เผด็จการทหาร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ระบอบเผด็จการทหาร (อังกฤษ: military dictatorship) คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับกองทัพ ถือได้ว่าเป็นการปกครองแบบคณาธิปไตยลัทธิอำนาจนิยมอย่างหนึ่ง
เผด็จการทหารต่างจากเผด็จการพลเรือนด้วยหลายสาเหตุ คือ แรงจูงใจของการยึดอำนาจ สถาบันซึ่งใช้จัดระเบียบการปกครอง และหนทางสละอำนาจ เผด็จการทหารมักมองว่าตนกำลังช่วยให้ประเทศชาติพ้นจากนักการเมืองพลเรือนที่ฉ้อฉลหรือวิสัยทัศน์คับแคบ และอ้างฐานะของตนเป็นผู้ชี้ขาด "คนกลาง" บนฐานสมาชิกภาพในกองทัพ ผู้นำทหารมักปกครองเป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง โดยเลือกหนึ่งในพวกตนเป็นหัวหน้า[1]
ลักษณะและการแบ่งหมวดหมู่
แก้รัฐบาลเผด็จการทหารส่วนมากจัดตั้งหลังรัฐประหารล้มล้างอำนาจรัฐบาลชุดก่อนหน้า ตัวอย่างที่ต่างออกไป เช่น สมัยซัดดัม ฮุสเซน ในประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มจากรัฐที่ปกครองโดยรัฐบาลพรรคเดียว คือ พรรคบะอัธ แต่เมื่อเวลาผ่านไปรัฐบาลดังกล่าวเปลี่ยนไปเป็นเผด็จการทหาร (ตามที่ผู้นำสวมเครื่องแบบทหารและกองทัพก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในรัฐบาล)[ต้องการอ้างอิง]
เผด็จการทหารมักอ้างความชอบธรรมให้แก่ตนเองว่าเป็นการสร้างความสมานฉันท์แก่ชาติ และช่วยชาติให้พ้นจากภัยคุกคามของ "อุดมการณ์ที่อันตราย" อันเป็นการสร้างการข่มขวัญ ในละตินอเมริกา ยกภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์และทุนนิยมเป็นข้ออ้างของรัฐประหาร คณะทหารมักว่าพวกเขาไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด เป็นคณะที่เป็นกลาง สามารถจัดการกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ ได้ และกล่าวว่านักการเมืองที่มาจากประชาชนคดโกงและไร้ประสิทธิภาพ ลักษณะร่วมประการหนึ่งของรัฐบาลทหาร คือการประกาศใช้กฎอัยการศึกหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน
รัฐบาลทหารมักไม่เคารพสิทธิมนุษยชน และมักใช้วิธีการปิดปากศัตรูทางการเมือง รัฐบาลทหารมักไม่คืนอำนาจจนกว่าจะมีการปฏิวัติโดยประชาชน[ต้องการอ้างอิง]
ลาตินอเมริกา ทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลางเป็นพื้นที่ที่เป็นเผด็จการทหารบ่อยครั้ง เหตุผลหนึ่งคือทหารประสานงานร่วมกัน และมีโครงสร้างของสถาบันที่เข้มแข็งกว่าสถาบันทางสังคมของประชาชน[ต้องการอ้างอิง]
ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ระบอบเผด็จการทหารเริ่มมีจำนวนลดลง เหตุผลหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เผด็จการทหารไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และรัฐบาลทหารมักไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมประเทศไม่ให้เกิดการต่อต้านได้ นอกจากนี้ การล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้กองทัพไม่สามารถยกคอมมิวนิสต์มาอ้างความชอบธรรมของตนเองได้อีก[ต้องการอ้างอิง]
