พลร่ม (อังกฤษ: Paratrooper) เป็นหน่วยทหารที่ได้รับการฝึกการกระโดดร่มชูชีพเป็นพิเศษ มีการนำมาใช้ครั้งแรกในเยอรมนี ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หน่วยพลร่มนี้ขึ้นตรงกับกองทัพอากาศนาซีเยอรมันหรือ “ลุฟท์วัฟเฟอ” (luftwaffe) ซึ่งต่างจากกองทัพสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ที่หน่วยพลร่มมักจะขึ้นตรงกับกองทัพบกมากกว่า โดยหน่วยพลร่มหน่วยแรกของเยอรมันถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1938 เริ่มต้นจากการรวบรวมกองพันทหารพลร่มต่างๆ มาเป็นกองพลปฏิบัติการทางอากาศที่ 7 (7 Flieger Division) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1938 เป็นเวลาสองปีก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จะอุบัติขึ้นโดยพลร่มถูกฝึกให้เป็นแนวหน้าในการออกรบ โดยเฉพาะการกระโดดร่มเข้าโจมตีประเทศต่าง ๆ เช่น เดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1940 การรบครั้งสำคัญของหน่วยพลร่มเยอรมันคือการรบที่ป้อมอีเบน-อีเมล และการรบที่เกาะครีต [1]

พลร่มขณะกระโดดร่มชูชีพ

พลร่ม ถูกฝึกมาด้วย ตำราชื่อ currahee[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเป็นชื่อภูเขา ที่พลร่มใช้วิ่งขึ้น-ลง มีคำกล่าวว่า ขึ้น 3 ไมล์ ลง 3 ไมล์ หมายถึง วิ่งขึ้นลง currahee นั่นเอง

พลร่มในประเทศไทย แก้

ตำรวจพลร่ม แก้

ในประเทศไทย พลร่มหน่วยแรกของไทยคือ ตำรวจพลร่ม โดยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2496 โดยเป็นแนวความคิดของ พ.ต.อ. เจมส์ วิลเลี่ยม แลร์ ที่ปรึกษาชาวอเมริกัน, ร.ต.ต. สเน่ห์ สิทธิพันธุ์ (ยศในขณะนั้น) และนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เสนอต่อ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ในสมัยนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมกับการรับมือกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ และเป็นการฝึกให้ตำรวจพลร่มนั้นสามารถปฏิบัติการรบแบบกองโจรได้ โดย พล.ต.อ.เผ่า ได้มองว่า ตำรวจพลร่มนั้นเป็นหน่วยตำรวจรบพิเศษที่เคลื่อนที่ได้เร็ว จึงวางจุดประสงค์ไว้สองอย่างคือ

1. เตรียมกำลังตำรวจ เมื่อพร้อมที่จะปฏิบัติการต่อต้านหน่วยรบแบบกองโจร

2. เตรียมกำลังตำรวจโดยจัดให้ฝึกอบรมตำรวจพลร่มไว้ให้พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองทัพต่าง ๆ ได้ในยามสงคราม

 
พ.ต.อ. เจมส์ วิลเลี่ยม แลร์

โดยวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2496 หน่วยพลร่มรบพิเศษ หน่วยแรกของประเทศไทยได้ถูกจัดตั้งขึ้น โดยจัดตั้งในเหล่าตำรวจ (กรมตำรวจ)เป็นเหล่าแรก คือ หน่วยตำรวจพลร่ม (ค่ายนเรศวร อ.หัวหิน) โดยมี ร.ต.ต. สเน่ห์ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้บังคับหน่วยคนแรก[2] โดยสังกัดกองบังคับการยานยนต์ (หรือตำรวจรถถังวังปารุสกวัน) กองบัญชาการจเรตำรวจ

ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2496 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดค่ายนเรศวร ทอดพระเนตรการแสดงโดดร่ม และสาธิตการใช้อาวุธพิเศษ ในการรบด้วยยุทธวิธี การรบแบบกองโจรของตำรวจพลร่ม จึงถือว่าเป็น วันคล้ายวันสถาปนาค่ายนเรศวรปัจจุบันตำรวจพลร่มนั้นสังกัดอยู่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน การฝึกพลร่มนี้จะจัดขึ้นทุกๆ ปี โดยมีทั้งนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวน ขอรับการฝึกโดยส่วนใหญ่จะสังกัดอยู่ในส่วนป้องกันและปราบปราม และตำรวจตระเวนชายแดน และการฝึกนี้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ที่จะเข้ารับการฝึกนี้ในชั้นปีที่ 2[3]

 
ตราอาร์มตำรวจพลร่ม

พลร่มป่าหวาย แก้

 

ปัจจุบัน ประวัติศาสตร์การรบในสมรภูมิต่าง ๆ ได้พัฒนารูปแบบมาจนเป็นสงครามพิเศษ กองทัพบกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการปฏิบัติการสงครามพิเศษ จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยรบพิเศษขึ้น เป็นหน่วยแรก เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2497 ที่บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ใช้ชื่อว่า " กองพันทหารพลร่ม" หรือที่รู้จักกันดีในนามของ "พลร่มป่าหวาย" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 หลังวันเสียงปืนแตก ที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้เริ่มทำสงครามประชาชน เพื่อล้มล้างรัฐบาล กองทัพบกได้ใช้หน่วยรบพิเศษเข้าต่อสู้กับภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ภายในประเทศ และเพื่อเกิดเอกภาพในการปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 กองทัพบกได้จัดตั้ง "ศูนย์สงครามพิเศษ" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ

  • วางแผน ดำเนินการ กำกับการ และดำเนินการฝึกศึกษาเกี่ยวกับ การสงครามพิเศษ การยุทธส่งทางอากาศ และการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ
  • ดำเนินการ วิจัย พัฒนา กำหนดหลักนิยม และทำตำราในทางวิทยาการที่เกี่ยวข้อง
  • ปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนดโดยมีผู้บัญชาการศูนย์สงครามพิเศษ เป็นผู้รับผิดชอบ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ กองทัพบกจึงได้จัดตั้ง หน่วยรบพิเศษเข้าปฏิบัติการ และได้จัดตั้ง กองพลรบพิเศษที่ 1, กองพลรบพิเศษที่ 2 เพื่อรองรับภารกิจที่เพิ่มขึ้น เมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ. 2526 ได้มีการจัดตั้งหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยบังคับบัญชากำลังรบพิเศษทั้งปวงแทนศูนย์สงครามพิเศษ โดยให้ศูนย์สงครามพิเศษทำหน้าที่เป็นหน่วยสายวิทยาการเพื่อดำเนินงานด้านการฝึกศึกษาเพียงอย่างเดียว

เครื่องหมายหลักสูตรพลร่มไทย แก้

ตำรวจ แก้

  •   เครื่องหมายพลร่ม ชั้นพิเศษ

กองทัพบก แก้

  •   เครื่องหมายพลร่ม ชั้นที่ 1
  •  เครื่องหมายพลร่ม ชั้นที่ 2
  •   เครื่องหมายพลร่ม ชั้นที่ 3

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Wragg, David W. (1973). A Dictionary of Aviation (first ed.). Osprey. p. 209. ISBN 9780850451634.
  2. Lair, James William (Bill Lair). Essay. In อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ม.ว.ม, ป.ช., ท.จ.ว., 113. กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์, 2543.
  3. http://www.pinthup.com/?page_id=79

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=vuw&month=04-03-2012&group=5&gblog=36

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Paratroopers