษ) รูปแบบของปลอกกระสุนแบบนี้ต้องถูกอัดให้แน่นเข้าไปในลำกล้องทางปากกระบอก และทั้งดินปืนในช่องสัมผัสหรือแก๊ปที่อยู่บนช่องสัมผัสจะจุดระเบิดดินปืนในปลอกกระสุน ปลอกกระสุนพร้อมกับแก๊ปภายในหรือไพรเมอร์ (primer) ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้เพื่อเป็นพื้นฐานของอาวุธปืน ในอาวุธปืนที่ยิงกระสุนมีปลอก นกสับจะตีไพรเมอร์ซึ่งมันจะไปจุดระเบิดดินปืนภายใน ไพรเมอร์จะอยู่ที่ส่วนท้ายของปลอกกระสุน ทั้งในขอบหรือแก๊ปขนาดเล็กจะถูกฝังลงในส่วนกลางของฐาน ตามหลักแล้วปลอกกระสุนอย่างหลังจะทรงพลังกว่าแบบแรก มันทำงานได้ในสภาพที่แรงกดดันสูง ปลอกกระสุนดังกล่าวยังปลอดภัยกว่าอีกด้วย
เกือบจะทั้งหมดของอาวุธปืนในปัจจุบันจะบรรจุปลอกกระสุนโดยตรงทางด้านท้าย มีบ้างที่บรรจุโดยใช้แมกกาซีนซึ่งจะบรรจุกระสุนมากกว่า แมกกาซีนมักเป็นแบบกล่องหรือแบบกลมซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการนำมาใช้ใหม่และถอดออกจากปืนได้ แมกกาซีนบางแบบอย่างของเอ็ม1 การแรนด์และปืนเล็กยาวล่าสัตว์ส่วนใหญ่จะบรรจุแบบเป็นคลิปซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่บรรจุกระสุนเอาที่ส่วนขอบของกล่องบรรจุ ในกรณีส่วนใหญ่แมกกาซีนและคลิปแตกต่างกันตรงที่การป้อนกระสุนเข้าไปในส่วนท้ายของปืน ในขณะที่แบบต่อมาเป็นการเติมกระสุนเข้าไปในแมกกาซีนแทน
อาวุธปืนแบบกึ่งอัตโนมัติ อัตโนมัติ และยิงต่อเนื่อง
แก้อาวุธปืนขนาดเล็กจำนวนมากนั้นเป็นแบบที่ยิงทีละนัด กล่าวคือผู้ใช้ต้องตั้งนกสับและบรรจุกระสุนใหม่ทุกครั้งหลังทำการยิง ตัวอย่างเช่นปืนลูกซองแบบเก่า อาวุธปืนที่สามารถบรรจุกระสุนได้มากกว่าหนึ่งคือ ปืนเล็กยาวแบบคานเหวี่ยง (อังกฤษ: lever-action) ปืนลูกซองแบบปั๊ม (อังกฤษ: pump-action) และปืนเล็กยาวแบบลูกเลื่อนส่วนใหญ่เป็นตัวอย่างของอาวุธที่ทำการยิงต่อเนื่อง อาวุธปืนที่ตั้งนกสับและบรรจุกระสุนอัตโนมัติเมื่อเหนี่ยวถูกจัดว่าเป็นอาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติ อาวุธปืนอัตโนมัติเป็นปืนที่ตั้งนกสับ บรรจุกระสุน และยิงโดยอัตโนมัติเมื่อนานเท่าที่เหนี่ยวไกปืน อาวุธปืนของกองทัพมากมายในปัจจุบันจะมีทางเลือกยิงที่หลากหลาย ซึ่งสวิตช์ของกลไกที่ทำให้อาวุธปืนยิงได้ทั้งแบบกึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติ เอ็ม16เอ2 เอ็ม16เอ4 และเอ็ม4 คาร์บินในปัจจุบันไม่ใช้แบบอัตโนมัติ มันถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติที่ยิงทีละสามนัดแทน
