ทะเลสาบสงขลา หรือ ทะเลสาบลำปำ (ชื่อที่เรียกในเขตจังหวัดพัทลุง[2]) เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ติดกับจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา

ทะเลสาบสงขลา
ทะเลสาบสงขลาตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
ทะเลสาบสงขลา
ทะเลสาบสงขลา
ทะเลสาบสงขลาตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทะเลสาบสงขลา
ทะเลสาบสงขลา
ภาพทะเลสาบสงขลาถ่ายจากดาวเทียมใน พ.ศ. 2551
ที่ตั้งคาบสมุทรมลายู
พิกัด7°12′N 100°28′E / 7.200°N 100.467°E / 7.200; 100.467
ชนิดทะเลสาบน้ำจืด, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลสาบน้ำกร่อย
พื้นที่รับน้ำ8,020 ตารางกิโลเมตร (3,100 ตารางไมล์)[1]
ประเทศในลุ่มน้ำประเทศไทย
พื้นที่พื้นน้ำ1,040 ตารางกิโลเมตร (400 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย1.4 เมตร (4 ฟุต 7 นิ้ว)
ปริมาณน้ำ1.6 ลูกบาศก์กิโลเมตร (0.38 ลูกบาศก์ไมล์)
ความสูงของพื้นที่0 เมตร (0 ฟุต)
เกาะเกาะยอ, เกาะนางคำ, เกาะหมาก, เกาะสี่เกาะห้า, เกาะใหญ่, เกาะแก้ว, เกาะราย
เมืองเทศบาลนครสงขลา

ทะเลสาบสงขลาตอนล่างมีเกาะขนาดใหญ่อยู่เกาะหนึ่ง คือ เกาะยอ และมีเกาะต่าง ๆ อีก ที่เป็นแหล่งสัมปทานเก็บรังนก คือ เกาะสี่ เกาะห้า

ลักษณะทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์

แก้

ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งอาณาจักรอยุธยา จากหลักฐานแผนที่ราชอาณาจักรสยามของชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2229 บันทึกไว้ว่า บริเวณแหลมสทิงพระแห่งนี้ มีเกาะอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 เกาะ เกาะที่มีขนาดใหญ่สุด อยู่ทางตอนเหนือ ส่วนทางตอนใต้มีเกาะเล็ก ๆ อีก 4 เกาะ กระจัดกระจายกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2383 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานการเดินทางเป็นบันทึกปูมเรือของชาวอังกฤษ ขณะเดินทางผ่านน่านน้ำแถบนี้ ระบุไว้ว่า

แล่นผ่านช่องแคบนครศรีธรรมราชและหมู่เกาะแทนทาลัม การเดินเรือค่อนข้างน่ากลัวเพราะเต็มไปด้วยโขดหิน แต่คนเดินเรือของเราเคยเดินทางผ่านมาแล้วด้วยเรือเล็ก เขาก็อาสานำเรือ ทิวทัศน์ทั้ง 2 ฟากแถบดูใหญ่โตมาก ทางฝั่งเมืองนครศรีธรรมราชเก่า ทิวเขาก็แสดงความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน คือ ทางยอดเขานั้นรู้สึกโล่งเตียน ไม่เหมือนทางต่ำกว่าที่อุดมสมบูรณ์ของแทนทาลัม นอกจากนี้ยังมีอ่าวเล็ก ๆ ของเมืองตาลุง ราว 4 โมงเย็น เราก็มาถึงนอกเมืองสงขลา

ต่อมาภายหลังระดับน้ำทะเลลดลงจนเกิดการทับถมของตะกอนและทรายตอนบนทำให้เกาะเล็กทั้ง 4 เกาะรวมกันเป็นเกาะใหญ่ เรียกว่า เกาะแทนทาลัม ต่อมาภายหลังลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนไป แผ่นดินของเกาะยื่นออกไปเชื่อมกับแผ่นดินตอนบนที่อยู่ทางนครศรีธรรมราช กลายเป็นทะเลสาบ