ประวัติ
แก้ทวีปแอฟริกา
แก้- แอลจีเรีย (1965–1978; ค.ศ. 1992–1994; ค.ศ. 2011)
- เบนิน (1963–1964; 1965–1968; 1969–1970; 1972–1975)
- บูร์กินาฟาโซ (1966–1977; 1980–1991; 17 กันยายน-23 กันยายน ค.ศ. 2015)
- บุรุนดี (1966–1974; 1976–1979; 1987–1992)
- สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (1966–1979; 1981–1986; 2003–2005; 2013–2014)
- ชาด (1975–1979; 1982–1989)
- คอโมโรส (1999–2002)
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ค.ศ. 1965–1971; ซาอีร์|ค.ศ. 1971–1997)
- สาธารณรัฐคองโก (1968–1969; 1977–1979)
- โกตดิวัวร์ (1999–2000)
- อียิปต์ (1953–1956; 2011–2012)
- อิเควทอเรียลกินี (1979–1987)
- เอธิโอเปีย (1974–1987)
- แกมเบีย (1994–1996)
- กานา (1966–1969; 1972–1975; 1975–1979; 1981–1993)
- กินี (ค.ศ. 1984–1990; ค.ศ. 2008–2010)
- กินี-บิสเซา (1980–1984; 1999; 2003; 12 เมษายน 2012 – 11 พฤษภาคม 2012)
- เลโซโท (1986–1993, 2014)
- ไลบีเรีย (1980–1986, 1990–1997, 2003–2006)
- ลิเบีย (1969–1977; 1977–2011)
- มาดากัสการ์ (1972–1976)
- มาลี (1968–1992; 21 มีนาคม 2012 – 12 เมษายน 2012)
- มอริเตเนีย (ค.ศ. 1978–1979; 1979–1992; ค.ศ. 2005–2007; ค.ศ. 2008–2009)
- ไนเจอร์ (1974–1989; 1996; 1999; 2010–2011)
- ไนจีเรีย (สภาทหารสูงสุด (ไนจีเรีย) : สมัยที่ 1 ค.ศ. 1966–1975; ค.ศ. 1975–1979; สมัยที่ 2 ค.ศ. 1983–1985; สภากองทัพควบคุมอำนาจการปกครอง ค.ศ. 1985–1993; ค.ศ. 1993–1998; ค.ศ. 1998–1999)
- รวันดา (1973–1975)
- เซาตูแมอีปริงซีป (1995; 2003)
- เซียร์ราลีโอน (ค.ศ. 1967–1968; ค.ศ. 1992–1996; ค.ศ. 1997–1998)
- โซมาเลีย (1969–1976; 1980–1991)
- ซูดาน (1958–1964; 1969–1971; 1985–1986; ค.ศ. 1989–1993);11 เมษายน ค.ศ.2019-ปัจจุบัน[2]
- โตโก (ค.ศ. 1967–1979)
- ยูกันดา (ค.ศ. 1971–1979; ค.ศ. 1985–1986)
- มาลี 2020-ปัจจุบัน
ทวีปอเมริกาเหนือ
แก้- คอสตาริกา (1868–1870; 1876–1882; 1917–1919)
- คิวบา (1933; 1952–1959)
- สาธารณรัฐโดมินิกัน (1899; 1930–1961;1963-1966)
- เอลซัลวาดอร์ (1885–1911; 1931–1982)
- กัวเตมาลา (1944–1945; 1954–1957; 1957–1966; 1970–1986)
- เฮติ (1950–1956; 1956–1957; 1986–1990; 1991–1994)
- ฮอนดูรัส (1956–1957; 1963–1971; 1972–1982)
- เม็กซิโก (1876; 1877–1880; 1884–1911)
- นิการากัว (1937–1956; 1967–1979)
- ปานามา (1903–1904; 1968–1989)
ทวีปอเมริกาใต้
แก้- อาร์เจนตินา (รัฐประหาร : ค.ศ. 1930–1932; ค.ศ. 1943–1946; ค.ศ. 1955–1958; ค.ศ. 1966–1973; ค.ศ. 1976–1983)
