พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ (1 มีนาคม พ.ศ. 2453 — 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) เป็นข้าราชการตำรวจและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[7] อีกทั้งเคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เผ่าเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ (ปัจจุบันตำแหน่งนี้ถูกเปลี่ยนเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ) ซึ่งเป็นเจ้าของคำขวัญ "ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้" นอกจากนี้ยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาความสงบภายในทั่วราชอาณาจักร ในเหตุการณ์การรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494 โดย คณะบริหารประเทศชั่วคราว[8] เผ่ายังเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาททางการเมืองสูงมากในช่วงก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. 2500

เผ่า ศรียานนท์
เผ่า สวมชุดเต็มยศทหารบก ในยศพลจัตวา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
(0 ปี 169 วัน)
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีช่วยประภาส จารุเสถียร หลวงบุรกรรมโกวิท
ก่อนหน้าแปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปประภาส จารุเสถียร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2494

28 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2495
(0 ปี 103 วัน)

21 มีนาคม พ.ศ. 2500
(4 ปี 358 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ เดช เดชประดิยุทธ
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการบัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

หลวงสุนาวินวิวัฒน์

แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสงกรานต์ อุดมสิทธิ์
ถัดไปประภาส จารุเสถียร หลวงบุรกรรมโกวิท
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 [1] – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 [2] (1 ปี 176 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ประยูร ภมรมนตรี
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
ก่อนหน้าประยูร ภมรมนตรี
ถัดไปเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
8 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2494 [3] (0 ปี 3 วัน)
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494[4] – 14 กันยายน พ.ศ. 2500 [5] (6 ปี 74 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก หลวงชาติตระการโกศล
ถัดไปพลตำรวจเอก ไสว ไสวแสนยากร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มีนาคม พ.ศ. 2453
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 (50 ปี)
เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พรรคการเมืองเสรีมนังคศิลา
คู่สมรสคุณหญิงอุดมลักษณ์ ศรียานนท์
บุตรผ่องลักษณ์ ประศาสน์วินิจฉัย / วิชัย จักรกฤษณ์
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ประจำการ2494 – 2500
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
พลตำรวจเอก

ประวัติ

แก้

พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2452 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2453) ณ ตำบลบางขุนพรหม อำเภอบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของ พันตำรวจโท พระพลาพิรักษ์เสนีย์ (พลุ้ย ศรียานนท์) และนางพงษ์ พลาพิรักษ์เสนีย์ ครอบครัวมีเชื้อสายพม่า[9] สมรสกับ คุณหญิงอุดมลักษณ์ ศรียานนท์ (สกุลเดิม ชุณหะวัณ) บุตรสาวของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ[10] มีบุตรีด้วยกัน นามว่าผ่องลักษณ์ ประศาสน์วินิจฉัย (สกุลเดิม ศรียานนท์) รองประธานบริษัท ไผทอุดม จำกัด

การศึกษา

แก้

สอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมบพิตร หรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน ต่อมาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2469[11]

การรับราชการ

แก้

ประวัติการรับราชการของพลตำรวจเอกเผ่า มีดังนี้

  • เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ในตำแหน่งยศนายร้อยตรี [12]
  • พ.ศ. 2477 (1 เม.ย.) รับพระราชทานยศเป็นร้อยโท [13]
  • พ.ศ. 2478 (1 เม.ย.) รับพระราชทานยศเป็นร้อยเอก [14]
  • พ.ศ. 2483 (1 เม.ย.) - รับพระราชทานยศพันตรี [15]
  • พ.ศ. 2486 เป็นทหารคนสนิทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความใกล้ชิดจอมพล ป.พิบูลสงคราม มาก จนกระทั่งจอมพล ป.ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2485 เป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
  • พ.ศ. 2486 (15 เม.ย.) - รับพระราชทานยศพันโท[16]
  • พ.ศ. 2486 เป็นเจ้ากรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม
  • พ.ศ. 2486 ได้รับพระราชทานยศเป็นพันเอก[17]
  • พ.ศ. 2487 เป็นเจ้ากรมเชื้อเพลิง และลาออกจากราชการเป็นการชั่วคราว
  • พ.ศ. 2491 กลับเข้ารับราชการ โดยโอนมาอยู่กรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2491 (22 มิ.ย.) ได้รับพระราชทานยศเป็น พลตำรวจตรี [18]
  • พ.ศ. 2491 (1 ต.ค.) เป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ [19]
  • พ.ศ. 2492 (1 ม.ค.) ได้รับพระราชทานยศ พลตรี [20]
  • พ.ศ. 2493 (3 มิ.ย.) ได้รับพระราชทานยศเป็น พลตำรวจโท [21]
  • พ.ศ. 2494 (26 มี.ค.) เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย [22]
  • พ.ศ. 2494 (10 ก.ค.) เป็นอธิบดีกรมตำรวจ [23]
  • พ.ศ. 2494 (11 ธ.ค.) เป็นรัฐมนตรี [24] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[25]
  • พ.ศ. 2495 (23 มี.ค.) เป็นรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้ง
  • พ.ศ. 2495 (17 มี.ค.) (16 เม.ย.) ได้รับพระราชทานยศเป็น พลโท [26] พลเรือโท และพลอากาศโท [27]
  • พ.ศ. 2495 (21 ก.ค.) ได้รับพระราชทานยศเป็นพลตำรวจเอก [28]
  • พ.ศ. 2496 (4 พ.ค.) ได้รับพระราชทานยศ พลเอก และรับพระราชทานตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ [29]
  • พ.ศ. 2497 (15 ม.ค.) (31 มี.ค.) เป็นอธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นดิน [30] และประธานกรรมการในคณะกรรมการองค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค[31]
  • พ.ศ. 2497 (10 ก.พ.) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังร่วมกับพลโท ประยูร ภมรมนตรี โดยควบกับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยที่มีอยู่เดิม
  • พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานยศ พลเรือเอก และ พลอากาศเอก [32]
  • พ.ศ. 2500 (31 มี.ค.) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