อาวุธปืนที่ยิงรัวแบบแรกนั้นคือปืนแกทลิ่งที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 ซึ่งจะยิงกระสุนจากแมกกาซีนเร็วเท่าที่ผู้ใช้หมุนข้อเหวี่ยง ในที่สุดกลไกยิงรัวก็สมบูรณ์และมีขนาดเล็กลงเพื่อมีขอบเขตที่ทั้งแรงสะท้อนและแรงดันของแก๊สจากการยิงสามารถนำมาใช้เพื่อให้มันทำงาน ดังนั้นผู้ใช้ต้องการเพียงแค่เหนี่ยวไก ปืนเล็กยาวอัตโนมัติอย่างปืนเล็กยาวอัตโนมัติบราวน์นิงมักถูกใช้ในกองทัพในต้นศตวรรษที่ 20 และปืนเล็กยาวอัตโนมัติที่ใช้กระสุนปืนพกนั้นถูกเรียกว่าปืนกลมือก็เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน
เดิมทีนั้นปืนกลมือมีขนาดพอ ๆ กับปืนคาร์บิน เพราะว่าพวกมันยิงกระสุนของปืนพกพวกมันจึงมีระยะที่จำกัด แต่ในการต่อสู้ระยะใกล้นั้นมันก็สามารถใช้ระบบอัตโนมัติได้โดยผู้ที่เชี่ยวชาญเนื่องมาจากแรงถีบที่น้อยของกระสุนปืนพก พวกมันยังมีราคาที่ถูกอย่างมากและสร้างได้ง่ายในช่วงสงคราม ทำให้ประเทศนั้น ๆ ติดอาวุธให้กับกองทัพของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ปืนกลมือถูกลดขนาดลงโดยมีขนาดใหญ่กว่าปืนพกขนาดใหญ่เท่านั้น ปืนกลมือที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในปลายศตวรรษที่ 20 คือเฮคเลอร์แอนด์คอช เอ็มพี5 เอ็มพี5 นั้นจริง ๆ แล้วถูกจัดว่าเป็น "ปืนพกกล" โดยเฮคเลอร์แอนด์คอช ถึงแม้ว่าจะใช้คำดังกล่าวกับปืนกลมือขนาดเล็กกว่าอย่างเอ็มเอซี-10 ซึ่งมีขนาดพอ ๆ กับปืนพก
นาซีเยอรมนีได้ดึงดูดความสนใจของโลกด้วยสิ่งที่ได้กลายมาเป็นชนิดของอาวุธปืนที่ถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยกองทัพ นั่นก็คือปืนเล็กยาวจู่โจม (ดูที่เอสทีจี 44) ปืนเล็กยาวจู่โจมมักมีขนาดเล็กกว่าปืนเล็กยาวประจัญบานอย่างคาราไบเนอร์ 98เค แต่ความแตกต่างหลักของปืนเล็กยาวจู่โจมคือความสามารถในการยิงที่หลากหลายและการใช้กระสุนปืนเล็กยาวที่มีพลังน้อยกว่า สิ่งนี้ลดแรงถีบทำให้มันสามารถควบคุมได้ในระยะสั้นเหมือนกับปืนกลมือ ในขณะที่ยังคงมีความแม่นยำเช่นเดียวกับปืนเล็กยาวในระยะกลาง โดยปกติแล้วปืนเล็กยาวจู่โจมมีกลไกที่ทำให้ผู้ใช้เลือกการยิงแบบทีละนัด ทีละสามนัด และอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ในทางสากลปืนเล็กยาวสำหรับพลเมืองถูกจำกัดให้มีแค่ระบบกึ่งอัตโนมัติเท่านั้น