- โบลิเวีย (1839–1843; 1848; 1857–1861; 1861; 1864–1872; 1876–1879; 1899; 1920–1921; 1930–1931; 1936–1940; 1946–1947; 1951–1952; 1964–1966; 1970–1979; 1980–1982)
- บราซิล (คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง : สมัยที่ 1 ค.ศ. 1889-1894; ค.ศ. 1930; สมัยที่ 2 ค.ศ. 1964)
- ชิลี (คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง : สมัยที่ 1 ค.ศ. 1924–1925; สมัยที่ 2 ค.ศ. 1925; สมัยที่ 3 ค.ศ. 1932; สมัยที่4 ค.ศ. 1973–1990)
- โคลอมเบีย (ค.ศ. 1953–1958)
- เอกวาดอร์ (ค.ศ. 1876–1883; ค.ศ. 1935–1938; ค.ศ. 1947; ค.ศ. 1963–1966; ค.ศ. 1972–1979)
- ปารากวัย (ค.ศ. 1940–1948; 1954–1989)
- เปรู (1842–1844; 1865–1867; 1872; 1879–1881; 1914–1915; 1930–1939; 1948–1956; 1962–1963; 1968–1980)
- ซูรินาม (ค.ศ. 1980–1988)
- อุรุกวัย (ค.ศ. 1865–1868; ค.ศ. 1876–1879; ค.ศ. 1933–1938; ค.ศ. 1973–1985)
- เวเนซุเอลา (ค.ศ. 1858–1859; ค.ศ. 1859–1861; ค.ศ. 1861–1863; ค.ศ. 1908–1913; ค.ศ. 1922–1929; ค.ศ. 1931–1935; ค.ศ. 1948–1958)
ทวีปเอเชีย
แก้- บังกลาเทศ (ค.ศ. 1975–1981; ค.ศ. 1982–1990)
- พม่า (เมียนมา) (1962–1974; 1988–2011; 2021-ปัจจุบัน)
- อินโดนีเซีย (1967–1998)
- อิหร่าน (1953–1957; 1978–1979)
- อิรัก (1933–1935; 1937–1938; 1949–1950; 1952–1953; 1958–1963; 1963–1979)
- เกาหลีใต้ (สภาสูงสุดเพื่อการฟื้นฟูแห่งชาติ ค.ศ. 1961–1963, สาธารณรัฐที่ 5 ค.ศ. 1980)
- ลาว (ค.ศ. 1959–1960)
- ปากีสถาน (ค.ศ. 1958–1971; ค.ศ. 1977–1988; ค.ศ. 1999–2008)
- ฟิลิปปินส์ (1898, 1972–1981)
- ซีเรีย (1949; 1951–1954; 1961–1972)
- ไทย (เมษายน 1933; มิถุนายน 1933; 1947; 1948; 1951; 1957-1958; 1958-1963; 1971-1973; 1976-1977; 1977-1979; ค.ศ. 1991-1992; ค.ศ. 2006-2008; ค.ศ.2014-2019)
- ตุรกี (ค.ศ. 1960–1961; ค.ศ. 1971–1973; ค.ศ. 1980–1983)
- เวียดนามใต้ (ค.ศ. 1963–1967)
- เยเมนเหนือ (ค.ศ. 1962–1967; ค.ศ. 1974–1982)
ทวีปยุโรป
แก้- บัลแกเรีย (ค.ศ. 1934–1935; ค.ศ. 1944–1946)
- ฝรั่งเศส (1870–1871)
- กรีซ (1909–1910; 1922–1924; 1925–1926; 1933; 1936–1941; คณะผู้ยึดอำนาจนายพัน ค.ศ. 1967–1974)
- โปแลนด์ (1926–1935; ค.ศ. 1981–1983)
- โปรตุเกส (ค.ศ. 1926–1933)
- รัสเซีย (ค.ศ. 1918–1920)
- สเปน (ค.ศ. 1923–1930; ฟรันซิสโก ฟรังโก ค.ศ. 1936–1975)
หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
แก้อ้างอิง
แก้- ↑
Cheibub, José Antonio (2010-04-01). "Democracy and dictatorship revisited". Public Choice. 143 (1–2): 67–101. doi:10.1007/s11127-009-9491-2. ISSN 0048-5829. สืบค้นเมื่อ 2014-03-24.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ ทหารยึดอำนาจผู้นำครองประเทศนาน 30 ปี อ้างรัฐบาลโกง[ลิงก์เสีย]