บทบาททางการเมือง

แก้

พล.ต.อ. เผ่า เป็นนายตำรวจที่ประชาชนชาวไทยในยุคสมัยนั้นรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นเสมือนมือขวาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น นายกรัฐมนตรีเผด็จการทหารในสมัยนั้น เริ่มแรก พล.ต.อ. เผ่า นั้นรับราชการเป็นทหารมาก่อน ก่อนจะย้ายตัวเองมาเป็นตำรวจ

ผู้นำสามเส้าในช่วงปี 2490–2500

ยุคของ พล.ต.อ. เผ่า นั้น ถูกเรียกว่ายุค "รัฐตำรวจ" หรือ "อัศวินผยอง" เนื่องจาก พล.ต.อ. เผ่า ได้เสริมสร้างขุมกำลังตำรวจจนสามารถเทียบเท่ากับกองทัพ ๆ หนึ่งเหมือนทหารได้ โดยเริ่มให้มี ตำรวจน้ำ, ตำรวจพลร่ม, ตำรวจม้า, ตำรวจรถถัง ตลอดจนให้มีธงไชยเฉลิมพลเหมือนทหาร จนมีการกล่าวในเชิงประชดว่า อาจจะมีถึงตำรวจเรือดำน้ำ เป็นต้น[33]

โดยประโยคที่สะท้อนให้เห็นถึงตัวตนของตำรวจในสมัยนั้น ซึ่งเป็นประโยคของ พล.ต.อ. เผ่า เองคือ "ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ ในทางที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามและกฎหมายบ้านเมือง" จนได้รับฉายาจากสื่อต่างประเทศว่า"บุรุษเหล็กแห่งเอเซีย"[34]

ในทางการเมือง พล.ต.อ. เผ่า มีฐานะเป็นเลขาธิการพรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ถูกกล่าวว่าสกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์[34]เพราะมีตั้งแต่การข่มขู่ผู้ลงคะแนนให้เลือกแต่พรรคเสรีมนังคศิลา มีการเวียนเทียนลงคะแนนกันหลายรอบ ที่เรียกว่า พลร่ม หรือ ไพ่ไฟ และนับคะแนนกันถึง 7 วัน 7 คืน[35] โดยในยุคนั้นประชาชนทุกคนต่างรู้ดีว่า ไม่ควรจะกระทำการใดที่เป็นการต่อต้านอำนาจรัฐเพราะอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น กรณีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 14 เมื่อปี พ.ศ. 2492 หลังเหตุการณ์กบฏวังหลวง หรือการจับถ่วงน้ำ นายหะยีสุหรง อับดุลกาเดร์ อิหม่ามชาวจังหวัดปัตตานี ที่ทะเลสาบสงขลา เป็นต้น ล้วนแต่เป็นฝีมือตำรวจ[34]โดย พล.ต.อ. เผ่า และเป็นที่รับรู้กันว่าตำรวจเป็นผู้เลี้ยงบรรดานักเลง อันธพาลในยุคนั้นเป็นลูกน้องด้วย ซึ่งเรียกกันว่า "นักเลงเก้ายอด" อันมาจากการที่นักเลงอันธพาลเหล่านั้นสามารถเข้าออกกองบัญชาการตำรวจกองปราบที่สามยอดได้โดยสบาย[36] ซึ่งทำให้เหล่านักเลงอันธพาลเกลื่อนเมือง

จากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้กลุ่มนายทหารที่นำโดย พล.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ยศในสมัยในนั้น) ไม่พอใจ โดยเริ่มทำการปราศรัยโจมตีตำรวจที่ท้องสนามหลวงบนลังสบู่ ที่เริ่มกันว่า "ไฮปาร์ค"[34] และทางตำรวจก็ตอบโต้ด้วยการไฮปาร์คบ้าง จนในที่สุดนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ซึ่งเหตุการณ์ในวันนั้น พล.ต.อ. เผ่า ยังไม่ได้หลบหนีไปต่างประเทศเหมือนจอมพล ป. แต่ยอมเข้ามอบตัวแต่โดยดี โดยกล่าวว่า "อั๊วมาแล้ว จะเอายังไงก็ว่ามา"[37]

วันรุ่งขึ้น พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์[37] พล.ต.อ. เผ่า มีทรัพย์สินอยู่มากมาย มีคฤหาสน์หลังใหญ่ติดทะเลสาบที่นครเจนีวา จนครั้งหนึ่งเมื่อนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่งจัดอันดับมหาเศรษฐี 10 อันดับของโลก ก็มีชื่อของ พล.ต.อ. เผ่า ติดอยู่ในอันดับด้วย[37]

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหัวใจวายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สิริอายุ 50 ปี[38]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   ไต้หวัน :
    • พ.ศ. 2497 -   เครื่องอิสริยาภรณ์หม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ชั้นที่ 2[49]

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๑๓ ก หน้า ๒๗๒ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗
  2. ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๒๖๘ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
  3. ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๒๖๘ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
  4. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๘ ตอน ๔๔ ง หน้า ๒๘๐๕ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๔
  5. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๔ ตอน ๗๙ ง พิเศษ หน้า ๙ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย 2007-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. ประกาศของคณะบริหารประเทศชั่วคราว ฉบับที่ ๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๘ ตอน ๗๑ ง หน้า ๙ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๔
  9. Encyclopædia Britannica
  10. "One big happy family in Cambodia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-06.
  11. กรมตำรวจ ในยุคของ พลเอกตำรวจ เผ่า ศรียานนท์
  12. พระราชทานยศทหาร
  13. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  14. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  15. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  17. "ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่อง พระราชทหารยสทหาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (53): 3155. 5 ตุลาคม 2486. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-31. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศตำรวจ
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งรองอธิบดีและผู้บัญชาการตำรวจ
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศตำรวจ
  22. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 68 ตอน 25 ง หน้า 1661 17 เมษายน พ.ศ. 2494
  23. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ
  24. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๕ ราย)
  25. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการ (จำนวน ๘ ราย)
  26. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2019-11-07.
  27. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2019-11-07.
  28. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 69 ตอน 48 ง หน้า 2420 5 สิงหาคม พ.ศ. 2495
  29. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร แต่งตั้งนายทหารพิเศษ และราชองครักษ์พิเศษ เก็บถาวร 2018-07-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 70 ตอน 29 ง หน้า 2047 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2496
  30. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นดิน
  31. แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขององค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  32. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2016-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอน 26 ง หน้า 1 27 มีนาคม พ.ศ. 2499
  33. หนังสือชีวลิขิต โดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
  34. 34.0 34.1 34.2 34.3 2508 หน้า 222-262, "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน" โดยวินทร์ เลียววาริณ (กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2540) ISBN 974-602-523-6
  35. หนังสือ มาร์ค เขาชื่อ...อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
  36. หนังสือ 2484 ญี่ปุ่นบุกไทย โดย ส.คลองหลวง
  37. 37.0 37.1 37.2 นักการเมืองไร้แผ่นดิน, คอลัมน์ เรื่องเก่าเล่าใหม่ โดย โรม บุนนาค. หน้า 65-66 นิตยสาร all ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. 2550
  38. เอกสารทำเนียบอธิบดีกรมตำรวจ "30 อ.ตร." พ.ศ. 2403-2541 โดย กองวิชาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  39. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๕๑, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
  40. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๕๖๕๑, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
  41. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๒๐๕๓, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๖
  42. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๐๖, ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๘๔
  43. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๑๒, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๗
  44. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๕๙๑, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
  45. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๙๙
  46. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๔๒๓, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
  47. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘ เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๓๙, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
  48. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๖๕๕, ๗ เมษายน ๒๔๙๖
  49. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 71 ตอนที่ 45 หน้า 1622, 20 กรกฏาคม 2497
  50. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 67 หน้า 2129, 30 สิงหาคม 2498
  51. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 75 หน้า 2278, 20 กันยายน 2498
  52. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 75 หน้า 2277, 20 กันยายน 2498
ก่อนหน้า เผ่า ศรียานนท์ ถัดไป
พลตำรวจเอก หลวงชาติตระการ    
อธิบดีกรมตำรวจ
(พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2500)
  พลตำรวจเอก ไสว ไสวแสนยากร