วิศวกรโซเวียตมิคาอิล คาลาชนิคอฟได้นำความคิดของเยอรมันมาใช้อย่างรวดเร็ว โดยการใช้กระสุนขนาด 7.62x39 มม.ที่ทรงพลังน้อยกว่าซึ่งดัดแปลงมาจากกระสุนขนาด 7.62x54 มม. อาร์ ของรัสเซีย เพื่อสร้างเอเค-47 ซึ่งได้กลายมาเป็นปืนเล็กยาวจู่โจมที่ใช้อย่างกว้างขวางที่สุดของโลก ในสหรัฐฯ การออกแบบปืนเล็กยาวจู่โจมในเวลาต่อมากำลังเกิดขึ้น สิ่งที่จะมาแทนที่เอ็ม1 การแรนด์ของสงครามโลกครั้งที่สองคืออีกการออกแบบหนึ่งจากจอห์น กาแรนด์ด้วยกระสุนขนาด 7.62x51 ม.ม.แบบนาโต้ หรือปืนเล็กยาว เอ็ม14 ซึ่งใช้โดยกองทัพสหรัฐฯ จนถึงทศวรรษที่ 1960 แรงถีบของเอ็ม14 เมื่อทำการยิงอัตโนมัตินั้นเป็นปัญหาเพราะลดความแม่นยำของมัน และในทศวรรษที่ 1960 มันถูกแทนที่ด้วยเออาร์-15 ของยูจีน สโตนเนอร์ซึ่งเปลี่ยนจากการใช้กระสุน .30 คาลิเบอร์ที่ทรงพลังที่ใช้โดยกองทัพสหรัฐฯ จนถึงสงครามเวียดนาม มาเป็นกระสุน .223 คาลิเบอร์ที่ขนาดเล็กกว่าแต่มีแรงถีบน้อยกว่า ต่อมากองทัพได้เรียกเออาร์-15 ว่าเอ็ม16 เอ็ม16 ของพลเมืองยังคงถูกเรียกว่าเออาร์-15 และดูเหมือนกับของทหารมาก
แบบที่มันสมัยถูกทำให้มีขนาดกะทัดรัดที่ยังทรงพลังเหมือนเดิม แบบบุลพัพ โดยการติดตั้งแมกกาซีนหลังไกปืนให้ เป็นการรวมความแม่นยำและอำนาจการยิงของปืนเล็กยาวจู่โจมแบบเก่าเข้ากับขนาดที่กะทัดรัดของปืนกลมือ (ถึงแม้ว่ายังใช้ปืนกลมือกันอยู่) ตัวอย่างเช่น ฟามาสหรือเอสเอ80 ของอังกฤษ
ล่าสุดกระสุนขนาดเล็กกว่าแต่ให้การทะลุทะลวงที่มากกว่าได้ปรากฏตัวขึ้น เพื่อทำให้อาวุธป้องกันบุคคลสามารถเจาะทะลุเกราะได้ การออกแบบดังกล่าวเป็นรากฐานของเอฟเอ็น พี90 และเฮคเลอร์แอนด์คอช เอ็มพี7 กระสุนไร้หีบห่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง (ตัวอย่างเช่น เฮคเลอร์แอนด์คอช จี11 ของเยอรมนี) เฟลเชท (flechette) ยังเป็ยอีการพัฒนาหนึ่งที่ทำให้มีความสามารถในการทะลุละลวงและวิถีกระสุนที่แบนมาก อย่างไรก็ตามมันก็แรงเกินไปของปืนยาว
แหล่งที่มา
แก้- Chase, Kenneth (2003), Firearms: A Global History to 1700, Cambridge University Press, ISBN 0-521-82274-2
- Crosby, Alfred W. (2002), Throwing Fire: Projectile Technology Through History, Cambridge University Press, ISBN 0-521-79158-8
- Needham, Joseph (1986), Science & Civilisation in China, vol. V:7: The Gunpowder Epic, Cambridge University Press, ISBN 0521303583
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- อาวุธปืนยุคใหม่ เก็บถาวร 2008-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- LearnAboutGuns.com
- สารานุกรมเกี่ยวกับอาวุธปืนและกระสุน เก็บถาวร 2008-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติศาสตร์ของอาวุธปืน