ซึ่งดินแดนแถบทะเลสาบสงขลาในอดีตมีความเจริญทางการค้าและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก อันเนื่องจากเป็นท่าเรือ เปิดรับชนชาติต่าง ๆ ทั้ง จีน, อินเดีย และอาหรับ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-18 ก่อเกิดเป็นชุมชนต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนารายรอบ [3]

ลักษณะทางภูมิศาสตร์และความหลากหลายทางชีวภาพ

แก้

น้ำในทะเลสาบสงขลาได้รับน้ำจากทิวเขาบรรทัดและทิวเขาสันกาลาคีรีจากอำเภอสะเดา ทั้งหมดไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ำในแถบนี้เรียกว่า "ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา"

เป็นทะเลสาบที่มีลักษณะของน้ำในทะเลสาบถึง 3 น้ำ คือ น้ำจืด, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม มีแม่น้ำและคลองหลายสายที่ไหลเข้าสู่ทะเลสาบแห่งนี้ ทำให้น้ำมีการเปลี่ยนแปลงเสมอตามฤดูกาล โดยขึ้นอยู่กับกระแสน้ำในแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ไหลเข้าสู่ทะเลสาบ และกระแสน้ำทะเลหนุน จึงทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา

ทะเลสาบสงขลาตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ จัดได้ว่า เป็น ลากูน (Lagoon) หรือทะเลสาบที่อยู่ติดกับทะเล (อ่าวไทย) มีปากตอนล่างเปิดเข้าสู่อ่าวไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วงใหญ่ ๆ คือ

ทะเลน้อย เป็นช่วงต้นของทะเลสาบคาบเกี่ยวอยู่กับ 2 อำเภอ 2 จังหวัด อันได้แก่ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงและ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นทะเลสาบน้ำจืด มีพื้นผิวน้ำราว 30 ตารางกิโลเมตร เดิมทีน้ำในทะเลสาบแห่งนี้เป็นน้ำกร่อยเพราะมีการเจือปนของน้ำที่หนุนมาจากทะเลสาบสงขลาที่อยู่ทางต้านใต้ โดยผ่านคลอง 3 สาย คือ คลองนางเรียม, คลองยวน และคลองบ้านกลาง

เป็นสถานที่ ๆ มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก ทั้งสัตว์น้ำและนกชนิดต่าง ๆ ทั้งนกท้องถิ่นและนกอพยพ มีปลาหลายชนิดที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ อาทิ ปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii), ปลาตือ (Chitala lopis), ปลาตุ่ม (Puntioplites bulu) เป็นต้น โดยปลาชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาดุก (Clarias batrachus) จนเกิดการทำเป็นปลาดุกร้าที่ไม่เหมือนกับปลาร้าของภาคอีสาน

และยังเป็นแหล่งอาศัยของโลมาอิรวดีหรือโลมาหัวบาตร (Orcaella brevirostris) ถือเป็นแหล่งน้ำจืดที่พบจำนวนโลมาอิรวดีน้อยที่สุดในโลกและเป็นแหล่งที่วิกฤตที่สุดอีกด้วย[4][5]

ทำให้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดม เป็นแหล่งทำการประมงและการเกษตรพื้นบ้านมาอย่างยาวนาน และบริเวณ "พรุควนขี้เสี้ยน" เป็นพื้นที่พรุในอำเภอควนขนุน ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำอนุรักษ์ตามอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) นับเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2541 และแห่งที่ 110 ของโลก และถูกประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเป็นแห่งแรกของประเทศไทยด้วย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518

ทะเลสาบตอนบน เป็นทะเลสาบตอนที่ 2 จากทะเลน้อยจนมาถึงแหลมจองถนนและแหลมควายราบฝั่งเกาะใหญ่

ทะเลสาบตอนกลาง จากทะเลสาบตอนบนมาจนถึงปากแม่น้ำหลวงของเขตอำเภอปากพะยูน

ทะเลสาบตอนล่าง เป็นทะเลสาบที่อยู่รอบ ๆ เกาะยอ และมีปากน้ำที่ไหล่ออกสู่อ่าวไทย

โดยระบบนิเวศของทะเลสาบสงขลาแบ่งออกได้เป็น 4 ระบบ คือ

1.ระบบนิเวศป่าต้นน้ำ

2.ระบบนิเวศกลางน้ำ

3.ระบบนิเวศปลายน้ำ

4.ระบบนิเวศในน้ำ

ในปี พ.ศ. 2467 ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ที่ปรึกษาด้านสัตว์น้ำของกระทรวงเกษตราธิการ ได้เดินทางสู่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ได้บันทึกถึงชนิดของกุ้งในทะเลสาบสงขลาไว้ว่า[6]

กุ้งชนิดที่ดีเยี่ยมมีพันธุ์ต่าง ๆ

เกิดชุกชุมในชายทะเลแห่งนี้

แต่กุ้งในทะเลสาบมีมากที่สุด

ไม่มีน่านน้ำใด ๆ ในโลก

ที่มีจำนวนกุ้งและพันธุ์กุ้งหลายอย่าง

หลากชนิด เหมือนในน่านน้ำแถบนี้

โลมาอิรวดี

แก้

มีประชากรโลมาอิรวดีจำนวนน้อยในทะเลสาบสงขลา ใกล้เกาะสี่เกาะห้าของจังหวัดพัทลุง พวกมันเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากการจับปลามากเกินและมลภาวะ บัญชีแดงไอยูซีเอ็นจัดให้ประชากรที่อาศัยอยู่ที่แม่น้ำมาฮากัมและMalampaya Soundอยู่ในสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างมาก[7]

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

แก้
  • ชาติชาย มุกสง. “หนึ่งร้อยปีแห่งความห่อเหี่ยว: สามัญชนวิถีแห่งการดินรนและการย้ายถิ่นข้ามเมืองในลุ่มทะเลสาบสงขลาระหว่างทศวรรษ 2420-2430.” ใน พิเชฐ แสงทอง (บก.), เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 10 คลุมเครือ เคลือบแคลง เส้นแบ่งและพรมแดนในมนุษยศาสตร์. น. 663-85. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์กรีนโซนการพิมพ์, 2559.

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-16. สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.
  2. "ทะเลสาบลำปำ จังหวัดพัทลุง". culture.nstru.ac.th. สืบค้นเมื่อ 12 December 2014.[ลิงก์เสีย]
  3. "พินิจนคร: ทะเลสาบสงขลา ๑ มรดกแห่งหัตถศิลป์บนด้ามขวาน อดีตเก่ากาลเล่าขานตำนานโนรา". ไทยพีบีเอส. 7 September 2011. สืบค้นเมื่อ 12 December 2014.
  4. "สมุดโคจร: ทะเลสาบสงขลา". ช่อง 5. 15 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-07. สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
  5. Reeves, R. R., Jefferson, T. A., Karczmarski, L., Laidre, K., O’Corry-Crowe, G., Rojas-Bracho, L., Secchi, E. R., Slooten, E., Smith, B. D., Wang, J. Y. & Zhou, K. (2008). "Orcaella brevirostris". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.1. สืบค้นเมื่อ 26 June 2011.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. "พินิจนคร: ทะเลสาบสงขลา ๒ ขุมทรัพย์กลางมหาละหาน ห้วงธารระบบนิเวศน์สามน้ำ". ไทยพีบีเอส. 14 September 2011. สืบค้นเมื่อ 12 December 2014.
  7. Cetacean Specialist Group (1996). "Orcaella brevirostris". IUCN Red List of Threatened Species. 1996. สืบค้นเมื่อ 10 March 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้